วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

“หรือเราจะสมองเสื่อมเสียแล้ว?”


“หรือเราจะสมองเสื่อมเสียแล้ว?”

อาการหลง  ๆ ลืม  ๆ อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกวัย แล้วเมื่อไรจึงควรจะเป็นกังวล
เรื่องของความหลงลืมนั้น ตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันมักจะเป็นเรื่องธรรมดาในหมู่ผู้สูงวัย แต่ความธรรมดาก็อาจกลายเป็นเรื่องไม่ธรรมดาได้ หากอาการหลง ๆ ลืม ๆ นั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะสมองเสื่อม

นพ. เขษม์ชัย เสือวรรณศรี อายุรแพทย์ด้านประสาทวิทยา กล่าวกับ Better Health   ถึงอุบัติการณ์โดยทั่วไปของภาวะสมองเสื่อมว่าเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ โดยอายุ 65 ปี พบประมาณร้อยละ 8 อายุ 70 ปีพบมากประมาณร้อยละ 15 และสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงร้อยละ 50 ในผู้ที่มีอายุ 90 ปีขึ้นไป

ทำความเข้าใจกับภาวะสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นกลุ่มอาการผิดปกติซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมองหลายส่วนที่พบได้ในผู้สูง อายุโดยมีลักษณะเด่นได้แก่ ความจำที่แย่ลง นอกจากนี้ ยังอาจมีภาวะเสื่อมถอยของของทักษะต่าง ๆ อันเกิดจากการทำงานของสมองจนกลายเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต หรือประกอบกิจวัตรประจำวัน เช่น การใช้ภาษาและความเข้าใจภาษา เป็นต้น
นพ. เขษม์ชัยอธิบายว่า “สาเหตุของภาวะสมองเสื่อมอาจเกิดจากหลายโรคซึ่งมีทั้งที่สามารถรักษาให้หาย ขาด และรักษาไม่หายขาดในจำนวนผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 20 เป็นสมองเสื่อมชนิดที่รักษาหายขาด ส่วนอีกร้อยละ 80 ต้องรักษาแบบประคับประคอง”
สาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่อาจหายได้ ได้แก่ ภาวะเลือดออกในสมอง เนื้องอกในสมองบางชนิด การขาดวิตามิน บี12 โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น ไทรอยด์ และผลข้างเคียงจากการใช้ยา ส่วนสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ที่พบได้บ่อย และโรคอื่น ๆ ที่ทำให้สมองเสื่อมคล้ายอัลไซเมอร์อีก 5-6 โรค

การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม
เนื่องจากภาวะสมองเสื่อมอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ การวินิจฉัยจึงต้องทำอย่างละเอียดเพื่อแพทย์จะได้ทราบสาเหตุที่แท้จริงและ วางแผนการรักษาและดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
“แม้ปัญหาเรื่องความจำจะเป็นลักษณะเด่นของภาวะสมองเสื่อมในระยะแรกเริ่ม แต่การจะตัดสินว่าผู้ป่วยเข้ข่ายว่าสมองเสื่อมหรือไม่นั้น แพทย์จะประเมินปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย” นพ. เขษม์ชัยอธิบาย “เป็นต้นว่า ผู้ป่วยมีอาการมานานเท่าไร อย่างน้อย 6 เดือนแล้วหรือยัง และอาการของผู้ป่วยกลายเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่ นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะต้องมีปัญหาอย่างอื่นที่แสดงถึงการทำงานของสมองที่ลดลงด้วย อาจจะเป็นเรื่องการใช้ภาษา หรือทักษะบางอย่างที่เสื่อมลง”

ในการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม แพทย์จะซักประวัติร่วมกับการตรวจร่างกายเป็นหลัก โดยแพทย์อาจซักถามจากญาติหรือผู้ดูแล เนื่องจากในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่ามีความเปลี่ยนแปลงบางประการเกิดขึ้น แพทย์จำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจ ทำ MRI สมอง ประกอบกับการประเมินการทำงานของสมองเพื่อยืนยันถึงภาวะสมองเสื่อม 

“สาเหตุที่ต้องตรวจให้ละเอียดก็เพื่อทำการแยกโรคว่าภาวะสมองเสื่อมที่เกิด ขึ้นนั้นรักษาได้หรือไม่ และต้องรักษาอย่างไรเพื่อไม่ให้มองข้ามบางสาเหตุที่รักษาได้ ยกตัวอย่างเช่น ญาติพาผู้ป่วยมาพบ บอกว่าเป็นอัลไซเมอร์ แต่พอสอบถามปรากฏว่าสองสามวันก่อนยังปกติดีอยู่ แต่วันนี้จำใครไม่ได้เลย แบบนี้ไม่ใช่โรคอัลไซเมอร์แน่นอน แต่อาจเป็นภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งการรักษาก็ต้องไปเน้นรักษา ทั้งสมองเสื่อมและโรคหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เป็นต้น” นพ. เขษม์ชัยกล่าวเสริม 
เมื่อแน่ใจแล้วว่าผู้ป่วยมีภาวะสมองเสื่อม สิ่งที่แพทย์จะต้องทำต่อคือการระบุให้ได้ว่าเกิดจากโรคใด เพื่อเลือกยารักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

อัลไซเมอร์ สาเหตุใหญ่ของภาวะสมองเสื่อม
สาเหตุสำคัญของภาวะสมองเสื่อมชนิดที่ไม่สามารถรักษาได้ในผู้สูงอายุ เกิดจากโรคอัลไซเมอร์ถึงร้อยละ 60-80 โดยส่วนใหญ่ อาการของโรคจะปรากฏหลังอายุ 60-65 ปีไปแล้ว เว้นแต่ในผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งอาจเป็นได้ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่พบได้ไม่บ่อยนัก 
นพ. เขษม์ชัยอธิบายถึงสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ว่า “เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้าอะไมลอยด์ชนิดไม่ละลายน้ำ ซึ่งไปจับกับเซลล์สมอง เป็นผลทำให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลงจนถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองเริ่มจากในส่วนของความจำ การเรียนรู้ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรม”   
โรคอัลไซเมอร์แบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็นสามระยะ คือ ระยะแรก ระยะกลาง และระยะท้าย  
• ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยจนตนเองรู้สึกได้ และอาจเริ่มเครียด อารมณ์เสียง่าย และซึมเศร้า ระยะนี้คนรอบข้างต้องทำความเข้าใจให้มากเมื่อสังเกตได้ถึงความเปลี่ยนแปลง “ญาติส่วนใหญ่มักสงสัยว่า ผู้ดูแลควรทำอย่างไร เมื่อผู้ป่วยลืม พูดหรือคิดอะไรไม่ถูกต้อง ควรถามย้ำหรือแก้ไขเพื่อช่วยผู้ป่วยหรือไม่ อาจจะลองแก้ดูสักครั้ง หากไม่สำเร็จก็อย่าไปคาดคั้นหรือกดดันให้เกิดความเครียด และซึมเศร้า” นพ. เขษม์ชัยกล่าว
• ระยะกลาง ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลงอีก จำชื่อตนเอง หรือคนในครอบครัวไม่ได้ พฤติกรรมอาจเปลี่ยนไปมาก บางรายก้าวร้าวทำร้ายผู้ดูแล นพ. เขษม์ชัยเสริมว่า “ผู้ป่วยระยะนี้ต้องอาศัย การดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษเพราะเริ่มไม่ค่อยรู้เรื่อง สิ่งที่ต้องใส่ใจให้มากในช่วงนี้คือเรื่องความปลอดภัยของตัวผู้ป่วย เช่น ระวังผู้ป่วยเดินออกนอกบ้านเอง รวมทั้งเรื่องของมีคม เตาไฟ แก๊ส”
• ระยะท้าย ผู้ป่วยอาการแย่ลง ไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย “ผู้ป่วยระยะท้ายนี้สุขภาพแย่ลงมาก” นพ. เขษม์ชัยอธิบาย “ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สมองเสื่อมเป็นวงกว้างไม่พูด ร่างกายแย่ลง รับประทานอาหารได้น้อยลง ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ติดเชื้อได้ง่าย และเสียชีวิตในที่สุด”  

การรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ทำได้โดยการรักษาแบบประคับประคอง เนื่องจากโรคนั้นเกิดจากความเสื่อมของสมองซึ่งมักหยุดการดำเนินโรคไม่ได้ อย่างไรก็ตาม นพ. เขษม์ชัยเน้นว่า “การนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นก็จะช่วยยืดระยะเวลาการดำเนินโรค ได้ รวมทั้งช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการรักษา และยังเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

ปัจจุบันมีการวิจัยมากมายที่จะผลิตยารักษาให้อัลไซเมอร์หายขาด ซึ่งเชื่อว่า อาจจะมียาออกมาภายใน 5-10 ปี ข้างหน้า“  

สำคัญที่การดูแล
ผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยจะต้องเสียสละ และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตมากพอสมควร ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ
“ผมอยากฝากไว้ว่า ขอให้ทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้ดี อาจจะโดยการหาความรู้เพิ่มเติม หรือซักถามจากแพทย์ คุณจะได้ทราบว่าต้องเจอกับอะไรบ้าง ที่สำคัญ ต้องไม่ลืมที่จะดูแลตัวเองทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมต้องอาศัยความอดทนสูง ประกอบกับความอ่อนโยน ความรัก และความเอาใจใส่ ขอให้ระลึกเสมอว่าอาการ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ นั้นไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของผู้ป่วย นอกจากนี้ ควรมีผู้ดูแลอย่างน้อยสองคน สลับสับเปลี่ยนกันดูแล เพื่อให้อีกคนได้ผ่อนคลาย และมีเวลาพักผ่อนซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายครับ”  นพ. เขษม์ชัยกล่าวในตอนท้าย

ดูแลสมองของคุณวันนี้

แม้ภาวะสมองเสื่อมบางชนิดไม่อาจป้องกันได้แต่การดูแลที่ดีอาจช่วยให้สุขภาพสมองของคุณดีกว่า ในระยะยาว
• ควบคุมน้ำหนัก เพราะความอ้วนสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังหลายชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อม
• เลือกรับประทานอาหารเพื่อบำรุงสมอง อาทิ กรดโอเมก้า 3 ในรูปดีเอชเอที่ช่วยปกป้องกรดไขมันที่หุ้มเซลล์ประสาท
• นอนหลับให้มากพอในแต่ละวัน
• มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่เสมอ
• ลองฝึกเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำอะไรที่ขัดกับชีวิตประจำวัน เช่น รับประทานอาหารด้วยมือซ้าย 
• ออกกำลังกายแบบแอโรบิควันละประมาณ 30 นาที อย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์

เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย อ. ศัลยา คงสมบูรณ์เวช
นักกำหนดอาหารขึ้นทะเบียนวิชาชีพจากสหรัฐอเมริกา จากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์

คุณทราบหรือไม่?
ผู้สูงอายุบางรายมีอาการเสื่อมถอยด้านความจำ เพ้อ สับสน และประสาทหลอน คล้ายกับภาวะสมอง เสื่อมทุกประการ แต่แท้จริงแล้วเป็นผลมาจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งประเมินได้จากการทดสอบทางประสาทจิตเวช และสามารถรักษาได้ผลดี

10 อาการอัลไซเมอร์ที่ต้องสังเกต
1. หลงลืมบ่อย ๆ จนน่าเป็นห่วง    
2. นึกถึงสิ่งที่ได้ทำไปแล้วไม่ออก    
3. นึกคำพูดไม่ออก และใช้คำอื่นแทนทำให้ฟังไม่เข้าใจ    
4. หลงทางกลับบ้านไม่ถูก    
5. แต่งตัวไม่ถูกกาลเทศะ หรือปล่อยเนื้อปล่อยตัวไม่สนใจทำความสะอาด    
6. บวกลบเลขง่าย ๆ ไม่ได้หรือจำตัวเลขไม่ได้    
7. เก็บข้าวของผิดที่ผิดทางอย่าง ไม่เหมาะสม เช่น เอารองเท้าเก็บในตู้เย็น    
8. อารมณ์แปรปรวนอย่างไม่มีเหตุผล    
9. บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว    
10. เฉื่อยชา ขาดชีวิตชีวา

Source: http://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2555/senior-health/dementia?utm_source=newsletter-11-b-2012&utm_medium=newsletter&utm_campaign=Bumrungrad-thai

สูงวัยอย่างไร้โรค


สูงวัยอย่างไร้โรค
รู้จักและเข้าใจโรคที่มาพร้อมกับวัยที่เพิ่มขึ้นเพื่อชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ

การเพิ่มขึ้นของจำนวน สัดส่วนประชากรสูงอายุ และอายุเฉลี่ยของประชากรนั้นเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศไทยเองก็เช่นกัน จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปีพ.ศ. 2553 พบว่ามีเรามีประชากรที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไปมากถึง 11% ของจำนวนประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 8 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้น จากปี พ.ศ. 2550 ถึงเกือบ 1 ล้านคน ขณะเดียวกัน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้เปิดเผยงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าอายุเฉลี่ยของคนไทยนั้นเพิ่มขึ้นจาก เดิมคือ 60 ปี เป็น 73 ปี และมีแนวโน้มจะถึง 80 ปีในอีกไม่ถึงสิบปีข้างหน้า

การมีชีวิตที่ยืนยาวอาจเป็นเรื่องน่ายินดี แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าช่วงเวลาที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นช่วงชีวิตที่มี คุณภาพ ปราศจากโรคร้ายรุมเร้า และไม่มีอาการเสื่อมสุขภาพใด ๆ ที่รังแต่จะทำให้ชีวิตที่ยืนยาวนั้นหมดความสุข 

Better Health ฉบับนี้มีคำตอบจาก พญ. ลิลลี่ ชัยสมพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ซึ่งจะมาให้คำแนะนำในการป้องกันและดูแลโรคที่มักมาพร้อมกับวัยที่มากขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงวัย 

เริ่มสูงวัยเมื่อไหร่กัน?

โดยทั่วไปแล้ว ผู้สูงวัยหมายถึงผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่สำหรับแพทย์ การสูงวัยกลับหมายถึงสภาพความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย 

“ร่างกายคนเราชราลงไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นจะดูที่อายุอย่างเดียวคงไม่ได้ ส่วนใหญ่การเสื่อมถอยของร่างกายมักจะเริ่มเมื่ออายุย่างเข้า 40 แต่แน่นอนว่าความเร็วช้าของการเสื่อมถอยในแต่ละคนย่อมต่างกัน ยิ่งเราดูแลตัวเองดีแค่ไหน ความสึกหรอที่มาพร้อมกับวัยก็จะยิ่งช้าลงไปเท่านั้น” พญ. ลิลลี่กล่าว

ทั้งนี้ โรคภัยไข้เจ็บดูจะเป็นความเสื่อมถอยที่เห็นได้ชัดที่สุด ซึ่งพญ. ลิลลี่อธิบายว่าเราสามารถแบ่งกลุ่มของโรคในผู้สูงวัยออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ นั่นคือ กลุ่มของโรคที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือด และกลุ่มของโรคที่เกิดเฉพาะในผู้สูงวัยเท่านั้น เช่น โรคกระดูกพรุน และภาวะสมองเสื่อม

โรคในหลอดเลือด

กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือด เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองนั้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจากอายุโดยตรง แต่เป็นผลมาจากการละเลยการดูแลสุขภาพเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมหรือการขาดการออกกำลังกาย จนทำให้เกิดการสั่งสมของน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ซึ่งการลดความเสี่ยงของโรคกลุ่มนี้สามารถทำได้โดยการไม่รับประทานอาหารจำพวก แป้งหรือไขมันมากเกินไปและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

อย่างไรก็ตาม พญ. ลิลลี่แนะนำว่าไม่ควรละเลิกไขมันหรืออาหารจำพวกเนื้อสัตว์ไปเสียหมด เพราะนอกจาก ไขมันจะเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกายแล้ว โปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ยังเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่ สึกหรอของร่างกายในวัยที่ล่วงเลยได้เป็นอย่างดี

“อาหารที่ผู้สูงอายุมักมองข้ามไปคืออาหารจำพวกโปรตีน เพราะคิดว่าอายุก็มากแล้วไม่อยากรับประทานเนื้อสัตว์ซึ่งเคี้ยวยากย่อยยาก แต่ความจริงคือกล้ามเนื้อหรือเซลล์สมองที่ฝ่อลงนั้นต้องการโปรตีนมาบำรุง หากไม่เพียงพอก็จะทำให้สุขภาพถดถอยเร็วยิ่งขึ้น” พญ. ลิลลี่กล่าว

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุที่มีอาการของโรคเหล่านี้ควรเลือกรับประทานโปรตีนจากถั่วหรือปลา แทนที่จะเป็นเนื้อ หมู ไก่ เพราะใยอาหารจากถั่วจะช่วยในเรื่องการขับถ่าย ทำให้ร่างกายระบายคอเลสเตอรอล และจัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ส่วนปลาก็มีไขมันที่เรียกว่าโอเมก้าสาม ซึ่งเป็นไขมันดีที่เชื่อว่าสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วย 

โรคของกระดูก
อายุที่มากขึ้นส่งผลให้ความหนาแน่นของกระดูกเบาบางลงจนเปราะหักได้ง่าย และกลายเป็นโรคกระดูกพรุนในที่สุด พญ. ลิลลี่แนะนำให้ผู้หญิงระวังโรคนี้เป็นพิเศษ เพราะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย 

“โดยธรรมชาติแล้วผู้หญิงมีกระดูกที่บางกว่าผู้ชายอยู่แล้ว นอกจากนี้ผู้หญิงยังมีระยะหมดประจำเดือน ซึ่งฮอร์โมนเพศที่เป็นสารช่วยบำรุงกระดูกจะขาดหายไปอย่างกระทันหัน ทำให้กระดูกบางลงอย่างรวดเร็ว ในผู้ชายนั้น ฮอร์โมนเพศจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ ตามวัย หรืออาจไม่ลดลงเลยในบางคน” พญ. ลิลลี่ อธิบาย

อันตรายของโรคกระดูกพรุนคือการที่โรคนั้นแทบไม่มีสัญญาณบ่งชี้เลยผู้ป่วย ส่วนใหญ่จึงมักไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคอยู่ทั้ง ๆ ที่กระดูกอาจจะบางไปมากแล้ว จนกระทั่งเกิดหกล้มกระดูกหักขึ้นมา ดังนั้น การบำรุงกระดูกตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะช่วยลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่าง ดี

ในการเสริมสร้างสุขภาพกระดูกให้แข็งแรงนั้น ผู้สูงอายุควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อยประมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งคนส่วนใหญ่มักได้รับไม่ถึง แม้ว่าจะเน้นรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่าง นม ถั่ว ผักใบเขียว เต้าหู้ ปลา แล้วก็ตาม นั่นเป็นเพราะว่าคนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงวัยมักไม่นิยมดื่มนมซึ่งเป็น แหล่งแคลเซียมสำคัญ ซึ่งในกรณีนี้ แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานอาหารเสริมแคลเซียมเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม การรับประทานแคลเซียมเสริมอาจมีปัญหาในเรื่องการดูดซึม โดยเฉพาะแคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งมีอัตราการดูดซึมเพียงร้อยละ 40 โดยประมาณ ทางที่ดีจึงควรแบ่งรับประทานครั้งละประมาณ 500-600 มิลลิกรัม และรับประทานพร้อมมื้ออาหารซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดี ขึ้น 

ผู้สูงวัยกับการใช้ยา

นอกเหนือจากโรคที่มาพร้อมกับวัยแล้ว ปริมาณยาที่ผู้สูงวัยส่วนใหญ่รับประทานก็ดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นด้วย โดยสาเหตุมักมาจากการรับยาจากหลายแหล่ง เช่น จากแพทย์หลายคนที่รักษาต่างโรคกัน จากญาติพี่น้อง ที่เป็นห่วงเป็นใย และจากการซื้อยามารับประทานเอง ทั้งยารักษาโรค วิตามิน อาหารเสริม ยาไทย ยาจีน ซึ่งผู้สูงวัยส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่ายาเหล่านั้นรับประทานด้วยกันได้หรือไม่ เรื่องนี้พญ. ลิลลี่แนะนำว่าโดยหลักการแล้วควรรับประทานยาให้น้อยที่สุด และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

“ผู้สูงอายุควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญซึ่งอาจเป็นแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อดูยาทั้งหมดว่าชนิดใดจำเป็นหรือไม่ และสามารถรับประทานด้วยกันได้หรือเปล่า นอกจากนี้ ทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่ารับประทานยาอะไรอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อน” พญ. ลิลลี่แนะนำ

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุควรระมัดระวังการรับประทานยาบางชนิดเป็นพิเศษ เช่น ยาแก้อักเสบจำพวก NSAIDs แอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน เนื่องจากมีผลข้างเคียงรุนแรง ทั้งกัดกระเพาะ ทำให้ความดันโลหิตสูง และมีผลต่อตับไต ผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาจึงควรอยู่ในการกำกับดูแลของแพทย์และไม่ควรใช้ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ตัวยาอีกกลุ่มหนึ่งที่ควรระวังคือยาจำพวกยาแก้หวัด แก้แพ้ และยานอนหลับบางชนิด ซึ่งมีผลต่อสมอง หากได้รับมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดอาการมึนงง หรือง่วงจนหกล้มบาดเจ็บได้ ยิ่งหากเป็นยานอนหลับชนิดออกฤทธิ์รุนแรงอย่างไดอาซีแพมนั้น หากรับประทานติดต่อกันนาน ๆ ก็อาจทำให้สมองฝ่อ หรือมีอาการซึมเศร้าได้

โรคส่วนใหญ่ที่เกิดในผู้สูงวัยนั้น ยากที่แพทย์จะรักษาอย่างมีประสิทธิภาพได้ หากปราศจากความร่วมมือจากผู้ป่วยในการดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัดด้วยการรับ ประทานอาหารให้ถูกต้องเหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้แล้ว การมีสุขภาพจิตที่ดีก็มีส่วนช่วยให้การจัดการดูแลโรคทำได้ง่ายขึ้น ซึ่ง พญ. ลิลลี่ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า บุตรหลานและผู้ใกล้ชิดต้องหมั่นดูแลเอาใส่ใจผู้ใหญ่ในบ้าน เพื่อให้ผู้สูงวัยมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพและมีความสุข

ปัสสาวะ เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่

ปัญหาการปัสสาวะเล็ด หรือปัสสาวะไม่ออก เป็นอีกอาการหนึ่งที่มักเกิดกับผู้สูงอายุโดยในผู้ชายนั้น เกิดจากการที่ต่อมลูกหมากโตขึ้นแล้วไปบีบท่อปัสสาวะ ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะไม่ออก ต้องใช้เวลาเบ่งนาน และอาจถึงขั้นปัสสาวะเองไม่ได้เลย ซึ่งอาการนี้สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดขูดต่อมลูกหมากบางส่วนออก แต่หากเป็นไม่มาก แพทย์มักจะใช้วิธีให้ยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อช่วยให้ต่อมลูกหมากคลายตัวลงก่อน

ในกรณีของผู้หญิงจะเป็นไปในทางตรงกันข้าม นั่นคือไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อที่ เริ่มหย่อนยานโดยเฉพาะกล้ามเนื้ออุ้มเชิงกราน ทำให้ไม่สามารถปิดกั้นท่อปัสสาวะได้ วิธีแก้ไขเบื้องต้นอาจทำได้โดยการฝึกขมิบกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอดให้ได้ ประมาณร้อยครั้งต่อวัน ก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้นและลดอาการปัสสาวะเล็ดลง ในกรณีที่มีอาการมาก แพทย์อาจแนะนำให้แก้ไขด้วยการผ่าตัด

Source: http://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2555/senior-health/healthy?utm_source=newsletter-11-b-2012&utm_medium=newsletter&utm_campaign=Bumrungrad-Thai

ออกกำลังกาย เรื่องจำเป็นของคนวัยเกษียณ

ออกกำลังกาย เรื่องจำเป็นของคนวัยเกษียณ

คุณภาพชีวิตที่ดีเกิดขึ้นได้ทุกวัย หากเริ่มออกกำลังกายตั้งแต่วันนี้

ไม่ว่าใครก็คงทราบถึงคุณประโยชน์ของการออกกำลังกาย แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายเสียเมื่อไร โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มักอ้าง ‘เหตุผล’ มากมายที่ทำให้ ‘ออกกำลังกายไม่ได้’ ไม่ว่าจะเป็นการเดินไม่ถนัด เหนื่อย ข้อติด มีโรคประจำตัว เวียนศีรษะ ปวดขาปวดเข่า ฯลฯ 

อันที่จริง วัยเกษียณควรจะเป็นช่วงเวลาที่มีความสุข เพราะปลอดจากภาระต่าง ๆ แล้ว แต่ความจริงคือ หลายคนต้องเวียนเข้าออกโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัว บางรายซึมเศร้า นั่งนอนเฉย ๆ เพราะความเจ็บป่วยรุมเร้า แต่เชื่อหรือไม่ว่า ปัญหาสุขภาพที่บั่นทอนความสุขในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุนั้นอาจบรรเทา หรือทำให้ดีขึ้นได้ด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมซึ่ง Better Health มีความเห็นจาก นพ. สุธี ศิริเวชฎารักษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด มาได้เรียบเรียงให้คุณได้อ่านกัน 

การออกกำลัง คือความจำเป็น

แน่นอนว่าการออกกำลังกายเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหลายทางแต่สำหรับผู้สูงอายุ ที่เคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวกแล้ว การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความพยายามอยู่ไม่น้อย “การจูงใจให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายนั้นต้องให้ผู้ป่วยทราบถึงผลดีของการออก กำลังกาย และผลเสียของการขาดการออกกำลังกาย” นพ. สุธีเริ่ม

อธิบาย “ยิ่งผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวแล้ว ต้องบอกเลยครับว่าปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ไม่ได้ทำให้คุณออกกำลังกายไม่ได้นะครับ แต่เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าคุณจำเป็นต้องออกกำลังกายแล้ว หากยังอยากที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีสุขภาพดี อยากไปไหนได้ไป อยากทำอะไรได้ทำ และสามารถดูแลตัวเองได้ในวัยเกษียณครับ” 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุประสบปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายมี ตั้งแต่ อายุที่เพิ่มขึ้น โรคประจำตัวของแต่ละคน อาทิโรคเบาหวานที่ส่งผลถึงหลอดเลือดส่วนปลาย รวมทั้งการมองเห็นโรคไขข้ออักเสบ ฯลฯ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อซึ่งอาจเป็นผลมาจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ประกอบกับขาดการออกกำลังกายส่งผลให้กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแอลง และปัญหาเรื่องการทรงตัว อาการวิงเวียน หน้ามืด ทรงตัวลำบาก มักเกิดกับผู้สูงวัยที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคพาร์กินสัน  เป็นต้น

นพ. สุธีเน้นว่า การออกกำลังกายไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นความจำเป็นสำหรับทุกคนที่อยากมีสุขภาพ ดีไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด “เหตุที่ผมบอกว่าการออกกำลังกายเป็นความจำเป็นนั้นก็เพราะว่าการออกกำลังกาย มีผลดีต่อร่างกายหลายอย่าง ในผู้สูงอายุการออกกำลังจะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยเรื่องการทรงตัวเพิ่มสมรรถภาพของหัวใจและปอด ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนเป็นโรคอะไร เช่น ถ้าเป็นโรคข้อ เดิมอาจจะมีข้อติดอยู่ การออกกำลังกายที่เน้นเรื่องการเคลื่อนไหวของข้อก็ช่วยให้ดีขึ้นได้ รวมทั้งผู้ป่วยโรคเบาหวานและไขมันสูง ก็จะได้ประโยชน์โดยตรงเพราะถ้าเน้นออกกำลังกายแบบแอโรบิค ร่างกาย ก็จะเผาผลาญ

อาหารดีขึ้น ส่งผลให้น้ำตาลและไขมันในเลือดลดลงลดการใช้ยาลงได้จนกระทั่งสามารถหยุดยาได้ในบางราย” นพ. สุธีกล่าว 

ออกกำลังให้ถูก ทำอย่างไร

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุมีความแตกต่างจากการออกกำลังกายในคนหนุ่มสาวมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว นพ. สุธีเน้นว่า“ข้อควรจำในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ คือ ต้องห้ามออกแรงมากหรือเคลื่อนไหวเร็ว ผมมักจะแนะนำผู้ที่มาปรึกษาว่าให้เน้นออกกำลังกายเป็นส่วน ๆ ไปครับ โดยต้องยึดหลักไว้ว่าทำช้า ๆ ต่อเนื่อง และมีแรงต้านหรือแรงกระแทกน้อย”

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุจะเป็นไปเพื่อเน้นเสริมสร้างการทำงานของร่างกาย ดังต่อไปนี้

• เพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อ ทำได้โดยการเคลื่อนไหวข้อต่อต่าง ๆ ให้ได้สุดพิสัยการเคลื่อนไหว เช่น ข้อไหล่ จากแขนแนบอยู่ข้างลำตัวก็ค่อย ๆ ยกขึ้นเหนือศีรษะให้สุด ทำต่อเนื่องข้อละประมาณ 5-10 ครั้ง

• เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายแบบนี้ คือการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เน้นพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่จะช่วยเรื่องการเคลื่อนไหว เช่น กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อหลัง เช่น ยกน้ำหนักที่ไม่หนักมากนัก ดันกำแพง หรือการยกแขน ยกขา ในผู้สูงอายุ น้ำหนักของแขนขาก็ช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อได้แล้ว
• เพิ่มความยืดหยุ่นและการทรงตัว เป็นการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ จนสุด หรือเกินกว่าพิสัยการเคลื่อนไหวเล็กน้อยเพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อ ร่วมกับมีการถ่ายเทน้ำหนักไปมาเพื่อเพิ่มการทรงตัว ลดโอกาสในการหกล้ม บาดเจ็บ หรือปวดกล้ามเนื้อ ตัวอย่างการออกกำลังกายชนิดนี้ ได้แก่ การรำมวยจีน โยคะ โดยเลือกท่าง่าย ๆ
• เพิ่มสมรรถภาพของหัวใจและปอด หรือที่เรียกว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ อย่างต่อเนื่องให้หัวใจทำงานถึงระดับหนึ่งที่เรียกว่า Target Heart Rate (TGR) หรืออัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย ซึ่งในผู้สูงอายุ TGR จะต่ำกว่าในคนหนุ่มสาวโดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60-70 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด (Maximum Heart Rate) และคงที่อยู่ประมาณ 15 นาที และควรทำให้ได้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือวันเว้นวันโดยประมาณ

image-b.jpg

นพ. สุธีเสริมอีกว่า “การจัดหมวดหมู่การออกกำลังกายเช่นนี้เพื่อให้เราเห็นชัดว่ามีอะไรบ้างที่จำ เป็น ซึ่งการออกกำลังแต่ละครั้งจะได้ประโยชน์หลายอย่างร่วมกัน อาทิ การรำมวยจีน ได้มีการเคลื่อนไหวของข้อ ได้ใช้กล้ามเนื้อจากการยกแขนขา เป็นการออกกำลังกายที่ไม่มีแรงต้านมีการถ่ายเทน้ำหนักไปมา และหากทำได้นานพอก็ได้ประโยชน์กับหัวใจด้วย”

อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุบางรายอาจมีข้อจำกัด เช่น มีปัญหาเรื่องข้อเข่าหรือมีความเสี่ยงมากต่อการหกล้มบาดเจ็บ ก็อาจปรับเปลี่ยนเป็นการออกกำลังในท่านั่งหรือนอนได้ และแม้จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ  แต่ก็ไม่ใช่ไม่ยอมออกกำลังกายเลย ชีวิตหลังวัยเกษียณจะเป็นชีวิตที่เปี่ยมสุข และสุขภาพดีอย่างยั่งยืนหรือไม่ คุณเลือกเองได้ แล้วอย่างนี้คุณพร้อมจะเริ่มชีวิตหลังวัยเกษียณแล้วหรือยัง

คุณหักโหมเกินไปหรือเปล่า


การออกกำลังกายเป็นเรื่องจำเป็นแต่การหักโหมเกินไปนั้นอาจส่งผลร้ายต่อ สุขภาพของผู้สูงอายุ วิธีการประเมินความหนักหน่วงในการออกกำลังกายอย่างง่าย ๆ คือการบอกด้วยความรู้สึกว่าเหนื่อยมากน้อยเพียงใดด้วย Borg RPE Scale หรือ Rating of Perceived Exertion (RPE) ที่ให้คะแนนความเหนื่อยตามความหนักหน่วงในการออกกำลังกายไว้ตั้งแต่ระดับ 6-20 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
table-A-(1).jpg



ฝากไว้ให้ระวัง!


หากคุณเป็นผู้สูงอายุและคิดจะเริ่มออกกำลังกาย มีหลายเรื่องที่คุณต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ดังต่อไปนี้
• รู้จักตัวเองว่าเป็นโรคอะไร และมีความเสี่ยงอย่างไร อย่าลืมปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสม
• เริ่มออกกำลังกายจากเบา ๆ ในเวลาสั้น ๆ ก่อน แล้วค่อยเพิ่มความหนักและระยะเวลาขึ้นจนสามารถออกกำลังกายได้นานถึง 15-30 นาที
• สวมใส่เสื้อผ้าและรองเท้าที่เหมาะสมคล่องแคล่วเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นขณะออกกำลัง
• จัดสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม สถานที่ออกกำลังกายควรเป็นพื้นที่
• เรียบโล่ง มั่นคง มีอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวจัดเกินไป
• เลือกรูปแบบการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เน้นชนิดที่ช้า ไม่มี
• แรงกระแทกต่อข้อ หรือแรงต้าน และไม่หนักหน่วงเกินไป เช่น การเดินขี่จักรยาน ว่ายน้ำ
• ห้ามกลั้นหายใจหรือเบ่งไม่ว่าจะออกกำลังกายอะไรก็ตาม เพราะจะเพิ่มความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลาย ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักโอกาสที่ความดันจะสูงขึ้นจนเป็นอันตรายมีสูงมาก 
• อาการปวดเมื่อยหลังออกกำลัง (Post Exercise Soreness) อาจเกิดขึ้นได้ พักและปรับรูปแบบการออกกำลังให้เบาลงแล้วจึงค่อยกลับไปออกกำลังกายตามเดิม
• อบอุ่นร่างกายทุกครั้งประมาณ 10 นาที เพื่อเตรียมกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นก่อนออกกำลังกาย และอย่าหยุดทันทีทันใดภายหลังออกกำลังกาย ให้เวลาในการ “คูลดาวน์” ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจและสมอง ซึ่งจะลดอาการปวด เวียนศีรษะลงได้
• อย่าออกกำลังกายจนรู้สึกว่าเหนื่อยเกินไป สังเกตการหายใจว่าเร็วเกินไปหรือไม่ พูดฟังรู้เรื่องหรือไม่
• หากมีอาการผิดปกติระหว่างออกกำลังกาย เช่น หายใจขัด เจ็บหน้าอกหรือเวียนศีรษะต้องหยุดทันที

Source: http://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2555/senior-health/exercise?utm_source=newsletter-11-b-2012&utm_medium=newsletter&utm_campaign=Bumrungrad-thai

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Best, Worst Breakfasts for Your Health

By Lisa Collier Cool Nov 13, 2012


Fast-food breakfast sandwiches could be “a time bomb in a bun”—and eating even one fat-laden morning meal has immediate adverse effects on your arteries, according to a new study presented at the Canadian Cardiovascular Congress meeting in Toronto.

A high-fat diet is linked to increased risk for atherosclerosis (narrowing of arteries due to plaque deposits), but the study suggests that damage that could lead to a heart attack or stroke may start sooner than was previously thought.

Just one day of eating a fat-laden breakfast sandwich–such as egg, cheese and ham sandwich on a bun – and "your blood vessels become unhappy," said Heart and Stroke Foundation researcher Dr. Todd Anderson, director of the Libin Cardiovascular Institute of Alberta and head of cardiac science at the University of Calgary in a statement.

The study measured blood flow through the forearm in 20 healthy people (average age 23). The researchers mentioned that the sandwich used in the study contained ham, egg, and cheese but did not name the restaurant from which it came. The goal was to reveal the risks of eating a general type of widely available breakfast sandwich, not to point the finger at specific restaurant. The test was done twice: once on a day when they’d eaten two fast-food breakfast sandwiches of a type that available anywhere in the US or Canada, and again on another day when they’d fasted. The sandwiches contained a whopping 50 grams of fat and 900 calories.

7 Warning Signs of A Heart Attack

Impaired Blood Flow Two Hours After Meal

Compared to volunteers who skipped breakfast, those who consumed the fatty sandwiches showed impaired blood flow in their forearms two hours after the greasy morning meal. That’s because their vessels were less able to dilate (widen) and deliver oxygenated blood to the heart.

While the effects from a single meal were temporary, over time such arterial changes could set the stage for a heart attack or stroke, the researchers report. They used a test called velocity time integral that measures how much blood flow can increase after a brief interruption (compressing the arm with a blood pressure cuff). The higher the velocity, the “happier” the blood vessels are.

While one cheesy sandwich isn’t going to do lasting damage, the researchers say that their results highlight the importance of limiting fat, cholesterol, calories, and salt to prevent heart attacks and strokes. A junk-food diet has also been linked to increased risk for dementia, a memory-robbing disorder that has been called “type 3 diabetes,” as I reported recently.

Watch Out for These Alzheimer's Warning Signs

What’s the Worst Breakfast of All?

Whether you’re looking to slim down, build muscle, train for a marathon, or just protect your health, breakfast really is the most important meal of the day. And a fast-food morning meal is not the worse choice. Instead, the unhealthiest option is not eating a morning meal at all.

Not only do people who skip their morning meal—or begin the day with only a cup of coffee—have less energy, worse moods, and poorer memory those who eat breakfast, studies show, but they also face some serious health risks. First of all, they’re up to 450 percent more likely to become obese, which in turn boosts risk for a wide range of ailments, including cardiovascular disease—the leading killer of Americans—gout, joint problems, and even some forms of cancer.

A 2012 study published in American Journal of Clinical Nutrition also reports that people who regularly skip breakfast have a 21 percent higher risk for type 2 diabetes. The researchers tracked about 29,000 men for 16 years and found that the increased risk remained even when body mass index was into account. Scientists suspect that a morning meal helps keep blood sugar levels stable during the day.

What’s the Healthiest Breakfast?

The right breakfast not only reduces risk for overeating later in the day, but also revs up metabolism, fuels your body and brain, and helps you maintain a healthy weight. For example, 80 percent of participants in the ongoing National Weight Control Registry study (which tracks more than 4,000 people who have dropped 30 or more pounds and kept them off for a year or longer) eat breakfast regularly.

Nutritionists advise including both lean protein and fiber in your morning meal, such as whole-grain unsweetened or low-sugar cereal mixed with non-fat yogurt, low-fat milk, or soy milk and topped with fresh fruit. Researchers at University of Texas at El Paso report that eating a filling breakfast helps people consume an average of 100 fewer calories per day, enough to add up to ten-pound weight loss over a year.

The Breakfast Food that Fights Belly Fat

Another study linked having whole-grain cereal for breakfast with reduced levels of cortisol, a stress hormone linked to both weight gain and a tendency to accumulate belly fat. A large waistline is the leading warning sign of metabolic syndrome, which quintuple risks for type 2 diabetes and triple it for heart attack.
As I reported recently, 95 percent of Americans don’t eat the recommended three ounces of whole grains a day, which you can get from a slice of whole-wheat bread, a 6-inch whole-grain corn tortilla, or a serving of cereal. The health benefits of whole grain include:
  • Longer life. A high-fiber diet can cut risk of death from cardiovascular causes by nearly 60 percent, according to a recent nine-year study of nearly 400,000 people ages 50 and older.
  • A healthier heart. Soluble fiber in oatmeal and out bran reduces LDL “bad,” cholesterol and total cholesterol.
  • Weight loss. Whole grains digest more slowly than refined grains, which keeps blood sugar levels stable rather than stimulating insulin. 
Foods that Boost Your Immune System

Source: http://health.yahoo.net/experts/dayinhealth/best-and-worst-breakfasts-your-health

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อันตราย จาก "นมวัว"!?

ณ บ้านพระอาทิตย์
       โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
      
       สัตว์ทั่วไปดื่มนมจากแม่ตั้งแต่ยังเป็นทารก พออายุมากขึ้นหน่อยก็จะเลิกดูดนมและกินอาหารอย่างอื่นแทน แต่มนุษย์น่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตในโลกที่ดื่มนมตั้งแต่แรกทารกและยังมีสมองที่ จะสามารถไปรีดนมจากสัตว์ชนิดอื่นมาเก็บสะสมเอาไว้ดื่มกินแม้จะโตเป็นผู้ใหญ่ แล้วก็ตาม
      
        ความจริงแล้วนมวัวก็น่าที่จะเหมาะกับวัวมากที่สุด นมคนก็น่าจะเหมาะกับคนเช่นเดียวกัน คนจะมีน้ำหนักเพิ่ม 3 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย ในเวลา 3 เดือนหลังคลอดด้วยการดื่มนมจากแม่อย่างเดียว แต่ลูกวัวนั้นน้ำหนักจะเพิ่ม 30 กิโลกรัมในเวลาเท่ากัน และวัวเมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักรวม 500 กิโลกรัมขึ้นไป ในขณะที่คนจะมีน้ำหนักประมาณ 50-60 กิโลกรัม
      
        แต่ลูกคนกินนมวัวมากกว่าลูกวัวเสียอีก ลูกวัวดื่มนมจากแม่วัวแค่ 1 ปี แต่ลูกคนรับประทานนมวัวต่อเนื่องเป็นสิบๆปี ฉะนั้นฮอร์โมนสำหรับการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ของวัวจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเด็กอย่างต่อเนื่อง ทำให้ร่างกายสูงใหญ่ผิดไปจากเผ่าพันธุ์เดิม
      
        เพราะการถูกครอบทางวัฒนธรรมและแฟชั่นจากชาติมหาอำนาจทางตะวันตกว่าคนที่เป็น ดาราภาพยนตร์ต้องตัวโตสูงใหญ่มีโอกาสในการทำงานมากและจะหารายได้ได้มาก และคนเอเชียตัวเล็กเพราะขาดโปรตีน ต่อมารัฐบาลในหลายประเทศรณรงค์ให้คนเอเชียจำนวนหันมาดื่มนมวัวและมีร่างกาย ใหญ่โตมากขึ้น จนเราไม่เคยรู้อีกด้านหนึ่งนมวัวว่าเป็นอันตรายอย่างไร แม้แต่ในประเทศไทยก็ส่งเสริมให้เด็กดื่มนมวัวติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว จนถึงปัจจุบัน ในขณะเดียวกันการดื่มนมวัวที่มากขึ้นของคนไทย ก็ได้สร้างให้อุตสาหกรรมยาได้ขายยาอีกจำนวนมากให้คนไทยได้กินกัน
      
        ความจริงแล้วคนไทยและคนเอเชียถึงร้อยละ 80 ไม่มีน้ำย่อยแล็กโตสในนม ซึ่งส่วนใหญ่จะแสดงอาการท้องเสีย และอีกส่วนหนึ่งก็คือแพ้เคซีนในนม ซึ่งความจริงแล้วมนุษย์สามารถดูดซึมโปรตีนในนม (Net Protein Utilization) ได้เพียงร้อยละ 82 และดูดซึมไม่ได้อีกร้อยละ 18 จะดูดซึมไม่ได้ จะถูกแบคทีเรียย่อยสลายและทำให้เกิด Immune Complex หรือสารก่อภูมิแพ้ตัวใหม่ๆขึ้น
      
        นายแพทย์ เอส. ซี. ทรูเลิฟ
ในวารสาร British Medical Journal ปี 1961 และงานของ ดี.โจเซฟ ซักคา ในวารสาร Annual of allergy พฤษภาคม 1971 ระบุเอาไว้ชัดเจนถึงความสัมพันธ์ของการดื่มนมกับการเกิดลำไส้อักเสบจากภาวะ ภูมิแพ้
      
        นอกจากนี้ นมวัว เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ จึงมีไขมันอิ่มตัวเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไขมันคลอเรสเตอรอลในเลือดสูงและเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เราอาจไม่รู้ว่าการดื่มนมวันละ 2 แก้ว เทียบเท่ากับรับคลอเรสเตอรอลจากการรับประทานเบคอน 34 ชิ้น!!!
      
        และยังรวมถึงโรคอื่นๆอีกมากที่มีความสัมพันธ์กับนมวัว เช่น โรคกระดูกพรุน โรคอัลไซเมอร์ โรคเวียนศีรษะในผู้สูงอายุ โรคปวดหัวไมเกรน ฯลฯ
      
        ตัวอย่างเช่น หลายคนเดิมอาจคิดว่าการดื่มนมวัวมากๆน่าจะเพิ่มแคลเซียมในกระดูก ทำไมถึงเป็นโรคกระดูกพรุนได้ ความจริงมีอยู่ว่าน้ำนมประกอบด้วยแคลเซียมประมาณ 3 ส่วนและฟอสฟอรัส 2 ส่วน หากดื่มนมมากกว่า 500 มิลลิลิตร ร่างกายก็จะได้รับปริมาณฟอสฟอรัสมากเกินจำเป็น ซึ่งจะกระตุ้นต่อมพาราไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนออกมาสลายกระดูก จนเป็นเหตุให้มวลหรือเนื้อกระดูกบางลง
      
        นอกจากนี้ Dr. Samuel Epstein จากมหาวิทยาลัยอิลินอยส์ ได้เตือนถึงอันตรายของระดับฮอร์โมนชนิดหนึ่งในนมวัวซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ ทำให้เกิดการเจริญเติบโต ชื่อ Insulin like Growth Factor One หรือ IGF-1 ปริมาณสูงในนมจากวัวซึ่งถูกฉีด synthetic bovine growth hormone(rBGH) เขาได้เตือนว่า IGF-1 ในนมวัวเป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งทางเดินอาหาร

      
        ยังมีนักวิจัยอีกมากพบว่า IGF-1 มีความสัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดยืนยันผลว่า ระดับ IGF-1 ในเลือดเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
      
        ดร.ที คอลลิน แคมพ์เบลล์ เป็นนักโภชนาการของสหรัฐอเมริกา เคยทำงานวิจัยในสถาบันทีมีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสทส์ (MIT), สถาบันเทคโนโลยี เวอร์จีเนีย, มหาวิทยาลัยคอร์เนล และเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในสหพันธ์อเมริกันเพื่อการทดลองวิทยา และได้ทำงานวิจัยระดับชาติจีนศึกษา (China Study) ซึ่งเป็นงานร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยคอร์เนล มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด และสถาบันการแพทย์ป้องกันโรคของประเทศจีน ได้เป็นบุคคลหนึ่งที่วิจัยและทดสอบพบว่าเนื้อสัตว์และโปรตีนจากสัตว์มีความ สัมพันธ์กับการเกิดโรคเรื้อรังหลายชนิดของมนุษย์
      
        ซึ่งแม้จะงานวิจัยดังกล่าวจะมีรายละเอียดในการทดสอบและเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มชาวจีนกับชาวอเมริกัน แต่ในที่นี้จะขอไม่กล่าวถึงการวิจัยเรื่องมนุษย์ เพราะผมเห็นว่าน่าจะยังมีตัวแปรอีกมากที่อาจไม่เกี่ยวกับอาหารชนิดเดียวกัน โดยตรง เช่น อาหารอื่นๆ อารมณ์ อากาศ วัฒนธรรม การออกกำลังกาย อาการอุปทานหรือยาหลอก ฯลฯ ในที่นี้จึงขอกล่าวอ้างอิงเฉพาะการทดสอบที่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมได้โดย การใช้หนูทดลอง ซึ่งได้ผลน่าสนใจบางประการดังนี้
      
        ดร.ที คอลลิน แคมพ์เบลล์ เดิมเป็นคนที่ส่งเสริมให้คนบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม และไข่มาก ๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย แต่ภายหลังต่อมากลายเป็นผู้ที่รณรงค์ให้คนลดการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์ และนม โดย ดร.ที คอลลิน แคมเบลล์ ได้พบงานวิจัยของอินเดียซึ่งเป็นจุดประกายสำคัญในการทดลองต่อๆกันมา โดยงานานวิจัยชิ้นนั้นพบว่า
      
        "หนูทดลองทุกตัวซึ่งได้รับสารก่อมะเร็งในถั่วที่ชื่อ อะฟลาทอกซิน พบว่าหากให้โปรตีนจากนมวัว 20% พบว่าหนูทั้งหมดจะกลายเป็นโรคมะเร็งในตับ ในขณะที่หนูกลุ่มที่ได้รับโปรตีนจากนมวัว 5% จะไม่มีตัวไหนเป็นมะเร็งเลย"
      
        ดร.ที คอลลิน แคมพ์เบลล์
จึงได้ทำการทดลองต่อยอดกับหนูทดลองอีกหลายกรณีพบผลการวิจัย สรุปการทดลองบางส่วนพบว่า
      
        1. การบริโภคโปรตีนจากนมวัว (เคซีน)ลดลง จะมีผลทำให้การจับกันระหว่างอะฟลาทอกซินกับดีเอ็นเอลดลง และทำให้มีหลักฐานชี้ชัดว่าการบริโภคโปรตีนจากนมวัวในปริมาณที่ต่ำมีผลทำให้ การทำงานของเอนไซม์ลดลงอย่างมาก และป้องกันไม่ให้สารก่อมะเร็งที่เป็นอันตรายจับกับดีเอ็นเอ และเมื่อสัตว์ตัวเดียวกันที่กินโปรตีนจากนมวัวมากแล้วมีรอยโรค (foci) ที่จะก่อให้เกิดเนื้องอกแล้ว ถ้าลดปริมาณลงก็รอยโรคที่จะก่อให้เกิดเนื้องอกก็ลดลงตามไปด้วย แต่ถ้ากลับมาเพิ่มปริมาณการบริโภคโปรตีนจากนมวัวอีกก็รอยโรคที่ก่อให้เกิด เนื้องอกก็จะกลับเพิ่มขึ้นมาอีกเช่นกัน
      
        2. การบริโภคโปรตีนจากพืช ทั้งจากข้าสาลี และถั่วเหลือง แม้จะใส่ปริมาณมากถึง 20% ให้เท่ากับเคซีนในโปรตีนของนมวัว พบว่าไม่เกิดรอยโรค (foci) ที่จะพัฒนากลายเป็นเนื้องอกได้
      
        3. มีการอ้างอิงศูนย์การแพทย์อิลลินอยส์ เมืองชิคาโก ในสหรัฐอเมริกา พบว่าการบริโภคเคซีน (โปรตีนจากนมวัว) ในหนูทดลองเพิ่มขึ้น เป็นการส่งเสริมทำให้เกิดมะเร็งเต้นนมมากขึ้น

      
        โรคต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นถ้าเกิดกับมนุษย์ก็จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ฉะนั้นคนส่วนใหญ่จะไม่ตระหนักและเห็นผลได้ดีด้านเดียวว่านมวัวทำให้ร่างกาย มนุษย์ใหญ่โตขึ้น
      
        ความจริงแล้วคนไทยสมัยก่อนไม่เคยดื่มนม เพิ่งจะมาเริ่มดื่มกันจริงก็ประมาณ 50-60 ปีมานี้เองที่ฝรั่งมาสอนและรณรงค์ให้ดื่ม และสมัยก่อนชาวสยามก็ได้รับโปรตีนและแคลเซียมจากอาหารอย่างอื่นโดยไม่ต้อง ดื่มนมวัว แต่เมื่อเริ่มดื่มนมวัวกันมากขึ้นก็ดูเหมือนว่าคนไทยเริ่มเป็นโรคเรื้อรัง มากขึ้น และบริษัทขายยาก็ขายได้มากขึ้นเป็นเงาตามตัว
      
        จากบันทึกของนายแพทย์มัลคอล์ม สมิธ เรื่อง "หมอฝรั่งในวังสยาม" โดยหมอสมิธเป็นแพทย์ชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเป็นหมอหลวงในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เขียนบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า
      
        "ชาวสยามไม่ดื่มนมวัวทุกรูปแบบ การเลี้ยงปศุสัตว์ทุกรูปแบบไม่เป็นที่รู้จักกันในเอเชียตะวันออก ชาวจีน ญี่ปุ่น และอันโดจีน ไม่เคยแตะต้องนมเลย ตั้งแต่หย่านม กระนั้นก็ตาม พละกำลังและความแข็งแรงของร่างกายโดยทั่วไป ไม่ได้ด้อยกว่าพวกยุโรป"
      
        คำถามชวนให้คิดต่อมาก็คืออะไรที่ทำให้ชาวสยามในอดีตมีพละกำลังแข็งแรงไม่ได้ด้อยกว่าพวกยุโรป โดยไม่ต้องดื่มนมวัว !?


Source: http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000134270

เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์ไม่ควรจะกินเนื้อสัตว์ !?

ณ บ้านพระอาทิตย์
       โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
      
       ในทางธรรมชาติบำบัดแล้วต่างเห็นพ้องต้องกันเป็นส่วนใหญ่ว่าความ จริงแล้วมนุษย์ไม่เหมาะที่จะบริโภคเนื้อสัตว์ และเนื้อสัตว์เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษย์เกิดโรคร้ายต่างๆเป็นจำนวนมาก
      
        ข้อทักท้วงที่ตามมาโดยทันทีก็คือแล้วเช่นนั้นถ้าไม่ทานเนื้อสัตว์มนุษย์ก็จะ ขาดโปรตีนและไม่แข็งแรง ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์สามารถหาโปรตีนได้จากถั่วและธัญพืชหลาย ชนิด เช่น ธัญพืชมีโปรตีน 8% - 12% ถั่วเหลืองมีโปรตีน 40% หรือ 2 เท่าของโปรตีนในเนื้อสัตว์ แม้แต่เนื้อสันในที่เชื่อกันว่าดีที่สุด ก็มีโปรตีนที่นำมาใช้ได้เพียง 20% เท่านั้น ในขณะที่ถั่วและเมล็ดพืชต่างๆมีโปรตีน 30%

      
        เราจึงพบว่านักกีฬาที่มีชื่อเสียงในระดับโลกกินอาหารจากพืชเป็นหลักที่มี ไขมันต่ำแต่กลับทำให้ร่างการแข็งแกร่งมากขึ้น เช่น นักกรีฑาคาร์ล ลูอิส, นักเทนนิสชื่อดังมาตินา นาฟราติโลวา, นักมวลปล้ำระดับโลกอย่างคริสต์ แคมเบลล์ หรือนักวิ่งมาราธอน รูทส์ เฮลดริคช์ ฯลฯ
      
        หรือจะดูย้อนไปไกลกว่านั้นถึงความสำเร็จของนักกีฬาที่รับประทานอาหาร มังสวิรัติและทำสถิติโลกสำคัญ เช่น เมอร์เร่ย์ โรส นักกีฬาว่ายน้ำผู้ที่เคยได้รับ 4 เหรียญทองและทำลายสถิติโลกในกีฬาโอลิมปิค, เอ. แอนเดอร์สัน นักยกน้ำหนักที่ทำลายสถิติโลกหลายครั้ง หรือแม้แต่ จอห์นนี่ ไวส์ มูลเลอร์ ผู้ทำลายสถิติว่ายน้ำของโลกถึง 56 ครั้ง
      
        แต่สำหรับคนที่กินเนื้อสัตว์นั้นควรจะต้องตระหนักว่า สัตว์ที่ตกใจกลัวสุดขีดเพราะการถูกฆ่าจะมีสารพิษในร่างกายเกิดขึ้นโดยทันที เช่น การหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) และกรดยูริค (Uric Acid)ซึ่งขับออกมาด้วยความหวาดกลัวหรือได้รับความเจ็บปวดอย่างรุนแรง ซึ่งภาวะความเป็นพิษเหล่านี้จะกระจายไปทั่วร่างของสัตว์และตกค้างอยู่ตาม เส้นเลือดและเนื้อเยื่อ และเมื่อย่อยสลายแล้วจะมีความเป็นกรดสูงในร่างกายมนุษย์
      
        และด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เราได้สารแปลกปลอมในเนื้อสัตว์อีกมากมายเพื่อให้มนุษย์ได้มีความพึงพอใจกับ รูปลักษณ์ขอเนื้อสัตว์เหล่านั้น เช่น การใช้ฮอร์โมนหรือยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งให้สัตว์มีร่างกายเจริญเติบโตได้เร็ว การใช้ฟอร์มารีนเพื่อกันเน่าเสีย การใช้สารเร่งเนื้อแดงเพื่อหลอกให้เชื่อว่าเนื้อมีความสดใหม่ แต่ประเด็นนี้แม้ในพืช ผัก และผลไม้ของไทยก็เต็มไปด้วยสารพิษจากยาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน (นอกจากประเทศไทยจะมีการปฏิรูปอาหารครั้งใหญ่)
      
        พลตรีจำลอง ศรีเมือง ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า ถ้ามนุษย์ไม่มีอาวุธอยู่ในมือ หรือมีเครื่องปรุงที่กลบเกลื่อนเนื้อสัตว์ เราจะไม่สามารถไล่ล่าหรือกัดกินเนื้อสัตว์ตามธรรมชาติได้เลย
      
        ในขณะที่คุณณรงค์ โชควัฒนา ซึ่งเป็นผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติมาหลายสิบปี ก็ให้ความเห็นว่าความจริงแล้วมนุษย์ไม่ได้มีความอยากอาหารเมื่อเห็นสัตว์ที่ ยังมีชีวิตอยู่ หรือแม้แต่เห็นซากสัตว์ หรือได้กลิ่นคาวเลือดจากเนื้อสัตว์ มนุษย์จึงต้องเปลี่ยนแปรสภาพด้วยการสับ บด ต้ม หรือทอดด้วยน้ำมัน และใช้เครื่องปรุงอาหารและเครื่องเทศเพื่อเปลี่ยนรสชาติกลบเกลื่อนเนื้อ สัตว์เหล่านั้นเสีย ให้กลายเป็นอาหารประเภทอีกชนิดหนึ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น

      
        และหากจะพิจารณาลักษณะสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังในการแบ่งกลุ่มกินเนื้อ กินหญ้า และผลไม้แล้ว เราจะได้ข้อมูลเปรียบเทียบที่น่าสนใจหลายประการ ดังนี้
      
        สัตว์กินเนื้อจะมีเล็บงุ้มแหลมคมและแข็งแรงสำหรับการตะปบ แต่สัตว์กินหญ้าและใบไม้ ตลอดจนสัตว์กินผลไม้จะเล็บแบน ซึ่งมนุษย์ก็เล็บแบนเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อพิจารณาลักษณะนิ้วและเล็บของมนุษย์แล้วเหมาะสำหรับการ เด็ดจับผลไม้หรือพืชเท่านั้น ไม่ได้มีความสามารถในการต่อสู้กับสัตว์ด้วย 2 มือเปล่าได้
      
        สัตว์กินเนื้อฟันหน้าจะแหลมคมเพื่อเอาไว้ฉีกเนื้อ และไม่มีฟันกรามด้านหลังสำหรับบดอาหาร สัตว์กินเนื้อจึงไม่ต้องบดเคี้ยวเอื้องและกินเร็วมาก ส่วนสัตว์ที่ไม่กินเนื้อทั้งสัตว์กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ จะมีฟันหน้าไม่แหลมคมและมีฟันกรามด้านหลังสำหรับบดอาหารและใช้เวลานานกว่า ส่วนมนุษย์ไม่มีลักษณะฟันที่จะจัดกลุ่มกินเนื้อได้เลย
      
        นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำลายของสัตว์กินเนื้อตามปกติจะเป็นกรด และไม่มีน้ำย่อยทายลินสำหรับย่อยอาหารจำพวกข้าวในขั้นต้น อีกทั้งยังมีต่อมน้ำลายเล็กๆในปาก เนื่อจากไม่จำเป็นต้องย่อยอาหารประเภทข้าวหรือผลไม้ในขั้นต้น ในขณะที่ มนุษย์เหมือนสัตว์กินพืช ผัก ผลไม้ คือเมื่อสุขภาพดีน้ำลายจะเป็นด่าง มีน้ำย่อยทายลินเพื่อย่อยอาหารประเภทข้าว และมีต่อมน้ำลายที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งจำเป็นสำหรับการย่อยอาหารประเภทข้าว หรือผลไม้ในขั้นต้น
      
        ผิวหนังของสัตว์กินเนื้อจะมีความหยาบกระด้าง ไม่มีรูขุมขน คายน้ำโดยรู้ที่ลิ้นเพื่อให้ร่างกายเย็น ในขณะที่มนุษย์มีลักษณะเหมือนสัตว์กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ คือ มีการขับเหงื่อโดยรุขุมขนนับล้านตามผิวหนัง
      
        ในกระเพาะอาหารสัตว์กินเนื้อจะมีกรดไฮโดรคลอริกอยู่มากเหมาะสำหรับย่อยกล้าม เนื้อ กระดูก และส่วนอื่นๆของสัตว์ และมีความเป็นกรดสูงกว่ามนุษย์ และ สัตว์กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ถึง 20 เท่า
      
        ลำไส้ของสัตว์กินเนื้อจะยาวเพียง 3 เท่าของร่างกายเท่านั้น เพื่อขับถ่ายเนื้อที่เน่าเสียออกได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่มนุษย์เหมือนกับสัตว์กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ คือ มีลำไส้ยาวกว่าร่างกายถึง 10-12 เท่า เพราะพืชและผลไม้จะเน่าเสียช้ากว่า จึงผ่านการย่อยและดูดซึมเข้าผ่านลำไส้ได้ตามปกติไม่มีความจำเป็นต้องเร่ง ถ่ายออก
      
        มนุษย์มีภาวะความเป็นกรดในกระเพาะอาหารน้อยกว่าสัตว์กินเนื้อ และมีลำไส้ที่ยาวกว่าด้วย ดังนั้นเมื่อกินอาหารเนื้อสัตว์มากจึงย่อยสลายเนื้อสัตว์ได้ยาก และเนื้อสัตว์เหล่านั้นนอกจากจะมีสารพิษแล้วเมื่อเน่าเสียได้เร็วแต่ขับถ่าย ออกผ่านลำไส้มนุษย์ได้ช้า คนที่กินเนื้อสัตว์มากจึงมักเป็นโรคท้องผูกเพราะเนื้อสัตว์ไม่ค่อยมีกากไฟ เบอร์ทำให้การเคลื่อนไหวทางเดินอาหารเป็นไปอย่างช้ามาก เกิดความหมักหมมและก่อโรคมากในลำไส้ และก่อโรคอื่นๆตามมาในที่สุด

      
        วารสารการแพทย์อเมริกัน (The Journal of The American Medical Association) ได้เคยรายงานว่า "การกินอาหารมังสวิรัติสามารถป้องกันโรคหัวใจได้ถึง 90% - 97%"
      
        อีกทั้งยังปรากฏรายงานวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการรับ ประทานอาหารในพืชและผักที่มีไฟเบอร์สูงและความเสี่ยงของมะเร็งในลำไส้ใหญ่ และเต้านมโดย โดย Eur J Cancer Prev ปี พ.ศ. 2541 พบว่าพบว่าการรับประทานผักผลไม้ สามาถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งอีกมากมาย รวมถึงผักและผลไม้ที่มีสารกากใยมากจะช่วยการลดมะเร็งลำไส้ใหญ่
      
        นอกจากนี้ในทางการแพทย์ยังพบอีกด้วยว่าการกินเนื้อสัตว์มากจะสั่งสมก๊าซ ไนโตรเจนในรูปของกรดยูริคมากเกินไป ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคไต เมื่อไตไม่สามารถกำจัดกรดยูริคออกจาร่างกายตามข้อต่อ หรือตามกล้ามเนื้อ ก็จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามข้อ เป็นโรคเก๊าท์ และโรคไขข้ออักเสบ
ยังไม่นับอีกหลายโรคที่มีสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับกินเนื้อ สัตว์ที่มีไขมันอิ่มตัวอยู่มาก เช่น โรคไขมันคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคนิ่วในไต โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก, โรคเบาหวาน, โรคแผลในกระเพาะอาหาร, โรคนิ่วในถุงน้ำดี, โรคข้ออักเสบ, โรคเหงือก โรคสิว, โรคมะเร็งตับอ่อน, โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร, โรคกระดูกพรุน, โรคมะเร็งรังไข่, โรคริดสีดวง, โรคอ้วน, โรคหืดหอบ ฯลฯ
      
        ชาวฮันซ่า คือกลุ่มชนที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย และปากีสถาน เผ่าโอโตมี่ (ชนพื้นเมืองของเม็กซิโก) และชนพื้นเมืองในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา มีสุขภาพแข็งแรง มีโรคภัยไข้เจ็บน้อย และโดยเฉลี่ยจะมีอายุยืนถึง 110 ปี หรือมากกว่านั้น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผู้กินอาหารมังสวิรัติ
      
        ในขณะที่ชาวเอสกิโม ซึ่งกินเนื้อสัตว์และไขมันเป็นประจำ จะแก่เร็ว และมีอายุโดยเฉลี่ย 27 ปีครึ่ง และในบรรดาชาวเคอกิส คือชนชาติพเนจรในแถวตะวันออกของรัสเซีย ซึ่งกินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก จะมีน้อยคนมากที่มีอายุเกิน 40 ปี

      
        นักวิทยาศาสตร์สำคัญในโลกหลายคนก็รับประทานอาหารมังสวิรัติ เช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, เบนจามิน แฟรงคลิน, ชาร์ลส์ ดาร์วิน, เลโอนาร์โด ดาวินชี, ปาสคาล, เซอร์ ไอแซค นิวตัน, ส่วนนักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีชื่อเสียงและรับประทานอาหารมังสวิรัติ ก็คือ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
      
        อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพ ได้เคยพูดเกี่ยวกับการรับประทานอาหารมังสวิรัติว่า
      
        "ไม่มีอะไรที่จะได้ทำให้สุขภาพมนุษย์ได้รับประโยชน์และเพิ่ม โอกาสสำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลกได้มากเท่ากับการวิวัฒนาการของ การทานอาหารมังสิวิรัติ"
      
        ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
นักวิทยาศาตร์ไทยผู้คิดค้นและออกแบบ ระบบการลงจอดยานอวกาศไว้กิ้ง 1 ไวกิ้ง 2 และไวกิ้ง 3 ลงบนพื้นผิวดาวอังคารให้กับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซ่า เป็นคนแรกและครั้งแรกของโลกโดยการหยั่งรู้จากการนั่งสมาธิ ได้ให้สัมภาษณ์ปรากฏในหนังสือ "แท้จริงแล้วมนุษย์เป็นสัตว์กินพืช" เขียนโดย คุณชนาธิป วงศ์ธิกุล และบรรณาธิการโดย คุณศิริวรรณ เต็มผาติ ความบางตอนจากการสัมภาษณ์น่าสนใจมีดังนี้:
      
        "เราปลูกผักเยอะๆ มันก็ดูดเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมันก็ผลิตคาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารให้กับ เรา และเราก็รับประทานเข้าไป เพราะฉะนั้นเราทานผัก เราลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ถ้าเราทานเนื้อสัตว์ เราต้องเลี้ยงสัตว์ ซึ่งไม่เหมือนกันกับพืช สัตว์ไม่ได้เอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป แต่กลับเอาออกซิเจนไปใช้ แล้วคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา แถมยังผลิตก๊าซมีเทนเยอะมาก ซึ่งไม่ได้ช่วยโลกของเราเลย แต่ทานผัก เราปลูกผักเยอๆ โลกก็เย็นลงด้วยครับ...
      
        สัตว์ตอนโดนฆ่านี่ โอ้โฮ.. มันจะกลัว มันจะมีอารมณ์มันจะหลั่งสารเคมีต่างๆหลายอย่างซึ่งเป็นผลเสียต่อสุขภาพของ เรานะครับ แล้วก็ไม่ได้ช่วยให้เกิดการยกระดับจิตใจ แต่ผักจะไม่มีปฏิกิริยาเหล่านี้ ตรงกันข้ามมันกลับมีความสุขครับ เพราะนี่คือวิธีการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติของมัน คือการ ที่เราไปเด็ดไปกินแล้วเราก็จะทิ้งเม็ด เม็ดก็คือเมล็ดที่งอกขึ้นใหม่ได้ นี่เป็นการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ ต้นไม้ยินดีมากเลย เพราะเป็นวิธีการขยายพันธุ์ของเขา...ร่างกายของเราเจริญเติบโตก็ด้วยผัก ผักมันกลายเป็นเนื้อของเรา มันกลายเป็นอวัยวะของเรา มันได้กลายเป็นส่วนที่เป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้นพวกผักมันจะรู้สึกดี ผักไม่มีปฏิกิริยาเชิงลบ ผักไม่รู้สึกว่ามันโดนฆ่าหรืออะไรทั้งสิ้น มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเรา ซึ่งมันเองก็มีความสุข ไม่เหมือนกับทานเนื้อสัตว์ ซึ่งจะมีปฏิกิริยาในทางลบแล้วก็สร้างความเสียหายให้กับเรา"
      
        จากข้อมูลที่ได้รวบรวมมาข้างต้น มนุษย์จึงควรเป็นสัตว์กินพืช และมนุษย์ไม่ควรกินเนื้อสัตว์ !!!!

 Source: http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000131186