ทุกคนอยากมีชีวิตสุขสบายไร้โรคา
ท่านทั้งหลายมาฟังการบรรยายก็มีจุดประสงค์อย่างเดียวกัน ผมขอถามว่า
อายุขัยของคนเราสูงสุดคือเท่าไร บางคนบอกว่าสูงสุด
150 ปี ต่ำสุด 120 ปี ซึ่งไม่ถูก มนุษย์เรามีระยะเจริญเติบโต 20-25 ปี อายุขัยเป็น 5-7 เท่าของระยะเจริญเติบโต คือต่ำสุด 100 ปี สูงสุด 175 ปี การจะอยู่ถึงร้อยปีไม่ใช่ฝันอีกแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากอยู่ถึงขนาดนั้นหรือไม่
จะอยู่ร้อยปีก่อนอื่นต้องมีสุขภาพดี
แล้วสุขภาพดีมาจากไหน? มาจากพื้นฐาน 4 ประการในชีวิตประจำวัน ประการ
แรก คือภาวะจิตที่สงบสุข ประการที่สอง คือรับโภชนาการที่สมดุล
ประการที่สามคือออกกำลังกายพอเหมาะ ประการที่สี่คือนอนหลับเพียงพอ
โดยปรกติแล้ว ประการที่สี่ชักจูงให้งดบุหรี่และเหล้า ผมขอแก้เป็นนอนหลับเพียงพอ
ดั่งที่โบราณท่านว่า “อดนอนทุกวัน ชีวิตสั้นไป 10 ปี”
พื้นฐานสุขภาพ 4 ประการ ต้องเรียงตามลำดับ สมัยนี้มีบทความมากมายเขียนถึงเรื่องนี้ แต่ถ้าไม่พูดถึงภาวะจิตใจเป็นประการแรก แสดงว่าผู้เขียนไม่ใช่มืออาชีพ
ไม่ต้องอ่านต่อแล้ว
เพราะแพทย์แผนจีนจัดภาวะจิตใจเป็นอันดับหนึ่งในการบำรุงสุขภาพ กล่าวคือ ภาวะจิตเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม และผลพวงต่างๆ เกิดจากพฤติกรรม มองในแง่สรีระ คนเราอยู่ได้โดยอาศัยอวัยวะทั้ง 5 คือ ตับ หัวใจ ม้าม ปอด และไต
ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลออกใบมรณะบัตร
มักจะระบุสาเหตุการตายว่า หัวใจวาย ตับวาย ไตวาย เป็นต้น
ถ้าผู้ป่วยตายด้วยเส้นเลือดหัวใจอุดตัน แสดงว่าเลือดเข้มข้นสกปรก
แต่เลือดฟอกมาจากตับ แสดงว่าตับหมดสมรรถภาพในการฟอกพิษหรือกลั่นกรองเลือดให้บริสุทธิ์ิ์ ไหลเวียนไม่คล่องตัว ทำให้อุดตันในเส้นเลือด ผู้ป่วยโรคหัวใจจำนวนมาก
ก่อนหัวใจวายมักจะบันดาลโทสะซึ่งเป็นสาเหตุทำลายการทำงานของตับด้วย เพราะฉะนั้น โปรดจำไว้ว่า อย่าโมโหโทโสซึ่งไม่ช่วยแก้ไขปัญหาใดๆ เลย นอกจากทำลายร่างกายเท่านั้น ขอฝากคำขวัญให้ทุกท่าน “หัวเราะสามเวลา ห่างไกลโรคและยา หัวเราะสามเวลา
หมอต้องผูกคอลา”
ทีนี้มาพูดเรื่องโภชนาการ อักษรจีนต้องเขียนตามลำดับก่อนหลัง ภาษาก็เช่นเดียวกัน เราพูดว่า “ดุลยภาพแห่งโภชนาการ”หมายความว่า ดุลยภาพต้องมาก่อน โภชนาการจึงตามหลังมา WHO เตือนเราว่า คนเราเกิดโรคมาจากสาเหตุ (1) รูปแบบการดำรงชีวิตไม่เหมาะสม (2) กินอาหารไม่สมดุล หมายรวมถึงมากเกินและขาดแคลน นั่นคือ ไขมันมากเกิน แต่แร่ธาตุและวิตามินขาดแคลน สรุปคือ ไม่รู้จักกิน ทำให้เกิดโรค
อยากจะถามว่า เรากินอาหารเพื่ออะไร คำตอบคือ (1) เพื่อดำรงชีพ (2) เพื่อป้องกันโรค (3) เพื่อรักษาโรค
บรรดาโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เกิดจากการกินทั้งนั้น ในเมื่อกินแล้วทำให้เกิดโรคได้ ก็ต้องกินแล้วรักษาโรคได้เช่นกัน
แพทย์แผนจีนเป็นมรดกตกทอด 5 พันปี ให้คนรุ่นหลังใช้รักษาโรค 5 ขั้นตอน
ขั้นตอน 1 รักษาด้วยอาหาร หมอจะให้สูตรอาหารแก่คนไข้เป็นเวลาหลายเดือน ถ้าไม่ได้ผล ก็จะใช้
ขั้นตอน 2 กวาดทราย ดูดด้วยสุญญากาศ บีบนวดและดึงดัน ถ้าไม่ได้ผล ก็จะใช้
ขั้นตอน 3 ฝังเข็ม ถ้าไม่ได้ผล ก็จะใช้
ขั้นตอน 4 ใช้เหล้าดอง ถ้าไม่ได้ผล ก็จะใช้
ขั้นตอน 5 ใช้ยา
ปัจจุบันหมอจะให้ยาทันทีที่คนไข้มาหา เป็นยาย่อมมีพิษ คุณกินยาทั้งเดือนทั้งปี ไม่มีวันที่โรคจะหายขาด
Socrates บิดาแห่งแพทย์แผนปัจจุบัน เคยกล่าวเตือนว่า “จงกินอาหารให้เป็นยา อย่ากินยาเป็นอาหาร”จีนโบราณก็มีคำกล่าวว่า“ใช้อาหารรักษาโรคดีกว่ายา” แต่ทุกวันนี้มันกลับกันหมด
เรากินอาหารวันละ 3 มื้อ กินเพื่ออวัยวะชิ้นไหนกันแน่? เราอยู่ได้เพราะอาศัยพลังงานจากอวัยวะทั้ง 5 พลังงานของอวัยวะได้มาจากการกิน แต่ทุกวันนี้เรากินตามใจและปาก
ชอบอะไรก็กินมันทุกวัน อวัยวะทั้ง 5 ก็
เหมือนกับคน มีรสนิยมแตกต่างกัน ตับชอบกินสีเขียว หัวใจชอบกินสีแดง
ม้ามชอบกินสีเหลือง ปอดชอบกินสีขาว ไตชอบกินสีดำ
คำว่าดุลยภาพหมายถึงกินหลากหลายชนิด
แพทย์แผนจีนใช้วิธีมอง ฟัง ดม ถาม แมะ
ก็สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ ในที่นี้ก็รวมทั้งการมองดูสี ทั้ง 5 บนใบหน้านั่นเอง ตัวอย่างเช่น ตับมีปัญหา สีหน้าจะออกเขียว หัวใจมีปัญหา สีหน้าจะออกแดง ม้ามมีปัญหา สีหน้าจะออกเหลือง คนไข้หอบหืด สีหน้าจะออกขาว คนไข้ไตเสื่อม สีหน้าจะออกดำ
ดังที่กล่าวแล้ว
ถั่วเขียวเหมาะสำหรับบำรุงตับ
เพื่อให้ตับขับพิษออกจากร่างกาย แต่ก็ต้องกินให้ถูกวิธี
คนทั่วไปมักจะต้มถั่วเขียวจนเละซึ่งไม่ถูกต้อง
วิธีที่ถูกคือต้มให้น้ำเดือดประมาณ 5-6 นาทีก่อนที่ถั่วจะแตกเม็ด รินเอาน้ำออกซึ่งจะได้น้ำถั่วเขียวที่มีสีเข้มข้นที่สุด
ดื่มแล้วมีสรรพคุณขับพิษสูงสุด จากนั้นเอาถั่วเติมน้ำต้มต่อจนเละกินเป็นอาหาร หัวใจชอบสีแดงให้กินถั่วแดง ม้ามชอบสีเหลืองให้กินถั่วเหลือง ปอดชอบสีขาวให้กินถั่วขาว ไตชอบสีดำให้กินถั่วดำ ทำไมถึงให้กินแต่ถั่ว? เพราะตำรายาจีนมีคำว่า“คนเรากินถั่วทั้ง 5 จะสมบูรณ์พูนสุข”โภชนาการแผนจีนก็เน้นว่า“กินไม่พ้นถั่ว” ขอยกตัวอย่างไม่ค่อยสุภาพ ในชนบทเขาใช้ถั่วดำเลี้ยงปศุสัตว์
ทำให้ไตแข็งแรงมีกำลังวังชา สามารถทำงานหนักเตะปี๊บดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
สุภาพสตรีควรบริโภคถั่วตลอดชีวิต เพราะนอกจากเป็นประโยชน์ต่ออวัยวะทั้ง 5 แล้ว ในถั่วยังมีสารที่กระตุ้นการทำ
งานของรังไข่
ต่อไปจะพูดถึงรสชาติ เปรี้ยวบำรุงตับ ขมบำรุงหัวใจ หวานบำรุงม้าม เผ็ดบำรุงปอด
เค็มบำรุงไต หมายความว่า ต้องกินให้ครบทุกรสชาติอย่างละนิด ให้เกิดสมดุล
เช่นรสเปรี้ยวบำรุงตับ กินมากตับพัง จีนเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยโรคตับมาก
ในจีนเองต้องยกให้มณฑลซันซีครองแชมป์โรคตับ
เพราะคนที่นั่นชอบกินน้ำส้มสายชู รสเผ็ดบำรุงปอด กินมากปอดพังเช่นกัน
สถิติกระทรวงสาธารณสุขจีนปีที่แล้วระบุว่า
ชาวเสฉวนและชาวหูหนันที่อพยพจากจีนใต้ไปอยู่ภาคเหนือ
นำเอานิสัยชอบกินพริกติดตัวไปด้วย นานวันเข้าเป็นโรคมะเร็งในปอดตามๆ กัน
ทั้งนี้เพราะเหตุว่า ภาคใต้อากาศชื้น
กินเผ็ดป้องกันความชื้นได้ แต่ภาคเหนืออากาศแห้ง กินเผ็ดมากจะทำลายปอด
พึงจำไว้ว่า ใครอยู่ถิ่นไหนให้กินของถิ่นนั้น
ไม่ใช่ว่ากินของได้ทั่วทุกถิ่น
กินอาหารอย่างไรจึงจะเหมาะ ง่ายนิดเดียว มีหลักการจำดังนี้ “สีสัน หยาบ-ละเอียด ดิบ-สุก คาว-เจ”หมายความว่า กินอาหารต้องคละกันหลากสีและรสชาติ หยาบแข็งควบคู่กับละเอียดนิ่ม สุกควบคู่กับดิบ คาวควบคู่กับเจ
ขอแนะนำว่า แต่นี้ไปให้กินผักดิบผลไม้สดแต่ละมื้อ
ถ้าเปลือกกินได้ก็กินทั้งเปลือกจะยิ่งดี เพราะแพทย์แผนจีนถือว่า
กินของดิบลดอาการร้อนใน แพทย์แผนปัจจุบันก็ถือว่า
ผักผลไม้สดดิบให้วิตามินดีกว่า
สุดท้ายจะพูดถึงยาบำรุง เราไม่ต้องเสียเงินมากมายซื้อยามาบำรุงร่างกาย
ผักและผลไม้มีวิตามินสูง ถ้ากินให้ถูกวิธี
ก็สามารถดูดซึมวิตามินเพียงพอต่อร่างกาย สิ่งที่ต้องการคือแคลเซียม ผู้หญิงควรกินแคลเซียมวันละ 3000 มก. ขึ้นไป ผู้ชายกินวันละ 4000 มก.
ขึ้นไป
พร้อมกับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ คนทั่วไปมักเข้าใจผิด
คิดว่าแคลเซียมใช้สำหรับรักษาโรคไขข้ออักเสบ
ที่จริงแล้วแคลเซียมช่วยกระตุ้นให้โลหิตไหลเวียน นอกจากนั้น
ยังป้องกันเส้นโลหิตแข็งตัว ดังนั้น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ควรกินแคลเซียมให้เพียงพอ เพื่อให้เส้นโลหิตอ่อนตัว ความดันก็จะลดตาม
ยาลดความดันก็ไม่ต้องกินมาก
ขอฝากคำขวัญให้ทุกท่าน “อยากให้ร่างกายดี กินอาหารถูกวิธี อยากให้สุขภาพเยี่ยม อย่าลืมกินแคลเซียม” อย่าลืม อาหารต้องมาก่อนยา เป็นโรคอย่าพึ่งแต่ยา พึงใช้ยาในยามวิกฤติเท่านั้น ขอส่งท้ายด้วย 4 ประโยคดังนี้ “หมอที่ดีที่สุดคือตัวเรา โรงพยาบาลที่ดีที่สุดคือห้องครัว ยาที่ดีที่สุดคืออาหารมีคุณค่า การรักษาที่ดีที่สุดคือเวลา” หมาย
ความว่า ตัวคุณเองต้องรู้จักรักษาตัวเอง
ห้องครัวในบ้านคุณเป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุด ยากับอาหารมีความหมายเดียวกัน
กินอาหารให้ถูกต้องก็คือยาที่ดีที่สุด การรักษาต้องต่อเนื่อง
ไม่ใช่ทดลองแล้วก็หยุด หรือเปรียบเสมือนใช้อวนจับปลา 3 วัน แล้วก็ตากอวนหยุดจับปลา 2 วัน ต้องใช้เวลาเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี
ท้ายที่สุด ผมขอแนะนำดังนี้
1. หลังจากฟังคำบรรยายแล้ว นำไปเผยแพร่แก่ญาติมิตร
เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดี และเป็นการทบทวนในตัว
2. เขียนข้อความ “ก่อนถึงเก้าสิบเก้า ห้ามเข้า(โลง)เด็ดขาด”ติดไว้หน้าเตียง เพื่อเตือนตัวเองกินให้ถูกวิธี
ก่อนลาจาก ขอให้เราทุกคนตะโกน “ยืนหยัดไม่ไป
(ตาย)
ก่อนอายุ 99”
Source:
วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555
Why Does Hair Turn Gray?
By Sarah B. Weir, Yahoo! blogger
There is one thing most presidents have in common at the end of their first terms: more gray hairs. The graying of the Commander-in-Chief is symbolic of the stress associated with being top dog in the world's most powerful nation. However, research shows that psychological stress does not, in fact, impact the color of one's locks.
Photo: President Obama, Going Gray
For both presidents and the rest of us, gray hair is simply a part of the normal aging process, and the rate you go silver is genetically predetermined. Going gray is not associated with earlier mortality, and premature graying is not, generally speaking, a sign of a illness or ill health in younger adults. There are, however, some specific health conditions, such as vitiligo (an autoimmune disorder that causes uneven pigmentation) associated with gray or white hair, but for most of us, going gray is just a fact of life.
Related: Gray Hair's in Fashion, but What About at Work?
Hair color comes from the pigment melanin, which has two hues, blackish brown and reddish yellow—the amount and mix of each determines your individual shade. Hair without any melanin is pure white. The pigment is produced in cells called melanocytes, located at the base of the hair follicle. The melanocytes inject pigment into the hair. At some point in everyone's lifetime, these cells slow down and eventually stop producing color all together in what's called apoptosis, or genetically predetermined demise. Scientists have yet to identify the exact mechanism by which melanocyte cell death occurs.
Tips to Make Hair Color Last
A study of more than 4,000 women and men from 20 countries determined that about 75% of people between the ages of 45 and 65 have some gray hair. In general, people of European descent gray earliest followed by Asians and Africans. It's interesting to note that a lucky 1 in 10 has no gray hair by retirement age. Beginning at age 30, your chances of having gray hair go up 10-20% per decade.
It may feel like you sprout more grays in the wake of a stressful event, but that's probably because middle age is basically a series of anxiety-ridden events. Between working, raising kids, and caring for older parents, the "sandwich" years of 45-65 can be stressful, especially for women. They are also when we naturally start to look older.
In 2011, L'Oreal announced it was in the early stages of developing a pill that would prevent melanin reduction, but at this point, there is still no silver bullet to keep away the grays.
Source: http://shine.yahoo.com/beauty/why-does-hair-turn-gray-163000484.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)