วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อภัยทาน

โดย พระศรีญาณโสภณ (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช)

การผูกอาฆาตพยาบาท จองเวร ให้ผลข้ามภพข้ามชาติ

ถ้าเราเปรียบภพชาติเหมือนคืนวัน
การนอนหลับเหมือนการตาย การตื่นนอนเหมือนการเกิด
ภพชาติก็ใกล้ตัวเราเข้ามา

การผูกอาฆาตพยาบาทเหมือนการเข้านอนโดยไม่ได้อาบน้ำชำระร่างกาย
หลับก็ไม่เป็นสุข ตื่นขึ้นมาก็ไม่สดชื่น

ในแต่ละวัน จิตของเราเก็บเกี่ยวเฉี่ยวโฉบอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง อิจฉา นินทา
อาฆาต พยาบาท ขุ่นแค้น ขัดเคือง นานาชนิดเอาไว้

ถ้าไม่มีวิธีชำระก็จะเกิดสนิมใจขึ้นมา
กระทั่งไม่อาจนอนได้อย่างมีความสุขหากไม่ชำระร่างกายฉันใด
ใจที่ไม่ถูกชำระจะทำให้ฝันร้าย อารมณ์หงุดหงิดหลับไม่สนิท ฉันนั้น

การแสดงอภัยทานเป็นการชำระใจ
แม้จะดูพูดง่าย แต่ก็ทำได้ยากหากไม่ฝึกทำจนเป็นปกติ

เพื่อให้เข้าใจง่ายและอยากทำให้ได้
ขอให้เรามาพิจารณาเหตุผล
ถึงความต่อเนื่องของผลกรรมที่มีผลข้ามภพข้ามชาติว่า
ให้ผลเผ็ดร้อนเพียงใด และยังเป็นผลที่เราหนีไม่ได้อีกด้วย

เราต้องถามตนเองก่อนว่า
เราต้องการยุติการเผล็ดผลของกรรมกันคนๆ นั้นเพียงภพนี้
หรือต้องการจะพบเขา จะเจอเขาอีกในชาติต่อๆ ไป

เราต้องการจะยุติปัญหาเหล่านี้เพียงภพชาตินี้
หรือต้องการลากยาวไปถึงภพชาติข้างหน้า
เรามีสิทธิเสรีในตัวเราที่จะหยุดหรือสร้างเหตุต่อไปอีก

บางคน รักมาก หลงมาก เพราะเขาดีมาก
ก็ปรารถนาให้พบกันทุกภพทุกชาติ

บางคนก็อธิษฐานไม่ขอร่วมเดินทาง แต่ก็ไม่ยกโทษ
ในที่สุดผลของการไม่ยกโทษ คือไม่ยอมให้อภัย
ก็เหมือนการผูกสิ่งที่เราไม่ชอบไว้ที่เอวตนเองตลอดเวลา

การให้อภัย จะทำให้เราสามารถยุติปัญหาต่างๆ ได้
เหมือนคนล้างแก้วน้ำสะอาด
ทำให้เหมาะสมที่จะรองรับน้ำบริสุทธิ์ที่เทลงไปใหม่
เหมือนการโยนของที่เราไม่ชอบทิ้งเสีย โดยไม่ต้องเสียดาย

การให้อภัยคือการแสดงกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์
อภัยทานนั้นเวลาจะให้ไม่ต้องไปขอใคร
ไม่เหมือนใครมาขอเงินเรา เราต้องควักกระเป๋าให้
แต่ให้อภัย เราไม่ต้องหาจากไหน และไม่รู้สึกว่าเป็นการสูญเสีย

ขอให้เราภูมิใจเถิด เมื่อมีใครมาขอโทษ เมื่อมีใครให้อภัยเรา
หรือเมื่อสำนึกได้ว่า เราได้ทำอะไรผิดพลาดไป ก็ขอโทษกัน

การขอโทษ หรือการให้อภัย มิใช่การเสียหน้า หรือเสียรู้
มิใช่การได้เปรียบเสียเปรียบแต่อย่างใด
หากแต่เป็นการชำระใจให้สะอาด เหมือนภาชนะสกปรก ก็ชำระล้างให้สะอาด

ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ อาจจะดูเหมือนยาว
แต่มีใครบอกได้ว่าเราจะอยู่ได้ปลอดภัยถึงวันไหน
เราต้องการความทรงจำที่เลวร้าย หรือต้องการความทรงจำที่ดีในชีวิต

เราต้องการนั่งนอนอย่างมีความสุข มีชีวิตอยู่ด้วยความอิ่มเอิบ
หรือต้องการมีชีวิตอยู่ด้วยการถอนหายใจด้วยความทุกข์และกังวลใจ
สิ่งเหล่านี้กำหนดได้ที่ตัวเราเอง กำหนดวิธีคิดให้ถูกต้อง

ความคิดเป็นสิ่งที่ทรงพลังมาก
สุขหรือทุกข์ของมนุษย์อยู่ที่วิธีคิด

คิดเป็นก็พ้นทุกข์
คิดไม่เป็น แม้แต่เรื่องมิใช่เรื่อง ก็อาจเกิดเรื่องได้

ขอให้เรามาคิดดูว่า ในชีวิตของเราคนหนึ่ง
อย่างเก่งก็อยู่ได้ ๗๕ ปี เกินนี้ไปถือเป็นกำไรชีวิต
ทำไมเราจะเสียเวลามาครุ่นคิดเรื่องไร้สาระ
ทำไมเราจะต้องเสียเวลามาทำเรื่องที่ทำให้เกิดทุกข์

การยอมกันเสียบ้าง ก็เป็นความสุขได้ไม่ยาก
เราอาจคิดว่า การให้อภัยบ่อยๆ แก่คนบางคน
เขาอาจจะไม่ปรับตัว ยังก่อเหตุอยู่เสมอๆ
งานก็ไม่สำเร็จ ยังเหลวไหลอยู่เหมือนเดิม
นั่นอาจเป็นเหตุผลในการทำงาน

แต่สำหรับเหตุผลของใจนั่น
เมื่อให้อภัย ใจเราก็เบา

การยกโทษ อาจดูเหมือนเรายอม
เราไม่ติดใจ ไม่เอาเรื่อง แล้วจะทำให้เขากำเริบ
ส่วนเราเสียเปรียบ

ความจริงไม่ใช่
เรากำลังบำเพ็ญบารมีขั้นสูง คือ อภัยทาน
อันเป็น ทานบารมี” ที่สูงส่ง
การยอมแพ้อาจเป็นชัยชนะยิ่งใหญ่ข้ามภพชาติ

ขอให้สังเกตความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
เวลาเราโกรธ เกลียด พยาบาทใคร
สีหน้าของเราจะเปลี่ยนไป เลือดในร่างกายจะผิดระบบ
เช่น เวลาโกรธจัด จิตที่ถูกครอบงำโดยอารมณ์ร้าย
ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันคือ ความรุ่มร้อนไม่พอใจ ทำอะไรก็กังวลเป็นทุกข์

แต่พอยกโทษให้ ก็จะรู้สึกทันทีว่า ยิ้มได้ จิตเบาสบาย
ที่เปรียบกันว่าเหมือนยกภูเขาออกจากอก
รู้สึกจิตเป็นอิสระทันทีเพราะหมดห่วง หมดทุกข์ หมดสนิมที่จะกัดกร่อนจิตใจ

วิธีคิด มีความสำคัญมากสำหรับชีวิตของคน
เรามักได้ยินเสมอๆ ว่า แพ้หรือชนะอยู่ที่กำลังใจ
แท้จริงแล้ว คำว่า กำลังใจ
ก็คือวิธีคิดนั่นเอง พลังที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ คือการที่ ใจ” มีกำลัง

มนุษย์เราจึงต้องสร้างกำลังใจให้แก่กันและกัน
กำลังใจเป็นสิ่งที่ให้ไม่รู้จักหมด
ยิ่งเราให้คนอื่นได้มากเท่าไหร่ กำลังใจก็จะยิ่งเกิดขึ้นแก่เรามากเท่านั้น
เหมือนวิชาความรู้ ยิ่งให้ยิ่งพอกพูน ยิ่งหวงไว้เฉพาะตัวก็ยิ่งหดหาย

การให้อภัย อาจพูดง่าย แต่ทำยาก
แม้จะเป็นเรื่องยาก เพราะใจไม่อยากทำ
แต่ก็สามารถทำได้เมื่อเราฝืนใจทำ
และจะเป็นความสุขใจในภายหลังเมื่อครวญคำนึงถึง

การตอบรับซึ่งกันและกัน
ถ้าเป็นความดี เป็นความรัก ความอบอุ่นก็ดีไป
แต่ถ้าเป็นความเกลียด ความโกรธ
สิ่งที่จะตามมา คือการรับรู้และเก็บอารมณ์ทั้งโกรธและเกลียดนั้นไว้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย

เมื่อรู้แล้วก็ควรสละอารมณ์นั้นด้วยตัวเราเองก่อน
เพื่อป้องกันจิตเรามิให้เป็นทุกข์เพราะคนนั้นเป็นเหตุ
เราอาจคิดเสมือนหนึ่งไม่ได้มีเขาอยู่ในโลกนี้เลยก็ได้
การให้อภัยเขา คือคิดถึงเขาในฐานะเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ไม่สมควรจะไปยึดเป็นรักเป็นชัง 

ก็เมื่อแม้แต่รัก ท่านยังสอนให้เราละทิ้ง มิให้ยึดติด
แล้วทำไมเราจะยังมองเห็นโกรธเป็นสิ่งที่จะต้องยึดมั่นอยู่ได้

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

"ธรรมะที่ควรศึกษามากที่สุด คือตัวเราเอง"อุบาสิกาคุณรัญจวน อินทรกำแหง




พึ่งตนพึ่งธรรม เรื่องและภาพ โดย มนสิกุล 

โอวาทเภสัชช์ เรื่องและภาพ


               "ขณะนี้ ใครรู้จักตัวเองทั้งข้างนอกข้างในหมดเลยบ้าง? "
   
              ในยามสายของวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา อุบาสิกาคุณรัญจวน อินทรกำแหง ถาม นักเดินทาง ๔๐ ชีวิตจาก 'เที่ยวทั่วไทย หัวใจถึงธรรม' นำทีมโดย นพ.บัญชา พงษ์พานิช ที่นั่งรถบัสข้ามคืนจากหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กรุงเทพฯ ไปสุดทางที่วัดป่าหนองไผ่ จ.สกลนคร โดยมีพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งหลวงตาก็เป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตอีกต่อหนึ่ง ทำให้เราสืบสายไปถึงต้นธารอันเป็นตาน้ำแห่งพระธรรมที่องค์พระสัมมาสัมพุทธ เจ้าค้นพบ และนำมาบอกต่อกว่า ๒,๖๐๐ ปีที่มีพุทธบริษัทสืบสายอย่างไม่ขาดตอน และขุมทรัพย์ทางวิปัสสนาปัญญาที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนี้เองที่สามารถนำมาปลด เปลื้องพันธนาการทางจิตที่มนุษย์ยึดติดกับสังสารวัฏได้ให้หลุดออกไปได้จริง เมื่อปฏิบัติเองแล้ว พบเห็นเองแล้ว ก็ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอันเป็นต้นทางแห่งทุกข์อีกต่อไป 
   
              ไม่น่าเชื่อว่าคำถามพื้นๆ ที่อาจารย์ถาม จะเป็นคำถามที่เราเอง และใครๆ อีกหลายคน ตอบไม่ได้ แม้ว่าเราจะอยู่กับตัวเรามาตลอดชีวิตก็ตามที
   
              หลังจากที่ทุกคนเงียบ อาจารย์รัญจวนก็กล่าวขึ้นว่า ในความเห็นส่วนตัว ธรรมะที่เราควรจะศึกษามากที่สุด คือตัวเราเอง

              "ถ้าเราไม่ศึกษาตัวเอง แต่วิ่งเข้าวัด ไปเพื่ออะไร เคยถามตัวเองไหมว่ามาวัดทำไม ตอบตัวเองได้ไหม...การปฏิบัติธรรมคือการรู้จักตัวเอง ศึกษาตัวเอง ข้างนอก ชื่ออะไร ทำอะไรไม่ยาก แต่ข้างในที่มองไม่เห็น เคยรู้จักบ้างไหม ถ้าผู้ใดมองตัวเอง เห็นแต่ทางบวก ไม่มีทางลบเลยคิดว่าตัวเองเป็นคนอย่างไร เป็นคนน่าสงสาร เพราะถ้าหากไม่รู้จักตัวเรา เราจะมาขัดเกลาอะไรเล่า ถ้ามันดีไปทุกอย่างแล้ว "
   
              สิ่งที่ท่านเน้นย้ำก็คือ การปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การไปนั่งสมาธิอย่างเดียว สมาธินั้นเป็นเครื่องมือที่จำเป็นและสำคัญก็เพื่อให้มีกำลังจิตที่มั่นคง หนักแน่น และจะได้ใช้พื้นฐานของจิตที่มีพลังเช่นนั้น เป็นฐานในการพิจารณาธรรม หรือที่เรียกว่า วิปัสสนาปัญญาให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น การเข้ามาหาธรรมะ มาปฏิบัติธรรม สิ่งสำคัญที่สุดก็เพื่อมาขัดเกลาตัวเราเอง
 ขัดเกลาอะไรเล่า ?
   
              อาจารย์รัญจวนอธิบายว่า เมื่อมองเข้าไปข้างในใจแล้วเห็นว่ามันโสโครก มันน่าละอาย นี่แหละเป็นสิ่งที่ต้องขัดเกลา
   
              "อะไรที่เรารู้สึกว่าขลุกขลักอยู่ข้างในก็สิ่งนั้นแหละ เป็นอุปสรรคให้ก้าวไปไม่ได้ เพราะมันมองเห็นแต่ส่วนดีไปซะหมด ฉะนั้น มองดูที่ตรงนี้ แม้ว่าอยู่กับคนหมู่มาก แต่ถ้าไม่พูดไม่คุย ก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่กับข้างในของเรา ในนาทีนั้น มองดูไปข้างในใจว่า เราเป็นคนใจดี ดูเมตตา มีไหม ลองถามแค่นี้ ในส่วนตัวของดิฉันเอง ชอบถามคำถามนี้กับตัวเองเสมอ แล้วก็ต้องลงท้ายด้วยว่า จริงไหม ที่เราคิดว่า เราเป็นอย่างนั้น เป็นการย้ำ เพื่อไม่หลอกตัวเอง
   
              "ถ้าเรามองเห็นว่ามันไม่จริง ที่ว่ามีเมตตา แต่ต้องกับคนที่รู้จักมักคุ้น ญาติพี่น้อง พรรคพวกเดียวกัน ถ้าไม่ใช่ ถ้าแปลกหน้ามาจากไหน ต้องคิดก่อนว่าจะเมตตาดี ไม่เมตตาดี หรือผ่านไปเลย อืมม์ อย่างนี้เป็นเมตตาในพรหมวิหารสี่หรือเปล่า เขาเรียกว่า เมตตาหลอกๆ อย่าประมาทนะ ความเมตตา ขอให้ออกมาจากใจ จะน้อยจะมากก็ขอให้ออกมาจากใจ ไม่ต้องบอกว่าจะได้อะไรตอบแทน แล้วพอเมตตากรุณาเสร็จแล้ว ใครชื่นใจ เราเองชื่นใจ เราทำอะไรในสิ่งที่ดีงาม ถึงไม่มีคนเห็น แต่อย่างน้อยมีคนหนึ่งเห็น คือตัวเรา
   
              "ฉะนั้น การดูตัวเอง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ทำหรับผู้มุ่งมั่นปฏิบัติธรรมจริงๆ และเป็นการปฏิบัติบูชา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อให้คนอื่นดู หรือให้คนอื่นรู้ว่ากำลังปฏิบัติธรรม"
   
              อีกคำถามหนึ่งที่อาจารย์รัญจวนให้เราถามกับตัวเองอีกก็คือ ถ้าเราเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าคนหนึ่ง เรามีองค์ประกอบในตัวพร้อมแล้วหรือยัง
   
              "คำว่า พร้อม ก็คือ รู้จักหรือเปล่าว่าพระพุทธเจ้าคือใคร เคยมีความรู้สึกบ้างไหมว่า เกิดมาชาตินี้มีบุญแค่ไหน ที่ได้มารู้จักพระพุทธศาสนา ได้มีโอกาสมารู้จักพระธรรมอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าค้นพบ"
   
              โดยส่วนตัวอาจารย์รัญจวน เล่าว่า ก่อนที่จะมารู้จักพระธรรม รู้สึกว่าอยู่กับความร้อนมามากกว่าครึ่งชีวิต
   
              "แต่ก็ยังโชคดีที่ได้มารู้จักในตอนสุดท้าย มิฉะนั้น จะต้องเป็นผู้ไปมืดเป็นแน่นอน เพราะจะไม่สามารถจัดจิตใจที่ตกหลุมอยู่ในความมัวเมาโดยไม่รู้ตัว ทำให้นึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมัยที่ท่านเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านทรงมีสิ่งที่เป็นอุปกรณ์ในการบำรุงบำเรอความสุข ทุกอย่างอย่างเพียบพร้อม และยังเกินพอด้วย เป็นสุขที่เรากระเสือกกระสนกันอยู่ทุกวันนี้ ยังไม่หยุด แล้วทำไมเจ้าชายสิทธัตถะจึงสลัดทิ้งทุกอย่างที่เป็นความสุขที่มนุษย์แสวงหา หันพระพักตร์เข้าสู่ป่า โดยไม่มีอะไรเลย ทำไมพระองค์จึงได้กล้าหาญเด็ดเดี่ยวขนาดนั้นในการแสวงหาสัจธรรมเพื่อที่จะ ทราบว่า ทุกข์ คืออะไร เหตุของทุกข์มาจากไหน และการดับทุกข์นี้จะต้องทำอย่างไร ต้องดับมันให้ได้ ต้องมีความแจ้ง และยังได้แสดงวิธีที่จะเดิน ให้เจริญในหนทางการปฏิบัติเพื่อถึงซึ่งความสิ้นทุกข์ ที่เราเรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘
   
              "อริยสัจทั้ง๔ ข้อนี้ กว่าที่พระองค์จะแสวงหาได้ ก็เกือบจะสิ้นพระชนม์หลายครั้ง เมื่อใครได้ไปอ่านในพระไตรปิฎกถึงพระประวัติของพระพุทธเจ้า ในขณะที่ทรงแสวงหาสัจธรรมอยู่ ๖ ปีในป่านั้นก็จะเข้าใจ จะให้ง่ายก็ไปอ่านพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ที่ท่านอาจารย์พุทธทาสท่านรวบรวม เป็นคำตรัสของพระองค์เองก็จะรู้ว่ากว่าจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นยากลำบากเพียงใด ตลอดพระชนม์ชีพ ๘๐ พรรษา ๔๕ พรรษาที่พระองค์ใช้เวลาสั่งสอนเพื่อนมนุษย์ เสด็จพระราชดำเนินไปที่นั่นที่นี่ด้วยพระบาทเปล่า ไม่หยุดเลย ทั้งที่พระองค์ไม่จำเป็นต้องอย่างนั้น แต่ก็ทรงเสียสละเช่นนี้เพื่ออะไร"
   
              ถ้าไม่ใช่เพื่อความสงบเย็นของมนุษยชาติ แล้วเพื่ออะไรเล่า
   
              "การรู้จักตัวเองก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เรารู้ว่า เราจะขัดเกลาสิ่งที่ยังขลุกขลักอยู่ภายในให้เกลี้ยงเกลาได้อย่างไร ยิ่งเกลี้ยงเกลาเท่าไหร่ ธรรมะก็จะเจริญแค่นั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงให้เรากลับมาศึกษาตัวเอง แต่ไม่ใช่เพ่งโทษตัวเอง แล้วเราจะพบความจริงในตัวเรา " 
   
              นั่นคือคำแนะนำจากอุบาสิกาคุณรัญจวน ในวัย ๙๑ ปี และวันพระนี้ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ คือวันเกิดของท่าน หนึ่งในครูบาอาจารย์ผู้ทำให้ดำริของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุเป็นจริง ในการสร้างธรรมาศรมธรรมมาตา สวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นของขวัญให้ลูกผู้หญิงได้ปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข้น เฉกเช่นนักบวช โดยไม่ต้องบวช

Source: http://www.komchadluek.net/detail/20120528/131357/'ธรรมะที่ควรศึกษามากสุดคือตัวเรา'อุบาสิการัญจวน.html#.UN6Asaz75BM

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

10 Essentials for a Successful Detox


10 Essentials for a Successful Detox

It’s that time of year again when people try to  make up for their dietary misgivings during the holidays.  More and more people are turning to detoxifying as a way to jump start their health for greater energy, weight loss, and improved health. While detoxification can spell the difference between energy and fatigue, health and illness, not all cleanses or detox diets are created equally.  And,some programs are downright unhealthy.  I’m not a fan of the starvation programs and water fasts, preferring actual food instead.

Toxins disrupt the normal healthy flow within your body, leaving you feeling fatigued, sore and depressed.  They can also lead to serious illnesses, such as cancer, arthritis, diabetes and allergies.  There are literally thousands of toxins and harmful synthetic chemicals in your food, air, water, homes, and workplaces.  In the course of a day, you are exposed to toxic pesticides, herbicides, petrochemicals, industrial chemicals, food colors and additives, stress hormones and a host of other toxins that could be compromising your health.
I’m still amazed at the number of naysayers who tell me that detox isn’t necessary or doesn’t work–I’m sure I’ll hear from some of them in the comments.  I ask them why their body insists on detoxing every minute of every day.  Without ongoing detoxification, our bodies would deteriorate and, ultimately, die.  We need detoxification to live. By eating a healthier diet and following a better lifestyle, we are simply removing obstacles to allow our natural detoxification abilities to ramp up their ability to eliminate harmful substances and restore the body’s natural healing ability.

While your body is equipped to deal with some toxicity, it can be overburdened by the volume and type of toxins found in our modern world.  A good detoxification program helps eliminate toxins from your respiratory system, liver, gall bladder, kidneys and urinary tract, skin, fatty deposits (including cellulite), lymph and other parts of your body.  However, be aware that most detox plans only target the liver and colon, which is inadequate for great health.

Here are some of the essentials for a successful detox.  If you’re looking for more insight into cleansing all of these organ systems, check out my book, The 4-Week Ultimate Body Detox Plan. And, keep in mind, that if you have any serious health issues, you should work with a skilled natural health professional.  If you are pregnant, lactating, or diabetic, or taking essential medications, you’ll want to avoid a detox program. But, most of these essentials are suitable for anyone.

 1. Drink at least 8-10 cups of pure water throughout the day to prevent dehydration.  Dehydration is a chronic problem for most people.  Drinking plenty of pure water is especially important for anyone leading an active lifestyle, since significant amounts of fluid can be lost during exercise.  Add a squeeze of fresh lemon or lime to the water.

2.  Eat moderate amounts of fruit, the best food to keep your colon and lymphatic system–the system that cleans your tissues cleansed and moving properly.  When the lymphatic system is sluggish, pain or weight gain usually result.  Fruit often gets a bad rap thanks to many of the high protein diets, yet it is one of Mother Nature’s most powerful cleansing foods.  It’s best eaten on an empty stomach and in moderation if you’re trying to lose weight.

3.  Start lunch and dinner with a large green salad since it is full of enzymes to help your body with the digestion of your meals, instead of depleting your body’s owns supplies.  Also, leafy greens are powerhouses of vitamins, minerals, chlorophyll (the green color in plants that also helps cleanse your blood), and many phytochemicals–plant nutrients packed with a wide variety of healing abilities.

4.  Eat a small healthy snack every two to three hours to stabilize blood sugar.  Wild blood sugar fluctuations can deplete your energy, cause your body to gain weight, or depress your immune system.  Snacking throughout the day will help stabilize your blood sugar and your energy levels.  Raw, unsalted almonds make the perfect blood-sugar-stabilizing snack since they are packed with fiber and protein. As an added bonus, their rich in minerals like calcium and magnesium.

5.  Avoid eating sweets, synthetic sweeteners or foods sweetened with them during your cleanse.  Sugars depress your immune system for up to 6 hours.  Artificial sweeteners need to be processed by your liver, your body’s main detoxification organ, which takes plentiful amounts of energy.  Free up that energy for cleansing and healing.

6.  Be sure to fit some exercise into your day.  A minimum of twenty minutes of vigorous activity will get your circulation going, improve lymph flow, and increase energy.  Your lymphatic system is the equivalent of a street cleaning system within your body.  It sweeps up toxins from all your tissues.  If you experience swelling, cellulite, pain, or fatigue, your lymphatic system may not be keeping up the toxic load in your body.  Unlike the blood which has the heart to help it pump, the lymphatic system relies on exercise and deep breathing to move.

7.  Avoid margarine and foods made with hydrogenated fats or trans fats.  These toxic and unnatural foods make your body’s detox organs sluggish and require huge amounts of energy for digestion. They also lead to weight gain and many are known neurotoxins, that is, they attack the brain and nervous system, which may result in pain and inflammation, among other health issues.

8.  Avoid foods that contain synthetic colors, preservatives, and other additives. The liver expends massive energy trying to process these artificial substances.  By avoiding them, you are giving your liver a break so it can free up its energy.

9.  Eat plenty of veggies, preferably raw, steamed, or lightly sauteed.

10.  Cut back on animal protein during your cleanse since these foods tax the digestive system.  Lean organic meat or poultry or wild-caught fish in small amounts are fine.
Cleansing your body doesn’t have to be difficult or involve starvation.  With minimal effort and some simple dietary and lifestyle changes, you can help detoxify your body and start to feel better than ever.

Adapted with permission from The 4-Week Ultimate Body Detox Plan by Michelle Schoffro Cook, PhD.  For more health tips, news, and recipes, subscribe to my free e-newsletter World’s Healthiest News.

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

“หรือเราจะสมองเสื่อมเสียแล้ว?”


“หรือเราจะสมองเสื่อมเสียแล้ว?”

อาการหลง  ๆ ลืม  ๆ อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกวัย แล้วเมื่อไรจึงควรจะเป็นกังวล
เรื่องของความหลงลืมนั้น ตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันมักจะเป็นเรื่องธรรมดาในหมู่ผู้สูงวัย แต่ความธรรมดาก็อาจกลายเป็นเรื่องไม่ธรรมดาได้ หากอาการหลง ๆ ลืม ๆ นั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะสมองเสื่อม

นพ. เขษม์ชัย เสือวรรณศรี อายุรแพทย์ด้านประสาทวิทยา กล่าวกับ Better Health   ถึงอุบัติการณ์โดยทั่วไปของภาวะสมองเสื่อมว่าเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ โดยอายุ 65 ปี พบประมาณร้อยละ 8 อายุ 70 ปีพบมากประมาณร้อยละ 15 และสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงร้อยละ 50 ในผู้ที่มีอายุ 90 ปีขึ้นไป

ทำความเข้าใจกับภาวะสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นกลุ่มอาการผิดปกติซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมองหลายส่วนที่พบได้ในผู้สูง อายุโดยมีลักษณะเด่นได้แก่ ความจำที่แย่ลง นอกจากนี้ ยังอาจมีภาวะเสื่อมถอยของของทักษะต่าง ๆ อันเกิดจากการทำงานของสมองจนกลายเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต หรือประกอบกิจวัตรประจำวัน เช่น การใช้ภาษาและความเข้าใจภาษา เป็นต้น
นพ. เขษม์ชัยอธิบายว่า “สาเหตุของภาวะสมองเสื่อมอาจเกิดจากหลายโรคซึ่งมีทั้งที่สามารถรักษาให้หาย ขาด และรักษาไม่หายขาดในจำนวนผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 20 เป็นสมองเสื่อมชนิดที่รักษาหายขาด ส่วนอีกร้อยละ 80 ต้องรักษาแบบประคับประคอง”
สาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่อาจหายได้ ได้แก่ ภาวะเลือดออกในสมอง เนื้องอกในสมองบางชนิด การขาดวิตามิน บี12 โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น ไทรอยด์ และผลข้างเคียงจากการใช้ยา ส่วนสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ที่พบได้บ่อย และโรคอื่น ๆ ที่ทำให้สมองเสื่อมคล้ายอัลไซเมอร์อีก 5-6 โรค

การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม
เนื่องจากภาวะสมองเสื่อมอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ การวินิจฉัยจึงต้องทำอย่างละเอียดเพื่อแพทย์จะได้ทราบสาเหตุที่แท้จริงและ วางแผนการรักษาและดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
“แม้ปัญหาเรื่องความจำจะเป็นลักษณะเด่นของภาวะสมองเสื่อมในระยะแรกเริ่ม แต่การจะตัดสินว่าผู้ป่วยเข้ข่ายว่าสมองเสื่อมหรือไม่นั้น แพทย์จะประเมินปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย” นพ. เขษม์ชัยอธิบาย “เป็นต้นว่า ผู้ป่วยมีอาการมานานเท่าไร อย่างน้อย 6 เดือนแล้วหรือยัง และอาการของผู้ป่วยกลายเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่ นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะต้องมีปัญหาอย่างอื่นที่แสดงถึงการทำงานของสมองที่ลดลงด้วย อาจจะเป็นเรื่องการใช้ภาษา หรือทักษะบางอย่างที่เสื่อมลง”

ในการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม แพทย์จะซักประวัติร่วมกับการตรวจร่างกายเป็นหลัก โดยแพทย์อาจซักถามจากญาติหรือผู้ดูแล เนื่องจากในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่ามีความเปลี่ยนแปลงบางประการเกิดขึ้น แพทย์จำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจ ทำ MRI สมอง ประกอบกับการประเมินการทำงานของสมองเพื่อยืนยันถึงภาวะสมองเสื่อม 

“สาเหตุที่ต้องตรวจให้ละเอียดก็เพื่อทำการแยกโรคว่าภาวะสมองเสื่อมที่เกิด ขึ้นนั้นรักษาได้หรือไม่ และต้องรักษาอย่างไรเพื่อไม่ให้มองข้ามบางสาเหตุที่รักษาได้ ยกตัวอย่างเช่น ญาติพาผู้ป่วยมาพบ บอกว่าเป็นอัลไซเมอร์ แต่พอสอบถามปรากฏว่าสองสามวันก่อนยังปกติดีอยู่ แต่วันนี้จำใครไม่ได้เลย แบบนี้ไม่ใช่โรคอัลไซเมอร์แน่นอน แต่อาจเป็นภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งการรักษาก็ต้องไปเน้นรักษา ทั้งสมองเสื่อมและโรคหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เป็นต้น” นพ. เขษม์ชัยกล่าวเสริม 
เมื่อแน่ใจแล้วว่าผู้ป่วยมีภาวะสมองเสื่อม สิ่งที่แพทย์จะต้องทำต่อคือการระบุให้ได้ว่าเกิดจากโรคใด เพื่อเลือกยารักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

อัลไซเมอร์ สาเหตุใหญ่ของภาวะสมองเสื่อม
สาเหตุสำคัญของภาวะสมองเสื่อมชนิดที่ไม่สามารถรักษาได้ในผู้สูงอายุ เกิดจากโรคอัลไซเมอร์ถึงร้อยละ 60-80 โดยส่วนใหญ่ อาการของโรคจะปรากฏหลังอายุ 60-65 ปีไปแล้ว เว้นแต่ในผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งอาจเป็นได้ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่พบได้ไม่บ่อยนัก 
นพ. เขษม์ชัยอธิบายถึงสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ว่า “เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้าอะไมลอยด์ชนิดไม่ละลายน้ำ ซึ่งไปจับกับเซลล์สมอง เป็นผลทำให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลงจนถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองเริ่มจากในส่วนของความจำ การเรียนรู้ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรม”   
โรคอัลไซเมอร์แบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็นสามระยะ คือ ระยะแรก ระยะกลาง และระยะท้าย  
• ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยจนตนเองรู้สึกได้ และอาจเริ่มเครียด อารมณ์เสียง่าย และซึมเศร้า ระยะนี้คนรอบข้างต้องทำความเข้าใจให้มากเมื่อสังเกตได้ถึงความเปลี่ยนแปลง “ญาติส่วนใหญ่มักสงสัยว่า ผู้ดูแลควรทำอย่างไร เมื่อผู้ป่วยลืม พูดหรือคิดอะไรไม่ถูกต้อง ควรถามย้ำหรือแก้ไขเพื่อช่วยผู้ป่วยหรือไม่ อาจจะลองแก้ดูสักครั้ง หากไม่สำเร็จก็อย่าไปคาดคั้นหรือกดดันให้เกิดความเครียด และซึมเศร้า” นพ. เขษม์ชัยกล่าว
• ระยะกลาง ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลงอีก จำชื่อตนเอง หรือคนในครอบครัวไม่ได้ พฤติกรรมอาจเปลี่ยนไปมาก บางรายก้าวร้าวทำร้ายผู้ดูแล นพ. เขษม์ชัยเสริมว่า “ผู้ป่วยระยะนี้ต้องอาศัย การดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษเพราะเริ่มไม่ค่อยรู้เรื่อง สิ่งที่ต้องใส่ใจให้มากในช่วงนี้คือเรื่องความปลอดภัยของตัวผู้ป่วย เช่น ระวังผู้ป่วยเดินออกนอกบ้านเอง รวมทั้งเรื่องของมีคม เตาไฟ แก๊ส”
• ระยะท้าย ผู้ป่วยอาการแย่ลง ไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย “ผู้ป่วยระยะท้ายนี้สุขภาพแย่ลงมาก” นพ. เขษม์ชัยอธิบาย “ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สมองเสื่อมเป็นวงกว้างไม่พูด ร่างกายแย่ลง รับประทานอาหารได้น้อยลง ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ติดเชื้อได้ง่าย และเสียชีวิตในที่สุด”  

การรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ทำได้โดยการรักษาแบบประคับประคอง เนื่องจากโรคนั้นเกิดจากความเสื่อมของสมองซึ่งมักหยุดการดำเนินโรคไม่ได้ อย่างไรก็ตาม นพ. เขษม์ชัยเน้นว่า “การนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นก็จะช่วยยืดระยะเวลาการดำเนินโรค ได้ รวมทั้งช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการรักษา และยังเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

ปัจจุบันมีการวิจัยมากมายที่จะผลิตยารักษาให้อัลไซเมอร์หายขาด ซึ่งเชื่อว่า อาจจะมียาออกมาภายใน 5-10 ปี ข้างหน้า“  

สำคัญที่การดูแล
ผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยจะต้องเสียสละ และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตมากพอสมควร ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ
“ผมอยากฝากไว้ว่า ขอให้ทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้ดี อาจจะโดยการหาความรู้เพิ่มเติม หรือซักถามจากแพทย์ คุณจะได้ทราบว่าต้องเจอกับอะไรบ้าง ที่สำคัญ ต้องไม่ลืมที่จะดูแลตัวเองทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมต้องอาศัยความอดทนสูง ประกอบกับความอ่อนโยน ความรัก และความเอาใจใส่ ขอให้ระลึกเสมอว่าอาการ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ นั้นไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของผู้ป่วย นอกจากนี้ ควรมีผู้ดูแลอย่างน้อยสองคน สลับสับเปลี่ยนกันดูแล เพื่อให้อีกคนได้ผ่อนคลาย และมีเวลาพักผ่อนซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายครับ”  นพ. เขษม์ชัยกล่าวในตอนท้าย

ดูแลสมองของคุณวันนี้

แม้ภาวะสมองเสื่อมบางชนิดไม่อาจป้องกันได้แต่การดูแลที่ดีอาจช่วยให้สุขภาพสมองของคุณดีกว่า ในระยะยาว
• ควบคุมน้ำหนัก เพราะความอ้วนสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังหลายชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อม
• เลือกรับประทานอาหารเพื่อบำรุงสมอง อาทิ กรดโอเมก้า 3 ในรูปดีเอชเอที่ช่วยปกป้องกรดไขมันที่หุ้มเซลล์ประสาท
• นอนหลับให้มากพอในแต่ละวัน
• มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่เสมอ
• ลองฝึกเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำอะไรที่ขัดกับชีวิตประจำวัน เช่น รับประทานอาหารด้วยมือซ้าย 
• ออกกำลังกายแบบแอโรบิควันละประมาณ 30 นาที อย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์

เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย อ. ศัลยา คงสมบูรณ์เวช
นักกำหนดอาหารขึ้นทะเบียนวิชาชีพจากสหรัฐอเมริกา จากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์

คุณทราบหรือไม่?
ผู้สูงอายุบางรายมีอาการเสื่อมถอยด้านความจำ เพ้อ สับสน และประสาทหลอน คล้ายกับภาวะสมอง เสื่อมทุกประการ แต่แท้จริงแล้วเป็นผลมาจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งประเมินได้จากการทดสอบทางประสาทจิตเวช และสามารถรักษาได้ผลดี

10 อาการอัลไซเมอร์ที่ต้องสังเกต
1. หลงลืมบ่อย ๆ จนน่าเป็นห่วง    
2. นึกถึงสิ่งที่ได้ทำไปแล้วไม่ออก    
3. นึกคำพูดไม่ออก และใช้คำอื่นแทนทำให้ฟังไม่เข้าใจ    
4. หลงทางกลับบ้านไม่ถูก    
5. แต่งตัวไม่ถูกกาลเทศะ หรือปล่อยเนื้อปล่อยตัวไม่สนใจทำความสะอาด    
6. บวกลบเลขง่าย ๆ ไม่ได้หรือจำตัวเลขไม่ได้    
7. เก็บข้าวของผิดที่ผิดทางอย่าง ไม่เหมาะสม เช่น เอารองเท้าเก็บในตู้เย็น    
8. อารมณ์แปรปรวนอย่างไม่มีเหตุผล    
9. บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว    
10. เฉื่อยชา ขาดชีวิตชีวา

Source: http://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2555/senior-health/dementia?utm_source=newsletter-11-b-2012&utm_medium=newsletter&utm_campaign=Bumrungrad-thai

สูงวัยอย่างไร้โรค


สูงวัยอย่างไร้โรค
รู้จักและเข้าใจโรคที่มาพร้อมกับวัยที่เพิ่มขึ้นเพื่อชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ

การเพิ่มขึ้นของจำนวน สัดส่วนประชากรสูงอายุ และอายุเฉลี่ยของประชากรนั้นเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศไทยเองก็เช่นกัน จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปีพ.ศ. 2553 พบว่ามีเรามีประชากรที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไปมากถึง 11% ของจำนวนประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 8 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้น จากปี พ.ศ. 2550 ถึงเกือบ 1 ล้านคน ขณะเดียวกัน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้เปิดเผยงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าอายุเฉลี่ยของคนไทยนั้นเพิ่มขึ้นจาก เดิมคือ 60 ปี เป็น 73 ปี และมีแนวโน้มจะถึง 80 ปีในอีกไม่ถึงสิบปีข้างหน้า

การมีชีวิตที่ยืนยาวอาจเป็นเรื่องน่ายินดี แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าช่วงเวลาที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นช่วงชีวิตที่มี คุณภาพ ปราศจากโรคร้ายรุมเร้า และไม่มีอาการเสื่อมสุขภาพใด ๆ ที่รังแต่จะทำให้ชีวิตที่ยืนยาวนั้นหมดความสุข 

Better Health ฉบับนี้มีคำตอบจาก พญ. ลิลลี่ ชัยสมพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ซึ่งจะมาให้คำแนะนำในการป้องกันและดูแลโรคที่มักมาพร้อมกับวัยที่มากขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงวัย 

เริ่มสูงวัยเมื่อไหร่กัน?

โดยทั่วไปแล้ว ผู้สูงวัยหมายถึงผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่สำหรับแพทย์ การสูงวัยกลับหมายถึงสภาพความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย 

“ร่างกายคนเราชราลงไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นจะดูที่อายุอย่างเดียวคงไม่ได้ ส่วนใหญ่การเสื่อมถอยของร่างกายมักจะเริ่มเมื่ออายุย่างเข้า 40 แต่แน่นอนว่าความเร็วช้าของการเสื่อมถอยในแต่ละคนย่อมต่างกัน ยิ่งเราดูแลตัวเองดีแค่ไหน ความสึกหรอที่มาพร้อมกับวัยก็จะยิ่งช้าลงไปเท่านั้น” พญ. ลิลลี่กล่าว

ทั้งนี้ โรคภัยไข้เจ็บดูจะเป็นความเสื่อมถอยที่เห็นได้ชัดที่สุด ซึ่งพญ. ลิลลี่อธิบายว่าเราสามารถแบ่งกลุ่มของโรคในผู้สูงวัยออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ นั่นคือ กลุ่มของโรคที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือด และกลุ่มของโรคที่เกิดเฉพาะในผู้สูงวัยเท่านั้น เช่น โรคกระดูกพรุน และภาวะสมองเสื่อม

โรคในหลอดเลือด

กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือด เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองนั้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจากอายุโดยตรง แต่เป็นผลมาจากการละเลยการดูแลสุขภาพเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมหรือการขาดการออกกำลังกาย จนทำให้เกิดการสั่งสมของน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ซึ่งการลดความเสี่ยงของโรคกลุ่มนี้สามารถทำได้โดยการไม่รับประทานอาหารจำพวก แป้งหรือไขมันมากเกินไปและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

อย่างไรก็ตาม พญ. ลิลลี่แนะนำว่าไม่ควรละเลิกไขมันหรืออาหารจำพวกเนื้อสัตว์ไปเสียหมด เพราะนอกจาก ไขมันจะเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกายแล้ว โปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ยังเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่ สึกหรอของร่างกายในวัยที่ล่วงเลยได้เป็นอย่างดี

“อาหารที่ผู้สูงอายุมักมองข้ามไปคืออาหารจำพวกโปรตีน เพราะคิดว่าอายุก็มากแล้วไม่อยากรับประทานเนื้อสัตว์ซึ่งเคี้ยวยากย่อยยาก แต่ความจริงคือกล้ามเนื้อหรือเซลล์สมองที่ฝ่อลงนั้นต้องการโปรตีนมาบำรุง หากไม่เพียงพอก็จะทำให้สุขภาพถดถอยเร็วยิ่งขึ้น” พญ. ลิลลี่กล่าว

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุที่มีอาการของโรคเหล่านี้ควรเลือกรับประทานโปรตีนจากถั่วหรือปลา แทนที่จะเป็นเนื้อ หมู ไก่ เพราะใยอาหารจากถั่วจะช่วยในเรื่องการขับถ่าย ทำให้ร่างกายระบายคอเลสเตอรอล และจัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ส่วนปลาก็มีไขมันที่เรียกว่าโอเมก้าสาม ซึ่งเป็นไขมันดีที่เชื่อว่าสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วย 

โรคของกระดูก
อายุที่มากขึ้นส่งผลให้ความหนาแน่นของกระดูกเบาบางลงจนเปราะหักได้ง่าย และกลายเป็นโรคกระดูกพรุนในที่สุด พญ. ลิลลี่แนะนำให้ผู้หญิงระวังโรคนี้เป็นพิเศษ เพราะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย 

“โดยธรรมชาติแล้วผู้หญิงมีกระดูกที่บางกว่าผู้ชายอยู่แล้ว นอกจากนี้ผู้หญิงยังมีระยะหมดประจำเดือน ซึ่งฮอร์โมนเพศที่เป็นสารช่วยบำรุงกระดูกจะขาดหายไปอย่างกระทันหัน ทำให้กระดูกบางลงอย่างรวดเร็ว ในผู้ชายนั้น ฮอร์โมนเพศจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ ตามวัย หรืออาจไม่ลดลงเลยในบางคน” พญ. ลิลลี่ อธิบาย

อันตรายของโรคกระดูกพรุนคือการที่โรคนั้นแทบไม่มีสัญญาณบ่งชี้เลยผู้ป่วย ส่วนใหญ่จึงมักไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคอยู่ทั้ง ๆ ที่กระดูกอาจจะบางไปมากแล้ว จนกระทั่งเกิดหกล้มกระดูกหักขึ้นมา ดังนั้น การบำรุงกระดูกตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะช่วยลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่าง ดี

ในการเสริมสร้างสุขภาพกระดูกให้แข็งแรงนั้น ผู้สูงอายุควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อยประมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งคนส่วนใหญ่มักได้รับไม่ถึง แม้ว่าจะเน้นรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่าง นม ถั่ว ผักใบเขียว เต้าหู้ ปลา แล้วก็ตาม นั่นเป็นเพราะว่าคนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงวัยมักไม่นิยมดื่มนมซึ่งเป็น แหล่งแคลเซียมสำคัญ ซึ่งในกรณีนี้ แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานอาหารเสริมแคลเซียมเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม การรับประทานแคลเซียมเสริมอาจมีปัญหาในเรื่องการดูดซึม โดยเฉพาะแคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งมีอัตราการดูดซึมเพียงร้อยละ 40 โดยประมาณ ทางที่ดีจึงควรแบ่งรับประทานครั้งละประมาณ 500-600 มิลลิกรัม และรับประทานพร้อมมื้ออาหารซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดี ขึ้น 

ผู้สูงวัยกับการใช้ยา

นอกเหนือจากโรคที่มาพร้อมกับวัยแล้ว ปริมาณยาที่ผู้สูงวัยส่วนใหญ่รับประทานก็ดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นด้วย โดยสาเหตุมักมาจากการรับยาจากหลายแหล่ง เช่น จากแพทย์หลายคนที่รักษาต่างโรคกัน จากญาติพี่น้อง ที่เป็นห่วงเป็นใย และจากการซื้อยามารับประทานเอง ทั้งยารักษาโรค วิตามิน อาหารเสริม ยาไทย ยาจีน ซึ่งผู้สูงวัยส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่ายาเหล่านั้นรับประทานด้วยกันได้หรือไม่ เรื่องนี้พญ. ลิลลี่แนะนำว่าโดยหลักการแล้วควรรับประทานยาให้น้อยที่สุด และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

“ผู้สูงอายุควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญซึ่งอาจเป็นแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อดูยาทั้งหมดว่าชนิดใดจำเป็นหรือไม่ และสามารถรับประทานด้วยกันได้หรือเปล่า นอกจากนี้ ทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่ารับประทานยาอะไรอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อน” พญ. ลิลลี่แนะนำ

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุควรระมัดระวังการรับประทานยาบางชนิดเป็นพิเศษ เช่น ยาแก้อักเสบจำพวก NSAIDs แอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน เนื่องจากมีผลข้างเคียงรุนแรง ทั้งกัดกระเพาะ ทำให้ความดันโลหิตสูง และมีผลต่อตับไต ผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาจึงควรอยู่ในการกำกับดูแลของแพทย์และไม่ควรใช้ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ตัวยาอีกกลุ่มหนึ่งที่ควรระวังคือยาจำพวกยาแก้หวัด แก้แพ้ และยานอนหลับบางชนิด ซึ่งมีผลต่อสมอง หากได้รับมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดอาการมึนงง หรือง่วงจนหกล้มบาดเจ็บได้ ยิ่งหากเป็นยานอนหลับชนิดออกฤทธิ์รุนแรงอย่างไดอาซีแพมนั้น หากรับประทานติดต่อกันนาน ๆ ก็อาจทำให้สมองฝ่อ หรือมีอาการซึมเศร้าได้

โรคส่วนใหญ่ที่เกิดในผู้สูงวัยนั้น ยากที่แพทย์จะรักษาอย่างมีประสิทธิภาพได้ หากปราศจากความร่วมมือจากผู้ป่วยในการดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัดด้วยการรับ ประทานอาหารให้ถูกต้องเหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้แล้ว การมีสุขภาพจิตที่ดีก็มีส่วนช่วยให้การจัดการดูแลโรคทำได้ง่ายขึ้น ซึ่ง พญ. ลิลลี่ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า บุตรหลานและผู้ใกล้ชิดต้องหมั่นดูแลเอาใส่ใจผู้ใหญ่ในบ้าน เพื่อให้ผู้สูงวัยมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพและมีความสุข

ปัสสาวะ เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่

ปัญหาการปัสสาวะเล็ด หรือปัสสาวะไม่ออก เป็นอีกอาการหนึ่งที่มักเกิดกับผู้สูงอายุโดยในผู้ชายนั้น เกิดจากการที่ต่อมลูกหมากโตขึ้นแล้วไปบีบท่อปัสสาวะ ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะไม่ออก ต้องใช้เวลาเบ่งนาน และอาจถึงขั้นปัสสาวะเองไม่ได้เลย ซึ่งอาการนี้สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดขูดต่อมลูกหมากบางส่วนออก แต่หากเป็นไม่มาก แพทย์มักจะใช้วิธีให้ยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อช่วยให้ต่อมลูกหมากคลายตัวลงก่อน

ในกรณีของผู้หญิงจะเป็นไปในทางตรงกันข้าม นั่นคือไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อที่ เริ่มหย่อนยานโดยเฉพาะกล้ามเนื้ออุ้มเชิงกราน ทำให้ไม่สามารถปิดกั้นท่อปัสสาวะได้ วิธีแก้ไขเบื้องต้นอาจทำได้โดยการฝึกขมิบกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอดให้ได้ ประมาณร้อยครั้งต่อวัน ก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้นและลดอาการปัสสาวะเล็ดลง ในกรณีที่มีอาการมาก แพทย์อาจแนะนำให้แก้ไขด้วยการผ่าตัด

Source: http://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2555/senior-health/healthy?utm_source=newsletter-11-b-2012&utm_medium=newsletter&utm_campaign=Bumrungrad-Thai

ออกกำลังกาย เรื่องจำเป็นของคนวัยเกษียณ

ออกกำลังกาย เรื่องจำเป็นของคนวัยเกษียณ

คุณภาพชีวิตที่ดีเกิดขึ้นได้ทุกวัย หากเริ่มออกกำลังกายตั้งแต่วันนี้

ไม่ว่าใครก็คงทราบถึงคุณประโยชน์ของการออกกำลังกาย แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายเสียเมื่อไร โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มักอ้าง ‘เหตุผล’ มากมายที่ทำให้ ‘ออกกำลังกายไม่ได้’ ไม่ว่าจะเป็นการเดินไม่ถนัด เหนื่อย ข้อติด มีโรคประจำตัว เวียนศีรษะ ปวดขาปวดเข่า ฯลฯ 

อันที่จริง วัยเกษียณควรจะเป็นช่วงเวลาที่มีความสุข เพราะปลอดจากภาระต่าง ๆ แล้ว แต่ความจริงคือ หลายคนต้องเวียนเข้าออกโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัว บางรายซึมเศร้า นั่งนอนเฉย ๆ เพราะความเจ็บป่วยรุมเร้า แต่เชื่อหรือไม่ว่า ปัญหาสุขภาพที่บั่นทอนความสุขในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุนั้นอาจบรรเทา หรือทำให้ดีขึ้นได้ด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมซึ่ง Better Health มีความเห็นจาก นพ. สุธี ศิริเวชฎารักษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด มาได้เรียบเรียงให้คุณได้อ่านกัน 

การออกกำลัง คือความจำเป็น

แน่นอนว่าการออกกำลังกายเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหลายทางแต่สำหรับผู้สูงอายุ ที่เคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวกแล้ว การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความพยายามอยู่ไม่น้อย “การจูงใจให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายนั้นต้องให้ผู้ป่วยทราบถึงผลดีของการออก กำลังกาย และผลเสียของการขาดการออกกำลังกาย” นพ. สุธีเริ่ม

อธิบาย “ยิ่งผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวแล้ว ต้องบอกเลยครับว่าปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ไม่ได้ทำให้คุณออกกำลังกายไม่ได้นะครับ แต่เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าคุณจำเป็นต้องออกกำลังกายแล้ว หากยังอยากที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีสุขภาพดี อยากไปไหนได้ไป อยากทำอะไรได้ทำ และสามารถดูแลตัวเองได้ในวัยเกษียณครับ” 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุประสบปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายมี ตั้งแต่ อายุที่เพิ่มขึ้น โรคประจำตัวของแต่ละคน อาทิโรคเบาหวานที่ส่งผลถึงหลอดเลือดส่วนปลาย รวมทั้งการมองเห็นโรคไขข้ออักเสบ ฯลฯ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อซึ่งอาจเป็นผลมาจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ประกอบกับขาดการออกกำลังกายส่งผลให้กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแอลง และปัญหาเรื่องการทรงตัว อาการวิงเวียน หน้ามืด ทรงตัวลำบาก มักเกิดกับผู้สูงวัยที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคพาร์กินสัน  เป็นต้น

นพ. สุธีเน้นว่า การออกกำลังกายไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นความจำเป็นสำหรับทุกคนที่อยากมีสุขภาพ ดีไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด “เหตุที่ผมบอกว่าการออกกำลังกายเป็นความจำเป็นนั้นก็เพราะว่าการออกกำลังกาย มีผลดีต่อร่างกายหลายอย่าง ในผู้สูงอายุการออกกำลังจะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยเรื่องการทรงตัวเพิ่มสมรรถภาพของหัวใจและปอด ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนเป็นโรคอะไร เช่น ถ้าเป็นโรคข้อ เดิมอาจจะมีข้อติดอยู่ การออกกำลังกายที่เน้นเรื่องการเคลื่อนไหวของข้อก็ช่วยให้ดีขึ้นได้ รวมทั้งผู้ป่วยโรคเบาหวานและไขมันสูง ก็จะได้ประโยชน์โดยตรงเพราะถ้าเน้นออกกำลังกายแบบแอโรบิค ร่างกาย ก็จะเผาผลาญ

อาหารดีขึ้น ส่งผลให้น้ำตาลและไขมันในเลือดลดลงลดการใช้ยาลงได้จนกระทั่งสามารถหยุดยาได้ในบางราย” นพ. สุธีกล่าว 

ออกกำลังให้ถูก ทำอย่างไร

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุมีความแตกต่างจากการออกกำลังกายในคนหนุ่มสาวมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว นพ. สุธีเน้นว่า“ข้อควรจำในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ คือ ต้องห้ามออกแรงมากหรือเคลื่อนไหวเร็ว ผมมักจะแนะนำผู้ที่มาปรึกษาว่าให้เน้นออกกำลังกายเป็นส่วน ๆ ไปครับ โดยต้องยึดหลักไว้ว่าทำช้า ๆ ต่อเนื่อง และมีแรงต้านหรือแรงกระแทกน้อย”

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุจะเป็นไปเพื่อเน้นเสริมสร้างการทำงานของร่างกาย ดังต่อไปนี้

• เพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อ ทำได้โดยการเคลื่อนไหวข้อต่อต่าง ๆ ให้ได้สุดพิสัยการเคลื่อนไหว เช่น ข้อไหล่ จากแขนแนบอยู่ข้างลำตัวก็ค่อย ๆ ยกขึ้นเหนือศีรษะให้สุด ทำต่อเนื่องข้อละประมาณ 5-10 ครั้ง

• เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายแบบนี้ คือการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เน้นพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่จะช่วยเรื่องการเคลื่อนไหว เช่น กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อหลัง เช่น ยกน้ำหนักที่ไม่หนักมากนัก ดันกำแพง หรือการยกแขน ยกขา ในผู้สูงอายุ น้ำหนักของแขนขาก็ช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อได้แล้ว
• เพิ่มความยืดหยุ่นและการทรงตัว เป็นการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ จนสุด หรือเกินกว่าพิสัยการเคลื่อนไหวเล็กน้อยเพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อ ร่วมกับมีการถ่ายเทน้ำหนักไปมาเพื่อเพิ่มการทรงตัว ลดโอกาสในการหกล้ม บาดเจ็บ หรือปวดกล้ามเนื้อ ตัวอย่างการออกกำลังกายชนิดนี้ ได้แก่ การรำมวยจีน โยคะ โดยเลือกท่าง่าย ๆ
• เพิ่มสมรรถภาพของหัวใจและปอด หรือที่เรียกว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ อย่างต่อเนื่องให้หัวใจทำงานถึงระดับหนึ่งที่เรียกว่า Target Heart Rate (TGR) หรืออัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย ซึ่งในผู้สูงอายุ TGR จะต่ำกว่าในคนหนุ่มสาวโดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60-70 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด (Maximum Heart Rate) และคงที่อยู่ประมาณ 15 นาที และควรทำให้ได้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือวันเว้นวันโดยประมาณ

image-b.jpg

นพ. สุธีเสริมอีกว่า “การจัดหมวดหมู่การออกกำลังกายเช่นนี้เพื่อให้เราเห็นชัดว่ามีอะไรบ้างที่จำ เป็น ซึ่งการออกกำลังแต่ละครั้งจะได้ประโยชน์หลายอย่างร่วมกัน อาทิ การรำมวยจีน ได้มีการเคลื่อนไหวของข้อ ได้ใช้กล้ามเนื้อจากการยกแขนขา เป็นการออกกำลังกายที่ไม่มีแรงต้านมีการถ่ายเทน้ำหนักไปมา และหากทำได้นานพอก็ได้ประโยชน์กับหัวใจด้วย”

อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุบางรายอาจมีข้อจำกัด เช่น มีปัญหาเรื่องข้อเข่าหรือมีความเสี่ยงมากต่อการหกล้มบาดเจ็บ ก็อาจปรับเปลี่ยนเป็นการออกกำลังในท่านั่งหรือนอนได้ และแม้จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ  แต่ก็ไม่ใช่ไม่ยอมออกกำลังกายเลย ชีวิตหลังวัยเกษียณจะเป็นชีวิตที่เปี่ยมสุข และสุขภาพดีอย่างยั่งยืนหรือไม่ คุณเลือกเองได้ แล้วอย่างนี้คุณพร้อมจะเริ่มชีวิตหลังวัยเกษียณแล้วหรือยัง

คุณหักโหมเกินไปหรือเปล่า


การออกกำลังกายเป็นเรื่องจำเป็นแต่การหักโหมเกินไปนั้นอาจส่งผลร้ายต่อ สุขภาพของผู้สูงอายุ วิธีการประเมินความหนักหน่วงในการออกกำลังกายอย่างง่าย ๆ คือการบอกด้วยความรู้สึกว่าเหนื่อยมากน้อยเพียงใดด้วย Borg RPE Scale หรือ Rating of Perceived Exertion (RPE) ที่ให้คะแนนความเหนื่อยตามความหนักหน่วงในการออกกำลังกายไว้ตั้งแต่ระดับ 6-20 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
table-A-(1).jpg



ฝากไว้ให้ระวัง!


หากคุณเป็นผู้สูงอายุและคิดจะเริ่มออกกำลังกาย มีหลายเรื่องที่คุณต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ดังต่อไปนี้
• รู้จักตัวเองว่าเป็นโรคอะไร และมีความเสี่ยงอย่างไร อย่าลืมปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสม
• เริ่มออกกำลังกายจากเบา ๆ ในเวลาสั้น ๆ ก่อน แล้วค่อยเพิ่มความหนักและระยะเวลาขึ้นจนสามารถออกกำลังกายได้นานถึง 15-30 นาที
• สวมใส่เสื้อผ้าและรองเท้าที่เหมาะสมคล่องแคล่วเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นขณะออกกำลัง
• จัดสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม สถานที่ออกกำลังกายควรเป็นพื้นที่
• เรียบโล่ง มั่นคง มีอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวจัดเกินไป
• เลือกรูปแบบการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เน้นชนิดที่ช้า ไม่มี
• แรงกระแทกต่อข้อ หรือแรงต้าน และไม่หนักหน่วงเกินไป เช่น การเดินขี่จักรยาน ว่ายน้ำ
• ห้ามกลั้นหายใจหรือเบ่งไม่ว่าจะออกกำลังกายอะไรก็ตาม เพราะจะเพิ่มความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลาย ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักโอกาสที่ความดันจะสูงขึ้นจนเป็นอันตรายมีสูงมาก 
• อาการปวดเมื่อยหลังออกกำลัง (Post Exercise Soreness) อาจเกิดขึ้นได้ พักและปรับรูปแบบการออกกำลังให้เบาลงแล้วจึงค่อยกลับไปออกกำลังกายตามเดิม
• อบอุ่นร่างกายทุกครั้งประมาณ 10 นาที เพื่อเตรียมกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นก่อนออกกำลังกาย และอย่าหยุดทันทีทันใดภายหลังออกกำลังกาย ให้เวลาในการ “คูลดาวน์” ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจและสมอง ซึ่งจะลดอาการปวด เวียนศีรษะลงได้
• อย่าออกกำลังกายจนรู้สึกว่าเหนื่อยเกินไป สังเกตการหายใจว่าเร็วเกินไปหรือไม่ พูดฟังรู้เรื่องหรือไม่
• หากมีอาการผิดปกติระหว่างออกกำลังกาย เช่น หายใจขัด เจ็บหน้าอกหรือเวียนศีรษะต้องหยุดทันที

Source: http://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2555/senior-health/exercise?utm_source=newsletter-11-b-2012&utm_medium=newsletter&utm_campaign=Bumrungrad-thai

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Best, Worst Breakfasts for Your Health

By Lisa Collier Cool Nov 13, 2012


Fast-food breakfast sandwiches could be “a time bomb in a bun”—and eating even one fat-laden morning meal has immediate adverse effects on your arteries, according to a new study presented at the Canadian Cardiovascular Congress meeting in Toronto.

A high-fat diet is linked to increased risk for atherosclerosis (narrowing of arteries due to plaque deposits), but the study suggests that damage that could lead to a heart attack or stroke may start sooner than was previously thought.

Just one day of eating a fat-laden breakfast sandwich–such as egg, cheese and ham sandwich on a bun – and "your blood vessels become unhappy," said Heart and Stroke Foundation researcher Dr. Todd Anderson, director of the Libin Cardiovascular Institute of Alberta and head of cardiac science at the University of Calgary in a statement.

The study measured blood flow through the forearm in 20 healthy people (average age 23). The researchers mentioned that the sandwich used in the study contained ham, egg, and cheese but did not name the restaurant from which it came. The goal was to reveal the risks of eating a general type of widely available breakfast sandwich, not to point the finger at specific restaurant. The test was done twice: once on a day when they’d eaten two fast-food breakfast sandwiches of a type that available anywhere in the US or Canada, and again on another day when they’d fasted. The sandwiches contained a whopping 50 grams of fat and 900 calories.

7 Warning Signs of A Heart Attack

Impaired Blood Flow Two Hours After Meal

Compared to volunteers who skipped breakfast, those who consumed the fatty sandwiches showed impaired blood flow in their forearms two hours after the greasy morning meal. That’s because their vessels were less able to dilate (widen) and deliver oxygenated blood to the heart.

While the effects from a single meal were temporary, over time such arterial changes could set the stage for a heart attack or stroke, the researchers report. They used a test called velocity time integral that measures how much blood flow can increase after a brief interruption (compressing the arm with a blood pressure cuff). The higher the velocity, the “happier” the blood vessels are.

While one cheesy sandwich isn’t going to do lasting damage, the researchers say that their results highlight the importance of limiting fat, cholesterol, calories, and salt to prevent heart attacks and strokes. A junk-food diet has also been linked to increased risk for dementia, a memory-robbing disorder that has been called “type 3 diabetes,” as I reported recently.

Watch Out for These Alzheimer's Warning Signs

What’s the Worst Breakfast of All?

Whether you’re looking to slim down, build muscle, train for a marathon, or just protect your health, breakfast really is the most important meal of the day. And a fast-food morning meal is not the worse choice. Instead, the unhealthiest option is not eating a morning meal at all.

Not only do people who skip their morning meal—or begin the day with only a cup of coffee—have less energy, worse moods, and poorer memory those who eat breakfast, studies show, but they also face some serious health risks. First of all, they’re up to 450 percent more likely to become obese, which in turn boosts risk for a wide range of ailments, including cardiovascular disease—the leading killer of Americans—gout, joint problems, and even some forms of cancer.

A 2012 study published in American Journal of Clinical Nutrition also reports that people who regularly skip breakfast have a 21 percent higher risk for type 2 diabetes. The researchers tracked about 29,000 men for 16 years and found that the increased risk remained even when body mass index was into account. Scientists suspect that a morning meal helps keep blood sugar levels stable during the day.

What’s the Healthiest Breakfast?

The right breakfast not only reduces risk for overeating later in the day, but also revs up metabolism, fuels your body and brain, and helps you maintain a healthy weight. For example, 80 percent of participants in the ongoing National Weight Control Registry study (which tracks more than 4,000 people who have dropped 30 or more pounds and kept them off for a year or longer) eat breakfast regularly.

Nutritionists advise including both lean protein and fiber in your morning meal, such as whole-grain unsweetened or low-sugar cereal mixed with non-fat yogurt, low-fat milk, or soy milk and topped with fresh fruit. Researchers at University of Texas at El Paso report that eating a filling breakfast helps people consume an average of 100 fewer calories per day, enough to add up to ten-pound weight loss over a year.

The Breakfast Food that Fights Belly Fat

Another study linked having whole-grain cereal for breakfast with reduced levels of cortisol, a stress hormone linked to both weight gain and a tendency to accumulate belly fat. A large waistline is the leading warning sign of metabolic syndrome, which quintuple risks for type 2 diabetes and triple it for heart attack.
As I reported recently, 95 percent of Americans don’t eat the recommended three ounces of whole grains a day, which you can get from a slice of whole-wheat bread, a 6-inch whole-grain corn tortilla, or a serving of cereal. The health benefits of whole grain include:
  • Longer life. A high-fiber diet can cut risk of death from cardiovascular causes by nearly 60 percent, according to a recent nine-year study of nearly 400,000 people ages 50 and older.
  • A healthier heart. Soluble fiber in oatmeal and out bran reduces LDL “bad,” cholesterol and total cholesterol.
  • Weight loss. Whole grains digest more slowly than refined grains, which keeps blood sugar levels stable rather than stimulating insulin. 
Foods that Boost Your Immune System

Source: http://health.yahoo.net/experts/dayinhealth/best-and-worst-breakfasts-your-health