วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

10 Heart Attack Symptoms You’re Most Likely to Ignore

By Melanie Haiken, Caring.com
Mon, Nov 01, 2010

Heart attacks don't always strike out of the blue -- there are many symptoms we can watch for in the days and weeks leading up to an attack. But the symptoms may not be the ones we expect. And they can be different in men and women, and different still in older adults. Last year, for example, a landmark study by the National Institutes of Health (NIH) published in Circulation: Journal of the American Heart Institute found that 95 percent of women who'd had heart attacks reported experiencing symptoms in the weeks and months before the attack -- but the symptoms weren’t the expected chest pain, so they went unrecognized.

How to Tell if Someone Is Having a Heart Attack

Don't let that happen to you. Here, 10 heart symptoms you're likely to ignore -- and shouldn't.

1. Indigestion or nausea

One of the most oft-overlooked signs of a heart attack is nausea and stomach pain. Symptoms can range from mild indigestion to severe nausea, cramping, and vomiting. Others experience a cramping-style ache in the upper belly. Women and adults over age 60 are more likely to experience this symptom and not recognize it as tied to cardiac health.

Most cases of stomach ache and nausea aren't caused by a heart attack, of course. But watch out for this sign by becoming familiar with your own digestive habits; pay attention when anything seems out of the ordinary, particularly if it comes on suddenly and you haven't been exposed to stomach flu and haven't eaten anything out of the ordinary.

2. Jaw, ear, neck, or shoulder pain

A sharp pain and numbness in the chest, shoulder, and arm is an indicator of heart attack, but many people don't experience heart attack pain this way at all. Instead, they may feel pain in the neck or shoulder area, or it may feel like it’s running along the jaw and up by the ear. Some women specifically report feeling the pain between their shoulder blades.

A telltale sign: The pain comes and goes, rather than persisting unrelieved, as a pulled muscle would. This can make the pain both easy to overlook and difficult to pinpoint. You may notice pain in your neck one day, none the next day, then after that it might have moved to your ear and jaw. If you notice pain that seems to move or radiate upwards and out, this is important to bring to your doctor’s attention.

3. Sexual dysfunction

Having trouble achieving or keeping erections is common in men with coronary artery disease, but they may not make the connection. Just as arteries around the heart can narrow and harden, so can those that supply the penis -- and because those arteries are smaller, they may show damage sooner. One survey of European men being treated for cardiovascular disease found that two out of three had suffered from erectile dysfunction before they were ever diagnosed with heart trouble.

4. Exhaustion or fatigue

A sense of crushing fatigue that lasts for several days is another sign of heart trouble that's all too often overlooked or explained away. Women, in particular, often look back after a heart attack and mention this symptom. More than 70 percent of women in last year's NIH study, for example, reported extreme fatigue in the weeks or months prior to their heart attack.

The key here is that the fatigue is unusually strong -- not the kind of tiredness you can power through but the kind that lays you flat out in bed. If you're normally a fairly energetic person and suddenly feel sidelined by fatigue, a call to your doctor is in order.

5. Breathlessness and dizziness

When your heart isn't getting enough blood, it also isn't getting enough oxygen. And when there's not enough oxygen circulating in your blood, the result is feeling unable to draw a deep, satisfying breath -- the same feeling you get when you're at high elevation. Additional symptoms can be light-headedness and dizziness. But sadly, people don't attribute this symptom to heart disease, because they associate breathing with the lungs, not the heart.

In last year's NIH study, more than 40 percent of women heart attack victims remembered experiencing this symptom. A common description of the feeling: "I couldn't catch my breath while walking up the driveway."

6. Leg swelling or pain

When the heart muscle isn't functioning properly, waste products aren't carried away from tissues by the blood, and the result can be edema, or swelling caused by fluid retention. Edema usually starts in the feet, ankles, and legs because they're furthest from the heart, where circulation is poorer. In addition, when tissues don't get enough blood, it can lead to a painful condition called ischemia. Bring swelling and pain to the attention of your doctor.

7. Sleeplessness, insomnia, and anxiety

This is an odd one doctors can't yet explain. Those who've had heart attacks often remember experiencing a sudden, unexplained inability to fall asleep or stay asleep during the month or weeks before their heart attack. (Note: If you already experience insomnia regularly, this symptom can be hard to distinguish.)

Patients often report the feeling as one of being "keyed up" and wound tight; they remember lying in bed with racing thoughts and sometimes a racing heart. In the NIH report, many of the women surveyed reported feeling a sense of "impending doom," as if a disaster were about to occur. If you don't normally have trouble sleeping and begin to experience acute insomnia and anxiety for unexplained reasons, speak with your doctor.

8. Flu-like symptoms

Clammy, sweaty skin, along with feeling light-headed, fatigued, and weak, leads some people to believe they're coming down with the flu when, in fact, they're having a heart attack. Even the feeling of heaviness or pressure in the chest -- typical of some people's experience in a heart attack -- may be confused with having a chest cold or the flu.

If you experience severe flu-like symptoms that don't quite add up to the flu (no high temperature, for example), call your doctor or advice nurse to talk it over. Watch out also for persistent wheezing or chronic coughing that doesn't resolve itself; that can be a sign of heart disease, experts say. Patients sometimes attribute these symptoms to a cold or flu, asthma, or lung disease when what's happening is that poor circulation is causing fluid to accumulate in the lungs.

9. Rapid-fire pulse or heart rate

One little-known symptom that sometimes predates a heart attack is known as ventricular tachycardia, more commonly described as rapid and irregular pulse and heart rate. During these episodes, which come on suddenly, you feel as if your heart is beating very fast and hard, like you just ran up a hill -- except you didn't. "I'd look down and I could actually see my heart pounding," one person recalled. It can last just a few seconds or longer; if longer, you may also notice dizziness and weakness.

Some patients confuse these episodes with panic attacks. Rapid pulse and heartbeat that aren't brought on by exertion always signal an issue to bring to your doctor's attention.

10. You just don't feel like yourself

Heart attacks in older adults (especially those in their 80s and beyond, or in those who have dementia or multiple health conditions), can mimic many other conditions. But an overall theme heard from those whose loved ones suffered heart attacks is that in the days leading up to and after a cardiac event, they "just didn't seem like themselves."

A good rule of thumb, experts say, is to watch for clusters of symptoms that come on all at once and aren't typical of your normal experience. For example, a normally alert, energetic person suddenly begins to have muddled thinking, memory loss, deep fatigue, and a sense of being "out of it." The underlying cause could be something as simple as a urinary tract infection, but it could also be a heart attack. If your body is doing unusual things and you just don't feel "right," don't wait. See a doctor and ask for a thorough work-up.

And if you have any risk factors for cardiac disease, such as high blood pressure, high cholesterol, smoking, or family history of heart disease, make sure the doctor knows about those issues, too.

Source: http://health.yahoo.net/caring/10-heart-attack-symptoms-you-re-most-likely-to-ignore

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Two Horses

Devotional for Wednesday, March 9, 2005 by Alison Cotter

Matthew 6:26 - Look at the birds of the air: they neither sow nor reap nor gather into barns, and yet your heavenly Father feeds them. Are you not of more value than they? (ESV)

Just up the road from my home is a field, with two horses in it.

From a distance, each horse looks like any other horse.
But if you stop your car, or are walking by, you will notice something quite amazing...

Looking into the eyes of one horse will disclose that he is blind. His owner has chosen not to have him put down, but has made a good home for him.

This alone is amazing. If you stand nearby and listen, you will hear the sound of a bell. Looking around for the source of the sound, you will see that it comes from the smaller horse in the field.

Attached to the horse's halter is a small bell. It lets the blind friend know where the other horse is, so he can follow.

As you stand and watch these two friends, you'll see that the horse with the bell is always checking on the blind horse, and that the blind horse will listen for the bell and then slowly walk to where the other horse is, trusting that he will not be led astray.

When the horse with the bell returns to the shelter of the barn each evening, it stops occasionally and looks back,
Making sure that the blind friend isn't too far behind to hear the bell.

Like the owners of these two horses, God does not throw us away just because we are not perfect or because we have problems or challenges.

He watches over us and even brings others into our lives
To help us when we are in need..

Sometimes we are the blind horse being guided by the little ringing bell of those who God places in our lives.
Other times we are the guide horse, helping others to find their way....

Good friends are like that... You may not always see them, but you know they are always there..

Please listen for my bell and I'll listen for yours, and remember...

Be kinder than necessary-
Everyone you meet is fighting
Some kind of battle.

Live simply,
Love generously,
Care deeply,
Speak kindly........

And leave the rest to God!

FOR WE WALK BY FAITH AND NOT BY SIGHT

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ออกกำลังกายตอนเช้าหรือตอนเย็นดี?

สมมุติว่าตัวเราเป็นรถยนต์ เครื่องยนต์ของเราคือกล้ามเนื้อ แขน ขา ที่จะทำให้เราเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนได้ รถยนต์ต้องการน้ำมันเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงาน คนเราก็ต้องการอาหาร เป็นพ ลังงานให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนได้ โดยเฉพาะใช้ออกกำลังกาย

ตื่นนอนเช้า รถยนต์และร่างกายเราไม่มีน้ำมัน ไม่มีพลังงาน จำเป็นต้องเติมน้ำมันก่อน หรือกินอาหารก่อน รถยนต์จะได้มีพลังงานวิ่งไปได้ คนเราจะได้มีพลังงานให้กล้ามเนื้อ แขน ขา ทำให้เราไปไหนมาไหนได้

รถยนต์ต่างกับร่างกายเราตรงที่พอเติมน้ำมันเต็มถัง แล้ว สามารถขับรถไปได้ทันที แต่คนเราหลังกินอาหารอิ่มเต็มที่ ยังไปออกกำลังกายไม่ได้ เพราะหลังกินอาหาร 2 ช.ม. จะมีเลือดมารอรับอาหารที่จะถูกย่อยที่กระเพาะและลำไส้เป็นจำนวนมาก หลังจากอาหารถูกดูดซึมเข้ามาในเลือดแล้ว เลือดจะพาสารอาหารแจกจ่ายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าออกกำลังกายหนัก ๆ ตอนนี้ เช่น วิ่งออกกำลัง ซึ่งต้องการเลือดมาเลี้ยงที่ขาที่ใช้วิ่ง 20 เท่าตัวของสภาวะป กติ เมื่อเลือดมากองอยู่ที่กระเพาะเป็นจำนว นมาก บวกกับมาเลี้ยงที่ขาอีก 20 เท่าดังกล่าว ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้หน้ามืดเป็นลม หรือถ้าทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ เท่ากับกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาจถึงชีวิตได้ จึงห้ามเด็ดขาด ห้ามออกกำลังหลังกินอาหารภายใน 2 ช.ม. เมื่ออาหารย่อยหมดแล้ว ดูดซึมเข้าเลือดหมดแล้ว (2 ช.ม.) เลือดที่มารออยู่ที่กระเพาะก็จะกระจายไปหมด ถึงตอนนี้จะวิ่งก็ปลอดภัย

ทีนี้คนตื่นนอนตอนเช้าแล้วมาออกกำลัง เพราะตอนเช้าอากาศสดชื่น มลพิษก็น้อย อากาศเย็น ร่างกายยังสด ชื่น เพราะได้พักมาทั้งคืน แต่คงไม่มีใครกินอาหารก่อนออกกำลังแน่ เท่ากับรถยนต์ไม่ได้เติมน้ำมัน รถยนต์จะวิ่งได้อย่าง ไร แต่คนออกกำลังกายได้โดยไม่ต้องกินอาหาร เพราะตอนเย็นกินอาหารเสร็จเข้านอน ไม่ได้ใช้พลังงาน ขณะที่นอนหลับ ตับจะปรับเปลี่ยนสารอาหาร เช่น น้ำตาลเปลี่ยนเป็นไกลโคเจน ไตรกรีเซอร์ไรด์ ไขมันเปลี่ยนเป็นกรดไขมัน โปรตีนเปลี่ยนเป็นฟอสฟาเจน เป็นต้น แล้วนำไปเก็บไว้ในอวัยวะต่าง ๆ เมื่อตื่นนอนจึงไม่มีพลังงานหลงเหลืออยู่ในเลือด เท่ากับรถยนต์น้ำมันแห้งถัง สภาพนี้คนออกกำลังได้ โดยตับจะดึงสารอาหารที่ปรับเปลี่ยนไปเก็บไว้ในที่ต่างๆตอนนอนหลับ ให้กลับเป็นสารพลังงานในเลือดใหม่ จึง สามารถออกกำลังกายได้ มาลองคิดดู &n bsp;ตอนนอนตับทำงานหนักมาก เพื่อเอาสารอาหารไปเก็บ ตื่นตอนเช้าไปออกกำลังกายทันที ตับต้องดึงสารอาหารที่เอาไปเก็บไว้เมื่อคืน ออกมาใช้ใหม่ ทำอย่างนี้บ่อย ๆ ทุกวัน ๆ ตับจะต้องทำงานหนักแค่ไหน จะทนสภาพนี้ได้นานเท่าไร เพราะไม่ได้พักเลย ;เหมือนคนกินเหล้าแล้วไม่กินอาหาร ตับต้องไปดึงสารอาหารจากที่ต่าง ๆมาให้แอลกอฮอลเผาผลาญ มาก ๆ เข้านาน ๆ เข้า ในตับมีแต่ไขมัน กลายเป็นตับแข็ง

ทีนี้ถ้าจะทำให้ถูกต้องก็ต้องกินอาหารเสียก่อน แต่ต้องรอถึง 2 ช.ม.จึงจะไปออกกำลังได้ เช่น กินอาหารตี 5 เจ็ดโมงเช้าจึงจะออกกำลังกายได้ จะมีใครทำอย่างนี้บ้าง ฉะนั้น ฝรั่งจึงมีแต่คำว่า morning walk ไม่เคยได้ยิน morning jogging เลย นั่นคือออกกำลังกายเบา ๆได้ เช่น เดิน ก่อนเดินก็กินอาหารเบา ๆ เช่น แซนวิช 1 ชิ้น กับโอวัลติน 1 ถ้วย ซึ่งจะใช้เวลาย่อยอาหารสัก 1/2 - 1 ช.ม.ก็พอ ก็จะไปเดินออกกำลังกายได้ กินเล็กน้อยออกกำลังกายเบา ๆ ก็ใช้พลังงานน้อย ที่กินมาแค่นี้ก็พอไหว

ลองพิจารณาการออกกำลัง ตอนเย็นบ้าง เรากินอาหารเช้า อาหารกลางวัน ตกเย็นรับรองว่าพ ลังงานยังเหลือเฟือ ขณะทำงานใช้ไปไม่หมด สามารถออกกำลังกายได้เลย เหมือนกับรถยนต์ น้ำมันยังไม่แห้งถัง แต่จะให้ดีอาจเติมอาหารเหมือนตอนเช้าอีกสักเล็กน้อยก่อนไปออกกำลัง จะทำให้ไม่รู้สึกระโหย ความจริงไม่ต้องไปกินอะไรเลยก็ได้ และ ข้อสำคัญ เมื่อออกกำลังตอนเย็นเสร็จแล้ว ให้ดื่มน้ำโดยค่อย ๆ ดื่มจนรู้สึกอิ่ม กลับถึงบ้านท่านจะไม่รู้สึกหิวและไม่อยากกินอะไรอีก และหลังออกกำลังกายตอนเย็นนี้แล้ว เมื่อถึงเวลาเข้านอน จะเหลือสารอาหาร น้อยที่สุด ตับไม่ต้องทำงานมาก สารอาหารไม่มีไปเก็บตามที่ต่าง ๆ จึงไม่ทำให้อ้วน แล ะไม่มีสารอาหารเหลือค้างในหลอดเลือดโดยเฉพาะไขมัน จึงเป็นวิธีที่จะลดไขมันในเลือดได้ดีที่สุดโดยไม่ต้องกินยา

ถ้าพิจารณาตรงนี้ ออกกำลังกายตอนเช้า หรือตอนเย็น จะเป็นการออกกำลังที่ทำให้สุขภาพทั่ว ๆ ไปดี(แอโรบิก) เท่า ๆ กันทั้งคู่ แต่การออกกำลังกายตอนเย็นโดยไม่ไปกินอาหารภายหลัง ยังจะช่วยให้สารอาหารที่เหลือจากการกินตอนเช้าและตอนเที่ยง น้อยลงจนไม่สามารถทำร้ายร่างกายได้ด้วย การออกกำลังกายตอนเย็นจึงได้ 2 ต่อ

จากงานวิจัยต่างประเทศเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่า การออกกำลังกายตอนเช้านั้น จะทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายลดลง และการออกกำลังกายตอนเย็น จะทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายเพิ่มขึ้น ดูในแง่นี้ ถ้าไข้หวัดระบาด การออกกำล ังกายตอนเย็นจะได้ 3 ต่อ มีกรณีเดียวที่ออกกำลังกายตอนเช้าได้ประโยชน์คือ พวกที่มีภูมิต้านทานมากไป เช่นโรคภูมิแพ้ได้แก่ หอบหืด แพ้อากาศ แพ้ฝุ่น หรือโรคพุ่มพวง ดวงจันทร์ ออกกำลังกายตอนเช้า ช่วยลดภูมิต้านทาน จึงเท่ากับช่วยให้คน ๆ นั้น กินยาลดภูมิต้านทานน้อยลงได้

สรุปมาถึงแค่นี้ ท่านคงทราบแล้วนะครับว่า ออกกำลังกายตอนเช้าหรือตอนเย็นดี

มีข้อเสนอ อีกข้อหนึ่งคือออกกำลังกายแบบแอโรบิกก่อนนอน เช่น เดินบนสายพาน หรือขี่จักรยาน 30 นาที - 60 นาที ไม่ต้องกลัวว่าจะนอนไม่หลับ เพราะการออกกำลังกายแบบแอโรบิก 30 นาที ขึ้น ไปนี้ ร่างกายจะหลั่ง "เอนดอร์ฟีน" ออกมา ซึ่งมีฤทธิ์คล้าย ๆ มอร์ฟีน ที่ใช้ฉีดให้คนไข้หลังผ่าตัด จะทำให้ง่วงนอน คลายความเจ็บปวด คลายเครียด ฉะนั้น ออกกำลังกายเสร็จ อาบน้ำแล้วเข้านอนเลย ท่านจะนอนหลับสนิทชนิดไม่ฝัน การนอนหลับสนิทนี้ท่านต้องการ การนอนเพียง 5 ช.ม. ก็เพี ยงพอ จะทราบได้คือตอนทำงานกลางวันจะไม่เพลีย ไม่ง่วง แสดงว่านอนหลับสนิท 5 ช.ม. เพียงพอแล้ว นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยใหม่ ๆ ออกมาพบว่า คนนอน 5 ช.ม. มีอุบัติการณ์ โรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันน้อยกว่าพวกนอน 7-8 ช.ม.

ฉะนั้น การออกกำลังกายตอนเย็นหรือก่อนนอน ดีกว่าออกกำลังกายตอนเช้า


บทความจากสภากาชาดไทย:
โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์เสก อักษรานุเคราะห์
ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย

นิทานเซน

มีวัดเซนแห่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อในการทำขนมเปี๊ยะอย่างมาก ขนมเปี๊ยะที่ทำออกมานอกจากขนาดใหญ่แล้วยังหอมหวานชวนรับประทาน ดึงดูดให้ผู้คนทั่วทุกสารทิศขึ้นเขามายังวัดแห่งนี้เพื่อขอซื้อขนมเปี๊ยะมาลิ้มลอง

วันหนึ่ง มีขอทานผู้หนึ่งเดินทางมาจากแดนไกลเพราะได้ยินกิตติศัพท์ร่ำลือถึงความอร่อยของขนมที่วัดแห่งนี้ เมื่อมาถึงวัดจึงได้เอ่ยปากต่อพระลูกวัดเพื่อขอลิ้มลองรสชาติขนมเปี๊ยะอันเลื่องชื่อ ทว่าบรรดาพระลูกวัดเมื่อเห็นท่าทางสกปรกโกโรโกโสของขอทานผู้นี้ก็นึกรังเกียจ จึงไม่ยอมให้ขอทานเข้าไปยังครัวของวัดเพื่อรับขนมเปี๊ยะ จนเกิดการฉุด ลาก ผลัก ดึง กันอยู่ในบริเวณวัด

ในตอนนั้น เจ้าอาวาสได้มาพบเห็นเหตุการณ์ จึงได้กล่าวปรามพระลูกวัดว่า "บรรพชิตต้องมีเมตตาธรรม เหตุใดพวกเจ้าจึงปฏิบัติตนเช่นนี้" จากนั้นเจ้าอาวาสจึงคัดเลือกขนมเปี๊ยะชิ้นใหญ่ด้วยตัวเอง และนำมามอบให้กับขอทานด้วยความนบนอบ โดยไม่คิดเงิน

เมื่อขอทานเห็นดังนั้นก็รู้สึกตื้นตันใจเป็นอันมาก และรับประทานขนมเปี๊ยะรสเลิศจนหมด ก่อนจากไป ขอทานได้ควักเงินทั้งหมดที่มีอยู่น้อยนิดออกมามอบให้กับเจ้าอาวาสเป็นค่าขนมเปี๊ยะ พลางกล่าวว่า "นี่เป็นเงินทั้งหมดที่ข้าขอทานมาได้ หวังว่าท่านเจ้าอาวาสจะรับไว้" เจ้าอาวาสรับเงินค่าขนมเปี๊ยะมาจริงๆ จากนั้นจึงประนมมือพลางกล่าวอวยพรขอทานว่า "ขอให้ท่านเดินทางโดยสวัสดี"

เหล่าพระลูกวัดเห็นดังนั้นก็เกิดความกังขายิ่งนัก และเอ่ยถามเจ้าอาวาสว่า "ในเมื่อท่านบริจาคขนมเปี๊ยะให้เป็นทานแล้ว ไยจึงรับเงินมา?" เจ้าอาวาสจึงกล่าวตอบว่า "ขอทานเดินทางมาไกลแสนไกลเพียงเพื่อลิ้มลองรสชาติขนมเปี๊ยะของวัดเรา ดังนั้นเราจึงมอบขนมเปี๊ยะให้เขาโดยไม่คิดเงิน ส่วนการที่เขาจ่ายค่าตอบแทนก็แสดงว่าขอทานผู้นี้มีความดีงามในจิตใจ รู้จักวิถีการปฏิบัติตัวในสังคม ด้วยเหตุนี้เราจึงรับเงินนั้นไว้เพื่อเติมเต็มความเคารพในตนเองของเขา ซึ่งจะเป็นแรงขับให้เขามีความสำเร็จยิ่งขึ้นไปในอนาคต"


ปัญญาเซน เจ้าอาวาสบริจาคขนมเปี๊ยะให้เป็นทาน สามารถดับความทุกข์จากความหิวโหยของขอทาน ส่วนการรับเงินค่าตอบแทนกลับมาถือเป็นการเติมเต็มความเคารพในตนเองให้กับขอทาน เนื่องเพราะท้องอิ่มเป็นเพียงการตอบสนองความต้องการทางร่างกายเพียงชั่วครั้งคราว แต่การเติมเต็มความเคารพในตนเองให้กับจิตวิญญาณของคนคนหนึ่ง จะเป็นแรงผลักดันเกื้อหนุนให้คนผู้นั้นไปตลอดทั้งชีวิต


ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028- 2995-4

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความว่าง ๓ ระดับ

สาระธรรมบรรยาย พระครูวินัยธรทรงศักดิ์ วิโนทโก (หลวงพ่อเอี้ยน)
เรื่อง “ความว่าง ๓ ระดับ”
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ณ ห้องปฏิบัติธรรม ชั้น ๔ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ



เจริญพรญาติโยมท่านผู้ฟัง ท่านผู้ปฏิบัติธรรมทุกๆท่าน บัดนี้ถึงเวลาของการฟังธรรม ขอให้ทุกท่านตั้งอกตั้งใจฟัง เพื่อที่จะเก็บข้อมูลเอาไปปฏิบัติ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันต่อไป

อาตมาก็ให้หัวข้อมาว่า ความว่าง ๓ ระดับ ความว่าง ๓ ระดับเป็นยังไง ก็ขอให้ตั้งใจฟังต่อไป สิ่งที่จำเป็นที่สุดก็คือเราฟังกันมาก
เข้าคอร์สในการปฏิบัติ ก็ยิ่งฟังกันมากเป็นพิเศษ แต่ว่าที่สำคัญก็คือ ไม่ได้เอาไปปฏิบัติ ทำให้ธรรมะที่ฟังนั้นเป็นหมัน น่าเสียดายมาก แม้แต่เรารับพระรัตนตรัยไป พระรัตนตรัยก็ยังเป็นหมันเลย ในกลุ่มของพวกเราที่นั่งกันอยู่ที่ตรงนี้ มีใครสักกี่คนที่เข้าถึง
พระรัตนตรัยจริงๆ เพราะว่าพระรัตนตรัยที่เรารับไปนั้น เอาพระพุทธเจ้ามาเป็นที่พึ่ง เอาส่วนไหนของพระพุทธเจ้ามาเป็นที่พึ่ง
เช่นพระพุทธรูปเป็นต้น เป็นสัญลักษณ์อันหนึ่ง แล้วก็เอาพระพุทธเจ้า ที่เป็นตัวบุคคลมาเป็นที่พึ่ง ว่าด้วยเหตุผลเราจะเอาท่านมาเป็นที่พึ่งได้อย่างไร นี่เรียกว่าธรรมะคือพระรัตนตรัยที่รับไปนั้นเป็นหมัน

เรามาทำความเข้าใจกันใหม่ว่า พระรัตนตรัยคือพุทธังสะระณังคัจฉามิ ที่แปลว่าข้าพเจ้าขอเอาพระพุทธเจ้ามาเป็นที่พึ่ง พระพุทธเจ้าที่เป็นตัวบุคคล นั่นเป็นเปลือกของพระพุทธเจ้า อย่างมหายานเขาบอกว่า ถ้าไปเจอพระพุทธเจ้า ฆ่าพระพุทธเจ้าเสีย นี่เราอาจจะไม่เข้าใจก็ได้ หมายถึงว่าอย่าเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในองค์พระพุทธเจ้าที่เป็นตัวบุคคล พุท-โธ คำว่าพุท-โธๆๆ คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
พุท-โธเมื่อก่อนก็เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วพระองค์ก็ออกไปปฏิบัติ จนเป็น พุท-โธ จนพระองค์รู้เรื่องอริยสัจสี่ อริยสัจสี่ ข้อที่ ๑ คือทุกข์ ข้อที่ ๒ เหตุให้เกิดทุกข์ข้อที่ ๓ ความดับทุกข์ ข้อที่ ๔ หนทางให้ถึงความดับทุกข์

ข้อที่ ๑ ความทุกข์เกิดขึ้นมาเพราะอะไร เพราะเราไม่รู้เรื่องจิต ก็ไปเอาจิตมาเป็นตัวกู นี่เรื่องมันเป็นอย่างนั้น ไปเอาจิตนั้นมาเป็นตัวกู เกิดทุกข์ขึ้นมาแล้ว ถ้าจิตเป็นตัวกู ร่างกายก็เป็นของกู อะไรๆมันก็เป็นของกูหมด นั่นคือทุกข์ในอริยสัจ
เราเอาจิตมาเป็นตัวกู

ข้อที่ ๒ เหตุให้เกิดทุกข์ เพราะจิตตัวนั้นมันยังโง่ มันยังไม่ได้ฝึก มันยังเป็นสัตว์ที่ป่าเถื่อน เหมือนกับวัวควาย ที่ยังไม่ได้ฝึกและยังเอามาไถนาไม่ได้ มันเลยทำให้เกิดทุกข์ขึ้นมา ประการที่ ๑ คือความทุกข์ เราเอาจิตมาเป็นตัวกู ประการที่ ๒ เมื่อเอาจิตมาเป็นตัวกูแล้ว มันก็คิดว่าร่างกายนี้ก็เป็นของกู ตาหู ก็เป็นของกู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นกูเป็นของกูหมด นั่นเพราะไม่ได้ฝึก ไม่ได้อบรม เมื่อไม่ได้ฝึกไม่ได้อบรมมันก็มีแต่ความยึดมั่นถือมั่น นั่นคือเหตุให้เกิดทุกข์

ข้อที่ ๓ นิโรธ นิโรธก็คือความดับทุกข์ พุท-โธ เกิดที่ตรงนี้ พุท-โธ เกิดที่นิโรธ

ข้อที่ ๔ เมื่อเราปฏิบัติด้วยการเอาอริยมรรคมีองค์ ๘ มาขูดเกลาจิตตัวนี้ ให้จิตตัวนี้มันหายจากความป่าเถื่อน พอมันหายจากความป่าเถื่อนแล้ว มันก็เป็นจิตที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธรรมชาติ มันก็เป็น พุท-โธ เป็นผู้รู้ขึ้นมาที่ตรงนี้

ฉะนั้นที่เราภาวนากำหนดลมหายใจเข้า-ออก ว่า พุท หายใจเข้า โธ หายใจออก มันก็ได้แค่สมถะ คือทำให้จิตสงบแค่นั้นเอง แต่ถ้าหากว่าพุท-โธ นั้นเป็นวิปัสสนา ต้องเห็นอริยสัจสี่ คือเห็นทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ดับทุกข์ หนทาง ให้ดับทุกข์ พุท-โธ เกิดที่ตรงนั้น ฉะนั้นคำว่าพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้

พระธรรม คือความว่างที่สงบเย็น ขอพูดเรื่องความว่างอีกหน่อย ความว่างไม่ใช่ว่าว่างไม่มีอะไร ทุกอย่างมีอยู่ทั้งนั้น แต่ว่ามันว่างจากตัวตน ความว่างก็หมายถึงว่างจากตัวตน เช่นร่างกายของเรานี้ มันก็ไหลเรื่อย ต้องให้เห็นอนิจจัง อย่าเป็นแต่นิจจัง ที่เราเห็นกันทุกวันนี่เห็นนิจจัง เห็นว่าเที่ยง ร่างกายนี้เป็นของเที่ยง จิตนี้ก็เป็นของเที่ยง สรรพสิ่งเป็นของเที่ยง ทุกๆคนที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น เพราะไม่เห็นว่าทุกอย่างมันไหลเรื่อยๆต้องเห็นว่าทุกอย่างมันไหลเรื่อย ไม่มีอะไรมันหยุดอยู่กับที่ เห็นมันไหลเรื่อยอยู่อย่างนั้น ก็เรียกว่าอนิจจัง

สิ่งที่เราปรารถนาคือตามใจ ตามใจตา ตามใจหู ตามใจจมูก ตามใจลิ้น ตามใจกาย ตามใจใจ นี่คือจิตที่ไม่ได้ฝึก จิตตัง ทันตัง สุขา วะหัง จิตที่ฝึกแล้วนำความสุขมาให้ จิตที่ไม่ได้ฝึกนำความทุกข์มาให้ มันก็เลยไม่ว่าง เพราะฉะนั้นว่างหมายถึงว่างจากตัวตน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่างจากสรรพสิ่งทุกอย่าง แม้แต่ขี้ฝุ่นสักเมล็ดหนึ่ง จักรวาลนี้ว่างทั้งนั้น อยู่ใต้อำนาจของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เมื่อสมัยครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงแสดง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ๕ ก็คือเรื่องของความไม่เที่ยงทั้งนั้น แต่เราไปยึดถือเป็นของเที่ยง เพราะมันเป็นสมบัติ ประจำตัว ของปุถุชน
๑.นิจจัง เห็นว่าร่างกายจิตใจนี่เป็นนิจจัง
๒.เห็นเป็นสุขขัง ไม่ใช่เห็นเป็นทุกขัง
๓.เห็นเป็นอัตตา

พอเกิดพระพุทธเจ้าขึ้นมา พระองค์ก็เลยให้เอามาทาบกันว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา และเป็นสุญญตา ว่างจากตัวตน พระพุทธเจ้าผู้ค้นพบพระธรรม พระธรรมไม่ใช่ว่าพึ่งมี เป็นของมีอยู่ก่อนแล้ว พระธรรมคือความว่างที่สงบเย็น แล้วพระองค์ก็เอาความว่างที่สงบเย็นนั้น มาไว้ในจิตของพระองค์ พระองค์ก็เลยเป็นพุท-โธ เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา ตัวพระธรรมเองก็คือความสงบเย็น ตัวความสงบเย็นจะมีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง จะมีอยู่ในวัตถุก็ได้ จะมีอยู่ในตัวบุคคลก็ได้ อยู่ในอะไรก็ได้ คือความสงบเย็น ตัวความสงบเย็น ทุกอย่างมาจากพระธรรม สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ สิ่งทั้งปวงใครๆไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวตนของตน ทำไม เพราะทุกอย่างมันไหลเรื่อย

เพราะฉะนั้นพระธรรมคือ ความว่าง ที่พระพุทธเจ้าค้นพบ แล้วเอามาไว้ที่จิตของพระองค์ นั่นแหละคือพระธรรม สัพเพ ธัมมา นาลัง นั่นแหละเป็นพระธรรมทั้งหมด อย่าเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ทุกอย่างเป็นพระธรรม

พระอริยะสงฆ์ พระท่านก็ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เมื่อท่านปฏิบัติเอาพระธรรมมาเป็นที่พึ่ง พระธรรม คือความสงบเย็นนั้น พระพุทธเจ้าก็เอาความว่างที่สงบเย็นนั้นมาไว้ที่จิตของพระองค์ พระอริยะสงฆ์ท่านก็เอาความว่างที่สงบเย็นนั้นมาไว้ที่จิตของท่าน

เราพูดง่ายๆว่า (ความว่าง ๓ ระดับ) พระพุทธเจ้าก็คือความว่าง พระธรรมว่าง พระสงฆ์ว่าง นั่นแหละคือตัวจริงของพระรัตนตรัย ให้เรารู้จักตัวจริงของพระรัตนตรัย ไม่ใช่ไปเอาตัวบุคคลมาเป็นพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ไปเอาใบลาน ไปเอาตัวหนังสือ ไปเอาคำพูด มาเป็นพระธรรม ไม่ใช่ไปเอาพระสงฆ์ซึ่งเป็นลูกชาวบ้านมาเป็นที่พึ่ง เราต้องเห็นว่าสิ่งทั้งหมดนั้นเป็นเปลือก พระพุทธเจ้าโดยรูปกายของพระองค์นั้นเป็นเปลือก

ฉะนั้นที่ศาสนาเซนเขาบอกว่าเมื่อเจอพระพุทธเจ้าขอให้ฆ่าพระพุทธเจ้าเสีย ก็หมายถึงว่าเปลือกนะให้ทิ้งเปลือกเสีย อย่าเอาเปลือกของพระพุทธเจ้า ต้องมองดูเนื้อในของพระพุทธเจ้า คือจิตที่สงบเย็น พระธรรมคือตัวความสงบเย็น พระอริยะสงฆ์คือท่านก็มีจิตสงบเย็น เหมือนกับพระพุทธเจ้า แต่ว่าท่านรู้ทีหลัง เราต้องเอาความสงบเย็นมาเป็นที่พึ่ง นั้นนะชื่อว่าถึงพระรัตนตรัย

หัวใจของพระพุทธศาสนาอยู่ที่สุญโญ อยู่ที่ความว่าง หัวใจของพระพุทธศาสนานั้น เมื่อเราเห็นทุกอย่างว่าง เราปฏิบัติธรรมๆ แล้วเราเห็นความว่าง เห็นจุดว่าง เห็นอะไรว่างนั่นนะเรียกว่าเริ่มที่จะถึง

ความว่าง ๔ ระดับ
ระดับที่ ๑ คือพระโสดาบัน ละสักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ละสักกายทิฐิ คือ ความเห็นว่าตัวกูที่ร่างกาย พิจารณาเวลานั่งพอจิตเป็นสมาธิแล้ว แล้วก็ภาวนาว่าอ๋อ ร่างกายนี้มันก็มีแต่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ถ้าดูอาการ ๓๒ ดูเกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง ฯลฯ ให้ครบ ๓๒ พอดูแล้ว ไอ้ส่วนที่เป็นร่างกาย มันก็เป็นส่วนอนิจจัง มันเป็นทุกขัง เมื่อเราไปยึดมั่นถือมั่น มันเป็นอนัตตาไม่ใช่มันเป็นอัตตา ไอ้ที่เป็นอัตตามันเป็นตัวโง่ของเราเข้าไปยึดถือว่าเป็นอัตตา ว่ามันเป็นตัวกู
อันที่จริงไม่ได้เป็นอัตตา มันเป็นอนัตตา

ฉะนั้นพระโสดาบันเป็นผู้หนักแน่น พระที่ท่านเป็นพระโสดาบันแล้ว เป็นผู้หนักแน่นในพระพุทธเจ้า หนักแน่นในพระธรรม หนักแน่นในพระสงฆ์ หนักแน่นยังไง ท่านเคารพ ท่านศรัทธา ท่านเลื่อมใส ไม่ถอยหลังแล้ว โสดาบันนี่คือละสักกายทิฐิ วิจิกิจฉา ไม่มีความลังเลใจแล้ว ให้ว่างๆเข้าไว้ ว่างคำเดียวคือว่างจากตัวกู ว่างนี่คือว่างจากตัวกู ตัวกูนี้ก็ไม่ใช่ตัวกู จิตนี้ก็ไม่ใช่ตัวกู ความว่างระดับที่ ๑ พระโสดาบัน ละได้ ๓ อย่าง สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส นั่นก็ว่างแต่ว่าว่างไม่หมด นั่นคือระดับ ๑ พระโสดาบัน

ระดับที่ ๒ พระสกิทาคามี ยังละอะไรไม่ได้ ก็คล้ายๆกับพระโสดาบัน แต่สูงขึ้นไปหน่อยหนึ่ง คือท่านทำโลภะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางแค่นั้นเอง เช่นว่าเมื่อก่อนนี้เป็นคนขี้โกรธ ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็เป็นคนขี้โกรธเหมือนกัน แต่ว่าโกรธอยู่ภายใน ไม่โกรธอยู่ภายนอก เมื่อก่อนพอโกรธปากก็ลั่นออกไปเลย วาจาที่ไม่เหมะสม ก็พูดออกไปเลย หรือว่ามือก็ถึงเลย พระสกิทาคามี เก็บความโกรธเอาไว้
ยังมีความโกรธแต่ว่าเก็บเอาไว้ในใจ ไม่ให้มันออกมาอาละวาดภายนอก ฉะนั้นพระสกิทาคามีท่านก็มีความว่างเหมือนกัน แต่ยังว่างไม่หมด

ระดับที่ ๓ พระอนาคามี ท่านยังว่างไม่หมดอีก ท่านเพียงแต่ละกามราคะกับปฏิฆะ กามราคะก็คือความอยาก ก็คือจำเป็นนั่นแหละ ตัดไอ้จำเป็นไปเสียเลยนั่นเรียกกามราคะ กามราคะระหว่างเพศเรียกว่ากามราคะ ปฏิฆะคือความยินร้ายความไม่พอใจ
ความยินร้ายคือพูดแล้วไม่เพราะหู ก็ออกไปทันทีเลย ท่านบอกว่าห้ามไม่ให้ยินดี ไม่ให้ยินร้าย ฟังง่ายแต่ว่าเข้าใจยาก ปฏิบัติยาก
ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย สิ่งที่มาให้เรายินดีทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ โอ้มันเป็นอนิจจัง มันเป็นอนัตตา เป็นสุญญตา ว่างจากตัวตน นี่คือ ธรรมะชั้นสูง ให้เห็นเกิดเห็นดับ เห็นว่างจากตัวตน

อาตมาตอนที่ปฏิบัติใหม่ๆนะ ต้องปวารณาสักแต่ว่าธาตุว่างๆ เวลาฉันอาหารนี่ คำที่ ๑ สักแต่ว่าธาตุว่าง ใส่เข้าไปในปาก ก็ภาวนาเคี้ยวไป ธาตุว่างๆ พอรู้สึกว่าอร่อย ก็สักแต่ว่าธาตุว่าง พอรู้สึกว่ามันไม่อร่อยก็สักแต่ว่าธาตุว่าง ก็มันเกิดมันดับ มันว่างๆ อยู่อย่างนั้นแหละ นี่เรียกว่าวิธีกินอาหาร มันเกิดดับๆในปาก วินาทีหนึ่งมันเกิดดับไม่รู้กี่ครั้ง ที่มันเกิดดับๆ เพราะมันว่างจากตัวตน กายกับสัมผัส สิ่งที่มากระทบกายเขาเรียกว่าสัมผัส สิ่งมากระทบกายที่เรียกว่าสัมผัสนั้น จะเป็นความร้อน เย็น อ่อนหรือแข็งหรือว่าอะไร ก็เพียงแต่ว่ากระทบ ทางกายมันก็เกิดดับๆ ว่างจากตัวตน

สโลแกนท่านพุทธทาส จงทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง ทำยังไงทำงานด้วยจิตว่าง ไม่ใช่จิตไม่มี จิตมีแต่จิตนั้นเป็นธรรมชาติ ทีประกอบด้วย สติปัญญา ทำงานก็ทำงานด้วยสติปัญญา ไม่ใช่ทำด้วยความโง่ เหมือนนั่งฟังธรรมอยู่อย่างนี้ ถ้านั่งฟังโง่ๆ แล้วมันก็ไม่ได้อะไร แต่ถ้านั่งฟังให้ดี ฟังแล้วมันก็จะได้ปัญญา ๓ ระดับ ปัญญาระดับที่ ๑ สุตตะมยปัญญา ปัญญาที่ ๒ เอาไอ้ที่ฟังแล้วไปคิด เอาไปคิดก็ทำให้เกิดจินตมยปัญญา เอาไปคิดแล้วก็ยังไม่พอ เอาไปภาวนา เอาที่ฟังนั่นแหละเป็นขั้นตอนเอาไปภาวนา เรียกว่าภาวนามยปัญญา เกิดปัญญาระดับที่ ๓ ขึ้นมา มันจะว่างได้

จิตกับธรรมารมณ์นี่สำคัญ จิตนี่ ไม่ใช่ใจนะ ใจคือมโน จิตก็คือจิต จิตก็คือจิตโง่ๆไปเรียนเซนอย่างนี้เรียกว่าจิตอวิชชา อวิชชาเกิดก็เพราะอะไร อวิชชาเกิดก็เพราะเอาจิตโง่ ไปเป็นตัวกู นี่เขาเรียกว่าจิต ทีนี้ใจเรียกว่ามโนสังขาร ใจมีหน้าที่คิด จิตมีหน้าที่รู้ จิตนะรู้ รู้ตามความเป็นจริง รู้แจ้งเห็นจริงที่เราทำวิปัสสนา ให้รู้แจ้งเห็นจริง เห็นอะไร ก็เห็นธรรมารมณ์ที่มันเกิด มันเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปๆ

อย่าเข้าไปยึดมั่นถือมั่นอารมณ์ที่มันเข้ามา อารมณ์ดีใจ-เสียใจก็ไม่เข้าไป ยึดมั่นถือมั่น อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มันเกิดขึ้น ใจที่มันเกิด จิตที่มันเกิดขึ้นเรียกว่าธรรมารมณ์ มันก็เป็นอนิจจัง อนัตตา เป็นสุญญตาว่างจากตัวตน นี่คือพระอนาคามี ท่านเห็นแล้วก็ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย กามราคะก็คือยินดี ปฏิฆะก็คือยินร้าย ท่านตัดโดยเด็ดขาด แม้แต่ในเรื่องของการเสพกาม ท่านก็ไม่ยินดี คนที่ไม่เป็นพระอนาคามี เสพกามแล้วก็พอใจ พอใจก็เสพ เสพแล้วก็เบื่อ คิดว่าไม่เอาอีกแล้ว ไม่นานก็เอาอีก นั่นไม่ใช่พระอนาคามี
พระอนาคามีเขาเห็นแล้ว มีแต่เรื่องสกปรก มีแต่ของน่าเกลียดน่าชัง ท่านเบื่อ ท่านเบื่อสิ่งเหล่านั้น เห็นตามความเป็นจริง ว่ามันไม่มีอะไรเลย มันเรื่องของประสาทที่มันทำให้เกิดดับๆ เป็นช่วงระยะที่ว่ามันถี่ๆถึงที่สุด เพราะฉะนั้นท่านจะไม่เอาแล้วกามราคะ ท่านก็ละกามราคะได้ นี่คือเรื่องที่สุดยอดของอนาคามี คือละกามราคะ

เรื่องที่สองของท่านคือปฏิฆะ ปฏิฆะ คือความไม่พอใจ ท่านละทิ้งทั้ง ๒ อย่าง ความพอใจ-ไม่พอใจท่านก็ไม่เอาทั้ง ๒ อย่าง เห็นว่า เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตา เป็นสุญญตา ว่างจากตัวตน พระอนาคามีท่านก็ยังว่างไม่หมดอีก ว่างได้แค่ ๗๐% เอง

ขั้นที่๔ พระอรหันต์ ท่านละ๕ อย่าง ท่านตัดรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุจธัจจะ แล้วสุดท้ายก็คืออวิชชา รูปราคะ ท่านละรูปฌาน อรูปฌาน ก็อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มานะภาษาบาลี
ไม่ใช่แปลว่าอดทนตามภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาธรรมะนี่ มานะหมายถึงความถือตัว กูเก่งกว่าคนนั้น คนนี้ กูเก่งกว่าเขา กูดีกว่าเขา กูเลวกว่าเขา กูเสมอเขา นั่นคือมานะ พระอรหันต์ท่านละรูปราคะ ท่านละมานะ อุทธัจจะ คือความทึ่ง ทึ่งทุกอย่าง อะไรก็ทึ่งทุกอย่าง มันจะมีประโยชน์อะไร อย่าไปทึ่ง อะไรๆก็ไม่ต้องไปทึ่งๆ แม้เด็กตกใจ ฟ้าผ่าเปรี้ยงตกใจไปทึ่ง ตกใจก็ไม่ใช่แล้ว
สติมาไม่ทัน เพราะฉะนั้นต้องใช้สติ ใช้สติในที่นี้ก็ต้องปฏิบัติสติปัฏฐานสี่

จะกล่าวให้ฟังถึงสติปัฎฐานสี่ ต้องเอาให้จบไม่ใช่ฟังครึ่งท่อน

สติปัฏฐานสี่ ข้อที่ ๑ มีสติเห็นว่ากายในกายนี้ไม่ใช่สัตว์ มิใช่บุคคลตัวตนเราเขา นั้นมันครึ่งท่อน มันต้องเห็นว่ากายนี้ เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตา เป็นสุญญตา ว่างจากตัวตน นั่นเรียกว่าสติปัฏฐานสี่ที่เป็นวิปัสสนา ถ้าว่ากายนี้ไม่ใช่สัตว์ มิใช่บุคคลตัวตนเราเขา ยุบหนอ พองหนอ มันได้แค่สมถะเอง นั่งพุทโธๆ ได้แค่สงบ นิดเดียวดีใจแล้วมันได้สงบ เราต้องยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา ฉะนั้นสติปัฏฐานสี่ ต้องเป็นวิปัสสนาด้วย เป็นทั้งสมถะเป็นทั้งวิปัสสนา เป็นวิปัสสนา เห็นกายนี้เป็นอนิจจัง เห็นอนัตตา เห็นสุญญตา ว่างจากตัวตน นั่นคือสติ ต้องมีสติให้ไว สติต้องดึงปัญญามาให้ไว

สติปัฏฐานสี่ ข้อที่ ๒ มีสติเห็นเวทนาในเวทนา ว่าเวทนานี้ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เราเขา นั่งเมื่อย..เวทนาเกิดแล้ว เวทนาเกิดไม่ยุ่งไม่เปลี่ยนท่าเปลี่ยนทาง เป็นก็เป็นไป มันก็ต้องหายเอง ต้องอย่างนั้นนะ นั่นเรียกว่าเวทนา คนที่ทำสมาธิส่วนมาก เกิดเวทนาอย่างนั้นขึ้นมา เวทนาเกิดทั้งทางกาย เกิดทั้งทางใจ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราระวังไม่เข้าไปยินดี ยินร้าย มีสติเห็นเวทนาว่านี่ ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ตัวตน เรา เขา

เวทนานี้เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตา เป็นสุญญตา ว่างจากตัวตน เวทนานั้นว่างอีกแล้วเห็นไหม สมมุติว่าเราเจ็บไข้ได้ป่วย เขากำลังให้น้ำเกลืออยู่ กำลังให้ออกซิเจนอยู่ มันเกิดเวทนาขึ้นมา ก็เปลี่ยนเวทนานั้น ก็ภาวนาสักแต่ธาตุว่างๆ หรือไม่ใช่กูๆ ภาวนาว่าไม่ใช่กูมันจะเห็นชัดเจน ทีนี้พอไม่ใช่กูมันไม่ใช่กูจริงๆ เสร็จแล้วมันจะแยกจิตออกจากเวทนา จิตนั้นไม่ไปแบกเวทนาอยู่ ก็ทำให้คนเดียว แบ่งเป็น ๒ คน พอแบ่งออกเป็น ๒ คน อีกคนหนึ่งออกไปยืนยิ้มอยู่ เออมันไม่เห็นเจ็บปวดเลย มันเจ็บปวดอยู่ที่ร่างกายโน้น แต่ว่าร่างกายนี้มันไม่เจ็บปวดเลย การปฏิบัติมันต้องอย่างนี้ นี่เรียกว่าความว่าง ความว่างอย่างนั้น ว่างจากเวทนา ว่างจากกาย

สติปัฏฐานสี่ ข้อที่ ๓ สติเห็นจิตในจิต ว่าจิตนี้ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ตัว ตน เรา เขา จิตนี้เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตา เป็นสุญญตา ว่างจากตัวตน แม้แต่จิตยังเป็นธรรมชาติที่ว่าง มันไม่ใช่ตัวเราเลย เป็นธรรมชาติที่ว่างจากตัวตนทั้งนั้น เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรที่มีตัวตน มีแต่ว่างจากตัวตน

เราปฏิบัติให้ดี ให้เข้มแข็ง ให้ต่อเนื่อง ไม่ใช่เอาลวกๆ ปฏิบัติไปเรื่อยๆ เช่น เดินอย่างนี้ไม่ใช่กู ไม่ใช่กู อาตมาสอนไม่เหมือนคนอื่นนะ สอนไม่ใช่กู เดินก็ไม่ใช่กู นั่งก็ไม่ใช่กู นอนก็ไม่ใช่กู หายใจเข้าก็ไม่ใช่กู หายใจออกก็ไม่ใช่กู ไม่ใช่กูมันกระเทือนไปหมด ทั้งเนื้อทั้งตัว ทั้งร่างกายและจิตใจ มันจะกระเทือนไปหมดแหละถ้าไม่ใช่กู นี่เรียกว่ามีสติเห็นจิตในจิต ว่างที่ ๓ ต้องมีสติ จิตก็ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อาศัยสติ อาศัยสติยังไม่พอยังต้องอาศัยปัญญา สติดึงปัญญามา พระโมฆราชทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ทำยังไงคนถึงไม่ตาย พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมฆราช สุญตโต โลกํ อเวกฺ ขสฺสุ โมฆราช สทา สโต ฯลฯ ดูก่อนโมฆราช ท่านจงมีสติมองโลกด้วยความเป็นของว่าง ถอนอัตตานุทิฐิ อัตตาความเป็นตัวกู ความเห็นว่าตัวกูออกไปเสียแล้ว มัจจุราชจะมองท่านไม่พบหาท่านไม่พบ เรียกว่ามีสติ

เวลาเราจะตาย เวลาเราเจ็บ เมื่อมีสติอยู่กับความว่างแล้ว ความเจ็บก็อยู่ส่วนความเจ็บ ส่วนจิตก็อยู่กับจิตที่ว่าง นี่ถ้าใครทำได้อย่างนั้นก็วิเศษเลย เรียกว่ามีสติมองโลกด้วยความเป็นของว่าง ในจักรวาลนี้ไม่มีอะไรที่มีตัวตนหรอก มันว่างจากตัวตนทั้งนั้น ว่างจากตัวกู ถ้าจิตว่าง ทุกอย่างว่างหมด ถ้าจิตไม่ว่างทุกอย่างมีหมด ทุกอย่างก็เข้าไปยึดมั่นถือมั่น ก็ทุกข์หมดเหมือนกัน ฉะนั้นต้องทำจิตให้ว่างจากตัวกู เห็นจิตให้เอาอนิจจัง เอาอนัตตา เอาสูญญตาไปจับที่จิต ว่าจิตเองก็เป็นอนิจจัง จิตเองก็เป็นทุกขัง(ถ้าเข้าไปยึดมั่นถือมั่น) จิตเองก็เป็นอนัตตา จิตเองเป็นสูญญตา ว่างจากตัวตน ให้เห็นจิตว่าง หายใจเข้าก็อยู่แบบจิตว่าง หายใจออกก็อยู่แบบจิตว่าง ให้อยู่กับจิตว่างตลอดเวลา บางคนเห็นเกิดดับแล้วก็ยังไม่เห็นว่าง เลยสงสาร ก็เพราะมันว่างมันจึงเกิดดับ ถ้าไม่ว่างมันก็ไม่เกิดไม่ดับ ว่างจากตัวตน ว่างจากของตน

เรื่องจิตว่าง ให้ไปอ่าน “ฮวงโป” ของท่านอาจารย์พุทธทาส หนังสือนี้อ่านยาก จะมีธรรมะอยู่ในนั้นมาก แต่แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคือสุญญตา สุญญตาคือความว่าง ถ้าจิตว่าง อย่างอื่นมันก็ว่าง ร่างกายมันก็ว่าง มันก็ว่างหมด เรียกว่าเห็นจิตในจิต

ข้อสุดท้ายของสติปัฏฐาน ๔ มีสติเห็นธรรมในธรรม ว่าธรรมไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ธรรมนี้เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา เป็นสุญญตา ว่างจากตัวตน เห็นธรรมในธรรมนี่คือ เห็น ๑.ในอริยสัจสี่ ๒.เห็นขันธ์ ๕ ๓.เห็นปฏิจจสมุปบาท เห็น ๓ อย่างนี้ สัมมาทิฐิในอริยมรรคมีองค์ ๘ มีความเห็นอันถูกต้อง การเห็นไม่ใช่เห็นกับตา ต้องเห็นกับปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาจะไม่เห็น เห็นกับตามีแต่ขี้ตา ไม่พอที่จะเห็น มันเกิดปัญญาขึ้นมาไม่ได้ ฉะนั้นเราต้องใคร่ครวญเราต้องพิจารณา เราต้องศึกษา เราต้องปฏิบัติ เราต้องภาวนา มันจึงเห็น ถ้าไม่อย่างนั้นเราจะไม่เห็น ไม่เห็นอริยสัจสี่ ไม่เห็นธรรมในธรรมนี่ เห็นอริยสัจสี่ ขันธ์๕ เห็นทุกข์ ก็ทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ ทุกข์ก็เอาจิตมาเป็นตัวกู เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ทุกข์เป็นสิ่งที่เราควรกำหนดรู้
ทุกข์เรากำหนดรู้ได้แล้ว

พระองค์ทรงแสดงธรรมครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ เรียกว่าธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร เรื่องอริยสัจสี่ ก็คือเรื่องเกิดดับ เรื่องเกิดดับก็คือว่าง เรื่องขันธ์ ๕ ก็คือเรื่องเกิดดับ ก็ว่าง เรื่องปฏิจจสมุปบาทก็คือเรื่องเกิดดับทั้งนั้น เมื่อเราปฏิบัติเห็นเกิดเห็นดับเห็นว่าง ต่อไป
ก็อยู่กับว่าง ขอให้มีสติให้ไว คือมีสติแล้วดึงปัญญามา เช่นตาเกิดดับ รูปเกิดดับ จักขุวิญญาณเกิดดับ ผัสสะเกิดดับ เวทนาเกิดดับ พอไปถึงเวทนาตัวนั้นต้องมีสติให้ทัน แล้วก็ดับทันทีตรงนั้น ถ้าไม่ดับเสียจะมีเหตุ ก็คือจะเกิดตัณหา เกิดอุปาทาน เกิดภพ ชาติ ทุกข์ขึ้นมา ครบวงจรของความทุกข์ ถ้าหากว่าเราดับที่เวทนาตัวนั้น มันก็จะดับเลย นี่ทางตานะ ถ้าทางหูก็เสียง โสตะวิญญาณ ผัสสะ เวทนา แล้วก็ดับเสียนี่ พอทางจมูกก็กลิ่น แล้วก็รส คานะวิญญาณ ผัสสะเวทนาแล้วก็ดับเสีย ให้มีสติให้ทันทุกๆเรื่อง

ถ้าทางใจก็ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ผัสสะ เวทนา เหมือนกัน ทุกข้อเหมือนกัน ไปพิจารณาดูกันให้ดีๆ ไปดับที่
เวทนาตัวนั้น ถ้าไม่ดับที่เวทนามันจะกลายเป็นตัณหา กลายเป็นอุปาทาน เป็นภพ เป็นชาติ ลงที่ตัวทุกข์ นั่นเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาทก็คือการเกิดดับของสิ่งทั้งปวงนั้น มันทำงาน ตา, รูป, จักขุวิญญาณ ทั้ง ๓ อย่างทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัย ทำให้เกิดเวทนา พอเกิดเวทนาแล้วรีบมีสติ ดึงปัญญามาทันทีเลย ต้องฝึกสติปัฏฐาน ๔ เพื่อจะให้เกิดปัญญา ฉะนั้นถ้าเราปฏิบัติแนวสติปัฏฐาน ๔ แล้วเป็นสมถะอยู่ไม่สามารถเป็นปัญญาขึ้นมาได้ ก็ไม่สามารถที่จะดึงปัญญาขึ้นมาได้
ฉะนั้นสติปัฏฐาน ๔ เป็นทั้งสมถะ เป็นทั้งวิปัสสนา

พระอรหันต์ท่านตัดรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุจธัจจะ แล้วสุดท้ายก็คืออวิชชา อวิชชามันอยู่ที่ตรงไหน มันอยู่ที่เอาจิตมาเป็นกูนั่นแหละ อวิชชามันอยู่ที่ตรงนั้น พอมีอะไรขึ้นมาก็เอาจิตมาเป็นกู อวิชชาเข้ามาทุกที อาตมาบอกว่า ไม่ใช่กูๆ ไม่ใช่กูคือ อวิชชามันจะดับ อวิชชามันเจ็บปวด พอเราว่าไปนานๆ ว่าไปจนเป็นนิสัย จนเห็นว่ามันไม่ใช่กูจริงๆ มันกระเทือนถึงอวิชชาตัวแม่มันเลย อวิชชาคือตัวกู

การที่เราจะปฏิบัติถอนตัวกูออกไปเสีย มันยาก แต่ถึงยากอย่างไร เอาชีวิตเข้าเป็นเดิมพันเลย ในชาตินี้ถ้าเข้าปฏิบัติ ตายเป็นตายถ้าไม่เป็นพระอรหันต์ หรือพระอริยบุคคล ชั้นใดชั้นหนึ่ง จะไม่หยุดเป็นอันขาด มันไปแล้วมันหยุดไม่ได้ เพียงแต่เห็นพระรัตนตรัย
เอาพระรัตนตรัยมาเป็นที่พึ่ง เห็นพระพุทธเจ้าว่าง เห็นพระธรรมว่าง เห็นพระอริยะสงฆ์ว่าง อย่างนี้ มันก็หนักแน่นแล้ว แค่นี้ก็หนักแน่นแล้ว

ฉะนั้นเราอย่าปฏิบัติหลวมๆ ปฏิบัติให้จริงๆจังๆ ปฏิบัติต้องต่อเนื่อง ไม่อย่างนั้นที่ฟังไปจะเป็นหมัน เราไม่เอาไปปฏิบัติ จับให้ได้สักตัวหนึ่งว่าจิตนี้ไม่ใช่กู ง่ายๆแต่ว่าปฏิบัติยาก เราไม่กลัวยาก ยากขนาดไหน ตายก็ตายเราไม่กลัว ปฏิบัติชนไปเลย ไม่ต้องกลัวเลย เช่นว่าคนกลัวผีอย่างนี้ คนกลัวผีก็ภาวนาว่าไม่ไช่กูๆ ไม่ใช่กูแล้วมันจะหลอกใคร ถ้าไม่ใช่กู ผีมันก็กลัว ใช้คำว่าไม่ใช่กู ถ้ามีกูก็ถูกผีหลอก ให้ภาวนาว่าไม่ใช่กูๆ มันผีอวิชชาๆ อวิชชามีกิเลสเวลาที่มันเกิดขึ้น รู้ทันทันที พอเกิดขึ้นมาที่จิต รู้ทันทันที ว่ามันไม่ใช่กูๆ ท่านให้เดินก็ไม่ใช่กูเดิน นั่งก็ไม่ใช่กูนั่ง นอนก็ไม่ใช่กูนอน ไม่ใช่กูทั้งนั้น กินก็ไม่ใช่กูกิน อาบก็ไม่ใช่กูอาบ ตายก็ไม่ใช่กูตาย ไม่ใช่กูทั้งนั้น ธรรมชาติมันทำหน้าที่มันเองอย่างนั้น นี่เรียกว่าไม่ใช่กู

ทำจิตนี้ให้มันว่าง ว่างจากกู พระโสดาบันก็ว่าง แต่ว่างไม่หมด พระสกิทาคามีก็ว่าง แต่ว่างไม่หมด พระอนาคามีว่างแต่ก็ว่างไม่หมด ต้องไปถึงชั้นพระอรหันต์ถึงจะว่างหมด ดับหมด เรียกว่าว่าง-ดับ ระดับที่ ๔ จึงจะว่างหมด ระดับที่ ๑-๓ ว่างไม่หมด

ญาติโยมทั้งหลายวันนี้ก็พูดเรื่องความว่าง ญาติโยมอาจจะหนักอกหนักใจมาก แต่ว่าไม่เป็นไรไปพิจารณาดู ทำให้เกิดภาวนามยปัญญาขึ้นมาให้ได้ พอเกิดภาวนามยปัญญาขึ้นมาแล้ว ก็ภาวนาว่าไม่ใช่กูๆ สักวันหนึ่งคำว่าไม่ใช่กูมันจะแจ้งมาที่จิตของเรา มันจะเห็นจริงเข้ามาอย่างนั้น นั่งว่าพุท-โธๆตั้งแต่หัวดำจนหัวหงอก ยังไม่เห็นอะไรเกิดขึ้นเลย เพราะว่าพุท-โธ เรารู้ว่าได้แค่สมถะ เอาไปไหนละ แต่ถ้าพุท-โธเป็นวิปัสสนา พุท-โธเป็นสุญญตา เป็นความว่าง นั่นต้องให้ยืดออกไปต้องให้ยาวออกไป ต้องให้แจ่มแจ้งออกไปมันจึงจะใช้ได้ มองเวลาก็เห็นว่าพอสมควรแล้ว ขอความสุขความเจริญในธรรมจงเกิดมีแก่ญาติโยมที่ปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบจงทุกๆท่านเทอญ.

Source:http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=33341&start=0&st=0&sk=t&sd=a

วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่ และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้ อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา

กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิน

หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

1.จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง
2.จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์
3.พยายาม ตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐาน ดังนั้นเมื่อจะเป็นนักปฏิบัติธรรมจำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเรา เพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็ง

ทางแห่งความหลุดพ้น

เจ้าประคุณสมเด็จฯ มักจะกล่าวกับสานุศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอว่า ชีวิตมนุษย์อยู่ได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยปีก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า ดังนั้น จึงควรประพฤติปฏิบัติอยู่ใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ ท่านเปรียบเทียบว่า มนุษย์อาบน้ำ ชำระกายวันละสองครั้ง เพื่อกำจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย แต่ไม่เคยคิดจะชำระจิตให้สะอาดแม้เพียงนาที ด้วยเหตุนี้ ทำให้จิตใจของมนุษย์ ยุคปัจจุบันเศร้าหมองเคร่งเครียดและดุดัน ก่อให้เกิดปัญหาความพิการในสังคมความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง และกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน

แต่งใจ

ขอให้ท่านได้พิจารณาไตร่ตรองให้จงดีเถิดว่า ร่างกายของเรานี้ไฉนจึงต้องชำระทุกวันทั้งเช้าและเย็น จะขาดเสียไม่ได้ทั้งที่หมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นนิจ แต่ยังมีกลิ่นไม่น่าอภิรมย์ออกมา แม้จะพยายามหาของหอมมาทาทับ ก็ปกปิดกลิ่นนั้นไม่ได้ใจของเราล่ะ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าร่างกาย เป็นผู้สั่งบัญชางาน ให้กายแท้ๆ มีใครเอาใจใส่ชำระสิ่งสกปรกออกบ้าง ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มันสั่งสมสิ่งไม่ดีไว้มากเพียงใด หรือว่ามองไม่เห็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง ทำความสะอาดหรือ?

กรรมลิขิต

เราทั้งหลายเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติแล้ว ล้วนแต่มีกรรมผูกพันกันมาทั้งสิ้น ผูกพันในความเป็นมิตรบ้างเป็นศัตรูบ้าง แต่ละชีวิตก็ย่อมที่จะเดินไปตามกรรมวิบากของตนที่ได้กระทำไว้ ทุกชีวิตล้วนมีกรรมเป็นเครื่องลิขิต

อดีตกรรม ถ้ากรรมดี เสวยอยู่
ปัจจุบันกรรม สร้างกรรมชั่ว ย่อมลบล้าง
อดีตกรรม กรรมแห่งอกุศล วิบากตน
ปัจจุบัน สร้างกรรมดี ย่อมผดุง

เรื่องกฎแห่งกรรม ถ้าเป็นชาวพุทธแล้ว เขาถือว่าเป็นกฎแห่งปัจจังตัง ผู้ที่ต้องการรู้ ต้องทำเอง รู้เอง ถึงเอง แล้วจึงจะเข้าใจ

นักบุญ

การทำบุญก็ดี การทำสิ่งใดก็ดี ถ้าเป็นการทำตนให้ละทิฏฐิมานะ ทำเพื่อให้จิตเบิกบาน ย่อมเสวยบุญนั้นในปรภพ มนุษย์ทุกวันนี้ทำแบบมีกิเลส ดังนั้น บางคนนึกว่าเข้าสร้างโบสถ์เป็นหลังๆ แล้วเขาจะไปสวรรค์หรือเปล่า เขาตายไปอาจจะต้องตกนรก เพราะอะไรเล่า เพราะถ้าเขาสร้างด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ เป็นการทำเพื่อเอาบุญบังหน้าในการเสวยความสุขส่วนตัวก็มี บางคนอาจเรียกได้ว่าหน้าเนื้อใจเสือ คือข้างหน้าเป็นนักบุญ ข้างหลังเป็นนักปล้น

ละความตระหนี่มีสุข

ดังนั้นบุญที่เขาทำนี้ถือว่า ไม่เป็นสุข หากมาจากการก่อกรรม บุญนั้น จึงมีกระแสคลื่นน้อยกว่าบาปที่เขาทำเอาไว้หากมีใครเข้าใจคำว่า บุญ นี้ดีแล้ว การทำบุญนี้จุดแรกในการทำก็เพื่อไม่ให้เรานี้เป็นคนตระหนี่ รู้จักเสียสละเพื่อความสุขของผู้อื่น ธรรมดาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมีทุกข์ก็ควรจะทุกข์ด้วย เมื่อมีความสุขก็ควรสุขด้วยกัน

อย่าเอาเปรียบเทวดา

ในการทำบุญ สิ่งที่จะได้ก็คือ ระหว่างเราผู้เป็นมนุษย์ เรารู้ว่าสิ่งที่เราทำนี้จะเป็นมงคล ทำให้จิตใจเบิกบานดี นี่คือการเสวยผลแห่งบุญในปัจจุบัน ทีนี้การทำบุญเพื่อจะเอาผลตอบแทนนั้น มนุษย์นี้ออกจะเอาเปรียบเทวดา ทำบุญครั้งใด ก็ปรารถนาเอาวิมานหนึ่งหลังสองหลัง การทำบุญแบบนี้เรียกว่า ทำเพราะหวังผลตอบแทนด้วยความโลภ บุญนั้นก็ย่อมจะไม่มีผล ท่านอย่าลืมว่า ในโลกวิญญาณเขามีกระแสทิพย์รับทราบในการทำของมนุษย์แต่ละคนเขามีห้องเก็บบุญ และบาปแห่งหนึ่งอันเป็นที่เก็บบุญและบาปของใครต่อใครและของเรื่องราวนั้นๆ กรรมของใครก็จะติดตามความเคลื่อนไหวของตนๆนั้น ไปตลอดระหว่างที่เขายังไม่สิ้นอายุขัย

บุญบริสุทธิ์

การที่สอนให้ทำบุญโดยไม่ปรารถนานั้น ก็เพื่อให้กระแสบุญนั้นบริสุทธิเป็นขั้นที่นึ่ง จะได้ตามให้ผลทันในปัจจุบันชาติ แต่ถ้าตามไม่ทันในปัจจุบันชาติ ก็ติดตามไปให้เสวยผลในปรภพ คือ เมื่อสิ้นอายุขัยจากโลกมนุษย์ไปแล้ว ฉะนั้น เขาจึงสอนไม่ให้ทำบุญเอาหน้า ทำบุญอย่าหวังผลตอบแทน สิ่งดีที่ท่านทำไปย่อมได้รับสนองดีแน่นอน

สั่งสมบารมี

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับนักปฏิบัติธรรมแล้ว การทำบุญทำทานย่อมเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติจิตให้บรรลุธรรมได้เร็วขึ้น เป็นบารมีอย่างหนึ่ง ในบารมีสิบทัศที่ต้องสั่งสม เพื่อให้สำเร็จมรรคผลนิพพาน

เมตตาบารมี

การทำบุญให้ทานเพียงแต่เรียกว่า ทานบารมี หากบำเพ็ญสมาธิจิตจนได้ญาณบารมี และโดยเฉพาะการบำเพ็ญทุกอย่างนั้น ถ้าท่านให้โดยไม่มีเจตนาแห่งการให้ ให้สักแต่ว่าให้เขา ท่านก็ย่อมได้กุศลเรียกว่าไม่มากและทัศนคติของอาตมาว่าการบำเพ็ญเมตตาบารมี ในภาวนาบารมีนั้นได้กุศลกรรมกว่าการให้ทาน

แผ่เมตตาจิต

ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น เกิดจากกรรม 3 อย่าง คือ มโนกรรม เป็นใหญ่ แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรม หรือกายกรรมที่เป็นรูป การบำเพ็ญสมาธิจิตเป็นกุศลดีกว่า เพราะว่า การแผ่เมตตา 1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้างโบสถ์ 1 หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้น จะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย ฉะนั้น เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า

อานิสงส์การแผ่เมตตา

ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จักคำว่า แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณกระจายออกไป เมื่อจิตของเรามีเจตนาบริสุทธิ์ เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา หรืออีกนัยหนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขาๆก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล เราแผ่เมตตาจิตให้ทุกๆวัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้ เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุกๆดวง ดวงวิญญาณทุกๆดวงย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง 4 นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป ฉะนั้น ผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จิตแน่วแน่แล้ว โรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้ว คือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย หรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่งเดิมได้

ประโยชน์จากการฝึกจิต

ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนมีสมาธิแน่วแน่ เมื่อจิตนิ่งก็รู้ตน เริ่มพิจารณาตน รู้ตนเองได้ ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญานี้เรียกว่า ปัญญาภายในจากจิตวิญญาณ ซึ่งเราจะใช้ปัญญานี้ได้แน่นอน เมื่อเกิดมีปัญหาขึ้นในชีวิตตลอดระยะเวลาอันยาวนานข้างหน้า นี่คือประโยชน์ของการฝึกจิตแล้ว คุณของสมาธิยังเป็นพลังป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัย เจ็บป่วยได้ กล่าวคือ การบำเพ็ญจิต จนจิตสงบนิ่งแล้ว ระบบต่างๆทางประสาทจะได้รับการพักผ่อน เป็นการปรับธาตุในกายให้เกิดพลังจิตเข้มแข็ง กายเนื้อก็จะแข็งแรงกระชุ่มกระชวยด้วย โลหิตในร่างกายจะหมุนเวียนสะดวกขึ้น ความตึงเครียดตามร่างกายและประสาทต่างๆ จะผ่อนคลายเป็นปกติ โรคต่างๆจะลดน้อยลงโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หายป่วยได้ด้วยการฝึกจิตและเดินจงกรม

คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มังสวิรัติ (กินเจ)เพื่อสุขภาพและอายุยืนยาว

โดย น.พ. โชติช่วง ชุตินธร 7 ตุลาคม 2553 00:30 น.

มีงานวิจัยที่เชื่อถือได้รายงานว่าคนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติที่เป็น เพศชายจะมีอายุยืนยาวขึ้น 8 ปีกว่า และเพศหญิงจะมีอายุยืนยาวขึ้น 7 ปี กว่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่กินอาหารมังสวิรัติ (Seventh-day Adventist Dietetic Association)

คนทั่วไปมักเข้าใจว่า ถ้าไม่กินเนื้อสัตว์จะไม่แข็งแรง และเป็นโรคขาดอาหาร แต่ความเป็นจริงปรากฏว่า คนที่กินอาหารมังสวิรัติ มีสุขภาพสมบูรณ์กว่า และไม่เป็นโรคขาดอาหาร กลับจะเป็นโรคน้อยกว่าด้วย เช่น โรคหัวใจวาย โรคมะเร็ง โรคพยาธิ และโรคที่ติดเชื้อจากสัตว์

อาหารมังสวิรัติไม่ใช่มีไว้เฉพาะสำหรับกลุ่มคนที่ถือศีล หรือเคร่งครัดในเรื่องศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบันคนทั่วโลกหลายล้านคนหันมากินอาหารมังสวิรัติ เพื่อสุขภาพเป็นหลักใหญ่

นักมังสวิรัติ จำแนกได้ 4 ประเภท

1. กินธัญพืช ( ข้าวหรือข้าวกล้อง) ถั่ว พืชผักและผลไม้ ( Vegan)

2. กินเหมือนข้อ 1 แต่ดื่มนมด้วย ( Lacto-vegetarian)

3. กินเหมือนข้อ 1 แต่ดื่มนมและกินไข่ด้วย ( Lacto-ova-vegetarian)

4.กินเจ กินเหมือนข้อ 1 แต่ งด กุยช่าย ต้นหอม ผักชี กระเทียม (Chinese vegetarian)

ประมาณ 500 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์และคนส่วนมาก คิดว่าโลกแบน มีเพียงคนกลุ่มน้อยที่เชื่อว่าโลกกลม เช่น โคลัมบัส ซึ่งกล้าเสี่ยงชีวิตเพื่อพิสูจน์ให้ชาวโลกได้รู้ว่าที่แท้โลกเรากลม โดยแล่นเรือจนค้นพบอเมริกาแต่กระนั้นต้องอาศัยเวลานานกว่าคนทั่วไปจะยอมรับ ในความจริงข้อนี้ ก็เช่นเดียวกันกับสมัยนี้ที่คนส่วนใหญ่ยังคิดว่า การกินอาหารมังสวิรัติ จะทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงเท่ากับคนที่กินเนื้อสัตว์ ทั้งที่ในต่างประเทศ หรือแม้แต่ในเมืองไทยเองก็มีแพทย์ และนักโภชนาการหลายท่านยืนยันว่าคนกินอาหารมังสวิรัติไม่มีปัญหาด้านการ เจริญเติบโตหรือด้านสุขภาพเลย เพราะมีหลักฐานชัดเจนอยู่ใน 2 ข้อ ต่อไปนี้ คือ

1.หลักฐานทางโภชนาการ หรือทางวิทยาศาสตร์

2.หลักฐานจากชีวิตจริงของนักมังสวิรัติ

ข้อ 1 มีหลักฐานทางโภชนาการ พิสูจน์ แล้วว่า อาหารมังสวิรัติมีคุณค่าทางธาตุอาหารครบทุกหมู่ โปรตีนในถั่วเหลืองและถั่วต่างๆ ตลอดจนธัญพืช มีคุณภาพเท่าเทียมกับเนื้อสัตว์ จึงไม่ต้องห่วงว่า คนกินอาหารมังสวิรัติ จะได้โปรตีนไม่เพียงพอ โปรตีนบางชนิดที่ถั่วมีน้อยนั้น เราจะเสริมได้ง่ายๆโดยการกินอาหารประเภทข้าว ซึ่งมีโปรตีนที่สำคัญจำนวนมาก คือ เมไธโอนิน methionine การกล่าวอ้างที่ว่าโปรตีนจากถั่วเป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์ (incomplete protein) และเนื้อสัตว์เป็นโปรตีนที่สมบูรณ์ (complete protein) นั้นไม่ค่อยถูกต้องเพราะในทางปฏิบัติไม่มีใครไม่กินข้าว ดังนั้น การกินโปรตีนจากถั่วและข้าว ก็จะได้โปรตีนที่สมบูรณ์ทดแทนกันได้จึงไม่มีปัญหา

ในการประชุมนักโภชนาการนานาชาติครั้งที่ 6 ที่ประเทศอังกฤษมีรายงานตามหลักโภชนาการออกมาว่า การรวมตัวของโปรตีนจากพืชต่างชนิดกันจะทำให้ได้โปรตีนไม่ต่างจากโปรตีนที่ได้จากสัตว์เลย

ส่วนที่เด็กกินอาหารมังสวิรัติจะได้โปรตีน และสารอาหารต่างๆ เพียงพอหรือไม่นั้น คำตอบคือ “ไม่มีปัญหา” เพราะเด็กที่กินอาหารมังสวิรัติใช่ว่าจะกินพืชผักทันทีที่ลืมตาดูโลก เด็กจะดื่มนมแม่ก่อน (หรือไม่ก็นมผง) พอโตขึ้นมาหน่อยก็เริ่มกินข้าว พืชผัก และถั่วบด และผลไม้ เช่น ส้ม กล้วย แต่เด็กก็ยังดื่มนมต่อไปเรื่อยๆ เด็กหรือผู้ใหญ่ที่กินอาหารมังสวิรัติมักจะดื่มนมหรือนมถั่วเหลือง (น้ำเต้าหู้) ตลอดไป ในขณะที่บางคนก็กินไข่ด้วย ความกังวลที่ว่า เด็กจะขาดธาตุอาหารจึงเป็นอันตัดไป

ข้อ 2 หลักฐานจากชีวิตจริงของนักมังสวิรัติ เด็กหรือผู้ใหญ่ที่กินอาหารมังสวิรัติ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด มีความเฉลียวฉลาดเหมือนคนที่กินเนื้อสัตว์ สมองเจริญเติบโตดีเหมือนกันและอาจจะดีกว่าเสียด้วย จะเห็นได้จาก ประวัติศาสตร์ที่มีคนเก่งๆ ของโลกเป็นนักมังสวิรัติ เช่น เลียวนาโด ดาวินซี, เซอร์ไอแซค นิวตัน, มหาตมะคานธี และนักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิก อีกหลายท่าน เช่น Carl Lewis นักวิ่ง 9 เหรียญทอง Murray Rose นักว่ายน้ำ 6 เหรียญทอง และ Paavo Nurmi นักวิ่ง 9 เหรียญทอง หรือดูกันง่ายๆคือ ชนชาติ ต่างๆ เช่นที่ อินเดีย มีซิกข์ ฮินดู แยนหรือที่ อเมริกามีคริสเตียนคณะเซเว่นเดย์แอ็ดเวนตีสซึ่งกินอาหารมังสวิรัติกันมาหลาย ชั่วอายุคนแล้ว เขาไม่มีปัญหา ถ้ามีปัญหาเขาก็คงสูญพันธ์ไปแล้วแต่ปรากฎว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีมากขึ้นด้วย ซ้ำ

ผักเป็นอาหารจำเป็นสำหรับทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักมังสวิรัติหรือ ไม่ แต่ก็มีบางคนไม่ค่อยกินผักเสียเลย เขาก็จะขาดแร่ธาตุต่างๆตลอดจนกากใยที่มีอยู่ในผักซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้เกิด มะเร็งลำไส้ใหญ่ บางคนกลัวยาฆ่าแมลงตกค้างในผักก็เลยไม่ค่อยกล้ากินผัก ทางที่ถูกคือ ต้องล้างผักในน้ำที่ไหลริน หลายๆครั้ง เพื่อให้น้ำชะล้างยาฆ่าแมลงออกไป หรือถ้าทำได้ ก็ปลูกผักสวนครัวเองหรือเลือกซื้อผักปลอดสารพิษ
นักวิจัยในสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบว่าเนื้อสัตว์ต่างๆที่คนนำมาบริโภคมียาฆ่าแมลงมากกว่าพืชผัก บางทีมากกว่าถึง 13 เท่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะสัตว์ต่างๆ ก็กินพืชผัก หรือหญ้าที่มียาฆ่าแมลงเข้าไป ยิ่งอายุของสัตว์ยืนนานเท่าใด ก็ยิ่งสะสมไว้มากเท่านั้น

ดร. จี เอส ฮันติงตัน แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในสหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาระบบย่อยและฟันของมนุษย์ และยืนยันว่า มนุษย์เรามีระบบย่อยและฟัน ที่เหมาะสมที่จะย่อยหรือบดเคี้ยวพืชผักมากกว่าเนื้อสัตว์

ปัจจุบันเมืองไทยเรายังมีเด็กและผู้ใหญ่เป็นโรคขาดอาหาร และอาหารมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆดังนั้นการกินอาหารมังสวิรัติจะเป็นวิธีหนึ่ง ที่แก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของครอบครัวเพราะอาหาร พืชผักและถั่วราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์

โปรตีนในเนื้อสัตว์มีราคาเป็น 6 เท่าของโปรตีนในถั่วเหลือง เช่น เนื้อวัวหรือเนื้อหมู 1 กิโลกรัม ราคาประมาณ 90 บาท ส่วนถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม ประมาณ 30 บาท แต่ให้โปรตีนเป็น 2 เท่าของเนื้อสัตว์ และมีคุณภาพทางโปรตีนเท่าเทียมกัน ( เมื่อกินข้าวด้วย)

ถ้าคนมีรายได้น้อยจะเลิกเห่อหรือหลงค่านิยมของการกินเนื้อสัตว์ ที่ต้องเอาเงินที่หามาได้ด้วยความยากลำบาก ไปซื้อเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพงมากิน แต่หันมาพึ่งถั่วเหลืองหรือถั่วเมล็ดแห้งต่างๆหรือเต้าหู้ ก็จะได้อาหารที่มีประโยชน์ในราคาประหยัดกว่ามาก และเขาจะได้อาหารที่เพียงพอ และช่วยไม่ให้เป็นโรคขาดสารอาหารด้วย (ไข่เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ราคาถูก คุณค่าไม่แพ้เนื้อสัตว์ ส่วนน้ำนมถั่วเหลืองหรือที่เรียกว่าน้ำเต้าหู้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงใช้ ดื่มแทนนมได้และมีราคาถูกกว่านมสดมาก)

ในต่างประเทศได้มีผู้เชี่ยวชาญคำนวณแล้วว่าคนกินเนื้อสัตว์ 1 คน ต้องใช้เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ที่จะผลิตอาหารให้เขากิน แต่ถ้าเขากินแต่พืชผัก จะใช้เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เท่านั้น ดังนั้น เราจะมีที่ดินเหลือไปผลิตอาหารได้มากขึ้น


จะกินอาหารมังสวิรัติ (กินเจ) ได้อย่างไร....... ?


การกินอาหารมังสวิรัติง่ายมาก ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ หรือการศึกษาสูง และก็ไม่จำเป็นต้องรู้ว่า อาหารชนิดใดที่มีแคลอรี่หรือคุณค่าทางอาหารเท่าไร ขอให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

1. กินอาหารหลายชนิด 4 ประเภทนี้หมุนเวียนกัน ก) ธัญพืชหรือข้าวกล้อง ข) พืชผัก ค) ผลไม้ ง) ถั่วเมล็ดแห้งและเมล็ดต่างๆเช่นงาและเมล็ดทานตะวัน ( กินนมหรือไข่ก็ได้แต่ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็ดี ส่วนคนที่กินเจจะต้องงดนมและไข่) ( ส่วนไขมันไม่ต้องห่วงเพราะมีอยู่แล้วในอาหารกลุ่มต่างๆ หรือใช้นำมันพืช)

2. กินอาหารให้เพียงพอ ไม่มากไม่น้อยเกินไป (ไม่อ้วนและไม่ผอม)

3. กินอาหารธรรมชาติ ไม่ค่อยดัดแปลง (เช่น ข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือดีกว่าข้าวที่ขัดสีจนขาว และผักผลไม้สด ดีกว่า ผักผลไม้ดอง) หลีกเลี่ยงอาหาร junk food ซึ่งมีแต่น้ำตาลและแป้งเช่น โดนัท ขนมเค็กและน้ำอัดลมหรือขนมขบเคี้ยวทอดกรอบต่างๆ

การกินอาหารมังสวิรัติง่ายมาก กินเหมือนที่คุณเคยกินทุกวันนั่นแหละ แต่เอาเนื้อสัตว์ทุกชนิดออก แล้วเอาถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว หรือผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่นเต้าหู้ น้ำเต้าหู้ ( นมถั่วเหลือง) ฟองเต้าหู้ หรือ โปรตีนเกษตร( เนื้อเทียม) หมี่กึน (gluten) แทน และใช้เกลือหรือซีอิ๊วแทนน้ำปลาเท่านั้นเอง


สรุป การกินอาหารมังสวิรัติ ดีกว่าการกินเนื้อสัตว์เพราะ

1. ประหยัดกว่า อาหารพืชผัก ( มังสวิรัติ) ถูกกว่าเนื้อสัตว์ แต่มีคุณค่าทางอาหารเท่าเทียมกัน

2.มีสุขภาพแข็งแรงกว่า เนื้อสัตว์มีไขมันอิ่มตัวมาก (คอเรสเตอรอล)ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดโรคหัวใจวายง่ายขึ้น คนกินเนื้อสัตว์จะมีโอกาสเป็น โรคมะเร็ง โรคพยาธิ และโรคต่างๆ เช่น โรควัวบ้า โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่หมู และโรคอื่นๆที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่ติดต่อได้จากสัตว์ มากกว่าคนที่กินมังสวิรัติ ส่วนคนที่ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นประจำจะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่างๆ น้อยกว่าคน ที่รับประทานอาหารเนื้อสัตว์ และเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคเส้นเลือดในสมองตีบและแตก น้อยกว่า และจะมีชีวิตที่ยืนยาวกว่า 4 - 10 ปี
( National Geographic – Nov. 2005 pg. 25 ; Diet, Life Expectancy & Chronic Diseases by Dr Gary Fraser )

โปรดมั่นใจว่า การกินมังสวิรัติ จะทำให้มีสุขภาพดี และอายุยืนยาว ไม่เพียงแต่เท่านั้น ด้านสติปัญญาและจิตใจก็จะดีขึ้นด้วย

Source: http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000140815

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ธรรมดลใจ

หลังจากทำงานมาทั้งวัน
เวลานอนควรเป็นเวลาพักผ่อนทั้งกายและใจของเราอย่างแท้จริง
อย่าปล่อยให้งานการและเหตุการณ์ต่างๆที่พานพบมาตลอดวัน
ตามมารบกวนเรากระทั่งในยามหลับ
จนกลายเป็นฝันร้ายหรือนอนไม่หลับกระสับกระส่ายไปทั้งคืน

ก่อนนอนนอกจากอาบน้ำชำระเหงื่อไคลออกไปจากร่างกายแล้ว
ควรหาเวลาชำระจิตใจให้ปลอดพ้นจากเรื่องกังวลใจด้วย
โดยการนั่งสมาธิ ทำใจให้สงบ
มีลมหายใจเข้าและออกเป็นที่พักพิงของจิต
ไม่ว่าความรู้สึกนึกคิดใดๆจะผุดขึ้นมาก็รู้แล้ววางเสีย
มีสติรู้ตัวอย่างต่อเนื่อง
แต่หากมีเรื่องรบกวนจิตใจมาก
ก็ลองหางานอื่นให้จิตทำก่อน เช่น สวดมนต์
เมื่อความฟุ้งซ่านลดลงแล้ว จึงค่อยมานั่งสมาธิก็ได้

การเตรียมใจอีกอย่างหนึ่งที่ควรทำก่อนนอนก็คือ
เตือนใจว่าชีวิตของเรานั้นไม่เที่ยง
สักวันหนึ่งเราก็ต้องจากโลกนี้ไป
วันนั้นจะมาถึงเมื่อไหร่เราไม่อาจรู้ได้
คืนนี้อาจเป็นคืนสุดท้ายของเรา
เราควรใช้ช่วงเวลาก่อนนอนนี้
ฝึกใจปล่อยวางผู้คนและสิ่งต่างๆ ใหม่ๆอาจทำได้ยาก
แต่เมื่อทำบ่อยๆก็จะปล่อยวางได้ง่ายขึ้น

สุดท้ายก็ควรแผ่บุญกุศลและความปรารถนาดี
ไปให้แก่ผู้มีบุญคุณกับเรา ไม่จำเพราะพ่อแม่ ครูบาอาจารย์
แต่ควรรวมไปถึงมิตรสหาย เพื่อนร่วมงาน
รวมทั้งแผ่ไปยังสรรพชีวิตที่ช่วยเกื้อกูล
ให้เรามีชีวิตได้อย่างผาสุขสวัสดี
นอกจากนั้นควรแผ่เมตตาไปยังคู่กรณี
หรือผู้ที่ทำความขุ่นข้องหมองใจแก่เรา
ไม่ว่าจะเป็นคนใกล้หรือไกล
ขอให้เขาเหล่านั้นมีความสุข ปลอดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
เมตตาที่ปลุกขึ้นมาในใจ
จะช่วยดับความเร่าร้อนในจิตใจ
ระงับความโกรธเกลียดที่ติดค้างมาตลอดวัน
ช่วยให้เราสงบเย็น
และสามารถหลับได้อย่างมีความสุข
พร้อมจะตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่
ด้วยกายที่สดชื่นและใจที่แจ่มใส

เรียบเรียงจากบทความของ พระไพศาล วิสาโล

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ยึดติด

โดย พระไพศาล วิสาโล

สุด .. ได้ เลขท้าย ๓ ตัวมาจากหลวงพ่อ เลยแทงไป ๑๕ บาท ปรากฏว่าถูกเผง ได้มา ๖๐๐ บาท เขาดีใจมาก เที่ยวอวดใครต่อใครในหมู่บ้านว่าถูกหวย แต่พอรู้ว่า คอนซึ่งเป็นเพื่อนบ้าน ก็แทงหวย ๓ ตัวถูกเหมือนกัน แต่ได้เงินมากกว่าคือ ๒,๐๐๐ บาท เพราะแทงมากกว่า สุดเลยยิ้มไม่ออก หงอยไปทั้งวัน แถมยังโมโหตัวเองที่แทงน้อยไป

ใจ .. ไปเที่ยวไนท์บาซ่า เห็นผ้าพื้นเมืองลายงาม ราคา ๕๐๐ บาท แต่เธอต่อได้ ๓๕๐ บาทจึงคว้าผ้าผืนนั้นกลับโรงแรมด้วยความดีใจ แต่พอรู้ว่าไก่เพื่อนร่วมห้องก็ซื้อผ้าแบบเดียวกันมา แต่ได้ราคาถูกกว่า คือ ๓๐๐ บาท ใจก็หุบยิ้มทันที ไม่รู้สึกโปรดปรานผ้าของตนอีกต่อไป

แม้เราจะมี " โชค " หรือได้ของดีที่ถูกใจ แต่หากไปเปรียบเทียบกับของคนอื่นเมื่อใด สุขก็อาจกลายเป็นทุกข์ทันที หากรู้ว่าคนอื่นได้มากกว่า ได้ของดีกว่าหรือได้ของที่ถูกกว่า ส่วนของดีที่เราได้มากลับด้อยคุณค่าไปถนัดใจ

บางครั้งอาจทำให้เราทุกข์กว่าตอนที่ยังไม่ได้ของนั้นมาด้วยซ้ำ ที่จริงไม่ต้องไปเทียบกับของคนอื่นก็ได้ เพียงแค่เห็นของรุ่นใหม่วางขายหรือโฆษณาตามสื่อต่างๆ ก็เกิดความไม่พอใจในของเดิมที่มีอยู่ทันที ทั้งๆ ที่มันก็ยังใช้ได้ดี ไม่มีปัญหาอะไรรบกวนใจ ยกเว้นข้อเดียวคือ มันสู้ของใหม่ที่วางขายไม่ได้ ทั้งๆ ที่มีของดีอยู่กับตัว แต่คนเราแทนที่จะพอใจกลับรู้สึกเป็นทุกข์ เพียงเพราะใจไปจดจ่ออยู่กับสิ่งดีกว่า (หรือมากกว่า) ที่ตัวเองยังไม่มี

แต่เมื่อใดก็ตามที่ของชิ้นนั้นเกิดมีอันเป็นไป เช่นทำตกหล่นหรือถูกขโมยไป เราก็จะกลับมาเห็นคุณค่าของมันและนึกเสียใจที่เสียมันไป จะกินจะนอนก็ยังนึกถึงมันด้วยความเสียดาย ทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นใน กรณีที่เป็นสิ่งของเท่านั้น แต่ยังเกิดกับกรณีที่เป็นคนด้วย เช่น คนรัก หรือแม้แต่พ่อแม่และลูก

ผู้คนจำนวนมากไม่เห็นคุณค่าหรือมีความสุขกับคนใกล้ชิด เพราะไปนึกเปรียบเทียบคนอื่นว่าเขามีพ่อแม่ คนรัก หรือลูกที่ดีกว่าเรา
แต่วันใดที่เราเสียเขาไป เราถึงจะกลับมาเห็นคุณค่าของเขาและเศร้าโศกเสียใจจนถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับเลยทีเดียว เฝ้าหวนคำนึงถึงวันคืนเก่าๆ ที่เขาเคยอยู่กับเรา

คนเรามักทุกข์เพราะจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ยังไม่มี หรืออาลัยในสิ่งที่สูญเสียไป พูดให้ครอบคลุมกว่านั้นก็คือ ทุกข์เพราะใจยังติดยึดอยู่กับอนาคตและอดีต อนาคตและอดีตที่ว่ามิได้หมายถึงสิ่งดีๆ ที่ยังไม่มีหรือที่เสียไปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งไม่พึงปรารถนาที่ (คาดว่า) รออยู่ข้างหน้า เช่นอุปสรรค และสิ่งไม่พึงปรารถนาที่พานพบ คำต่อว่า หรือการกระทำที่น่ารังเกียจ

คำตำหนิติเตียนไม่ว่าจะรุนแรงแค่ไหน แต่ก็ทำอะไรเราไม่ได้ หากเราไม่เก็บเอาคิดซ้ำคิดซาก คำพูดเหล่านั้นผ่านพ้นไปนานแล้ว
แต่ที่ยังบาดใจเราอยู่ก็เพราะเราไม่ยอมปล่อยวางมันต่างหาก ยิ่งคิดคำนึงถึงมันมากเท่าไรก็ยิ่งซ้ำเติมตัวเองมากเท่านั้น

การเอาเปรียบ กลั่นแกล้ง ทรยศ หักหลัง ก็เช่นกัน แม้เป็นอดีตไปนานแล้ว แต่เราก็ยังทุกข์อยู่กับเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ใช่เพราะเขายังทำเช่นนั้นกับเราอยู่ แต่เป็นเพราะเราชอบย้อนภาพอดีต กลับมาฉายซ้ำในใจอย่างไม่ยอมเลิกรา ย้อนแต่ละทีก็เหมือนกับกรีดแผลลงไปที่ใจ หยุดย้อนอดีตเมื่อใดใจก็หายเจ็บเมื่อนั้น

อดีตเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ส่วนอนาคตยังมาไม่ถึง แต่จะมาถึงหรือไม่ ไม่มีใครรู้ได้! แต่บ่อยครั้งเรากลับยึดมั่นสำคัญหมายอย่างเป็นจริงเป็นจัง ว่ามันจะต้องเกิดขึ้นแน่ เท่านั้นยังไม่พอถ้าเป็นเรื่องแง่ลบด้วยแล้ว เรามักจะวาดภาพไปในทางเลวร้าย แล้วก็ยึดมันเอาไว้ไม่ให้คลาดไปจากใจ ทั้งๆ ที่ยิ่งคิดก็ยิ่งทุกข์

ชายผู้หนึ่งเดินขึ้นตึกไปหาหมอ เพื่อฟังผลตรวจโรค พอหมอบอกว่า พบก้อนมะเร็งระยะที่สองในปอดของเขา เขาก็ถึงกับทรุด เข่าอ่อนเดินไม่ได้ กลับถึงบ้านก็กินไม่ได้นอนไม่หลับ ซึมไปเป็นเดือน

ส่วนหญิงผู้หนึ่ง ป่วยกระเสาะกระแสอยู่นานหลายสัปดาห์ แล้ววันหนึ่งหมอก็บอกว่า เธอเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายที่ตับ จะอยู่ได้ไม่เกิน ๓ เดือน ปรากฏว่าผ่านไปแค่ ๑๒ วัน เธอก็สิ้นใจ ทั้งสองกรณีไม่ได้ทรุดฮวบเพราะโรคมะเร็งเล่นงาน แต่เป็นเพราะใจเสีย ทันทีที่ได้ยินข่าวร้าย ใจก็นึกภาพอนาคตของตัวเองไปในทางเลวร้าย ยิ่งผู้ป่วยรายที่สองด้วยแล้ว เธอนึกไปถึงวันตายของตัวเองเลยทีเดียว แถมยังปรุงแต่งไปในทางที่มืดมน เท่านั้นไม่พอเธอยังหมกมุ่นกับภาพดังกล่าวไม่หยุดหย่อน ทั้งๆ ที่มันยังไม่เกิดขึ้น ผลก็คือถูกความทุกข์ท่วมทับจนมิอาจทานทนต่อไปได้

บ่อยครั้งเราเป็นทุกข์เพราะเรื่องที่ยังมาไม่ถึง เช่น การสอบไม่ติดหรือตกงาน โดยตัวมันเองไม่ก่อปัญหาแก่เรา มากเท่ากับใจที่ปรุงแต่งไปล่วงหน้า ว่านับแต่นี้ไปชีวิตจะลำบากยากแค้นเพียงใด แล้วจะอยู่ดูโลกนี้ต่อไปได้อย่างไร แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจพบว่าที่แท้เราตีตนก่อนไข้ไปเอง เพราะปัญหาต่างๆ ที่ตามมาไม่ได้หนักหนาสาหัสอย่างที่คิด สามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ในที่สุด

อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้ปรุงแต่งเหตุการณ์ที่ยังมาไม่ถึงเท่านั้น กับสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า บางครั้งเราก็ปรุงแต่งให้เลวร้ายเกินจริง
เช่น อยู่รีสอร์ตคนเดียวกลางดึก ได้ยินเสียงผิดปกติ ก็ปรุงแต่งไปทันทีว่าถูกผีหลอก หรือไม่ก็มีคนจะมาทำร้าย เห็นคู่รักกำลังคุยอย่างสนิทสนมกับชายหนุ่มในร้านอาหาร ก็คิดไปทันทีว่า เธอกำลังนอกใจ

การคิดปรุงแต่งที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงนั้น เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ แต่เมื่อใดที่เราหลงยึดว่ามันเป็นเรื่องจริง
เราก็กำลังก่อทุกข์ให้กับตัวเอง แถมยังสามารถสร้างปัญหาให้แก่คนอื่นได้ด้วย

วัยรุ่นนั่งกินอาหารอยู่หน้าร้าน เผอิญขี้นกหล่นใส่หัว แต่เขากลับคิดว่าเจ้าของร้านถ่มน้ำลายใส่หัว จึงทะเลาะกับเจ้าของร้านอย่างรุนแรง สักพักก็ออกจากร้านแล้วกลับมาพร้อมกับพวกอีกหลายคน ควักปืนออกมายิงกราด ถูกภรรยาเจ้าของร้านซึ่งกำลังท้อง ๕ เดือนตายคาที่ กลายเป็นฆาตกรที่ถูกตำรวจหมายหัวทันที

การยึดติดสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นเอง เป็นที่มาอีกประการหนึ่งของความทุกข์ ทีแรกเราเป็นฝ่ายปรุงแต่งมันขึ้นมา แต่เผลอเมื่อใดมันก็กลับมาเป็นนายเรา สามารถผลักใจของเราไปสู่ความทุกข์ และชักนำชีวิตของเราไปในทางเสื่อมได้ง่ายๆ

กี่ครั้งกี่หนที่เราทำร้ายตัวเองและทำร้ายซึ่งกันและกัน เพียงเพราะหลงเชื่อ ความคิดที่เราปรุงแต่งขึ้นมา พูดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่า สิ่งที่ไม่ได้ปรุงแต่งขึ้นมาเอง แต่เป็นความจริงแท้ๆ จะไม่ก่อปัญหา

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่สร้างความทุกข์แก่เรา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ อยู่ในขณะนี้ เช่น รถเสีย เงินไม่พอใช้ ทะเลาะกับคนรัก ลูกคบเพื่อนไม่ดี งานไม่ก้าวหน้า แต่ถ้าเรามัวแต่นึกถึงเรื่องเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร ก็กวาดเอาปัญหาต่างๆ มาครุ่นคิดด้วย ทั้งๆ ที่ไม่เกี่ยวกันเลย เช่น กำลังทำงานอยู่ ก็ไปกังวลถึงรถ ถึงลูก ถึงพ่อแม่ แล้วยังห่วงคู่รักอีก
อย่างนี้แล้วจะไม่ทุกข์ได้อย่างไร

ปัญหาเป็นเรื่องที่ต้องแก้ ไม่ได้มีไว้ให้กลุ้ม! แต่เมื่อใดที่เรากวาดเอาปัญหาต่างๆ มาทับถมจิตใจ ทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงเวลา (หรือไม่ใช่เวลา) ที่จะแก้ไข ก็เตรียมตัวกลุ้มได้เลย นี้เป็นการยึดติดอีกแบบหนึ่ง

อันที่จริงแม้มีปัญหาแค่เรื่องเดียว แต่ถ้าหมกมุ่นอยู่กับมันตลอดเวลา ก็ทำให้คลั่งได้ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเล็กแต่ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ง่ายๆ เช่น หมกมุ่นกับสิวไม่กี่เม็ดบนใบหน้าวันแล้ววันเล่า ก็อาจทำให้เจ็บป่วยหรือถึงกับทำร้ายตัวเองได้

การยึดเอาปัญหาต่างๆ มาทับถมใจ บางครั้งก็ไปไกลถึงขนาดไปกวาดเอาปัญหาของคนอื่น มาเป็นของเราเสียเอง เช่น เพื่อนมาปรึกษาปัญหาชีวิต ก็เลยเอาปัญหาของเขามาเป็นของตนด้วย จนกินไม่ได้นอนไม่หลับ

เท่านั้นยังไม่พอบางคนถึงกับแบกปัญหาของประเทศมาไว้กับตัวเลยเป็นเดือน! เป็นแค้นกับสถานการณ์บ้านเมือง ทะเลาะกับใครไปทั่วที่คิดต่างจากตน สุดท้ายก็เลยกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาบ้านเมืองไป

การยึดติดที่ลึกไปกว่านั้นคือ การยึดติดในตัวตน สาเหตุที่เราทะเลาะกับคนที่คิดไม่เหมือนเรา ก็เพราะเรายึดติดในความคิดของเรา

ความสำคัญมั่นหมายว่านี้เป็น "ความคิดของฉัน" สะท้อนถึงความยึดติดในตัวตน หรือที่ท่านพุทธทาสเรียกว่า ยึดติดใน "ตัวกู ของกู"

นอกจากความคิดแล้ว เรายังยึดติดสิ่งต่างๆ อีกมากมายว่า เป็นตัวฉันของฉัน อาทิ สิ่งของ บุคคล ชุมชน ประเทศ ศาสนา
มีอะไรมากระทบกับสิ่งนั้น ก็เท่ากับว่ากระทบ "ตัวฉัน" ด่าว่ารถของฉัน ก็เท่ากับด่าฉันด้วย วิจารณ์ศาสนาของฉันก็เท่ากับวิจารณ์ฉันด้วย

เป็นเพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งของสูญหาย คนรักจากไป เราจึงอดหวนนึกถึงไม่ได้ เพราะใจยังยึดว่าเป็นของฉันอยู่จึงยังมีเยื่อใยที่ดึงให้ใจย้อนระลึกถึงอยู่เสมอ เวลาให้ของแก่ใครไป ความยึดติดในของชิ้นนั้นก็ยังมีอยู่ จึงเฝ้าดูว่าเขาจะใช้ของชิ้นนั้นหรือไม่ ถ้าไม่ใช้ก็รู้สึกเป็นทุกข์ที่เขาไม่ได้ใช้ของ "ของฉัน" ญาติโยมหลายคนจึงไม่สบายใจที่พระไม่ได้ฉันอาหารที่ตนถวาย

ยึดติดในตัว ตนอีกอย่างคือการยึดมั่นสำคัญหมายว่า ฉันเก่ง ฉันหล่อ ฉันเป็นส.ส. ฯลฯ ไปไหนก็อดตัวพองไม่ได้
อยากแสดงบารมีให้ใครรู้ว่า "นี่กูนะ" อยู่ที่ใดก็ต้องการให้คนชื่นชม สรรเสริญ เคารพ นบไหว้ แต่ถ้าไม่ได้รับการปฏิบัติดังกล่าว ก็จะโมโหขุ่นเคือง จนอาจคำรามว่า "รู้ไหมว่ากูเป็นใคร?" ยิ่งเจอคำวิจารณ์ด้วยแล้ว ยิ่งทนไม่ได้เข้าไปใหญ่

การยึดติดใน "ตัวกู ของกู หรือนี่กู! นะ" เป็นรากเหง้าแห่งความทุกข์ นานัปการ นำไปสู่การกระทบกระทั่งขัดแย้งและทำร้ายกัน
ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความเครียดบีบคั้นภายใน เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ใช่แต่เท่านั้น แม้ได้สิ่งที่พึงปรารถนา
ก็ยังทุกข์เพราะได้ไม่สมใจ หรือทุกข์ที่คนอื่นได้มากกว่า

ที่น่าแปลกก็คือเราไม่ได้ยึดเอาแค่สิ่งดีๆ ที่ถูกใจ ว่าเป็นตัวกูของกูเท่านั้น สิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกใจ เราก็ยังยึดเป็นตัวกูของกูอีกเช่นกัน
เช่น ความเจ็บปวด เมื่อเกิดกับกาย แทนที่จะเห็นว่า กายปวดเท่านั้น กลับไปยึดเอาว่า "ฉันปวด" ความปวดเป็นของฉัน

เมื่อความโกรธเกิดขึ้นกับใจ ก็ยึดมั่นสำคัญหมายว่า "ฉันโกรธ" ความโกรธเป็นของฉัน ความยึดมั่นดังกล่าวรุนแรงชนิดที่ใจไม่ยอมไปไหนมัวจดจ่อวนเวียนอยู่กับความปวดหรือความโกรธนั้นๆ อย่างเดียว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความเผลอของใจ รู้ทั้งรู้ว่ายึดแล้วทุกข์แต่ก็ยังยึดเพราะขาดสติ ถ้าใจมีสติ ก็จะไม่เผลอยึดต่อไป

ความปวดความโกรธยังมีอยู่ก็จริง แต่คราวนี้มันทำอะไรจิตใจไม่ได้ เพราะใจไม่โดดเข้าไปให้ความปวดความโกรธเผาลน เหมือนกองไฟที่ยังลุกไหม้อยู่ แต่ตราบใดที่เราไม่โดดเข้าไปในกองไฟ หากถอยออกมาห่างๆ เป็นแค่ผู้สังเกตเฉยๆ ไฟก็ทำอะไรเราไม่ได้

สติช่วยให้ใจแยกออกมาอยู่ห่างๆ จากความเจ็บปวดและอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกลายเป็น "ผู้ดู" มิใช่ "ผู้ปวด" หรือ "ผู้โกรธ"
จากความยึดติดกลายเป็นการปล่อยวาง

การปล่อยวางดังกล่าว คือ หัวใจของการเป็นอิสระจากความทุกข์ทั้งหลาย เพราะกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว ความทุกข์ทั้งมวลเกิดจากความยึดติด ยึดติดอดีตกับอนาคต ยึดติดสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นเอง ยึดติดปัญหาต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต รวมทั้งยึดเอาปัญหาต่างๆ มาเป็นของตน ที่สำคัญคือ การยึดติดในตัวตน เมื่อใดที่ปล่อยวางจากความยึดติดดังกล่าวได้ ความทุกข์ก็ไม่อาจทำอะไรเราได้อีกต่อไป

สติช่วยให้เรารู้ตัวเมื่อเผลอไปอาลัยอาวรณ์ในอดีตหรือวิตกกังวลกับอนาคต พาจิตกลับมาอยู่กับปัจจุบันเมื่อรู้ตัวว่า เผลอไปจมอยู่กับเหตุร้ายที่ผ่านไปแล้ว คอยทักท้วงใจไม่ให้หลงเชื่อความคิดปรุงแต่ง เพราะตระหนักว่า ความจริงอาจไม่เป็นอย่างที่คิด ในยามที่เผลอกวาดเอาปัญหาต่างๆ มาทับถมใจจนหนักอึ้ง

สติช่วยให้เราแก้ปัญหาเป็นเปลาะๆ เป็นเรื่องๆ ไม่เอาปัญหาใดมาครุ่นคิดหากยังไม่ถึงเวลา (หรือไม่ใช่เวลา) ที่จะแก้ เวลาพักผ่อน ก็พักผ่อนเต็มที่ เมื่อถึงเวลาแก้ปัญหา ก็ใช้ปัญญาอย่างเต็มที่ ไม่มามัวตีโพยตีพาย หรือน้อยเนื้อต่ำใจว่า "ทำไมถึงต้องเป็นฉัน?"

ความทุกข์นั้นไม่ได้อยู่ที่ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับเรา แต่อยู่ที่ว่าเรามีท่าทีหรือรู้สึกอย่างไรกับมันต่างหาก

แม้ปัญหาจะหนัก แต่ถ้าเริ่มต้นจากการยอมรับมันว่า เป็นความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ปฏิเสธผลักไสมันหรือก่นด่าชะตากรรม ตั้งสติให้ได้แล้วหาทางแก้ไขมัน แต่ขณะที่มันยังไม่หายไปไหน ก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน

ไม่หวนนึกถึงอดีตอันผาสุก หรือปรุงแต่งอนาคตไปในทางเลวร้าย ขณะเดียวกันก็ไม่หมกมุ่นอยู่กับปัญหา หากปล่อยวางมันบ้าง ความสุขก็หาได้ไม่ยาก

นายทหารผู้หนึ่งไปเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ในฐานที่ทรงเคยเป็นอุปัชฌาย์ของตนมาก่อน
พอไปถึงประโยคแรกที่กราบทูลก็คือ "หนักครับ ช่วงนี้แย่มากเลยครับ" ว่าแล้วเขาก็ทูลเล่าปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามาในชีวิต

สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงฟังอยู่นาน แทนที่จะตรัสแนะนำหรือปลอบใจ พระองค์กลับรับสั่งให้เขานั่งคุกเข่า ยื่นมือสองข้าง
แล้วพระองค์ก็เอากระดาษแผ่นหนึ่งวางบนฝ่ามือของเขา "นั่งอยู่นี่แหละ อย่าไปไหนจนกว่าข้าจะกลับมา"

รับสั่งเสร็จพระองค์ก็เสด็จเข้าไปในตำหนัก นายทหารนั่งในท่านั้นอยู่นาน จาก ๑๐ นาทีเป็น ๒๐ นาที สมเด็จพระสังฆราชก็ยังไม่เสด็จออกมา เขาเริ่มเหนื่อย มือและขาเริ่มสั่น กระดาษชิ้นเล็กๆ หนักขึ้นเรื่อยๆ จนประคองแทบไม่ไหว พอสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสด็จกลับมา ก็ทรงถามว่า "เป็นไง?"

คำตอบของเขาคือ "หนักครับ พระเดชพระคุณ เมื่อยจนจะทนไม่ไหว" "อ้าว ทำไมไม่วางมันลงเสียละ?" สมเด็จรับสั่ง "ก็ไปยอมให้มันอยู่อย่างนั้น มันก็หนักอยู่ยังงั้นนะซี มันจะเป็นอื่นไปได้ยังไง"

กระดาษที่เบาหวิว แต่หากถือไว้นานๆ ไม่ยอมปล่อย ก็กลายเป็นของหนักไปได้ แต่ปัญหาถึงจะใหญ่โตเพียงใด ถ้าไม่ยึดถือเอาไว้ ก็ไม่ทำให้เราทุกข์ได้

ใช่หรือไม่ว่าหินก้อนใหญ่จะกลายเป็็นของหนัก และสร้างทุกข์ให้แก่เราก็ต่อ เมื่อเราแบกมันเอาไว้เท่านั้น เมื่อมีสติรักษาใจ รู้เท่าทันความคิด ไม่เผลอยึดติดจนจิตหนักอึ้ง แม้งานจะยาก อุปสรรคจะเยอะ ก็ยังเป็นสุขอยู่ได้

คัดลอกจาก...ยึดติด [สารคดี กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑]

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สุขภาพแข็งแรงได้ด้วยอาหาร-ชี่กง


โดย : หัวเฉียวแพทย์จีน

หัวเฉียวแพทย์จีน แนะนำวิธีดูแลสุขภาพอย่างง่าย อ้างอิงศาสตร์การแพทยืโบราณ ที่เน้นเรื่องอาหารคือยา ควบคู่กับการออกกำลังกายสไตล์ชี่กง

การป้องกันโรคเป็นสิ่ง ที่สามารถทำได้โดยง่าย เพียงหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และเมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติก็ต้องรีบสังเกตความเปลี่ยนแปลงนั้นมากยิ่ง ขึ้น ทั้งนี้เพื่อขจัดหรือยับยั้งพัฒนาการของโรครวมถึงการประเมินและรักษาเฉพาะ จุดเป็นการขจัดการเติบโตของโรคอย่างถาวร

การป้องกันโรคสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ

1. การป้องกันโรคระดับแรก หมายถึง การส่งเสริมสุขภาพโดยทั่วไปรวมถึงการปกป้อง และต่อต้านการเกิดเฉพาะโรค ได้แก่ การให้ความรู้พื้นฐานด้านสุขอนามัย การรับประทานอาหารเหมาะสมตามวัย การพัฒนาบุคลิกภาพ การทำงาน การพักผ่อน และนันทนาการอย่างเหมาะสม และการตรวจสุขภาพ

2. การป้องกันโรคระดับที่สอง หมายถึง การได้รับการวินิจฉัยในระยะแรกของโรคและได้รับการรักษาทันท่วงที ความรุนแรงของโรคที่เป็นมีระยะเวลาสั้นสามารถกลับสู่สภาวะของการมีสุขภาพดีได้อย่างรวดเร็ว

3. การป้องกันโรคระดับที่สาม เป็นการหยุดยั้งการขยายตัวของโรคและป้องกันความเสื่อมสมรรถภาพอย่างสมบูรณ์

ในหลายกรณีพบว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์หลังเกิดอาการป่วยจนเกินเยียวยา โดยให้เหตุผลต่อการไม่สังเกตความผิดปกติของร่างกาย เพราะต้องทำงานมากเกินไป ในท้ายที่สุดอาจต้องจ่ายค่ารักษาสูงเกินเหตุ หรือส่งผลถึงการสูญเสียชีวิต

สำหรับการบำรุงสุขภาพ ศาสตร์การแพทย์จีนเชื่อว่าการบำรุงสุขภาพด้วยยา หรือสารสังเคราะห์ทางเคมี ย่อมจะดีสู้การบำรุงสุขภาพด้วยอาหารไม่ได้ ดังนั้นการแพทย์จีนจึงเน้นการสร้างความเชื่อจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่ว่า...ควร ให้”อาหาร”เป็น”ยา”บำรุงสุขภาพ...ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัย ราชวงศ์โจว หรือประมาณ 1000ปีเศษก่อนคริสต์กาล ประเพณีดั้งเดิมที่ให้การแพทย์และอาหารการกินประสานเข้าอันหนึ่งอันเดียวกัน นั้นก็มีปรากฎให้เห็นอยู่แล้ว ในหนังสือโบราณมีข้อเขียนจำนวนมากเกี่ยวกับการบำรุงสุขภาพด้วยอาหาร

เช่น เมื่อสมาชิกครอบครัวเป็นหวัด คนในบ้านก็จะต้มน้ำขิงและก้านของต้นหอมใส่น้ำตาลให้กิน ถ้าคนไข้ดื่มน้ำดังกล่าวนี้ในยามร้อน ก็จะทำให้ร่างกายมีออกเหงื่อ โดยทั่วไปมักจะได้ผล

เกี่ยวกับวิธีการบำรุงสุขภาพประจำวัน ชาวจีนมีข้อคิดเห็นว่า ควรจะกินขิงในยามเช้าและกินหัวผักกาดก่อนนอน นอกจากนี้เครื่องปรุงรส เช่น เกลือ น้ำส้ม และขิง ฯลฯ ล้วนมีประโยชน์ในการบำรุงสุขภาพทั้งสิ้น

นอกจากนี้ยังมีการสาธิตการออกกำลังกายในแบบ”ชี่กง” ซึ่งเป็นการฝึกฝนเพื่อเพิ่มพูนพลังชีวิตขึ้นในร่างกาย ทั้งนี้เพราะศาสตร์การแพทย์จีนเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีพลังอยู่แล้ว มากบ้างน้อยบ้าง แตกต่างกันไป แต่เมื่อเป็นคนไข้ก็ย่อมมีพลังชีวิตเช่นนี้น้อยกว่าคนปกติ ผู้ที่ฝึก”ชี่กง”มาพอสมควร ก็มีจะพลังชีวิตที่สูงกว่าคนทั่วไป

ศาสตร์การแพทย์จีนได้กล่าวถึงความสำคัญของสมดุลและการไหลเวียน เหมือนกับน้ำที่ต้องหมุนเวียนผลัดเปลี่ยน เส้นของพลังงานในร่างกายที่มองไม่เห็นจะชักนำชี่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งชี่จะไปตามเลือด การอุดตันของเส้นพลังงานอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดและโรคภัยต่างๆ ซึ่งรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม การกดจุด และการออกกำลังการในแบบ”ชี่กง”

สำหรับในช่วงเวลานี้ ผู้คนมีความเครียดทางจิตใจมากกว่าปกติ (ผลกระทบจากการเมือง) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการเสียสมดุลย์ของร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เป็นต้นเหตุของโรคทางร่างกายและจิตใจเนื่องจากความเครียด ตั้งแต่หงุดหงิดง่าย ปวดศีรษะ ไมเกรน ความดันเลือดสูง โรคหัวใจขาดเลือด ฯลฯ

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเสียสมดุลย์ไป ก็เนื่องมาจากการทำงานที่มากเกินไปของระบบประสาทอัตโนมัติที่จะแสดงออกมาใน รูปของใจสั่น เหงื่อแตก ความดันโลหิตสูงขึ้น และฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นได้ชัดที่หลอดเลือดส่วนปลายของมือและเท้า คนที่มีความเครียดจึงมีมือเท้าเย็น ซีด เป็นที่สังเกตได้ง่าย

“การฝึกชี่กง” จะเริ่มตั้งแต่การฝึกหายใจ โดยปกติแล้วการหายใจด้วยอก ชีพจรจะเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย แต่ถ้าหายใจด้วยท้องชีพจรจะเต้นช้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถอธิบายในทางวิทยาศาสตร์ได้ว่าเป็นการกระตุ้นกะบังลม ที่กะบังลมจะมีเส้นประสาท ซึ่งจะส่งคลื่นไปที่สมอง ทำให้หลอดเลือดขยาย ความดันเลือดลดลง ชีพจรเต้นช้า หายใจช้า ต้องฝึกหายใจลงไปที่ท้องแทน

การฝึกชี่กงจะทำให้การไหลเวียนของเลือด ดีขึ้น ความเครียดลดลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองดีขึ้น อย่างไรก็ตามชี่กงมีกระบวนท่ามากมาย ผู้ฝึกจึงสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมกับตนเอง

บทความนี้เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง การป้องกันโรคและการบำรุงสุขภาพโดยศาสตร์การแพทย์แผนจีน วิทยากรโดยแพทย์จีนหยางฉวนเหวี่ยน และนายสุวัฒน์ ลี้ชาญกุล รองผู้อำนวยการหัวเฉียวแพทย์จีน สำหรับผู้สนใจการบรรยายความรู้ทางสุขภาพเรื่องต่างๆ ซึ่งจัดทุกวันจันทร์สุดท้ายของเดือน สามารถสอบถามและสำรองที่นั่งเข้าร่วมฟังได้ที่คุณเพชรรา รักษ์สาคร โทร. 0-2223-1111 ต่อ102 และ 103

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/health/20100612/337137/สุขภาพแข็งแรงได้ด้วยอาหาร-ชี่กง.html

Nine reasons to drink green tea daily


By Michelle Schoffro Cook

Have you been wondering “what’s all the fuss about green tea?” Now you can stop wondering and start drinking ... green tea, that is. This flavorful beverage offers many health benefits to anyone who drinks it regularly. Green tea contains a potent plant nutrient known as epigallocatechin gallate, or EGCG, for short. But don’t fret, you don’t have to keep track of its chemical name to reap the health benefits.

Here are nine reasons to start drinking green tea or continue drinking it if you’re already hooked.

1. Green tea is a superb fat fighter. Its active ingredient, EGCG, increases the rate at which fat is burned in your body.

2. It targets belly fat. Research at Tufts University indicates that EGCG in green tea, like other catechins, activate fat-burning genes in the abdomen to speed weight loss by 77 percent.

3. Green tea keeps energy stable by balancing blood sugar levels. EGCG improves insulin use in the body to prevent blood sugar spikes and crashes that can result in fatigue, irritability, and cravings for unhealthy foods.

4. Research shows it may be helpful against lung cancer. In an April 2010 study published in Cancer Prevention Research, EGCG was found to suppress lung cancer cell growth.

5. Green tea may halt colorectal cancer. In numerous other studies, EGCG appears to inhibit colorectal cancers.

6. In research, it appears to cause prostate cancer cells to commit suicide. A March 2010 study in Cancer Science indicated that EGCG aids the body by causing prostate cancer cells to commit suicide.

7. Green tea may prevent skin damage and wrinkling. EGCG appears to be 200 times more powerful than vitamin E at destroying skin-damaging free radicals. Free radicals react with healthy cells in the body, causing damage, so lessening their numbers may help reduce wrinkling and other signs of aging.

8. It contains a potent antioxidant that kills free radicals. Because it is a potent antioxidant green tea can positively impact a lot more than skin cells. Free radicals are increasingly linked to many serious chronic illnesses like arthritis, diabetes, and cancer.

9. Green tea tastes good. If you’re not wild about the flavor, try a few different kinds. Try it iced or hot. Add some of the natural herb stevia to sweeten it if you want a sweeter drink. I wasn’t crazy about green tea the first few times I tried it, but now I love it with a fresh squeeze of lemon and a few drops of stevia over ice -- et voila! Green tea lemonade.

http://shine.yahoo.com/event/green/nine-reasons-to-drink-green-tea-daily-1609132/

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คำสอนดีๆ ของหลวงพ่อชา

หลวงพ่อชา… “คนเลี้ยงไก่”

มีคนเลี้ยงไก่ 2 คน

คนที่ 1 ทุกเช้าจะเอาตะกร้า เข้าไปในโรงเรือนเลี้ยงไก่ แล้วก็เก็บ "ขี้ไก่" ใส่ตะกร้ากลับบ้าน!!แล้วทิ้งไข่ไก่ให้เน่าไว้ในโรง
เรือน เมื่อเขาเอาขี้ไก่กลับถึงบ้าน ทั้งบ้านก็เหม็นหึ่ง ไปด้วยกลิ่นขึ้ไก่ !!! คนทั้งบ้านต้องทนกับกลิ่นเหม็น!!!

คนเลี้ยงไก่คนที่ 2 เอาตะกร้าเข้าไปในโรงเรือนเลี้ยงไก่ เก็บไข่ไก่ใส่ตะกร้าเอากลับบ้านเขา เอาไข่ไก่ลงเจียว กลิ่นหอมอบอวลไปทั่วบ้าน คนทั้งบ้านได้กินไข่เจียวแสนอร่อย ไข่ไก่ที่เหลือ เขาก็เอาไปขาย แล้วได้เงินมาใช้จ่ายในบ้าน ทุกคนในบ้านมีความสุขมาก.....

ในชีวิตของเรา พวกเรา เป็นคนเก็บ "ไข่ไก่ " หรือ เก็บ"ขี้ไก่"

เรา เป็นคนเก็บ "ขี้ไก่"โดยเฝ้า แต่เก็บ เรื่องร้ายๆ แย่ๆที่เกิดขึ้นในชีวิตเราไว้ในหัวของเรา และมีความทุกข์ตลอดเวลาที่คิดถึงมัน!!!

หรือเราเป็นคนที่เก็บ"ไข่ไก่"เราจดจำสิ่งที่ดีๆที่เกิดในชีวิตของเรา และมีความสุขทุกครั้งที่คิดถึงมัน!!

คนเราส่วนใหญ่ชอบเป็นคนเก็บ "ขี้ไก่" เราถึงต้องเป็นทุกข์ตลอดเวลา เรื่องความเสียใจ ความผิดพลาด ความเจ็บใจฯลฯ
มักจะติดอยู่ในใจของเรานานเท่านาน

ถ้าเราอยากมีความสุขในชีวิต เลือกเก็บ"ไข่ไก่"กับชีวิต ทิ้ง "ขี้ไก่"ไปเถอะ ชีวิตของเราจะได้มีความสุขซักที...

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

อายุ 120 ปี ทำไมจะทำให้ไม่ได้


ทิ้งท้ายกันที่ "นพ.เฉก ธนะสิริ" ประธานกิตติมศักดิ์ชมรมอยู่ 100 ปี-ชีวีเป็นสุข ปัจจุบันอายุ 85 ปี ผู้ที่บอกกับตัวเองว่าจะอยู่ให้ถึงอายุ 120 ปี เผยเคล็ดลับการดูแลสุขภาพในหนังสือ "อายุ 120 ปี ทำไมจะทำให้ไม่ได้" ว่า การปฏิบัติตนให้มีอายุยืนยาวอย่างมีพฤฒิพลังถึง 120 ปีนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้

1. ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หนักเบาตามอายุ แต่การออกกำลังต้องให้ได้ออกซิเจนสม่ำเสมอด้วย เพื่อให้เกิดพลังชีวิต หรือพลังแอโรบิกไปจนตายนั้น ให้ใช้หลักที่ว่า อยากมีแรง ต้องออกแรง (หรือทำงานกลางแจ้งตลอดชีวิต)

2. ต้องกินอาหารธรรมชาติ คือ พืชพรรณธัญญาหาร เช่น แป้งเชิงซ้อน ได้แก่ ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพด เผือก มัน ผลไม้ และผักหลากสี หลากรส ลดเนื้อสัตว์ 4 ตีน และ 2 ตีน วันหนึ่งกิน 2 มื้อ ก็เพียงพอแล้ว งด หรือลดมื้อเย็น ใช้หลักที่ว่า กินน้อย-ตายยาก กินมาก-ตายเร็ว อาหารอายุสั้น (ผักสด ผลไม้สด) ทำให้อายุยืน ในขณะที่อาหารอายุยืน (กระป๋อง หรืออาหารซอง เช่น แฮม เบคอน ไส้กรอก แหนม) จะทำให้อายุสั้น

3. ต้องดื่มน้ำสะอาด น้ำเปล่าๆ วันละ 10-12 แก้ว (ไม่ดื่มขณะกินอาหาร และอย่ารอให้รู้สึกกระหายแล้วจึงดื่ม แต่ควรดื่มบ่อยๆ ไปเรื่อยๆ ดีที่สุด)

4. ต้องพักผ่อนนอนหลับให้สนิท และการทำจิตใจให้สงบ จะช่วยทำให้ภูมิต้านทานในตัวมีสูงมาก เชื้อโรคจะแพ้เรา และจะต้องไม่สร้างปัญหาชีวิตให้แก่ตัวเอง ครอบครัว และสังคม หากเป็นไปได้ ให้ฝึกเจริญสมาธิ-วิปัสสนากรรมฐาน เป็นนิจสิน ดำเนินชีวิตทุกๆ ด้านด้วยปัญญา (ศีล สมาธิ ปัญญา คือไตรสิกขา) และจงมั่นใจว่า การฝึกจิตให้นิ่งเป็นจิตที่มีพลังสูง การจะนอนหลับให้สนิท อาหารมื้อเย็นจะต้องน้อยมาก

5. หมั่นสร้างแต่กรรมดี สร้างบุญสร้างกุศล ละเว้นความชั่วทุกชนิด โดยยึดหลัก "ไตรสิกขา" คือรักษาศีล 5 ข้อ เจริญสมาธิ หรือเจริญสติก็จะเกิดปัญญารู้ เอาปัญญาไปแก้ปัญหา นอกจากนั้นก็ควรรู้จักให้ทาน (ทานเป็นทางแห่งความสุข) และตั้งโปรแกรมจิตให้กับตัวเองทุกวัน เวลาที่จะมีชีวิตยืนยาว 120 ปี อย่างมีคุณภาพ โดยพิจารณาให้เห็นชัดว่า ร่างกาย คือ ฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะต้องดูแลระมัดระวังให้ทำหน้าที่อย่างดี อยู่เสมอ ส่วนโปรแกรมที่จะป้อนเข้าไปเพื่อให้ได้ข้อมูลนั้นก็คือ ซอฟต์แวร์ ที่หมายถึง "จิต" ของเรานั่นเอง

เพราะฉะนั้น การจะตั้งใจให้ได้ผลออกมาดีนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าให้ใช้หลัก อิทธิบาท 4 หมายถึง สิ่งที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จ 4 อย่าง คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา นั่นคือความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติตัว ใจจะต้องจดจ่อกับสิ่งนั้นๆ และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอๆ

คัดลอกมา

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พุทธธรรม ศีลธรรม กับประชาธิปไตย

พระไพศาล วิสาโล
ปาฐกถานำในการประชุมประจำปีของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ตีพิมพ์ที่ นิตยสารวิภาษา
สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวัฒนธรรม
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๖ ลำดับที่ ๒๒
๑พ.ย. - ๑๕ ธ.ค. ๕๒

ระบอบการปกครองทุกอย่างจะทำงานได้ด้วยดีย่อมต้องอาศัยระบบศีลธรรมทั้งของผู้ปกครองและประชาชนเป็นตัวรองรับ ระบอบประชาธิปไตยก็เช่นกัน ในระบอบนี้ศีลธรรมของผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญก็จริง แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือศีลธรรมของประชาชน เหตุผลก็เพราะผู้นำนั้นมาจากประชาชน ถ้าประชาชนมีศีลธรรมก็ย่อมได้ผู้นำที่มีศีลธรรมด้วย ใช่แต่เท่านั้นระบอบนี้ยังถือว่าประชาชนเป็นใหญ่ ในความหมายว่าประชาชนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านไปจนถึงระดับประเทศ ดังนั้นคุณภาพของประชาชนจึงเป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับสัมฤทธิผลของประชาธิปไตย

พุทธศาสนามีระบบศีลธรรมที่สามารถส่งเสริมคุณภาพของประชาชนให้เกื้อกูลต่อประชาธิปไตยได้ การที่ประชาธิปไตยสถาปนาในสังคมที่มีพุทธศาสนาหยั่งรากลึกมาช้านาน ย่อมน่าจะเจริญก้าวหน้าด้วยดี แต่ในกรณีของประเทศไทยความจริงดูเหมือนจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น เหตุปัจจัยนั้นย่อมมีอยู่มากมาย แต่ก็เป็นไปได้ว่าระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาที่เป็นอยู่ อาจไม่เกื้อกูลต่อระบอบประชาธิปไตยมากนัก

สองมิติที่ขาดหายไป
ในความเข้าใจของคนทั่วไป พุทธศาสนาเป็นคำสอนและระบบปฏิบัติทางศีลธรรมเท่านั้น นั่นคือสอนว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทัศนะดังกล่าวมีปัญหาในตัวเองตรงที่

๑) ละเลยมิติด้านโลกุตตรธรรมของพุทธศาสนา ซึ่งมีจุดหมายสูงสุดที่การเห็นความจริงอย่างแจ่มแจ้งจนอยู่เหนือดี-ชั่ว บุญ-บาป สุข-ทุกข์ นั่นคือเข้าถึงนิพพาน

๒) ละเลยมิติทางสังคมของพุทธศาสนา ในความหมายที่ว่า
-พุทธศาสนาไม่ได้มีแต่หลักธรรมที่มุ่งพัฒนาบุคคลเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการจัดระเบียบสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีงามด้วย ทั้งส่วนที่เป็นธรรมและวินัย
-นอกจากหลักธรรมว่าข้อปฏิบัติระหว่างบุคคลกับบุคคลแล้ว ยังมีหลักธรรมว่าด้วยหน้าที่ต่อบุคคลต่อส่วนรวมหรือสังคมด้วย

หากมิติทางโลกุตตรธรรมทำให้มนุษย์เข้าถึงศักยภาพส่วนที่ลึกที่สุด มิติทางสังคมก็ช่วย ขยายสำนึกและสัมพันธภาพของมนุษย์ออกไปอย่างกว้างขวาง จนหลุดพ้นจากตนเองหรือแวดวงเล็ก ๆ ที่แวดล้อมตน เกิดสำนึกความรับผิดชอบและผูกพันต่อสังคมวงกว้าง

การที่ศีลธรรมในพุทธศาสนาเท่าที่สอนในปัจจุบันเน้นคุณธรรมส่วนบุคคลหรือการทำดีระหว่างบุคคลต่อบุคคลนั้น เป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับชุมชนระดับหมู่บ้าน แต่ในสังคมประชาธิปไตย คุณธรรมระดับนี้ย่อมไม่พอเพียง เพราะทุกคนยังมีหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อส่วนรวมซึ่งเป็นสังคมที่กว้างใหญ่ระดับรัฐชาติ

ในสังคมประชาธิปไตย ผู้คนไม่ได้มีแค่ความสัมพันธ์ระดับบุคคลหรือระหว่างบุคคล แต่ยังมีความสัมพันธ์ในเชิงสังคม ซึ่งไม่เจาะจงหรือขึ้นอยู่กับตัวบุคคล (impersonal) เช่นความสัมพันธ์ที่ผ่านองค์กร สถาบัน ระบบ หรือการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันด้วยความเชื่อ ค่านิยมและอุดมการณ์เดียวกัน โดยไม่จำต้องรู้จักมักคุ้นกัน

ความปกติสุขในสังคมและความผาสุกส่วนบุคคลในปัจจุบัน จึงมิได้ขึ้นอยู่กับการที่บุคคลมีธรรมะต่อกันและกันเท่านั้น หากยังขึ้นอยู่กับการปฏิบัติต่อสังคมอย่างถูกต้อง เช่น คำนึงถึงประโยชน์สุขของสังคม เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม รักษาสมบัติของสาธารณะ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ปกป้องสิทธิเสรีภาพที่ยึดถือร่วมกัน เป็นต้น

ปัญหาดังกล่าวมิใช่เป็นปัญหาของพุทธศาสนามากเท่ากับเป็นปัญหาของการสอนศีลธรรมในปัจจุบัน เพราะระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาในความเป็นจริงแล้ว นอกจากพูดถึงคุณธรรมส่วนบุคคล หรือข้อประพฤติปฏิบัติระหว่างบุคคล เช่น ศีล ๕ ทิศ ๖ หรือพรหมวิหาร ๔ ยังครอบคลุมไปถึงคุณธรรมต่อส่วนรวม มีธรรมหลายข้อที่ว่าด้วยข้อพึงปฏิบัติต่อส่วนรวมโดยตรง โดยไม่เพียงแต่จะพูดถึงข้อปฏิบัติระหว่างบุคคลกับบุคคล(เช่น สาราณียธรรม ๖ หรือหลักการอยู่ร่วมกัน) เท่านั้น หากรวมถึงข้อปฏิบัติต่อหลักการหรือสมบัติของส่วนรวม (เช่น อปริหานิยธรรม ๗ หรือธรรมอันเป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียวของหมู่ชน)

อปริหานิยธรรมเป็นคุณธรรมที่ไม่เน้นแสดงต่อตัวบุคคล แต่เป็นข้อปฏิบัติต่อส่วนรวมที่เป็นนามธรรม จะว่าไปแล้ว นี้เป็นหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของชาวพุทธเลยทีเดียว พระพุทธองค์ถึงกับกำหนดหน้าที่ของชาวพุทธไว้ว่า นอกจากจะมีหน้าที่ต่อตนเอง คือศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ถูกต้อง ตลอดจนมีหน้าที่ต่อผู้อื่น ได้แก่การแนะนำผู้อื่นให้รู้ธรรมอย่างถูกต้องแล้ว ยังจะต้องมีหน้าที่ต่อธรรม คือสามารถรักษาธรรมหรือหลักการของพุทธศาสนาไว้ได้ หน้าที่ประการสุดท้ายนี้ถือว่าเป็นหน้าที่ต่อส่วนรวม เพราะเป็นประโยชน์ต่อหมู่ชนอย่างไม่เลือกหน้าทั้งในปัจจุบันและอนาคต

สาเหตุที่ศีลธรรมหรือข้อพึงปฏิบัติต่อส่วนรวมถูกมองข้ามหรือเข้าใจไม่ครบถ้วน นอกจากเป็นเพราะไปเน้นที่ศีลธรรมส่วนบุคคลมากเกินไปแล้ว ยังเป็นเพราะการตีความหลักธรรมที่คลาดเคลื่อน เช่น อุเบกขา มีความเข้าใจว่าหมายถึงการวางใจเป็นกลางเท่านั้น แต่ที่จริงอุเบกขามิได้หมายความแค่วางใจเป็นกลางเฉย ๆ หากแต่เป็นการวางใจเป็นกลางที่มีจุดหมายเพื่อไม่ให้มีการละเมิดธรรมหรือเสียหลักการ ทั้งนี้เพราะถ้าปราศจากอุเบกขาแล้ว ความเมตตากรุณาที่มีต่อตัวบุคคล อาจทำให้เลยเถิดจนเป็นผลเสียต่อธรรมได้ เช่น ช่วยเพื่อนโดยเอาเงินของส่วนรวมไปให้เขา พุทธศาสนาเน้นอุเบกขาในกรณีดังกล่าว เพื่อรักษาธรรมหรือหลักการของส่วนรวมเอาไว้ เป็นการป้องกันส่วนรวมมิให้เสียหาย เห็นได้ชัดว่าอุเบกขานั้นเป็นธรรมที่ช่วยให้บุคคลตระหนักถึงหน้าที่ที่มีต่อธรรมและหลักการของส่วนรวม มิใช่คำนึงแต่หน้าที่หรือคุณธรรมต่อตัวบุคคลเท่านั้น

การไม่สนใจทำหน้าที่ต่อส่วนรวมนี้เอง ที่ทำให้ชาวพุทธส่วนใหญ่ก็ว่าได้เฉยเมยหรือไม่นำพาต่อปัญหาบ้านเมือง มุ่งแต่รักษาศีล ๕ หรือสนใจแต่ทำทาน แต่ปล่อยให้บ้านเมืองเต็มไปด้วยการคอร์รัปชั่น อาชญากรรม ความเหลื่อมล้ำต่ำสูง รวมทั้งไม่อินังขังขอบต่อปัญหาที่คุกคามระบอบประชาธิปไตย จะพูดไปแล้วอย่าว่าแต่ประชาธิปไตยเลย แม้แต่ปัญหาที่เกิดกับพุทธศาสนาอย่างชัดเจน เช่น เวลาที่พระธรรมวินัยถูกจ้วงจาบหรือบิดเบือน ชาวพุทธจำนวนมากก็นิ่งเฉย เห็นได้ชัดเมื่อเกิดกรณีธรรมกาย ซึ่งเป็นเรื่องบิดเบือนพระธรรมวินัย ไม่แต่คฤหัสถ์เท่านั้น กระทั่งพระกรรมฐานจำนวนไม่น้อยก็ไม่เอาธุระ กลับเห็นว่าควรปล่อยให้เป็นเรื่องของกฎแห่งกรรมไป

เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้ระบบศีลธรรมในพุทธศาสนาเท่าที่เป็นอยู่ไม่ค่อยเอื้อต่อประชาธิปไตย นั่นก็คือความรู้สึกอิหลักอิเหลื่อหรือถึงกับมีอคติต่อหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย ได้แก่ เสรีภาพ อิสรภาพ เสมอภาค ที่ผ่านมาชาวพุทธทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเป็นอันมากมีท่าทีปฏิเสธคำเหล่านี้ เพราะเห็นว่า เป็นคำที่ส่งเสริมกิเลสหรือการเอาตัวเองเป็นใหญ่ เช่นเดียวกับคำว่าสิทธิ ที่ชาวพุทธมักมองว่าเป็นแนวคิดที่อิงอยู่กับการยึดถือประโยชน์ส่วนตน คิดแต่จะเรียกร้องสิ่งที่ตนพึงมีพึงได้จากผู้อื่น

เป็นความจริงที่ว่าเสรีภาพ อิสรภาพ เสมอภาค ตามนิยามในระบอบประชาธิปไตยมิได้มีอยู่ในระบบศีลธรรมของพุทธศาสนามาก่อน แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ขัดกัน หากมีการนิยามเสรีภาพและเสมอภาคในแง่ที่เปิดโอกาสให้มีการฝึกฝนพัฒนาตนและช่วยเหลือสังคมได้มากขึ้น เช่นเดียวกับอิสรภาพที่นิยามให้คลุมไปถึงมิติด้านจิตใจด้วย ในทำนองเดียวกันสิทธิก็มิได้หมายความถึงการเรียกร้องเอาเข้าตัวอย่างเดียว แต่รวมถึงการมีหน้าที่ที่จะต้องเคารพสิทธิของผู้อื่น รวมทั้งปกป้องสิทธิของผู้อื่นเวลาถูกล่วงละเมิดด้วย มองในแง่นี้สิทธิจึงเป็นแนวคิดที่แยกไม่ออกจากคุณธรรมหรือศีลธรรมของชาวพุทธ ต่างทำหน้าที่ประสานกัน กล่าวคือขณะที่ศีล ๕ หรือเมตตากรุณาเป็นข้อพึงปฏิบัติระหว่างบุคคลต่อบุคคล สิทธิก็เป็นข้อพึงปฏิบัติของบุคคลต่อสังคม

โลกุตตรธรรมกับประชาธิปไตย
มิติทางสังคมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบศีลธรรมของพุทธศาสนา ที่ทำให้สำนึก และความรับผิดชอบตลอดจนสัมพันธภาพของผู้คนขยายออกไปสู่สังคม ไม่จำกัดอยู่แค่ครอบครัวหรือชุมชนเท่านั้น แต่มิติทางสังคมดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นลอย ๆ หากอิงอยู่กับความจริงของธรรมชาติที่เรียกว่าสัจธรรม

สัจธรรมในพุทธศาสนานั้นโดยเฉพาะในฝ่ายโลกุตตรธรรม ชี้ให้เราตระหนักว่าสัมพันธภาพของมนุษย์นั้นยังขยายกว้างออกไปยิ่งกว่านั้นอีก กล่าวคือไม่เพียงเชื่อมโยงกับผู้คนในสังคมเท่านั้น หากยังเชื่อมโยงกับสรรพชีวิตและสรรพสิ่งในโลกและจักรวาลด้วยซ้ำ หลักธรรมที่ว่านั้นก็คืออิทัปปัจจยตา นั่นคือความจริงที่ว่าไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นโดยอิสระ หากเกิดขึ้นโดยมีสิ่งอื่นเป็นเหตุปัจจัย ติช นัท ฮันห์ ได้กล่าวถึงสหสัมพันธ์ของสรรพสิ่งได้อย่างงดงามว่า

“เมื่อคุณมองเก้าอี้ตัวนี้ คุณเห็นป่าไม้อันเป็นที่มาของไม้ที่ใช้ทำเก้าอี้ตัวนี้ไหม คุณเห็นดวงอาทิตย์ซึ่งสาดส่องป่าไม้ และหมู่เมฆซึ่งโปรยฝนบำรุงเลี้ยงป่าไหม คุณเห็นคนตัดไม้และครอบครัวของเขาไหม และข้าวที่เลี้ยงชีวิตของพวกเขาล่ะ คุณเห็นทั้งหมดนี้ในเก้าอี้ตัวนี้ไหม เก้าอี้ประกอบด้วยสรรพสิ่งที่มิใช่เก้าอี้ คุณเห็นดวงอาทิตย์ในหัวใจของคุณไหม เห็นบรรยากาศในปอดของคุณไหม สรรพสิ่งล้วนดำรงอยู่ในสภาพที่ต่างเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน และต่างเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกัน”

การที่เรายังเป็นเราอยู่ได้ ก็เพราะสรรพสิ่งในโลกเป็นปัจจัยให้เกิดมีขึ้น ไม่ใช่แค่พ่อแม่และชุมชน สังคมเท่านั้น แต่รวมถึงธรรมชาติ ดินฟ้าอากาศ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ภูเขา แม่น้ำ ฯลฯ กล่าวอีกนัยหนึ่งมีเราเพราะมีโลก ไม่มีโลกก็ไม่มีเรา การเห็นความจริงเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดเมตตากรุณาขึ้นในใจ มีความรักอย่างไม่มีประมาณต่อสรรพสิ่งในโลก เพราะเส้นแบ่งระหว่างฉันกับโลกไม่มีอีกต่อไป ในอีกด้านหนึ่งก็ทำให้เกิดปัญญาเห็นความจริงเรื่องอนัตตาว่าสรรพสิ่งนั้นไม่ มีตัวตนที่เที่ยงแท้ เป็นอิสระเอกเทศเลย จึงไม่มีอะไรที่ยึดมั่นถือมั่นได้เลยสักอย่าง

จึงเห็นได้ว่าอนัตตากับสหสัมพันธ์ตามหลักอิทัปปัจจยตานั้นเป็น ๒ ด้านของความจริงอย่างเดียวกัน ในด้านหนึ่ง ทุกอย่างไม่มีตัวตน แต่ในอีกด้านหนึ่งทุกอย่างต่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กันหมด ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้รู้บางท่านบอกว่า เมื่อมองเข้ามาข้างใน ตัวฉันหามีไม่ แต่เมื่อมองออกไปฉันมีอยู่ในทุกสิ่ง

การที่พุทธศาสนาถูกลดทอนใน ๒ มิติ ทั้งด้านโลกุตตรธรรมและสังคม ทำให้ความจริงอันได้แก่ธรรมชาติส่วนลึกที่สุดและส่วนที่กว้างที่สุดของมนุษย์ถูกมองข้ามไป ผลก็คือ

๑) มนุษย์จึงกลายสภาพเป็นปัจเจกหรือบุคคลที่มีสังกัดคับแคบ จึงคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตนหรือพวกพ้อง ไม่สามารถคิดไปไกลถึงประโยชน์สุขของเพื่อนมนุษย์หรือเพื่อนร่วมโลกได้ การทำความดีจึงนอกจากมีขอบเขตแค่ทำความดีต่อคนใกล้ตัว หรือทำความดีในระดับบุคคลต่อบุคคล แต่ละเลยการทำความดีต่อสังคมหรือต่อโลก หรือหากจะทำดีต่อสังคมก็หวังประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญ เช่น “หวังบุญ”

๒) มีชีวิตขึ้นลงไปตามโลกธรรมและตามอำนาจของกรรมดีกรรมชั่วเท่านั้น ไม่สามารถอยู่เหนือโลกธรรมหรือเป็นอิสระจากแรงกรรมทั้งดีและชั่วได้ แม้ทำดีก็ยังติดดีอยู่ เมื่อได้รับสุขก็ยังติดในสุขโดยมองไม่เห็นความไม่เที่ยงของมัน ดังนั้นจึงไม่สามารถพ้นทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง

ทัศนะดังกล่าวไปได้ดีกับแนวคิดแบบโลกียวิสัย ( secularism) และแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งเน้นเรื่อง “โลกนี้” และประโยชน์ที่จับต้องได้ แต่เมื่อต้องเผชิญกับแนวคิดแบบทุนนิยมและบริโภคนิยมก็มีปัญหา เพราะนอกจากไม่มีพลังที่จะต้านทานแนวคิดดังกล่าวได้ แถมยังถูกแนวคิดดังกล่าวครอบงำได้ง่าย พุทธศาสนาจึงกลายเป็นศาสนาที่เน้นประโยชน์ทางวัตถุ หรือตอบสนองความโลภ โดยไม่เพียงให้ความหวังหรือคำปลอบใจเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนให้ลดละความเพียร แต่หวังผลสำเร็จด้วยวิธีลัดหรือคอยโชคที่เกิดจาก “ผลบุญ”

อย่างไรก็ตามการฟื้นพลังให้แก่พุทธศาสนา เป็นสิ่งที่เป็นไปได้และมีความจำเป็น เพราะปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตนานาชนิด ซึ่งแก้ไม่ได้ด้วยเทคโนโลยี ความมั่งคั่ง หรือวิธีคิด-โลกทัศน์แบบเดิม ๆ เพราะกล่าวอย่างถึงที่สุดรากเหง้าของวิกฤตทั้งหลายก็คือวิกฤตทางด้านจิตวิญญาณ (นอกจากเทคโนโลยี ความมั่งคั่ง และโลกทัศน์เดิมจะแก้วิกฤตดังกล่าวไม่ได้แล้ว มันยังซ้ำเติมหรือมีส่วนก่อให้เกิดวิกฤตดังกล่าวด้วย)

วิกฤตด้านจิตวิญญาณนั้นสะท้อนให้เห็นจากวัฒนธรรม ๒ กระแสใหญ่ซึ่งก่อปัญหาไปทั่วโลกได้แก่
๑)วัฒนธรรมแห่งความละโมบ
๒)วัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง

วัฒนธรรมแห่งความละโมบ
คือวัฒนธรรมที่กระตุ้นความละโมบของผู้คนทำให้เกิดความต้องการอย่างไม่มีขีดจำกัด ได้เท่าไรก็ไม่รู้จักพอ พื้นฐานของวัฒนธรรมนี้คือแนวคิดว่า greed is good ในด้านหนึ่งก็ก่อให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ การคอรัปชั่น การตักตวงประโยชน์จากทรัพยากรอย่างไม่บันยะบันยังจนถึงจุดวิกฤต ทุกสิ่งทุกอย่างถูกแปรให้เป็นสินค้า ไม่เว้นแม้แต่ผู้หญิง เด็ก ประเพณี สัญลักษณ์ทางศาสนา สิ่งที่ตามมาคือการทำลายชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ทำให้ความยากจนแพร่กระจาย ควบคู่กับการกระจุกตัวของทรัพย์สินในคนบางกลุ่ม ขณะเดียวกันครอบครัวก็ร้าวฉาน ชุมชนแตกแยก เงินกลายเป็นตัวกลางความสัมพันธ์แทนที่ความรักความเอื้ออาทร ต่างเห็นซึ่งกันและกันเป็นเหยื่อที่จะเอาประโยชน์ หรือเป็นศัตรูที่จะมาแย่งผลประโยชน์ ใช่แต่เท่านั้นลึก ๆ ในจิตใจผู้คนก็แปลกแยกกับตัวเอง มีความเครียดและความกลัดกลุ้ม ถึงกับทำสิ่งที่เป็นโทษต่อตัวเอง เช่น ขายตัวเพื่อแลกกับโทรศัพท์มือถือ หรือฆ่าตัวตายเมื่อไม่ได้วัตถุที่ต้องการ

วัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง
ทุกวันนี้ความเกลียดชังได้แพร่สะพัดจนกลายเป็นวัฒนธรรมของผู้คน ปรากฏอยู่ในสื่อและการแสดงออกของผู้คนอย่างกว้างขวาง มีการปลุกกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกปฏิปักษ์ต่อคนที่แตกต่างจากตนไม่ว่าในทางชาติพันธุ์ ผิวสี ภาษา ศาสนา รวมไปถึงเศรษฐฐานะ ความเชื่อ และ สถาบันที่สังกัด ควบคู่กันกันสำนึกดังกล่าว ก็คือการเหยียดคนที่มีอัตลักษณ์ต่างจากตนว่าเป็นผู้ที่ด้อยกว่า ความรังเกียจเดียดฉันท์ดังกล่าวนำไปสู่ความรุนแรงในทุกระดับ สงครามและความรุนแรงจึงเกิดขึ้นไปทั่ว

ในเมืองไทยการตั้งคำถามกับคนที่คิดต่างจากตนว่า “เป็นคนไทยหรือเปล่า” สะท้อนถึงความคับแคบทางความคิด และนำไปสู่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายในลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ยิ่งมีความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในปัจจุบัน ก็ยิ่งเห็นอำนาจของความเกลียดชังที่แพร่ระบาดไปทั่ว

ประชาธิปไตยถูกบั่นทอน
ทั้งวัฒนธรรมแห่งความละโมบและวัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง ได้แพร่หลายไปทั่วทั้งโลกได้ก็เพราะอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ ในด้านหนึ่งโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจก็ทำให้ทุนนิยมและบริโภคนิยไหลบ่าไปทั่ว ทุกหัวระแหงอย่างไม่เคยมีมาก่อน กระตุ้นให้ผู้คนเกิดความโลภและแข่งขันกันตักตวงเงินทองและทรัพยากร ในอีกด้านหนึ่งโลกาภิวัตน์ทางโทรคมนาคมก็ทำให้การสร้างความอคติและเกลียดชัง ต่อกันแพร่หลายไปรวดเร็วขึ้น ไม่เคยมียุคใดที่ความเท็จหรือความจริงครึ่งเดียวจะกระจายได้รวดเร็วเท่ายุค นี้ ขณะเดียวกันการรุกรานของอำนาจทุนที่ตักตวงประโยชน์จากชุมชนต่าง ๆ ก็ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและความยากจน จึงเกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากชุมชนท้องถิ่น จนเกิดเป็นความรุนแรง เกิดความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ทั้งต่อพลังภายนอก และเกิดความแตกแยกในชุมชนเดียวกัน

วัฒนธรรมทั้ง ๒ กระแสได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง กล่าวคืออำนาจทุนเข้ามามีอิทธิพลในทางการเมือง เช่น ติดสินบน ซื้อเสียง ซื้อนักการเมือง การสร้างแรงกดดันผ่านสื่อและกลุ่มลอบบี้ยิสต์ รวมทั้งจัดตั้งรัฐบาลเพื่อทำธุรกิจการเมือง นอกจากนั้นยังทำให้ผู้คนหลงใหลกับบริโภคนิยม หมกมุ่นแต่ตัวเองจนไม่สนใจมีส่วนร่วมทางการเมือง ขณะเดียวกันความเกลียดชังด้วยเหตุผลทางด้านอุดมการณ์ ยังทำให้การแตกแยกของคนในชาติ จนนำไปสู่การใช้เสียงส่วนมากเพื่อปิดปาก/เบียดบังคนส่วนน้อย พร้อมกันนั้นการไม่ยอมรับความเห็นของกันและกันได้นำไปสู่การใช้ความรุนแรง เพื่อแก้ไขความขัดแย้ง แทนที่จะใช้สันติวิธี

ทั้งหมดนี้ได้ซ้ำเติมประชาธิปไตยไทยซึ่งมีปัญหาต่าง ๆ รุมเร้ามากมาก อยู่แล้วมากมาย ทั้งปัญหาในเชิงหลักการและในเชิงกระบวนการ กล่าวคือ ในแง่หลักการ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือประชาธิปไตยไม่เป็นไปตามหลักการพื้นฐานอันได้แก่ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ มีการคุกคามเบียดบังสิทธิเสรีภาพมากขึ้น โดยเฉพาะรัฐบาลที่ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวางผ่านนโยบาย ประชานิยม มีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงขยายตัวอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน นอกจากนั้นยังเกิดการแบ่งแยกเป็นขั้ว ๆ แตกเป็นกลุ่ม ๆ ตามเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา อุดมการณ์

ปัญหาในเชิงกระบวนการ ได้แก่ การตัดสินใจแบบอัตตาธิปไตยและโลกาธิปไตย คือเอาผลประโยชน์ของตนเองเป็นใหญ่ หาไม่ก็ตัดสินตามกระแสนิยม ขณะเดียวกันการรับรู้ข้อมูลก็เป็นไปอย่างไม่รอบด้าน คำนึงประโยชน์ระยะสั้น ถูกใจมากกว่าถูกต้อง ผู้คนไม่เปิดใจรับฟังข้อมูลที่แตกต่าง ความคิดคับแคบ ถือพวกถือเหล่า ยังไม่นับปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง

ผลก็คือประชาธิปไตยไทยเกิดภาวะวิกฤต อันได้แก่ วิกฤตความชอบธรรมของผู้มีอำนาจ เนื่องจากผู้ปกครองใช้อำนาจเกินขอบเขต ผูกขาดการใช้อำนาจ ไม่เปิดพื้นที่ให้แก่คนที่เห็นต่าง เป็นรัฐบาลของคนบางกลุ่ม อีกทั้งยังทุจริต มุ่งประโยชน์ส่วนตน

สิ่งที่ตามมาคือ ประชาชนไม่ยอมรับอำนาจของผู้ปกครอง เกิดความแตกแยกทางการเมือง ในทุกระดับ และในหลายภาคส่วน (เช่นระหว่าง ชนชั้นนำ กับ ชนชั้นนำ คนชั้นกลาง กับ คนชั้นล่าง คนเมือง กับ คนชนบท รวมทั้งระหว่างรัฐกับสังคม) คนส่วนน้อยไม่ยอมรับเสียงข้างมาก ขณะที่คนกลุ่มใหญ่ไม่ฟังเสียงคนกลุ่มน้อย เกิดช่องว่างทางสังคมเศรษฐกิจ มีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น (เกิดปรากฏการณ์หนึ่งรัฐ สองสังคม) มีการเอาเปรียบคนส่วนน้อย โดยรัฐไม่สามารถและไม่สนใจแก้ปัญหาของคนเล็กคนน้อย กลายเป็นว่ายิ่งรัฐมีอำนาจครอบงำมากเท่าไร สังคมยิ่งอ่อนแอมากเท่านั้น นอกจากนั้นยังเกิดภาวะยอกแย้ง กล่าวคือขณะที่มีการเชื่อมโยงบูรณาการระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่กลับมีการแตกสลายภายในชาติอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งหมดนี้ทำให้มีการตั้งคำถามกับระบบการเลือกตั้ง จนไม่สามารถจะใช้การเลือกตั้งเป็นทางแก้ปัญหาความขัดแย้งได้

วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้
ประชาธิปไตยจะดำเนินไปได้ด้วยดี นอกจากจะต้องมีการปฏิรูปทางการเมือง การปฏิรูปเศรษฐกิจ และการปฏิรูปสังคมแล้ว ยังต้องอาศัย “วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้” เพื่อมาทัดทานถ่วงดุลกับวัฒนธรรมแห่งความละโมบและวัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง ด้วย

วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ กล่าวคือเป็นไปเพื่อการตื่นจากความหลงในวัตถุนิยม และจากความยึดติดถือมั่นในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว และอุดมการณ์ อันนำไปสู่การเบียดเบียนทำร้ายกัน

พุทธศาสนาสามารถช่วยให้เกิดวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ได้ เพราะมุ่งที่การลดทอนตัณหา ทิฏฐิ และมานะ ซึ่งเป็นรากเหง้าแห่งวัตถุนิยมและความเกลียดชังกัน พุทธศาสนาเน้นว่าความสุขนั้นมิได้ขึ้นอยู่กับวัตถุเสมอไป นอกจากความสุขทางกายแล้ว เรายังต้องการความสุขทางจิตใจ และความสุขทางใจนี้เองที่เป็นความสุขที่ลึกซึ้งที่สุดที่มนุษย์ทุกคนควรเข้าถึงให้ได้ จุดมุ่งหมายสูงสุดของมนุษย์จึงมิได้อยู่ที่การครอบครองวัตถุให้ได้มากที่สุด แต่อยู่ที่การเข้าถึงความสุขทางจิตใจด้วยตนเอง และเอื้อให้ผู้อื่นเข้าถึงด้วยเช่นกัน

นอกจากโลกทัศน์ที่เห็นมนุษย์ในแง่มุมที่ลึกซึ้งแล้ว พุทธศาสนายังเอื้อให้เกิดโลกทัศน์ที่มองเห็นมนุษย์อย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์ กับสรรพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชีวิต สังคม และธรรมชาติไม่อาจแยกจากกันได้ ความผาสุกของเราแต่ละคนผูกติดอยู่กับความผาสุกของผู้คนรอบข้าง สังคมรอบตัว และธรรมชาติแวดล้อม สำนึกดังกล่าวจะช่วยให้เราอ่อนโยนต่อธรรมชาติและรู้สึกถึงบุญคุณของสรรพ ชีวิตและทุกผู้คนในสังคมมากขึ้น เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง ไม่มองตนเองในกรอบแคบ ๆ โดยมองคนต่างเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาเป็นคนอื่น หากมองเห็นมนุษย์ทุกคนและทุกชีวิตว่าเป็นเพื่อนร่วมโลกที่อยู่ภายใต้สาย สัมพันธ์เดียวกัน มีความรักและความเห็นอกเห็นใจกันนมากขึ้น

พุทธศาสนายังช่วยให้เห็นถึงข้อจำกัดของทวินิยม และหันมามองโลกแบบอทวินิยมมากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมองโลกแบบทวินิยมนำไปสู่การเบียดเบียน เอารัดเอาเปรียบกัน รวมทั้งก่อความรุนแรงต่อกัน ในด้านหนึ่งการแยกฉันกับโลกและผู้อื่นออกจากกัน ก็ทำให้ตกเป็นเหยื่อของความโลภ คือพยายามตักตวงให้ตัวเองให้มากที่สุดโดยไม่สนใจคนอื่นหรือผลกระทบกับโลก

ในอีกด้านหนึ่งวัฒนธรรมแห่งความเกลียดชังตั้งอยู่บนความคิดแบบทวินิยม แบ่งเราแบ่งเขา เห็นคนที่ไม่ใช่พวกเดียวกับตนเป็นศัตรู และมองโลกแบบเป็นขาว-ดำชัดเจน โดยเฉพาะคนที่เคร่งศาสนาหรือติดยึดกับอุดมการณ์ มักจะตกอยู่ในกับดักแห่งความคิดดังกล่าว คือขีดเส้นความดี-ความชั่วชัดเจน ใครที่ไม่ดีเหมือนตัวหรือคิดเหมือนตัว ก็ประณามว่าเป็นคนชั่ว และเมื่อเป็นคนชั่วเสียแล้ว ย่อมเป็นการชอบธรรมที่จะกำจัดเขาด้วยวิธีใด ๆ ก็ได้

ประธานาธิบดีบุชเคยประกาศว่า “ใครไม่อยู่ฝ่ายเดียวกับเรา ก็อยู่ฝ่ายผู้ก่อการร้าย” ในเมืองไทย ก็มีคนพูดว่า “ใครไม่อยู่ฝ่ายพันธมิตร ก็เป็นพวกทักษิณ” หรือ “ใครไม่สนับสนุนทักษิณ/พลังประชาชน ก็เป็นพวกพันธมิตร”

พุทธศาสนานั้นมองโลกอย่างเป็นอทวิภาวะตามหลักอิทัปปัจจยตา โดยเห็นว่าสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงกันเป็นสหสัมพันธ์ ไม่มีอะไรแยกขาดจากกันเป็นขั้วหรือเป็นคู่ ๆ ได้ ดังมีพุทธพจน์ว่า “แสงสว่างต้องอาศัยความมืดจึงปรากฏ ความงามต้องอาศัยความไม่งามจึงปรากฏ” นอกจากจะอิงอาศัยกันแล้ว สิ่งที่ดูเหมือนตรงข้ามกันยังปรากฏอยู่ด้วยกัน พุทธพจน์ตอนหนึ่งมีความว่า “ความแก่มีอยู่ในความเป็นหนุ่มสาว ความเจ็บไข้มีอยู่ในความไม่มีโรค ความตายก็มีอยู่ในชีวิต”

มองในแง่นี้ อทวินิยมทำให้เราตระหนักว่าโลกและชีวิตไม่ได้ขีดเส้นความดีความชั่วได้ง่ายอย่างนั้น ความดีกับความชั่วไม่ได้แยกจากกันเด็ดขาด คนเรามีทั้งดีและชั่วอยู่ด้วยกัน โซลเชนิตซิน นักเขียนรางวัลโนเบลชาวรัสเซีย ซึ่งเคยถูกจองจำในค่ายกักกันของสตาลิน พูดไว้อย่างน่าฟังว่า

“ มันจะง่ายดายสักเพียงใด ถ้าเพียงแต่ว่าคนชั่วร้ายอยู่ที่ไหนสักแห่งและคอยทำแต่สิ่งชั่วร้าย เราก็แค่แยกคนพวกนั้นออกจากพวกเราแล้วก็ทำลายเขาเสีย เท่านั้นก็จบกัน แต่เส้นแบ่งความดีและความชั่วนั้นผ่าลงไปในใจของมนุษย์ทุกคน ใครเล่าที่อยากจะทำลายส่วนเสี้ยวในใจของตน?”

ความตระหนักว่าในจิตใจของเรานั้นก็มีความชั่วร้ายแฝงฝังอยู่ ก็ทำให้เราต้องระมัดระวังที่จะใช้ความรุนแรงกระทำกับผู้อื่น เพราะความรุนแรงนั้นเองจะหล่อเลี้ยงบ่มเพาะความชั่วร้ายในใจเราให้เติบใหญ่ ขึ้น จนแสดงตัวออกมาเป็นพฤติกรรมที่ชั่วร้าย หรือแปรเปลี่ยนเราให้กลายเป็นคนชั่วร้ายในที่สุด ตำรวจที่ใช้วิธีการอันเลวร้ายกับโจร ในที่สุดกลับมีพฤติกรรมไม่ต่างจากโจร พูดอย่างอทวิภาวะก็คือ ในตำรวจนั้นมีความเป็นโจรที่รอการฟูมฟักแฝงอยู่ด้วย ในเรื่องนี้ ติช นัท ฮันห์ ได้กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า

“ฉันคือเด็กในอูกันดา มีแต่หนังหุ้มกระดูก
ขาฉันเล็กบางราวลำไผ่
และฉันคือพ่อค้าอาวุธ
ขายเครื่องประหัตประหารแก่อูกันดา

ฉันคือเด็กหญิงสิบสองขวบ
ลี้ภัยในเรือน้อย
โถมร่างลงกลางสมุทร
หลังถูกโจรสลัดข่มขืน
และฉันคือโจรสลัด
หัวใจฉันยังขาดความสามารถ
ในการเห็นและรัก

ฉันคือสมาชิกกรมการเมือง
ผู้กุมอำนาจล้นฟ้า
และฉันคีอชายผู้ต้องจ่าย
“หนี้เลือด”แก่ประชาชน
ผู้ค่อย ๆ ตายไปในค่ายแรงงาน”

ทัศนะการมองแบบอทวินิยมดังกล่าวเป็นสิ่งที่พุทธศาสนาให้ความสำคัญมาก เพราะช่วยให้บุคคลหลุดพ้นจากความติดยึดในสมมติบัญญัติ ซึ่งพัวพันกับการมองโลกเป็นคู่ ๆ สามารถอยู่เหนือดีและชั่ว สุขและทุกข์ ตลอดจนโลกธรรมทั้งปวง ช่วยให้ถอนจากความสำคัญมั่นหมายในตัวตน(ว่ามีอยู่อย่างเป็นอิสระเอกเทศและ ยั่งยืนถาวร) ดังนั้นจึงนำไปสู่อิสรภาพทางจิตใจอย่างสิ้นเชิง แต่อทวินิยมจะมีความสำคัญแต่เฉพาะการพัฒนาในทางจิตวิญญาณอย่างเดียวก็หาไม่ หากยังมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตและกิจกรรมในทางโลกอีกด้วย

พุทธศาสนายังช่วยให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการตื่นรู้ได้ด้วยการส่งเสริมการพัฒนาจิต เช่น สติ สมาธิ เมตตา กรุณา รวมทั้งปัญญา คุณภาพจิตดังกล่าวเป็นภูมิต้านทานวัฒนธรรมแห่งความละโมบและวัฒนธรรมแห่งความ เกลียดชังได้ กล่าวคือ มีความสุขกับชีวิตที่เรียบง่าย เพราะเข้าถึงความสุขภายในอันประณีต ไม่หลงเป็นทาสวัตถุหรือมัวเมาในบริโภคนิยม

ปัญญายังช่วยรักษาใจไม่ให้ถูกครอบงำด้วยความเกลียดชัง เพราะทำให้แลเห็นความจริงอย่างรอบด้านโดยปราศจากอคติ นอกจากนั้นเมตตากรุณาก็สำคัญมาก ไม่ใช่เมตตากับคนใกล้ตัวเท่านั้น หากรวมไปถึงคนที่อยู่ไกลออกไป ไม่เว้นแม้กระทั่งคนที่เป็น “ศัตรู” หรือคนชั่วร้าย ที่มีพฤติกรรมน่ารังเกียจ เมตตากรุณาเช่นนี้แหละที่จะทำให้เรามั่นคงในความเป็นมนุษย์ ไม่เห็นคนเป็นผักปลา แม้เขาจะเป็นคนชั่วร้ายก็ตาม

พุทธศาสนากับประชาธิปไตยต้องเกื้อกูลกัน
ประชาธิปไตยมุ่งให้เกิด เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ หลักการทั้งสามประการจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยคุณภาพจิตเป็นตัวรองรับ กล่าวคือ เสรีภาพภายนอกต้องอิงเสรีภาพภายใน โดยมีปัญญาเป็นตัวเชื่อม