วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
อายุ 120 ปี ทำไมจะทำให้ไม่ได้
ทิ้งท้ายกันที่ "นพ.เฉก ธนะสิริ" ประธานกิตติมศักดิ์ชมรมอยู่ 100 ปี-ชีวีเป็นสุข ปัจจุบันอายุ 85 ปี ผู้ที่บอกกับตัวเองว่าจะอยู่ให้ถึงอายุ 120 ปี เผยเคล็ดลับการดูแลสุขภาพในหนังสือ "อายุ 120 ปี ทำไมจะทำให้ไม่ได้" ว่า การปฏิบัติตนให้มีอายุยืนยาวอย่างมีพฤฒิพลังถึง 120 ปีนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้
1. ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หนักเบาตามอายุ แต่การออกกำลังต้องให้ได้ออกซิเจนสม่ำเสมอด้วย เพื่อให้เกิดพลังชีวิต หรือพลังแอโรบิกไปจนตายนั้น ให้ใช้หลักที่ว่า อยากมีแรง ต้องออกแรง (หรือทำงานกลางแจ้งตลอดชีวิต)
2. ต้องกินอาหารธรรมชาติ คือ พืชพรรณธัญญาหาร เช่น แป้งเชิงซ้อน ได้แก่ ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพด เผือก มัน ผลไม้ และผักหลากสี หลากรส ลดเนื้อสัตว์ 4 ตีน และ 2 ตีน วันหนึ่งกิน 2 มื้อ ก็เพียงพอแล้ว งด หรือลดมื้อเย็น ใช้หลักที่ว่า กินน้อย-ตายยาก กินมาก-ตายเร็ว อาหารอายุสั้น (ผักสด ผลไม้สด) ทำให้อายุยืน ในขณะที่อาหารอายุยืน (กระป๋อง หรืออาหารซอง เช่น แฮม เบคอน ไส้กรอก แหนม) จะทำให้อายุสั้น
3. ต้องดื่มน้ำสะอาด น้ำเปล่าๆ วันละ 10-12 แก้ว (ไม่ดื่มขณะกินอาหาร และอย่ารอให้รู้สึกกระหายแล้วจึงดื่ม แต่ควรดื่มบ่อยๆ ไปเรื่อยๆ ดีที่สุด)
4. ต้องพักผ่อนนอนหลับให้สนิท และการทำจิตใจให้สงบ จะช่วยทำให้ภูมิต้านทานในตัวมีสูงมาก เชื้อโรคจะแพ้เรา และจะต้องไม่สร้างปัญหาชีวิตให้แก่ตัวเอง ครอบครัว และสังคม หากเป็นไปได้ ให้ฝึกเจริญสมาธิ-วิปัสสนากรรมฐาน เป็นนิจสิน ดำเนินชีวิตทุกๆ ด้านด้วยปัญญา (ศีล สมาธิ ปัญญา คือไตรสิกขา) และจงมั่นใจว่า การฝึกจิตให้นิ่งเป็นจิตที่มีพลังสูง การจะนอนหลับให้สนิท อาหารมื้อเย็นจะต้องน้อยมาก
5. หมั่นสร้างแต่กรรมดี สร้างบุญสร้างกุศล ละเว้นความชั่วทุกชนิด โดยยึดหลัก "ไตรสิกขา" คือรักษาศีล 5 ข้อ เจริญสมาธิ หรือเจริญสติก็จะเกิดปัญญารู้ เอาปัญญาไปแก้ปัญหา นอกจากนั้นก็ควรรู้จักให้ทาน (ทานเป็นทางแห่งความสุข) และตั้งโปรแกรมจิตให้กับตัวเองทุกวัน เวลาที่จะมีชีวิตยืนยาว 120 ปี อย่างมีคุณภาพ โดยพิจารณาให้เห็นชัดว่า ร่างกาย คือ ฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะต้องดูแลระมัดระวังให้ทำหน้าที่อย่างดี อยู่เสมอ ส่วนโปรแกรมที่จะป้อนเข้าไปเพื่อให้ได้ข้อมูลนั้นก็คือ ซอฟต์แวร์ ที่หมายถึง "จิต" ของเรานั่นเอง
เพราะฉะนั้น การจะตั้งใจให้ได้ผลออกมาดีนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าให้ใช้หลัก อิทธิบาท 4 หมายถึง สิ่งที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จ 4 อย่าง คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา นั่นคือความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติตัว ใจจะต้องจดจ่อกับสิ่งนั้นๆ และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอๆ
คัดลอกมา
วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
พุทธธรรม ศีลธรรม กับประชาธิปไตย
พระไพศาล วิสาโล
ปาฐกถานำในการประชุมประจำปีของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ตีพิมพ์ที่ นิตยสารวิภาษา
สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวัฒนธรรม
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๖ ลำดับที่ ๒๒
๑พ.ย. - ๑๕ ธ.ค. ๕๒
ระบอบการปกครองทุกอย่างจะทำงานได้ด้วยดีย่อมต้องอาศัยระบบศีลธรรมทั้งของผู้ปกครองและประชาชนเป็นตัวรองรับ ระบอบประชาธิปไตยก็เช่นกัน ในระบอบนี้ศีลธรรมของผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญก็จริง แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือศีลธรรมของประชาชน เหตุผลก็เพราะผู้นำนั้นมาจากประชาชน ถ้าประชาชนมีศีลธรรมก็ย่อมได้ผู้นำที่มีศีลธรรมด้วย ใช่แต่เท่านั้นระบอบนี้ยังถือว่าประชาชนเป็นใหญ่ ในความหมายว่าประชาชนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านไปจนถึงระดับประเทศ ดังนั้นคุณภาพของประชาชนจึงเป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับสัมฤทธิผลของประชาธิปไตย
พุทธศาสนามีระบบศีลธรรมที่สามารถส่งเสริมคุณภาพของประชาชนให้เกื้อกูลต่อประชาธิปไตยได้ การที่ประชาธิปไตยสถาปนาในสังคมที่มีพุทธศาสนาหยั่งรากลึกมาช้านาน ย่อมน่าจะเจริญก้าวหน้าด้วยดี แต่ในกรณีของประเทศไทยความจริงดูเหมือนจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น เหตุปัจจัยนั้นย่อมมีอยู่มากมาย แต่ก็เป็นไปได้ว่าระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาที่เป็นอยู่ อาจไม่เกื้อกูลต่อระบอบประชาธิปไตยมากนัก
สองมิติที่ขาดหายไป
ในความเข้าใจของคนทั่วไป พุทธศาสนาเป็นคำสอนและระบบปฏิบัติทางศีลธรรมเท่านั้น นั่นคือสอนว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทัศนะดังกล่าวมีปัญหาในตัวเองตรงที่
๑) ละเลยมิติด้านโลกุตตรธรรมของพุทธศาสนา ซึ่งมีจุดหมายสูงสุดที่การเห็นความจริงอย่างแจ่มแจ้งจนอยู่เหนือดี-ชั่ว บุญ-บาป สุข-ทุกข์ นั่นคือเข้าถึงนิพพาน
๒) ละเลยมิติทางสังคมของพุทธศาสนา ในความหมายที่ว่า
-พุทธศาสนาไม่ได้มีแต่หลักธรรมที่มุ่งพัฒนาบุคคลเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการจัดระเบียบสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีงามด้วย ทั้งส่วนที่เป็นธรรมและวินัย
-นอกจากหลักธรรมว่าข้อปฏิบัติระหว่างบุคคลกับบุคคลแล้ว ยังมีหลักธรรมว่าด้วยหน้าที่ต่อบุคคลต่อส่วนรวมหรือสังคมด้วย
หากมิติทางโลกุตตรธรรมทำให้มนุษย์เข้าถึงศักยภาพส่วนที่ลึกที่สุด มิติทางสังคมก็ช่วย ขยายสำนึกและสัมพันธภาพของมนุษย์ออกไปอย่างกว้างขวาง จนหลุดพ้นจากตนเองหรือแวดวงเล็ก ๆ ที่แวดล้อมตน เกิดสำนึกความรับผิดชอบและผูกพันต่อสังคมวงกว้าง
การที่ศีลธรรมในพุทธศาสนาเท่าที่สอนในปัจจุบันเน้นคุณธรรมส่วนบุคคลหรือการทำดีระหว่างบุคคลต่อบุคคลนั้น เป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับชุมชนระดับหมู่บ้าน แต่ในสังคมประชาธิปไตย คุณธรรมระดับนี้ย่อมไม่พอเพียง เพราะทุกคนยังมีหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อส่วนรวมซึ่งเป็นสังคมที่กว้างใหญ่ระดับรัฐชาติ
ในสังคมประชาธิปไตย ผู้คนไม่ได้มีแค่ความสัมพันธ์ระดับบุคคลหรือระหว่างบุคคล แต่ยังมีความสัมพันธ์ในเชิงสังคม ซึ่งไม่เจาะจงหรือขึ้นอยู่กับตัวบุคคล (impersonal) เช่นความสัมพันธ์ที่ผ่านองค์กร สถาบัน ระบบ หรือการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันด้วยความเชื่อ ค่านิยมและอุดมการณ์เดียวกัน โดยไม่จำต้องรู้จักมักคุ้นกัน
ความปกติสุขในสังคมและความผาสุกส่วนบุคคลในปัจจุบัน จึงมิได้ขึ้นอยู่กับการที่บุคคลมีธรรมะต่อกันและกันเท่านั้น หากยังขึ้นอยู่กับการปฏิบัติต่อสังคมอย่างถูกต้อง เช่น คำนึงถึงประโยชน์สุขของสังคม เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม รักษาสมบัติของสาธารณะ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ปกป้องสิทธิเสรีภาพที่ยึดถือร่วมกัน เป็นต้น
ปัญหาดังกล่าวมิใช่เป็นปัญหาของพุทธศาสนามากเท่ากับเป็นปัญหาของการสอนศีลธรรมในปัจจุบัน เพราะระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาในความเป็นจริงแล้ว นอกจากพูดถึงคุณธรรมส่วนบุคคล หรือข้อประพฤติปฏิบัติระหว่างบุคคล เช่น ศีล ๕ ทิศ ๖ หรือพรหมวิหาร ๔ ยังครอบคลุมไปถึงคุณธรรมต่อส่วนรวม มีธรรมหลายข้อที่ว่าด้วยข้อพึงปฏิบัติต่อส่วนรวมโดยตรง โดยไม่เพียงแต่จะพูดถึงข้อปฏิบัติระหว่างบุคคลกับบุคคล(เช่น สาราณียธรรม ๖ หรือหลักการอยู่ร่วมกัน) เท่านั้น หากรวมถึงข้อปฏิบัติต่อหลักการหรือสมบัติของส่วนรวม (เช่น อปริหานิยธรรม ๗ หรือธรรมอันเป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียวของหมู่ชน)
อปริหานิยธรรมเป็นคุณธรรมที่ไม่เน้นแสดงต่อตัวบุคคล แต่เป็นข้อปฏิบัติต่อส่วนรวมที่เป็นนามธรรม จะว่าไปแล้ว นี้เป็นหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของชาวพุทธเลยทีเดียว พระพุทธองค์ถึงกับกำหนดหน้าที่ของชาวพุทธไว้ว่า นอกจากจะมีหน้าที่ต่อตนเอง คือศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ถูกต้อง ตลอดจนมีหน้าที่ต่อผู้อื่น ได้แก่การแนะนำผู้อื่นให้รู้ธรรมอย่างถูกต้องแล้ว ยังจะต้องมีหน้าที่ต่อธรรม คือสามารถรักษาธรรมหรือหลักการของพุทธศาสนาไว้ได้ หน้าที่ประการสุดท้ายนี้ถือว่าเป็นหน้าที่ต่อส่วนรวม เพราะเป็นประโยชน์ต่อหมู่ชนอย่างไม่เลือกหน้าทั้งในปัจจุบันและอนาคต
สาเหตุที่ศีลธรรมหรือข้อพึงปฏิบัติต่อส่วนรวมถูกมองข้ามหรือเข้าใจไม่ครบถ้วน นอกจากเป็นเพราะไปเน้นที่ศีลธรรมส่วนบุคคลมากเกินไปแล้ว ยังเป็นเพราะการตีความหลักธรรมที่คลาดเคลื่อน เช่น อุเบกขา มีความเข้าใจว่าหมายถึงการวางใจเป็นกลางเท่านั้น แต่ที่จริงอุเบกขามิได้หมายความแค่วางใจเป็นกลางเฉย ๆ หากแต่เป็นการวางใจเป็นกลางที่มีจุดหมายเพื่อไม่ให้มีการละเมิดธรรมหรือเสียหลักการ ทั้งนี้เพราะถ้าปราศจากอุเบกขาแล้ว ความเมตตากรุณาที่มีต่อตัวบุคคล อาจทำให้เลยเถิดจนเป็นผลเสียต่อธรรมได้ เช่น ช่วยเพื่อนโดยเอาเงินของส่วนรวมไปให้เขา พุทธศาสนาเน้นอุเบกขาในกรณีดังกล่าว เพื่อรักษาธรรมหรือหลักการของส่วนรวมเอาไว้ เป็นการป้องกันส่วนรวมมิให้เสียหาย เห็นได้ชัดว่าอุเบกขานั้นเป็นธรรมที่ช่วยให้บุคคลตระหนักถึงหน้าที่ที่มีต่อธรรมและหลักการของส่วนรวม มิใช่คำนึงแต่หน้าที่หรือคุณธรรมต่อตัวบุคคลเท่านั้น
การไม่สนใจทำหน้าที่ต่อส่วนรวมนี้เอง ที่ทำให้ชาวพุทธส่วนใหญ่ก็ว่าได้เฉยเมยหรือไม่นำพาต่อปัญหาบ้านเมือง มุ่งแต่รักษาศีล ๕ หรือสนใจแต่ทำทาน แต่ปล่อยให้บ้านเมืองเต็มไปด้วยการคอร์รัปชั่น อาชญากรรม ความเหลื่อมล้ำต่ำสูง รวมทั้งไม่อินังขังขอบต่อปัญหาที่คุกคามระบอบประชาธิปไตย จะพูดไปแล้วอย่าว่าแต่ประชาธิปไตยเลย แม้แต่ปัญหาที่เกิดกับพุทธศาสนาอย่างชัดเจน เช่น เวลาที่พระธรรมวินัยถูกจ้วงจาบหรือบิดเบือน ชาวพุทธจำนวนมากก็นิ่งเฉย เห็นได้ชัดเมื่อเกิดกรณีธรรมกาย ซึ่งเป็นเรื่องบิดเบือนพระธรรมวินัย ไม่แต่คฤหัสถ์เท่านั้น กระทั่งพระกรรมฐานจำนวนไม่น้อยก็ไม่เอาธุระ กลับเห็นว่าควรปล่อยให้เป็นเรื่องของกฎแห่งกรรมไป
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้ระบบศีลธรรมในพุทธศาสนาเท่าที่เป็นอยู่ไม่ค่อยเอื้อต่อประชาธิปไตย นั่นก็คือความรู้สึกอิหลักอิเหลื่อหรือถึงกับมีอคติต่อหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย ได้แก่ เสรีภาพ อิสรภาพ เสมอภาค ที่ผ่านมาชาวพุทธทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเป็นอันมากมีท่าทีปฏิเสธคำเหล่านี้ เพราะเห็นว่า เป็นคำที่ส่งเสริมกิเลสหรือการเอาตัวเองเป็นใหญ่ เช่นเดียวกับคำว่าสิทธิ ที่ชาวพุทธมักมองว่าเป็นแนวคิดที่อิงอยู่กับการยึดถือประโยชน์ส่วนตน คิดแต่จะเรียกร้องสิ่งที่ตนพึงมีพึงได้จากผู้อื่น
เป็นความจริงที่ว่าเสรีภาพ อิสรภาพ เสมอภาค ตามนิยามในระบอบประชาธิปไตยมิได้มีอยู่ในระบบศีลธรรมของพุทธศาสนามาก่อน แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ขัดกัน หากมีการนิยามเสรีภาพและเสมอภาคในแง่ที่เปิดโอกาสให้มีการฝึกฝนพัฒนาตนและช่วยเหลือสังคมได้มากขึ้น เช่นเดียวกับอิสรภาพที่นิยามให้คลุมไปถึงมิติด้านจิตใจด้วย ในทำนองเดียวกันสิทธิก็มิได้หมายความถึงการเรียกร้องเอาเข้าตัวอย่างเดียว แต่รวมถึงการมีหน้าที่ที่จะต้องเคารพสิทธิของผู้อื่น รวมทั้งปกป้องสิทธิของผู้อื่นเวลาถูกล่วงละเมิดด้วย มองในแง่นี้สิทธิจึงเป็นแนวคิดที่แยกไม่ออกจากคุณธรรมหรือศีลธรรมของชาวพุทธ ต่างทำหน้าที่ประสานกัน กล่าวคือขณะที่ศีล ๕ หรือเมตตากรุณาเป็นข้อพึงปฏิบัติระหว่างบุคคลต่อบุคคล สิทธิก็เป็นข้อพึงปฏิบัติของบุคคลต่อสังคม
โลกุตตรธรรมกับประชาธิปไตย
มิติทางสังคมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบศีลธรรมของพุทธศาสนา ที่ทำให้สำนึก และความรับผิดชอบตลอดจนสัมพันธภาพของผู้คนขยายออกไปสู่สังคม ไม่จำกัดอยู่แค่ครอบครัวหรือชุมชนเท่านั้น แต่มิติทางสังคมดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นลอย ๆ หากอิงอยู่กับความจริงของธรรมชาติที่เรียกว่าสัจธรรม
สัจธรรมในพุทธศาสนานั้นโดยเฉพาะในฝ่ายโลกุตตรธรรม ชี้ให้เราตระหนักว่าสัมพันธภาพของมนุษย์นั้นยังขยายกว้างออกไปยิ่งกว่านั้นอีก กล่าวคือไม่เพียงเชื่อมโยงกับผู้คนในสังคมเท่านั้น หากยังเชื่อมโยงกับสรรพชีวิตและสรรพสิ่งในโลกและจักรวาลด้วยซ้ำ หลักธรรมที่ว่านั้นก็คืออิทัปปัจจยตา นั่นคือความจริงที่ว่าไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นโดยอิสระ หากเกิดขึ้นโดยมีสิ่งอื่นเป็นเหตุปัจจัย ติช นัท ฮันห์ ได้กล่าวถึงสหสัมพันธ์ของสรรพสิ่งได้อย่างงดงามว่า
“เมื่อคุณมองเก้าอี้ตัวนี้ คุณเห็นป่าไม้อันเป็นที่มาของไม้ที่ใช้ทำเก้าอี้ตัวนี้ไหม คุณเห็นดวงอาทิตย์ซึ่งสาดส่องป่าไม้ และหมู่เมฆซึ่งโปรยฝนบำรุงเลี้ยงป่าไหม คุณเห็นคนตัดไม้และครอบครัวของเขาไหม และข้าวที่เลี้ยงชีวิตของพวกเขาล่ะ คุณเห็นทั้งหมดนี้ในเก้าอี้ตัวนี้ไหม เก้าอี้ประกอบด้วยสรรพสิ่งที่มิใช่เก้าอี้ คุณเห็นดวงอาทิตย์ในหัวใจของคุณไหม เห็นบรรยากาศในปอดของคุณไหม สรรพสิ่งล้วนดำรงอยู่ในสภาพที่ต่างเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน และต่างเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกัน”
การที่เรายังเป็นเราอยู่ได้ ก็เพราะสรรพสิ่งในโลกเป็นปัจจัยให้เกิดมีขึ้น ไม่ใช่แค่พ่อแม่และชุมชน สังคมเท่านั้น แต่รวมถึงธรรมชาติ ดินฟ้าอากาศ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ภูเขา แม่น้ำ ฯลฯ กล่าวอีกนัยหนึ่งมีเราเพราะมีโลก ไม่มีโลกก็ไม่มีเรา การเห็นความจริงเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดเมตตากรุณาขึ้นในใจ มีความรักอย่างไม่มีประมาณต่อสรรพสิ่งในโลก เพราะเส้นแบ่งระหว่างฉันกับโลกไม่มีอีกต่อไป ในอีกด้านหนึ่งก็ทำให้เกิดปัญญาเห็นความจริงเรื่องอนัตตาว่าสรรพสิ่งนั้นไม่ มีตัวตนที่เที่ยงแท้ เป็นอิสระเอกเทศเลย จึงไม่มีอะไรที่ยึดมั่นถือมั่นได้เลยสักอย่าง
จึงเห็นได้ว่าอนัตตากับสหสัมพันธ์ตามหลักอิทัปปัจจยตานั้นเป็น ๒ ด้านของความจริงอย่างเดียวกัน ในด้านหนึ่ง ทุกอย่างไม่มีตัวตน แต่ในอีกด้านหนึ่งทุกอย่างต่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กันหมด ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้รู้บางท่านบอกว่า เมื่อมองเข้ามาข้างใน ตัวฉันหามีไม่ แต่เมื่อมองออกไปฉันมีอยู่ในทุกสิ่ง
การที่พุทธศาสนาถูกลดทอนใน ๒ มิติ ทั้งด้านโลกุตตรธรรมและสังคม ทำให้ความจริงอันได้แก่ธรรมชาติส่วนลึกที่สุดและส่วนที่กว้างที่สุดของมนุษย์ถูกมองข้ามไป ผลก็คือ
๑) มนุษย์จึงกลายสภาพเป็นปัจเจกหรือบุคคลที่มีสังกัดคับแคบ จึงคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตนหรือพวกพ้อง ไม่สามารถคิดไปไกลถึงประโยชน์สุขของเพื่อนมนุษย์หรือเพื่อนร่วมโลกได้ การทำความดีจึงนอกจากมีขอบเขตแค่ทำความดีต่อคนใกล้ตัว หรือทำความดีในระดับบุคคลต่อบุคคล แต่ละเลยการทำความดีต่อสังคมหรือต่อโลก หรือหากจะทำดีต่อสังคมก็หวังประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญ เช่น “หวังบุญ”
๒) มีชีวิตขึ้นลงไปตามโลกธรรมและตามอำนาจของกรรมดีกรรมชั่วเท่านั้น ไม่สามารถอยู่เหนือโลกธรรมหรือเป็นอิสระจากแรงกรรมทั้งดีและชั่วได้ แม้ทำดีก็ยังติดดีอยู่ เมื่อได้รับสุขก็ยังติดในสุขโดยมองไม่เห็นความไม่เที่ยงของมัน ดังนั้นจึงไม่สามารถพ้นทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง
ทัศนะดังกล่าวไปได้ดีกับแนวคิดแบบโลกียวิสัย ( secularism) และแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งเน้นเรื่อง “โลกนี้” และประโยชน์ที่จับต้องได้ แต่เมื่อต้องเผชิญกับแนวคิดแบบทุนนิยมและบริโภคนิยมก็มีปัญหา เพราะนอกจากไม่มีพลังที่จะต้านทานแนวคิดดังกล่าวได้ แถมยังถูกแนวคิดดังกล่าวครอบงำได้ง่าย พุทธศาสนาจึงกลายเป็นศาสนาที่เน้นประโยชน์ทางวัตถุ หรือตอบสนองความโลภ โดยไม่เพียงให้ความหวังหรือคำปลอบใจเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนให้ลดละความเพียร แต่หวังผลสำเร็จด้วยวิธีลัดหรือคอยโชคที่เกิดจาก “ผลบุญ”
อย่างไรก็ตามการฟื้นพลังให้แก่พุทธศาสนา เป็นสิ่งที่เป็นไปได้และมีความจำเป็น เพราะปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตนานาชนิด ซึ่งแก้ไม่ได้ด้วยเทคโนโลยี ความมั่งคั่ง หรือวิธีคิด-โลกทัศน์แบบเดิม ๆ เพราะกล่าวอย่างถึงที่สุดรากเหง้าของวิกฤตทั้งหลายก็คือวิกฤตทางด้านจิตวิญญาณ (นอกจากเทคโนโลยี ความมั่งคั่ง และโลกทัศน์เดิมจะแก้วิกฤตดังกล่าวไม่ได้แล้ว มันยังซ้ำเติมหรือมีส่วนก่อให้เกิดวิกฤตดังกล่าวด้วย)
วิกฤตด้านจิตวิญญาณนั้นสะท้อนให้เห็นจากวัฒนธรรม ๒ กระแสใหญ่ซึ่งก่อปัญหาไปทั่วโลกได้แก่
๑)วัฒนธรรมแห่งความละโมบ
๒)วัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง
วัฒนธรรมแห่งความละโมบ
คือวัฒนธรรมที่กระตุ้นความละโมบของผู้คนทำให้เกิดความต้องการอย่างไม่มีขีดจำกัด ได้เท่าไรก็ไม่รู้จักพอ พื้นฐานของวัฒนธรรมนี้คือแนวคิดว่า greed is good ในด้านหนึ่งก็ก่อให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ การคอรัปชั่น การตักตวงประโยชน์จากทรัพยากรอย่างไม่บันยะบันยังจนถึงจุดวิกฤต ทุกสิ่งทุกอย่างถูกแปรให้เป็นสินค้า ไม่เว้นแม้แต่ผู้หญิง เด็ก ประเพณี สัญลักษณ์ทางศาสนา สิ่งที่ตามมาคือการทำลายชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ทำให้ความยากจนแพร่กระจาย ควบคู่กับการกระจุกตัวของทรัพย์สินในคนบางกลุ่ม ขณะเดียวกันครอบครัวก็ร้าวฉาน ชุมชนแตกแยก เงินกลายเป็นตัวกลางความสัมพันธ์แทนที่ความรักความเอื้ออาทร ต่างเห็นซึ่งกันและกันเป็นเหยื่อที่จะเอาประโยชน์ หรือเป็นศัตรูที่จะมาแย่งผลประโยชน์ ใช่แต่เท่านั้นลึก ๆ ในจิตใจผู้คนก็แปลกแยกกับตัวเอง มีความเครียดและความกลัดกลุ้ม ถึงกับทำสิ่งที่เป็นโทษต่อตัวเอง เช่น ขายตัวเพื่อแลกกับโทรศัพท์มือถือ หรือฆ่าตัวตายเมื่อไม่ได้วัตถุที่ต้องการ
วัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง
ทุกวันนี้ความเกลียดชังได้แพร่สะพัดจนกลายเป็นวัฒนธรรมของผู้คน ปรากฏอยู่ในสื่อและการแสดงออกของผู้คนอย่างกว้างขวาง มีการปลุกกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกปฏิปักษ์ต่อคนที่แตกต่างจากตนไม่ว่าในทางชาติพันธุ์ ผิวสี ภาษา ศาสนา รวมไปถึงเศรษฐฐานะ ความเชื่อ และ สถาบันที่สังกัด ควบคู่กันกันสำนึกดังกล่าว ก็คือการเหยียดคนที่มีอัตลักษณ์ต่างจากตนว่าเป็นผู้ที่ด้อยกว่า ความรังเกียจเดียดฉันท์ดังกล่าวนำไปสู่ความรุนแรงในทุกระดับ สงครามและความรุนแรงจึงเกิดขึ้นไปทั่ว
ในเมืองไทยการตั้งคำถามกับคนที่คิดต่างจากตนว่า “เป็นคนไทยหรือเปล่า” สะท้อนถึงความคับแคบทางความคิด และนำไปสู่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายในลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ยิ่งมีความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในปัจจุบัน ก็ยิ่งเห็นอำนาจของความเกลียดชังที่แพร่ระบาดไปทั่ว
ประชาธิปไตยถูกบั่นทอน
ทั้งวัฒนธรรมแห่งความละโมบและวัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง ได้แพร่หลายไปทั่วทั้งโลกได้ก็เพราะอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ ในด้านหนึ่งโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจก็ทำให้ทุนนิยมและบริโภคนิยไหลบ่าไปทั่ว ทุกหัวระแหงอย่างไม่เคยมีมาก่อน กระตุ้นให้ผู้คนเกิดความโลภและแข่งขันกันตักตวงเงินทองและทรัพยากร ในอีกด้านหนึ่งโลกาภิวัตน์ทางโทรคมนาคมก็ทำให้การสร้างความอคติและเกลียดชัง ต่อกันแพร่หลายไปรวดเร็วขึ้น ไม่เคยมียุคใดที่ความเท็จหรือความจริงครึ่งเดียวจะกระจายได้รวดเร็วเท่ายุค นี้ ขณะเดียวกันการรุกรานของอำนาจทุนที่ตักตวงประโยชน์จากชุมชนต่าง ๆ ก็ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและความยากจน จึงเกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากชุมชนท้องถิ่น จนเกิดเป็นความรุนแรง เกิดความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ทั้งต่อพลังภายนอก และเกิดความแตกแยกในชุมชนเดียวกัน
วัฒนธรรมทั้ง ๒ กระแสได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง กล่าวคืออำนาจทุนเข้ามามีอิทธิพลในทางการเมือง เช่น ติดสินบน ซื้อเสียง ซื้อนักการเมือง การสร้างแรงกดดันผ่านสื่อและกลุ่มลอบบี้ยิสต์ รวมทั้งจัดตั้งรัฐบาลเพื่อทำธุรกิจการเมือง นอกจากนั้นยังทำให้ผู้คนหลงใหลกับบริโภคนิยม หมกมุ่นแต่ตัวเองจนไม่สนใจมีส่วนร่วมทางการเมือง ขณะเดียวกันความเกลียดชังด้วยเหตุผลทางด้านอุดมการณ์ ยังทำให้การแตกแยกของคนในชาติ จนนำไปสู่การใช้เสียงส่วนมากเพื่อปิดปาก/เบียดบังคนส่วนน้อย พร้อมกันนั้นการไม่ยอมรับความเห็นของกันและกันได้นำไปสู่การใช้ความรุนแรง เพื่อแก้ไขความขัดแย้ง แทนที่จะใช้สันติวิธี
ทั้งหมดนี้ได้ซ้ำเติมประชาธิปไตยไทยซึ่งมีปัญหาต่าง ๆ รุมเร้ามากมาก อยู่แล้วมากมาย ทั้งปัญหาในเชิงหลักการและในเชิงกระบวนการ กล่าวคือ ในแง่หลักการ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือประชาธิปไตยไม่เป็นไปตามหลักการพื้นฐานอันได้แก่ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ มีการคุกคามเบียดบังสิทธิเสรีภาพมากขึ้น โดยเฉพาะรัฐบาลที่ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวางผ่านนโยบาย ประชานิยม มีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงขยายตัวอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน นอกจากนั้นยังเกิดการแบ่งแยกเป็นขั้ว ๆ แตกเป็นกลุ่ม ๆ ตามเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา อุดมการณ์
ปัญหาในเชิงกระบวนการ ได้แก่ การตัดสินใจแบบอัตตาธิปไตยและโลกาธิปไตย คือเอาผลประโยชน์ของตนเองเป็นใหญ่ หาไม่ก็ตัดสินตามกระแสนิยม ขณะเดียวกันการรับรู้ข้อมูลก็เป็นไปอย่างไม่รอบด้าน คำนึงประโยชน์ระยะสั้น ถูกใจมากกว่าถูกต้อง ผู้คนไม่เปิดใจรับฟังข้อมูลที่แตกต่าง ความคิดคับแคบ ถือพวกถือเหล่า ยังไม่นับปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง
ผลก็คือประชาธิปไตยไทยเกิดภาวะวิกฤต อันได้แก่ วิกฤตความชอบธรรมของผู้มีอำนาจ เนื่องจากผู้ปกครองใช้อำนาจเกินขอบเขต ผูกขาดการใช้อำนาจ ไม่เปิดพื้นที่ให้แก่คนที่เห็นต่าง เป็นรัฐบาลของคนบางกลุ่ม อีกทั้งยังทุจริต มุ่งประโยชน์ส่วนตน
สิ่งที่ตามมาคือ ประชาชนไม่ยอมรับอำนาจของผู้ปกครอง เกิดความแตกแยกทางการเมือง ในทุกระดับ และในหลายภาคส่วน (เช่นระหว่าง ชนชั้นนำ กับ ชนชั้นนำ คนชั้นกลาง กับ คนชั้นล่าง คนเมือง กับ คนชนบท รวมทั้งระหว่างรัฐกับสังคม) คนส่วนน้อยไม่ยอมรับเสียงข้างมาก ขณะที่คนกลุ่มใหญ่ไม่ฟังเสียงคนกลุ่มน้อย เกิดช่องว่างทางสังคมเศรษฐกิจ มีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น (เกิดปรากฏการณ์หนึ่งรัฐ สองสังคม) มีการเอาเปรียบคนส่วนน้อย โดยรัฐไม่สามารถและไม่สนใจแก้ปัญหาของคนเล็กคนน้อย กลายเป็นว่ายิ่งรัฐมีอำนาจครอบงำมากเท่าไร สังคมยิ่งอ่อนแอมากเท่านั้น นอกจากนั้นยังเกิดภาวะยอกแย้ง กล่าวคือขณะที่มีการเชื่อมโยงบูรณาการระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่กลับมีการแตกสลายภายในชาติอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งหมดนี้ทำให้มีการตั้งคำถามกับระบบการเลือกตั้ง จนไม่สามารถจะใช้การเลือกตั้งเป็นทางแก้ปัญหาความขัดแย้งได้
วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้
ประชาธิปไตยจะดำเนินไปได้ด้วยดี นอกจากจะต้องมีการปฏิรูปทางการเมือง การปฏิรูปเศรษฐกิจ และการปฏิรูปสังคมแล้ว ยังต้องอาศัย “วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้” เพื่อมาทัดทานถ่วงดุลกับวัฒนธรรมแห่งความละโมบและวัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง ด้วย
วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ กล่าวคือเป็นไปเพื่อการตื่นจากความหลงในวัตถุนิยม และจากความยึดติดถือมั่นในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว และอุดมการณ์ อันนำไปสู่การเบียดเบียนทำร้ายกัน
พุทธศาสนาสามารถช่วยให้เกิดวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ได้ เพราะมุ่งที่การลดทอนตัณหา ทิฏฐิ และมานะ ซึ่งเป็นรากเหง้าแห่งวัตถุนิยมและความเกลียดชังกัน พุทธศาสนาเน้นว่าความสุขนั้นมิได้ขึ้นอยู่กับวัตถุเสมอไป นอกจากความสุขทางกายแล้ว เรายังต้องการความสุขทางจิตใจ และความสุขทางใจนี้เองที่เป็นความสุขที่ลึกซึ้งที่สุดที่มนุษย์ทุกคนควรเข้าถึงให้ได้ จุดมุ่งหมายสูงสุดของมนุษย์จึงมิได้อยู่ที่การครอบครองวัตถุให้ได้มากที่สุด แต่อยู่ที่การเข้าถึงความสุขทางจิตใจด้วยตนเอง และเอื้อให้ผู้อื่นเข้าถึงด้วยเช่นกัน
นอกจากโลกทัศน์ที่เห็นมนุษย์ในแง่มุมที่ลึกซึ้งแล้ว พุทธศาสนายังเอื้อให้เกิดโลกทัศน์ที่มองเห็นมนุษย์อย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์ กับสรรพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชีวิต สังคม และธรรมชาติไม่อาจแยกจากกันได้ ความผาสุกของเราแต่ละคนผูกติดอยู่กับความผาสุกของผู้คนรอบข้าง สังคมรอบตัว และธรรมชาติแวดล้อม สำนึกดังกล่าวจะช่วยให้เราอ่อนโยนต่อธรรมชาติและรู้สึกถึงบุญคุณของสรรพ ชีวิตและทุกผู้คนในสังคมมากขึ้น เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง ไม่มองตนเองในกรอบแคบ ๆ โดยมองคนต่างเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาเป็นคนอื่น หากมองเห็นมนุษย์ทุกคนและทุกชีวิตว่าเป็นเพื่อนร่วมโลกที่อยู่ภายใต้สาย สัมพันธ์เดียวกัน มีความรักและความเห็นอกเห็นใจกันนมากขึ้น
พุทธศาสนายังช่วยให้เห็นถึงข้อจำกัดของทวินิยม และหันมามองโลกแบบอทวินิยมมากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมองโลกแบบทวินิยมนำไปสู่การเบียดเบียน เอารัดเอาเปรียบกัน รวมทั้งก่อความรุนแรงต่อกัน ในด้านหนึ่งการแยกฉันกับโลกและผู้อื่นออกจากกัน ก็ทำให้ตกเป็นเหยื่อของความโลภ คือพยายามตักตวงให้ตัวเองให้มากที่สุดโดยไม่สนใจคนอื่นหรือผลกระทบกับโลก
ในอีกด้านหนึ่งวัฒนธรรมแห่งความเกลียดชังตั้งอยู่บนความคิดแบบทวินิยม แบ่งเราแบ่งเขา เห็นคนที่ไม่ใช่พวกเดียวกับตนเป็นศัตรู และมองโลกแบบเป็นขาว-ดำชัดเจน โดยเฉพาะคนที่เคร่งศาสนาหรือติดยึดกับอุดมการณ์ มักจะตกอยู่ในกับดักแห่งความคิดดังกล่าว คือขีดเส้นความดี-ความชั่วชัดเจน ใครที่ไม่ดีเหมือนตัวหรือคิดเหมือนตัว ก็ประณามว่าเป็นคนชั่ว และเมื่อเป็นคนชั่วเสียแล้ว ย่อมเป็นการชอบธรรมที่จะกำจัดเขาด้วยวิธีใด ๆ ก็ได้
ประธานาธิบดีบุชเคยประกาศว่า “ใครไม่อยู่ฝ่ายเดียวกับเรา ก็อยู่ฝ่ายผู้ก่อการร้าย” ในเมืองไทย ก็มีคนพูดว่า “ใครไม่อยู่ฝ่ายพันธมิตร ก็เป็นพวกทักษิณ” หรือ “ใครไม่สนับสนุนทักษิณ/พลังประชาชน ก็เป็นพวกพันธมิตร”
พุทธศาสนานั้นมองโลกอย่างเป็นอทวิภาวะตามหลักอิทัปปัจจยตา โดยเห็นว่าสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงกันเป็นสหสัมพันธ์ ไม่มีอะไรแยกขาดจากกันเป็นขั้วหรือเป็นคู่ ๆ ได้ ดังมีพุทธพจน์ว่า “แสงสว่างต้องอาศัยความมืดจึงปรากฏ ความงามต้องอาศัยความไม่งามจึงปรากฏ” นอกจากจะอิงอาศัยกันแล้ว สิ่งที่ดูเหมือนตรงข้ามกันยังปรากฏอยู่ด้วยกัน พุทธพจน์ตอนหนึ่งมีความว่า “ความแก่มีอยู่ในความเป็นหนุ่มสาว ความเจ็บไข้มีอยู่ในความไม่มีโรค ความตายก็มีอยู่ในชีวิต”
มองในแง่นี้ อทวินิยมทำให้เราตระหนักว่าโลกและชีวิตไม่ได้ขีดเส้นความดีความชั่วได้ง่ายอย่างนั้น ความดีกับความชั่วไม่ได้แยกจากกันเด็ดขาด คนเรามีทั้งดีและชั่วอยู่ด้วยกัน โซลเชนิตซิน นักเขียนรางวัลโนเบลชาวรัสเซีย ซึ่งเคยถูกจองจำในค่ายกักกันของสตาลิน พูดไว้อย่างน่าฟังว่า
“ มันจะง่ายดายสักเพียงใด ถ้าเพียงแต่ว่าคนชั่วร้ายอยู่ที่ไหนสักแห่งและคอยทำแต่สิ่งชั่วร้าย เราก็แค่แยกคนพวกนั้นออกจากพวกเราแล้วก็ทำลายเขาเสีย เท่านั้นก็จบกัน แต่เส้นแบ่งความดีและความชั่วนั้นผ่าลงไปในใจของมนุษย์ทุกคน ใครเล่าที่อยากจะทำลายส่วนเสี้ยวในใจของตน?”
ความตระหนักว่าในจิตใจของเรานั้นก็มีความชั่วร้ายแฝงฝังอยู่ ก็ทำให้เราต้องระมัดระวังที่จะใช้ความรุนแรงกระทำกับผู้อื่น เพราะความรุนแรงนั้นเองจะหล่อเลี้ยงบ่มเพาะความชั่วร้ายในใจเราให้เติบใหญ่ ขึ้น จนแสดงตัวออกมาเป็นพฤติกรรมที่ชั่วร้าย หรือแปรเปลี่ยนเราให้กลายเป็นคนชั่วร้ายในที่สุด ตำรวจที่ใช้วิธีการอันเลวร้ายกับโจร ในที่สุดกลับมีพฤติกรรมไม่ต่างจากโจร พูดอย่างอทวิภาวะก็คือ ในตำรวจนั้นมีความเป็นโจรที่รอการฟูมฟักแฝงอยู่ด้วย ในเรื่องนี้ ติช นัท ฮันห์ ได้กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า
“ฉันคือเด็กในอูกันดา มีแต่หนังหุ้มกระดูก
ขาฉันเล็กบางราวลำไผ่
และฉันคือพ่อค้าอาวุธ
ขายเครื่องประหัตประหารแก่อูกันดา
ฉันคือเด็กหญิงสิบสองขวบ
ลี้ภัยในเรือน้อย
โถมร่างลงกลางสมุทร
หลังถูกโจรสลัดข่มขืน
และฉันคือโจรสลัด
หัวใจฉันยังขาดความสามารถ
ในการเห็นและรัก
ฉันคือสมาชิกกรมการเมือง
ผู้กุมอำนาจล้นฟ้า
และฉันคีอชายผู้ต้องจ่าย
“หนี้เลือด”แก่ประชาชน
ผู้ค่อย ๆ ตายไปในค่ายแรงงาน”
ทัศนะการมองแบบอทวินิยมดังกล่าวเป็นสิ่งที่พุทธศาสนาให้ความสำคัญมาก เพราะช่วยให้บุคคลหลุดพ้นจากความติดยึดในสมมติบัญญัติ ซึ่งพัวพันกับการมองโลกเป็นคู่ ๆ สามารถอยู่เหนือดีและชั่ว สุขและทุกข์ ตลอดจนโลกธรรมทั้งปวง ช่วยให้ถอนจากความสำคัญมั่นหมายในตัวตน(ว่ามีอยู่อย่างเป็นอิสระเอกเทศและ ยั่งยืนถาวร) ดังนั้นจึงนำไปสู่อิสรภาพทางจิตใจอย่างสิ้นเชิง แต่อทวินิยมจะมีความสำคัญแต่เฉพาะการพัฒนาในทางจิตวิญญาณอย่างเดียวก็หาไม่ หากยังมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตและกิจกรรมในทางโลกอีกด้วย
พุทธศาสนายังช่วยให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการตื่นรู้ได้ด้วยการส่งเสริมการพัฒนาจิต เช่น สติ สมาธิ เมตตา กรุณา รวมทั้งปัญญา คุณภาพจิตดังกล่าวเป็นภูมิต้านทานวัฒนธรรมแห่งความละโมบและวัฒนธรรมแห่งความ เกลียดชังได้ กล่าวคือ มีความสุขกับชีวิตที่เรียบง่าย เพราะเข้าถึงความสุขภายในอันประณีต ไม่หลงเป็นทาสวัตถุหรือมัวเมาในบริโภคนิยม
ปัญญายังช่วยรักษาใจไม่ให้ถูกครอบงำด้วยความเกลียดชัง เพราะทำให้แลเห็นความจริงอย่างรอบด้านโดยปราศจากอคติ นอกจากนั้นเมตตากรุณาก็สำคัญมาก ไม่ใช่เมตตากับคนใกล้ตัวเท่านั้น หากรวมไปถึงคนที่อยู่ไกลออกไป ไม่เว้นแม้กระทั่งคนที่เป็น “ศัตรู” หรือคนชั่วร้าย ที่มีพฤติกรรมน่ารังเกียจ เมตตากรุณาเช่นนี้แหละที่จะทำให้เรามั่นคงในความเป็นมนุษย์ ไม่เห็นคนเป็นผักปลา แม้เขาจะเป็นคนชั่วร้ายก็ตาม
พุทธศาสนากับประชาธิปไตยต้องเกื้อกูลกัน
ประชาธิปไตยมุ่งให้เกิด เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ หลักการทั้งสามประการจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยคุณภาพจิตเป็นตัวรองรับ กล่าวคือ เสรีภาพภายนอกต้องอิงเสรีภาพภายใน โดยมีปัญญาเป็นตัวเชื่อม
ปาฐกถานำในการประชุมประจำปีของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ตีพิมพ์ที่ นิตยสารวิภาษา
สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวัฒนธรรม
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๖ ลำดับที่ ๒๒
๑พ.ย. - ๑๕ ธ.ค. ๕๒
ระบอบการปกครองทุกอย่างจะทำงานได้ด้วยดีย่อมต้องอาศัยระบบศีลธรรมทั้งของผู้ปกครองและประชาชนเป็นตัวรองรับ ระบอบประชาธิปไตยก็เช่นกัน ในระบอบนี้ศีลธรรมของผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญก็จริง แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือศีลธรรมของประชาชน เหตุผลก็เพราะผู้นำนั้นมาจากประชาชน ถ้าประชาชนมีศีลธรรมก็ย่อมได้ผู้นำที่มีศีลธรรมด้วย ใช่แต่เท่านั้นระบอบนี้ยังถือว่าประชาชนเป็นใหญ่ ในความหมายว่าประชาชนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านไปจนถึงระดับประเทศ ดังนั้นคุณภาพของประชาชนจึงเป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับสัมฤทธิผลของประชาธิปไตย
พุทธศาสนามีระบบศีลธรรมที่สามารถส่งเสริมคุณภาพของประชาชนให้เกื้อกูลต่อประชาธิปไตยได้ การที่ประชาธิปไตยสถาปนาในสังคมที่มีพุทธศาสนาหยั่งรากลึกมาช้านาน ย่อมน่าจะเจริญก้าวหน้าด้วยดี แต่ในกรณีของประเทศไทยความจริงดูเหมือนจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น เหตุปัจจัยนั้นย่อมมีอยู่มากมาย แต่ก็เป็นไปได้ว่าระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาที่เป็นอยู่ อาจไม่เกื้อกูลต่อระบอบประชาธิปไตยมากนัก
สองมิติที่ขาดหายไป
ในความเข้าใจของคนทั่วไป พุทธศาสนาเป็นคำสอนและระบบปฏิบัติทางศีลธรรมเท่านั้น นั่นคือสอนว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทัศนะดังกล่าวมีปัญหาในตัวเองตรงที่
๑) ละเลยมิติด้านโลกุตตรธรรมของพุทธศาสนา ซึ่งมีจุดหมายสูงสุดที่การเห็นความจริงอย่างแจ่มแจ้งจนอยู่เหนือดี-ชั่ว บุญ-บาป สุข-ทุกข์ นั่นคือเข้าถึงนิพพาน
๒) ละเลยมิติทางสังคมของพุทธศาสนา ในความหมายที่ว่า
-พุทธศาสนาไม่ได้มีแต่หลักธรรมที่มุ่งพัฒนาบุคคลเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการจัดระเบียบสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีงามด้วย ทั้งส่วนที่เป็นธรรมและวินัย
-นอกจากหลักธรรมว่าข้อปฏิบัติระหว่างบุคคลกับบุคคลแล้ว ยังมีหลักธรรมว่าด้วยหน้าที่ต่อบุคคลต่อส่วนรวมหรือสังคมด้วย
หากมิติทางโลกุตตรธรรมทำให้มนุษย์เข้าถึงศักยภาพส่วนที่ลึกที่สุด มิติทางสังคมก็ช่วย ขยายสำนึกและสัมพันธภาพของมนุษย์ออกไปอย่างกว้างขวาง จนหลุดพ้นจากตนเองหรือแวดวงเล็ก ๆ ที่แวดล้อมตน เกิดสำนึกความรับผิดชอบและผูกพันต่อสังคมวงกว้าง
การที่ศีลธรรมในพุทธศาสนาเท่าที่สอนในปัจจุบันเน้นคุณธรรมส่วนบุคคลหรือการทำดีระหว่างบุคคลต่อบุคคลนั้น เป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับชุมชนระดับหมู่บ้าน แต่ในสังคมประชาธิปไตย คุณธรรมระดับนี้ย่อมไม่พอเพียง เพราะทุกคนยังมีหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อส่วนรวมซึ่งเป็นสังคมที่กว้างใหญ่ระดับรัฐชาติ
ในสังคมประชาธิปไตย ผู้คนไม่ได้มีแค่ความสัมพันธ์ระดับบุคคลหรือระหว่างบุคคล แต่ยังมีความสัมพันธ์ในเชิงสังคม ซึ่งไม่เจาะจงหรือขึ้นอยู่กับตัวบุคคล (impersonal) เช่นความสัมพันธ์ที่ผ่านองค์กร สถาบัน ระบบ หรือการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันด้วยความเชื่อ ค่านิยมและอุดมการณ์เดียวกัน โดยไม่จำต้องรู้จักมักคุ้นกัน
ความปกติสุขในสังคมและความผาสุกส่วนบุคคลในปัจจุบัน จึงมิได้ขึ้นอยู่กับการที่บุคคลมีธรรมะต่อกันและกันเท่านั้น หากยังขึ้นอยู่กับการปฏิบัติต่อสังคมอย่างถูกต้อง เช่น คำนึงถึงประโยชน์สุขของสังคม เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม รักษาสมบัติของสาธารณะ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ปกป้องสิทธิเสรีภาพที่ยึดถือร่วมกัน เป็นต้น
ปัญหาดังกล่าวมิใช่เป็นปัญหาของพุทธศาสนามากเท่ากับเป็นปัญหาของการสอนศีลธรรมในปัจจุบัน เพราะระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาในความเป็นจริงแล้ว นอกจากพูดถึงคุณธรรมส่วนบุคคล หรือข้อประพฤติปฏิบัติระหว่างบุคคล เช่น ศีล ๕ ทิศ ๖ หรือพรหมวิหาร ๔ ยังครอบคลุมไปถึงคุณธรรมต่อส่วนรวม มีธรรมหลายข้อที่ว่าด้วยข้อพึงปฏิบัติต่อส่วนรวมโดยตรง โดยไม่เพียงแต่จะพูดถึงข้อปฏิบัติระหว่างบุคคลกับบุคคล(เช่น สาราณียธรรม ๖ หรือหลักการอยู่ร่วมกัน) เท่านั้น หากรวมถึงข้อปฏิบัติต่อหลักการหรือสมบัติของส่วนรวม (เช่น อปริหานิยธรรม ๗ หรือธรรมอันเป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียวของหมู่ชน)
อปริหานิยธรรมเป็นคุณธรรมที่ไม่เน้นแสดงต่อตัวบุคคล แต่เป็นข้อปฏิบัติต่อส่วนรวมที่เป็นนามธรรม จะว่าไปแล้ว นี้เป็นหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของชาวพุทธเลยทีเดียว พระพุทธองค์ถึงกับกำหนดหน้าที่ของชาวพุทธไว้ว่า นอกจากจะมีหน้าที่ต่อตนเอง คือศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ถูกต้อง ตลอดจนมีหน้าที่ต่อผู้อื่น ได้แก่การแนะนำผู้อื่นให้รู้ธรรมอย่างถูกต้องแล้ว ยังจะต้องมีหน้าที่ต่อธรรม คือสามารถรักษาธรรมหรือหลักการของพุทธศาสนาไว้ได้ หน้าที่ประการสุดท้ายนี้ถือว่าเป็นหน้าที่ต่อส่วนรวม เพราะเป็นประโยชน์ต่อหมู่ชนอย่างไม่เลือกหน้าทั้งในปัจจุบันและอนาคต
สาเหตุที่ศีลธรรมหรือข้อพึงปฏิบัติต่อส่วนรวมถูกมองข้ามหรือเข้าใจไม่ครบถ้วน นอกจากเป็นเพราะไปเน้นที่ศีลธรรมส่วนบุคคลมากเกินไปแล้ว ยังเป็นเพราะการตีความหลักธรรมที่คลาดเคลื่อน เช่น อุเบกขา มีความเข้าใจว่าหมายถึงการวางใจเป็นกลางเท่านั้น แต่ที่จริงอุเบกขามิได้หมายความแค่วางใจเป็นกลางเฉย ๆ หากแต่เป็นการวางใจเป็นกลางที่มีจุดหมายเพื่อไม่ให้มีการละเมิดธรรมหรือเสียหลักการ ทั้งนี้เพราะถ้าปราศจากอุเบกขาแล้ว ความเมตตากรุณาที่มีต่อตัวบุคคล อาจทำให้เลยเถิดจนเป็นผลเสียต่อธรรมได้ เช่น ช่วยเพื่อนโดยเอาเงินของส่วนรวมไปให้เขา พุทธศาสนาเน้นอุเบกขาในกรณีดังกล่าว เพื่อรักษาธรรมหรือหลักการของส่วนรวมเอาไว้ เป็นการป้องกันส่วนรวมมิให้เสียหาย เห็นได้ชัดว่าอุเบกขานั้นเป็นธรรมที่ช่วยให้บุคคลตระหนักถึงหน้าที่ที่มีต่อธรรมและหลักการของส่วนรวม มิใช่คำนึงแต่หน้าที่หรือคุณธรรมต่อตัวบุคคลเท่านั้น
การไม่สนใจทำหน้าที่ต่อส่วนรวมนี้เอง ที่ทำให้ชาวพุทธส่วนใหญ่ก็ว่าได้เฉยเมยหรือไม่นำพาต่อปัญหาบ้านเมือง มุ่งแต่รักษาศีล ๕ หรือสนใจแต่ทำทาน แต่ปล่อยให้บ้านเมืองเต็มไปด้วยการคอร์รัปชั่น อาชญากรรม ความเหลื่อมล้ำต่ำสูง รวมทั้งไม่อินังขังขอบต่อปัญหาที่คุกคามระบอบประชาธิปไตย จะพูดไปแล้วอย่าว่าแต่ประชาธิปไตยเลย แม้แต่ปัญหาที่เกิดกับพุทธศาสนาอย่างชัดเจน เช่น เวลาที่พระธรรมวินัยถูกจ้วงจาบหรือบิดเบือน ชาวพุทธจำนวนมากก็นิ่งเฉย เห็นได้ชัดเมื่อเกิดกรณีธรรมกาย ซึ่งเป็นเรื่องบิดเบือนพระธรรมวินัย ไม่แต่คฤหัสถ์เท่านั้น กระทั่งพระกรรมฐานจำนวนไม่น้อยก็ไม่เอาธุระ กลับเห็นว่าควรปล่อยให้เป็นเรื่องของกฎแห่งกรรมไป
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้ระบบศีลธรรมในพุทธศาสนาเท่าที่เป็นอยู่ไม่ค่อยเอื้อต่อประชาธิปไตย นั่นก็คือความรู้สึกอิหลักอิเหลื่อหรือถึงกับมีอคติต่อหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย ได้แก่ เสรีภาพ อิสรภาพ เสมอภาค ที่ผ่านมาชาวพุทธทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเป็นอันมากมีท่าทีปฏิเสธคำเหล่านี้ เพราะเห็นว่า เป็นคำที่ส่งเสริมกิเลสหรือการเอาตัวเองเป็นใหญ่ เช่นเดียวกับคำว่าสิทธิ ที่ชาวพุทธมักมองว่าเป็นแนวคิดที่อิงอยู่กับการยึดถือประโยชน์ส่วนตน คิดแต่จะเรียกร้องสิ่งที่ตนพึงมีพึงได้จากผู้อื่น
เป็นความจริงที่ว่าเสรีภาพ อิสรภาพ เสมอภาค ตามนิยามในระบอบประชาธิปไตยมิได้มีอยู่ในระบบศีลธรรมของพุทธศาสนามาก่อน แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ขัดกัน หากมีการนิยามเสรีภาพและเสมอภาคในแง่ที่เปิดโอกาสให้มีการฝึกฝนพัฒนาตนและช่วยเหลือสังคมได้มากขึ้น เช่นเดียวกับอิสรภาพที่นิยามให้คลุมไปถึงมิติด้านจิตใจด้วย ในทำนองเดียวกันสิทธิก็มิได้หมายความถึงการเรียกร้องเอาเข้าตัวอย่างเดียว แต่รวมถึงการมีหน้าที่ที่จะต้องเคารพสิทธิของผู้อื่น รวมทั้งปกป้องสิทธิของผู้อื่นเวลาถูกล่วงละเมิดด้วย มองในแง่นี้สิทธิจึงเป็นแนวคิดที่แยกไม่ออกจากคุณธรรมหรือศีลธรรมของชาวพุทธ ต่างทำหน้าที่ประสานกัน กล่าวคือขณะที่ศีล ๕ หรือเมตตากรุณาเป็นข้อพึงปฏิบัติระหว่างบุคคลต่อบุคคล สิทธิก็เป็นข้อพึงปฏิบัติของบุคคลต่อสังคม
โลกุตตรธรรมกับประชาธิปไตย
มิติทางสังคมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบศีลธรรมของพุทธศาสนา ที่ทำให้สำนึก และความรับผิดชอบตลอดจนสัมพันธภาพของผู้คนขยายออกไปสู่สังคม ไม่จำกัดอยู่แค่ครอบครัวหรือชุมชนเท่านั้น แต่มิติทางสังคมดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นลอย ๆ หากอิงอยู่กับความจริงของธรรมชาติที่เรียกว่าสัจธรรม
สัจธรรมในพุทธศาสนานั้นโดยเฉพาะในฝ่ายโลกุตตรธรรม ชี้ให้เราตระหนักว่าสัมพันธภาพของมนุษย์นั้นยังขยายกว้างออกไปยิ่งกว่านั้นอีก กล่าวคือไม่เพียงเชื่อมโยงกับผู้คนในสังคมเท่านั้น หากยังเชื่อมโยงกับสรรพชีวิตและสรรพสิ่งในโลกและจักรวาลด้วยซ้ำ หลักธรรมที่ว่านั้นก็คืออิทัปปัจจยตา นั่นคือความจริงที่ว่าไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นโดยอิสระ หากเกิดขึ้นโดยมีสิ่งอื่นเป็นเหตุปัจจัย ติช นัท ฮันห์ ได้กล่าวถึงสหสัมพันธ์ของสรรพสิ่งได้อย่างงดงามว่า
“เมื่อคุณมองเก้าอี้ตัวนี้ คุณเห็นป่าไม้อันเป็นที่มาของไม้ที่ใช้ทำเก้าอี้ตัวนี้ไหม คุณเห็นดวงอาทิตย์ซึ่งสาดส่องป่าไม้ และหมู่เมฆซึ่งโปรยฝนบำรุงเลี้ยงป่าไหม คุณเห็นคนตัดไม้และครอบครัวของเขาไหม และข้าวที่เลี้ยงชีวิตของพวกเขาล่ะ คุณเห็นทั้งหมดนี้ในเก้าอี้ตัวนี้ไหม เก้าอี้ประกอบด้วยสรรพสิ่งที่มิใช่เก้าอี้ คุณเห็นดวงอาทิตย์ในหัวใจของคุณไหม เห็นบรรยากาศในปอดของคุณไหม สรรพสิ่งล้วนดำรงอยู่ในสภาพที่ต่างเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน และต่างเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกัน”
การที่เรายังเป็นเราอยู่ได้ ก็เพราะสรรพสิ่งในโลกเป็นปัจจัยให้เกิดมีขึ้น ไม่ใช่แค่พ่อแม่และชุมชน สังคมเท่านั้น แต่รวมถึงธรรมชาติ ดินฟ้าอากาศ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ภูเขา แม่น้ำ ฯลฯ กล่าวอีกนัยหนึ่งมีเราเพราะมีโลก ไม่มีโลกก็ไม่มีเรา การเห็นความจริงเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดเมตตากรุณาขึ้นในใจ มีความรักอย่างไม่มีประมาณต่อสรรพสิ่งในโลก เพราะเส้นแบ่งระหว่างฉันกับโลกไม่มีอีกต่อไป ในอีกด้านหนึ่งก็ทำให้เกิดปัญญาเห็นความจริงเรื่องอนัตตาว่าสรรพสิ่งนั้นไม่ มีตัวตนที่เที่ยงแท้ เป็นอิสระเอกเทศเลย จึงไม่มีอะไรที่ยึดมั่นถือมั่นได้เลยสักอย่าง
จึงเห็นได้ว่าอนัตตากับสหสัมพันธ์ตามหลักอิทัปปัจจยตานั้นเป็น ๒ ด้านของความจริงอย่างเดียวกัน ในด้านหนึ่ง ทุกอย่างไม่มีตัวตน แต่ในอีกด้านหนึ่งทุกอย่างต่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กันหมด ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้รู้บางท่านบอกว่า เมื่อมองเข้ามาข้างใน ตัวฉันหามีไม่ แต่เมื่อมองออกไปฉันมีอยู่ในทุกสิ่ง
การที่พุทธศาสนาถูกลดทอนใน ๒ มิติ ทั้งด้านโลกุตตรธรรมและสังคม ทำให้ความจริงอันได้แก่ธรรมชาติส่วนลึกที่สุดและส่วนที่กว้างที่สุดของมนุษย์ถูกมองข้ามไป ผลก็คือ
๑) มนุษย์จึงกลายสภาพเป็นปัจเจกหรือบุคคลที่มีสังกัดคับแคบ จึงคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตนหรือพวกพ้อง ไม่สามารถคิดไปไกลถึงประโยชน์สุขของเพื่อนมนุษย์หรือเพื่อนร่วมโลกได้ การทำความดีจึงนอกจากมีขอบเขตแค่ทำความดีต่อคนใกล้ตัว หรือทำความดีในระดับบุคคลต่อบุคคล แต่ละเลยการทำความดีต่อสังคมหรือต่อโลก หรือหากจะทำดีต่อสังคมก็หวังประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญ เช่น “หวังบุญ”
๒) มีชีวิตขึ้นลงไปตามโลกธรรมและตามอำนาจของกรรมดีกรรมชั่วเท่านั้น ไม่สามารถอยู่เหนือโลกธรรมหรือเป็นอิสระจากแรงกรรมทั้งดีและชั่วได้ แม้ทำดีก็ยังติดดีอยู่ เมื่อได้รับสุขก็ยังติดในสุขโดยมองไม่เห็นความไม่เที่ยงของมัน ดังนั้นจึงไม่สามารถพ้นทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง
ทัศนะดังกล่าวไปได้ดีกับแนวคิดแบบโลกียวิสัย ( secularism) และแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งเน้นเรื่อง “โลกนี้” และประโยชน์ที่จับต้องได้ แต่เมื่อต้องเผชิญกับแนวคิดแบบทุนนิยมและบริโภคนิยมก็มีปัญหา เพราะนอกจากไม่มีพลังที่จะต้านทานแนวคิดดังกล่าวได้ แถมยังถูกแนวคิดดังกล่าวครอบงำได้ง่าย พุทธศาสนาจึงกลายเป็นศาสนาที่เน้นประโยชน์ทางวัตถุ หรือตอบสนองความโลภ โดยไม่เพียงให้ความหวังหรือคำปลอบใจเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนให้ลดละความเพียร แต่หวังผลสำเร็จด้วยวิธีลัดหรือคอยโชคที่เกิดจาก “ผลบุญ”
อย่างไรก็ตามการฟื้นพลังให้แก่พุทธศาสนา เป็นสิ่งที่เป็นไปได้และมีความจำเป็น เพราะปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตนานาชนิด ซึ่งแก้ไม่ได้ด้วยเทคโนโลยี ความมั่งคั่ง หรือวิธีคิด-โลกทัศน์แบบเดิม ๆ เพราะกล่าวอย่างถึงที่สุดรากเหง้าของวิกฤตทั้งหลายก็คือวิกฤตทางด้านจิตวิญญาณ (นอกจากเทคโนโลยี ความมั่งคั่ง และโลกทัศน์เดิมจะแก้วิกฤตดังกล่าวไม่ได้แล้ว มันยังซ้ำเติมหรือมีส่วนก่อให้เกิดวิกฤตดังกล่าวด้วย)
วิกฤตด้านจิตวิญญาณนั้นสะท้อนให้เห็นจากวัฒนธรรม ๒ กระแสใหญ่ซึ่งก่อปัญหาไปทั่วโลกได้แก่
๑)วัฒนธรรมแห่งความละโมบ
๒)วัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง
วัฒนธรรมแห่งความละโมบ
คือวัฒนธรรมที่กระตุ้นความละโมบของผู้คนทำให้เกิดความต้องการอย่างไม่มีขีดจำกัด ได้เท่าไรก็ไม่รู้จักพอ พื้นฐานของวัฒนธรรมนี้คือแนวคิดว่า greed is good ในด้านหนึ่งก็ก่อให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ การคอรัปชั่น การตักตวงประโยชน์จากทรัพยากรอย่างไม่บันยะบันยังจนถึงจุดวิกฤต ทุกสิ่งทุกอย่างถูกแปรให้เป็นสินค้า ไม่เว้นแม้แต่ผู้หญิง เด็ก ประเพณี สัญลักษณ์ทางศาสนา สิ่งที่ตามมาคือการทำลายชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ทำให้ความยากจนแพร่กระจาย ควบคู่กับการกระจุกตัวของทรัพย์สินในคนบางกลุ่ม ขณะเดียวกันครอบครัวก็ร้าวฉาน ชุมชนแตกแยก เงินกลายเป็นตัวกลางความสัมพันธ์แทนที่ความรักความเอื้ออาทร ต่างเห็นซึ่งกันและกันเป็นเหยื่อที่จะเอาประโยชน์ หรือเป็นศัตรูที่จะมาแย่งผลประโยชน์ ใช่แต่เท่านั้นลึก ๆ ในจิตใจผู้คนก็แปลกแยกกับตัวเอง มีความเครียดและความกลัดกลุ้ม ถึงกับทำสิ่งที่เป็นโทษต่อตัวเอง เช่น ขายตัวเพื่อแลกกับโทรศัพท์มือถือ หรือฆ่าตัวตายเมื่อไม่ได้วัตถุที่ต้องการ
วัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง
ทุกวันนี้ความเกลียดชังได้แพร่สะพัดจนกลายเป็นวัฒนธรรมของผู้คน ปรากฏอยู่ในสื่อและการแสดงออกของผู้คนอย่างกว้างขวาง มีการปลุกกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกปฏิปักษ์ต่อคนที่แตกต่างจากตนไม่ว่าในทางชาติพันธุ์ ผิวสี ภาษา ศาสนา รวมไปถึงเศรษฐฐานะ ความเชื่อ และ สถาบันที่สังกัด ควบคู่กันกันสำนึกดังกล่าว ก็คือการเหยียดคนที่มีอัตลักษณ์ต่างจากตนว่าเป็นผู้ที่ด้อยกว่า ความรังเกียจเดียดฉันท์ดังกล่าวนำไปสู่ความรุนแรงในทุกระดับ สงครามและความรุนแรงจึงเกิดขึ้นไปทั่ว
ในเมืองไทยการตั้งคำถามกับคนที่คิดต่างจากตนว่า “เป็นคนไทยหรือเปล่า” สะท้อนถึงความคับแคบทางความคิด และนำไปสู่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายในลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ยิ่งมีความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในปัจจุบัน ก็ยิ่งเห็นอำนาจของความเกลียดชังที่แพร่ระบาดไปทั่ว
ประชาธิปไตยถูกบั่นทอน
ทั้งวัฒนธรรมแห่งความละโมบและวัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง ได้แพร่หลายไปทั่วทั้งโลกได้ก็เพราะอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ ในด้านหนึ่งโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจก็ทำให้ทุนนิยมและบริโภคนิยไหลบ่าไปทั่ว ทุกหัวระแหงอย่างไม่เคยมีมาก่อน กระตุ้นให้ผู้คนเกิดความโลภและแข่งขันกันตักตวงเงินทองและทรัพยากร ในอีกด้านหนึ่งโลกาภิวัตน์ทางโทรคมนาคมก็ทำให้การสร้างความอคติและเกลียดชัง ต่อกันแพร่หลายไปรวดเร็วขึ้น ไม่เคยมียุคใดที่ความเท็จหรือความจริงครึ่งเดียวจะกระจายได้รวดเร็วเท่ายุค นี้ ขณะเดียวกันการรุกรานของอำนาจทุนที่ตักตวงประโยชน์จากชุมชนต่าง ๆ ก็ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและความยากจน จึงเกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากชุมชนท้องถิ่น จนเกิดเป็นความรุนแรง เกิดความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ทั้งต่อพลังภายนอก และเกิดความแตกแยกในชุมชนเดียวกัน
วัฒนธรรมทั้ง ๒ กระแสได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง กล่าวคืออำนาจทุนเข้ามามีอิทธิพลในทางการเมือง เช่น ติดสินบน ซื้อเสียง ซื้อนักการเมือง การสร้างแรงกดดันผ่านสื่อและกลุ่มลอบบี้ยิสต์ รวมทั้งจัดตั้งรัฐบาลเพื่อทำธุรกิจการเมือง นอกจากนั้นยังทำให้ผู้คนหลงใหลกับบริโภคนิยม หมกมุ่นแต่ตัวเองจนไม่สนใจมีส่วนร่วมทางการเมือง ขณะเดียวกันความเกลียดชังด้วยเหตุผลทางด้านอุดมการณ์ ยังทำให้การแตกแยกของคนในชาติ จนนำไปสู่การใช้เสียงส่วนมากเพื่อปิดปาก/เบียดบังคนส่วนน้อย พร้อมกันนั้นการไม่ยอมรับความเห็นของกันและกันได้นำไปสู่การใช้ความรุนแรง เพื่อแก้ไขความขัดแย้ง แทนที่จะใช้สันติวิธี
ทั้งหมดนี้ได้ซ้ำเติมประชาธิปไตยไทยซึ่งมีปัญหาต่าง ๆ รุมเร้ามากมาก อยู่แล้วมากมาย ทั้งปัญหาในเชิงหลักการและในเชิงกระบวนการ กล่าวคือ ในแง่หลักการ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือประชาธิปไตยไม่เป็นไปตามหลักการพื้นฐานอันได้แก่ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ มีการคุกคามเบียดบังสิทธิเสรีภาพมากขึ้น โดยเฉพาะรัฐบาลที่ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวางผ่านนโยบาย ประชานิยม มีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงขยายตัวอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน นอกจากนั้นยังเกิดการแบ่งแยกเป็นขั้ว ๆ แตกเป็นกลุ่ม ๆ ตามเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา อุดมการณ์
ปัญหาในเชิงกระบวนการ ได้แก่ การตัดสินใจแบบอัตตาธิปไตยและโลกาธิปไตย คือเอาผลประโยชน์ของตนเองเป็นใหญ่ หาไม่ก็ตัดสินตามกระแสนิยม ขณะเดียวกันการรับรู้ข้อมูลก็เป็นไปอย่างไม่รอบด้าน คำนึงประโยชน์ระยะสั้น ถูกใจมากกว่าถูกต้อง ผู้คนไม่เปิดใจรับฟังข้อมูลที่แตกต่าง ความคิดคับแคบ ถือพวกถือเหล่า ยังไม่นับปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง
ผลก็คือประชาธิปไตยไทยเกิดภาวะวิกฤต อันได้แก่ วิกฤตความชอบธรรมของผู้มีอำนาจ เนื่องจากผู้ปกครองใช้อำนาจเกินขอบเขต ผูกขาดการใช้อำนาจ ไม่เปิดพื้นที่ให้แก่คนที่เห็นต่าง เป็นรัฐบาลของคนบางกลุ่ม อีกทั้งยังทุจริต มุ่งประโยชน์ส่วนตน
สิ่งที่ตามมาคือ ประชาชนไม่ยอมรับอำนาจของผู้ปกครอง เกิดความแตกแยกทางการเมือง ในทุกระดับ และในหลายภาคส่วน (เช่นระหว่าง ชนชั้นนำ กับ ชนชั้นนำ คนชั้นกลาง กับ คนชั้นล่าง คนเมือง กับ คนชนบท รวมทั้งระหว่างรัฐกับสังคม) คนส่วนน้อยไม่ยอมรับเสียงข้างมาก ขณะที่คนกลุ่มใหญ่ไม่ฟังเสียงคนกลุ่มน้อย เกิดช่องว่างทางสังคมเศรษฐกิจ มีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น (เกิดปรากฏการณ์หนึ่งรัฐ สองสังคม) มีการเอาเปรียบคนส่วนน้อย โดยรัฐไม่สามารถและไม่สนใจแก้ปัญหาของคนเล็กคนน้อย กลายเป็นว่ายิ่งรัฐมีอำนาจครอบงำมากเท่าไร สังคมยิ่งอ่อนแอมากเท่านั้น นอกจากนั้นยังเกิดภาวะยอกแย้ง กล่าวคือขณะที่มีการเชื่อมโยงบูรณาการระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่กลับมีการแตกสลายภายในชาติอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งหมดนี้ทำให้มีการตั้งคำถามกับระบบการเลือกตั้ง จนไม่สามารถจะใช้การเลือกตั้งเป็นทางแก้ปัญหาความขัดแย้งได้
วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้
ประชาธิปไตยจะดำเนินไปได้ด้วยดี นอกจากจะต้องมีการปฏิรูปทางการเมือง การปฏิรูปเศรษฐกิจ และการปฏิรูปสังคมแล้ว ยังต้องอาศัย “วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้” เพื่อมาทัดทานถ่วงดุลกับวัฒนธรรมแห่งความละโมบและวัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง ด้วย
วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ กล่าวคือเป็นไปเพื่อการตื่นจากความหลงในวัตถุนิยม และจากความยึดติดถือมั่นในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว และอุดมการณ์ อันนำไปสู่การเบียดเบียนทำร้ายกัน
พุทธศาสนาสามารถช่วยให้เกิดวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ได้ เพราะมุ่งที่การลดทอนตัณหา ทิฏฐิ และมานะ ซึ่งเป็นรากเหง้าแห่งวัตถุนิยมและความเกลียดชังกัน พุทธศาสนาเน้นว่าความสุขนั้นมิได้ขึ้นอยู่กับวัตถุเสมอไป นอกจากความสุขทางกายแล้ว เรายังต้องการความสุขทางจิตใจ และความสุขทางใจนี้เองที่เป็นความสุขที่ลึกซึ้งที่สุดที่มนุษย์ทุกคนควรเข้าถึงให้ได้ จุดมุ่งหมายสูงสุดของมนุษย์จึงมิได้อยู่ที่การครอบครองวัตถุให้ได้มากที่สุด แต่อยู่ที่การเข้าถึงความสุขทางจิตใจด้วยตนเอง และเอื้อให้ผู้อื่นเข้าถึงด้วยเช่นกัน
นอกจากโลกทัศน์ที่เห็นมนุษย์ในแง่มุมที่ลึกซึ้งแล้ว พุทธศาสนายังเอื้อให้เกิดโลกทัศน์ที่มองเห็นมนุษย์อย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์ กับสรรพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชีวิต สังคม และธรรมชาติไม่อาจแยกจากกันได้ ความผาสุกของเราแต่ละคนผูกติดอยู่กับความผาสุกของผู้คนรอบข้าง สังคมรอบตัว และธรรมชาติแวดล้อม สำนึกดังกล่าวจะช่วยให้เราอ่อนโยนต่อธรรมชาติและรู้สึกถึงบุญคุณของสรรพ ชีวิตและทุกผู้คนในสังคมมากขึ้น เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง ไม่มองตนเองในกรอบแคบ ๆ โดยมองคนต่างเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาเป็นคนอื่น หากมองเห็นมนุษย์ทุกคนและทุกชีวิตว่าเป็นเพื่อนร่วมโลกที่อยู่ภายใต้สาย สัมพันธ์เดียวกัน มีความรักและความเห็นอกเห็นใจกันนมากขึ้น
พุทธศาสนายังช่วยให้เห็นถึงข้อจำกัดของทวินิยม และหันมามองโลกแบบอทวินิยมมากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมองโลกแบบทวินิยมนำไปสู่การเบียดเบียน เอารัดเอาเปรียบกัน รวมทั้งก่อความรุนแรงต่อกัน ในด้านหนึ่งการแยกฉันกับโลกและผู้อื่นออกจากกัน ก็ทำให้ตกเป็นเหยื่อของความโลภ คือพยายามตักตวงให้ตัวเองให้มากที่สุดโดยไม่สนใจคนอื่นหรือผลกระทบกับโลก
ในอีกด้านหนึ่งวัฒนธรรมแห่งความเกลียดชังตั้งอยู่บนความคิดแบบทวินิยม แบ่งเราแบ่งเขา เห็นคนที่ไม่ใช่พวกเดียวกับตนเป็นศัตรู และมองโลกแบบเป็นขาว-ดำชัดเจน โดยเฉพาะคนที่เคร่งศาสนาหรือติดยึดกับอุดมการณ์ มักจะตกอยู่ในกับดักแห่งความคิดดังกล่าว คือขีดเส้นความดี-ความชั่วชัดเจน ใครที่ไม่ดีเหมือนตัวหรือคิดเหมือนตัว ก็ประณามว่าเป็นคนชั่ว และเมื่อเป็นคนชั่วเสียแล้ว ย่อมเป็นการชอบธรรมที่จะกำจัดเขาด้วยวิธีใด ๆ ก็ได้
ประธานาธิบดีบุชเคยประกาศว่า “ใครไม่อยู่ฝ่ายเดียวกับเรา ก็อยู่ฝ่ายผู้ก่อการร้าย” ในเมืองไทย ก็มีคนพูดว่า “ใครไม่อยู่ฝ่ายพันธมิตร ก็เป็นพวกทักษิณ” หรือ “ใครไม่สนับสนุนทักษิณ/พลังประชาชน ก็เป็นพวกพันธมิตร”
พุทธศาสนานั้นมองโลกอย่างเป็นอทวิภาวะตามหลักอิทัปปัจจยตา โดยเห็นว่าสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงกันเป็นสหสัมพันธ์ ไม่มีอะไรแยกขาดจากกันเป็นขั้วหรือเป็นคู่ ๆ ได้ ดังมีพุทธพจน์ว่า “แสงสว่างต้องอาศัยความมืดจึงปรากฏ ความงามต้องอาศัยความไม่งามจึงปรากฏ” นอกจากจะอิงอาศัยกันแล้ว สิ่งที่ดูเหมือนตรงข้ามกันยังปรากฏอยู่ด้วยกัน พุทธพจน์ตอนหนึ่งมีความว่า “ความแก่มีอยู่ในความเป็นหนุ่มสาว ความเจ็บไข้มีอยู่ในความไม่มีโรค ความตายก็มีอยู่ในชีวิต”
มองในแง่นี้ อทวินิยมทำให้เราตระหนักว่าโลกและชีวิตไม่ได้ขีดเส้นความดีความชั่วได้ง่ายอย่างนั้น ความดีกับความชั่วไม่ได้แยกจากกันเด็ดขาด คนเรามีทั้งดีและชั่วอยู่ด้วยกัน โซลเชนิตซิน นักเขียนรางวัลโนเบลชาวรัสเซีย ซึ่งเคยถูกจองจำในค่ายกักกันของสตาลิน พูดไว้อย่างน่าฟังว่า
“ มันจะง่ายดายสักเพียงใด ถ้าเพียงแต่ว่าคนชั่วร้ายอยู่ที่ไหนสักแห่งและคอยทำแต่สิ่งชั่วร้าย เราก็แค่แยกคนพวกนั้นออกจากพวกเราแล้วก็ทำลายเขาเสีย เท่านั้นก็จบกัน แต่เส้นแบ่งความดีและความชั่วนั้นผ่าลงไปในใจของมนุษย์ทุกคน ใครเล่าที่อยากจะทำลายส่วนเสี้ยวในใจของตน?”
ความตระหนักว่าในจิตใจของเรานั้นก็มีความชั่วร้ายแฝงฝังอยู่ ก็ทำให้เราต้องระมัดระวังที่จะใช้ความรุนแรงกระทำกับผู้อื่น เพราะความรุนแรงนั้นเองจะหล่อเลี้ยงบ่มเพาะความชั่วร้ายในใจเราให้เติบใหญ่ ขึ้น จนแสดงตัวออกมาเป็นพฤติกรรมที่ชั่วร้าย หรือแปรเปลี่ยนเราให้กลายเป็นคนชั่วร้ายในที่สุด ตำรวจที่ใช้วิธีการอันเลวร้ายกับโจร ในที่สุดกลับมีพฤติกรรมไม่ต่างจากโจร พูดอย่างอทวิภาวะก็คือ ในตำรวจนั้นมีความเป็นโจรที่รอการฟูมฟักแฝงอยู่ด้วย ในเรื่องนี้ ติช นัท ฮันห์ ได้กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า
“ฉันคือเด็กในอูกันดา มีแต่หนังหุ้มกระดูก
ขาฉันเล็กบางราวลำไผ่
และฉันคือพ่อค้าอาวุธ
ขายเครื่องประหัตประหารแก่อูกันดา
ฉันคือเด็กหญิงสิบสองขวบ
ลี้ภัยในเรือน้อย
โถมร่างลงกลางสมุทร
หลังถูกโจรสลัดข่มขืน
และฉันคือโจรสลัด
หัวใจฉันยังขาดความสามารถ
ในการเห็นและรัก
ฉันคือสมาชิกกรมการเมือง
ผู้กุมอำนาจล้นฟ้า
และฉันคีอชายผู้ต้องจ่าย
“หนี้เลือด”แก่ประชาชน
ผู้ค่อย ๆ ตายไปในค่ายแรงงาน”
ทัศนะการมองแบบอทวินิยมดังกล่าวเป็นสิ่งที่พุทธศาสนาให้ความสำคัญมาก เพราะช่วยให้บุคคลหลุดพ้นจากความติดยึดในสมมติบัญญัติ ซึ่งพัวพันกับการมองโลกเป็นคู่ ๆ สามารถอยู่เหนือดีและชั่ว สุขและทุกข์ ตลอดจนโลกธรรมทั้งปวง ช่วยให้ถอนจากความสำคัญมั่นหมายในตัวตน(ว่ามีอยู่อย่างเป็นอิสระเอกเทศและ ยั่งยืนถาวร) ดังนั้นจึงนำไปสู่อิสรภาพทางจิตใจอย่างสิ้นเชิง แต่อทวินิยมจะมีความสำคัญแต่เฉพาะการพัฒนาในทางจิตวิญญาณอย่างเดียวก็หาไม่ หากยังมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตและกิจกรรมในทางโลกอีกด้วย
พุทธศาสนายังช่วยให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการตื่นรู้ได้ด้วยการส่งเสริมการพัฒนาจิต เช่น สติ สมาธิ เมตตา กรุณา รวมทั้งปัญญา คุณภาพจิตดังกล่าวเป็นภูมิต้านทานวัฒนธรรมแห่งความละโมบและวัฒนธรรมแห่งความ เกลียดชังได้ กล่าวคือ มีความสุขกับชีวิตที่เรียบง่าย เพราะเข้าถึงความสุขภายในอันประณีต ไม่หลงเป็นทาสวัตถุหรือมัวเมาในบริโภคนิยม
ปัญญายังช่วยรักษาใจไม่ให้ถูกครอบงำด้วยความเกลียดชัง เพราะทำให้แลเห็นความจริงอย่างรอบด้านโดยปราศจากอคติ นอกจากนั้นเมตตากรุณาก็สำคัญมาก ไม่ใช่เมตตากับคนใกล้ตัวเท่านั้น หากรวมไปถึงคนที่อยู่ไกลออกไป ไม่เว้นแม้กระทั่งคนที่เป็น “ศัตรู” หรือคนชั่วร้าย ที่มีพฤติกรรมน่ารังเกียจ เมตตากรุณาเช่นนี้แหละที่จะทำให้เรามั่นคงในความเป็นมนุษย์ ไม่เห็นคนเป็นผักปลา แม้เขาจะเป็นคนชั่วร้ายก็ตาม
พุทธศาสนากับประชาธิปไตยต้องเกื้อกูลกัน
ประชาธิปไตยมุ่งให้เกิด เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ หลักการทั้งสามประการจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยคุณภาพจิตเป็นตัวรองรับ กล่าวคือ เสรีภาพภายนอกต้องอิงเสรีภาพภายใน โดยมีปัญญาเป็นตัวเชื่อม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)