วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

7 Easy Ways to Lose Weight Without Starving or Breaking a Sweat


By Liz Vaccariello, Editor-in-Chief, Prevention

Weight loss requires two things: burning calories through exercise and cutting them through smart food choices and portion control. In theory, you could create a calorie deficit by spending hours at the gym, but that's not realistic-or much fun. And who wants to live on lettuce leaves? Instead, try these seven everyday moves to drop pounds effortlessly.

1. Fidget
James Levine, MD, of the Mayo Clinic in Rochester, MN, has spent a decade studying the role that everyday movement, or NEAT (nonexercise activity thermogenesis), plays in metabolism. His discovery: People who tap their feet, prefer standing to sitting, and generally move around a lot burn up to 350 more calories a day than those who sit still. That adds up to nearly 37 pounds a year!

2. Keep most meals under 400 calories
Study after study recommends spacing out your meals at regular intervals and keeping them all about the same size. Eating meals at regular intervals has been linked to greater calorie burning after eating, better response to insulin, and lower fasting blood cholesterol levels. When you eat regular meals throughout the day, you're less likely to become ravenous and overeat.

3. Take yourself off cruise control
Increase the intensity of your everyday tasks, from vacuuming to walking the dog, recommends Douglas Brooks, an exercise physiologist and personal trainer in Northern California. "Turn on some music, add in some vigorous bursts, and enjoy the movement," he says.

4. Drink 8 glasses of water per day
Water is not just a thirst quencher--it may speed the body's metabolism. Researchers in Germany found that drinking two 8-ounce glasses of cold water increased their subjects' metabolic rate by 30%, and the effect persisted for 90 minutes. One-third of the boost came from the body's efforts to warm the water, but the rest was due to the work the body did to absorb it. "When drinking water, no calories are ingested but calories are used, unlike when drinking sodas, where additional calories are ingested and possibly stored," explains the lead researcher, Michael Boschmann, MD, of University Medicine Berlin. Increasing water consumption to eight glasses per day may help you lose about 8 pounds in a year, he says, so try drinking a glass before meals and snacks and before consuming sweetened drinks or juices.

5. Step it up--and down
Climbing stairs is a great leg strengthener, because you're lifting your body weight against gravity. In addition to taking the stairs at every opportunity, try stepping up and down on the curb while you're waiting for the bus or filling your gas tank, says Brooks.

6. Use grocery bags as dumbbells
Letting someone else load your groceries or carry your suitcase is an opportunity missed for strengthening and calorie burning, says certified coach Beth Rothenberg, who teaches a class for fitness professionals at UCLA. "Carry your groceries, balanced with a bag in each hand, even if you have to make several trips," she says. "And pack two smaller suitcases instead of one big one, so you can carry them yourself."

7. Eat 4 g of fiber at every meal
A high-fiber diet can lower your caloric intake without making you feel deprived. In a Tufts University study, women who ate 13 g of fiber or less per day were five times as likely to be overweight as those who ate more fiber. Experts see a number of mechanisms through which fiber promotes weight loss: It may slow down eating because it requires more chewing, speed the passage of food through the digestive tract, and boost satiety hormones. To get 25 g of fiber a day, make sure you eat six meals or snacks, each of which contains about 4 g of fiber. For to-go snacks, buy fruit; it's handier than vegetables, so it's an easy way to up your fiber intake. One large apple has just as much fiber (5 g) as a cup of raw broccoli.

Source: http://health.yahoo.com/featured/78/7-easy-ways-to-lose-weight-without-starving-or-breaking-a-sweat/

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท



ข้อมูลโดย : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ , Updated: 22/12/2009

สารพันวันละโรค วันนี้จึงขอเริ่มจากการแนะนำให้คุณผู้อ่านรู้จัก หมอนรองกระดูก อวัยวะรูปร่างคล้ายหมอนหนุนศีรษะ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1 นิ้วเศษๆ และหนาราว 1 เซนติเมตร เชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ตั้งแต่คอไปจนถึงก้นกบ ทำหน้าที่รองรับแรงกดจากกระดูกสันหลังทั้งหมด

หมองรองกระดูก ยังมีไส้ด้านในอ่อนนุ่มอยู่ตรงกลาง เรียกว่า นิวเคลียส พัลโพสุส ในวัยเด็กไส้นุ่ม ๆ นี้จะมีลักษณะคล้ายเจล แต่จะแห้งลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้คุณสมบัติการยืดหยุ่นลดลงและปริแตกฉีกง่ายตามวัยที่มากขึ้น เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ด้วยความที่อวัยวะส่วนนี้อยู่ใกล้เส้นประสาท เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังแตกเคลื่อนจึงทำให้ นิวเคลียส พัลโพสุส ถอยหลังออกมากดทับเส้นประสาท เกิดอาการปวดร้าวตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ รู้สึกปวดหลัง ขา หรือแขน

โอกาสที่หมอนรองกระดูกสันหลังจะเคลื่อนทับเส้นประสาทนั้นเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ หากคุณเคลื่อนไหวร่างกายผิดวิธี ตกจากที่สูง ลื่นล้มหลังกระแทกพื้น มีน้ำหนักตัวมากจนทำให้กระดูกสันหลังต้องแบกรับน้ำหนักมากเกินไป อายุที่มากขึ้นทำให้เกิดความเสื่อม ขาดการออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างจำกัด เช่น นั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ รวมทั้งภาวะตึงเครียด

สำหรับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจะรุนแรงมากขณะไอหรือจาม โดยผู้ป่วยจะรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้นอนราบ แต่ถ้ามีอาการปวดหลังเจ็บร้างลงขา (ต่ำกว่าเข่า) เพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ร่วมกับอาการชาและอ่อนแรง เกิดความผิดปกติกับระบบขับถ่าย เช่น ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ หรือท้องผูก แม้จะใช้ยาแก้ปวดหลังนานกว่า 1 สัปดาห์ก็ยังไม่หาย จำเป็นต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน

ทั้งนี้ นายแพทย์วีระพันธ์ ควรทรงธรรม ผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยังกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการปวดดังกล่าวว่า เป็นหมู่โรคเกี่ยวกับหลังและคอ ในการวินิจฉัยของแพทย์จะพบว่า อาการปวดนั้นจะเกิดขึ้นกับ 2 บริเวณ ประกอบด้วย ช่วงเอว-ก้นกบ จะลามลงไปที่ขา และช่วงคอ-สะบัก-หัวไหล่ ซึ่งความเจ็บปวดจะแผ่ซ่านไปที่แขน

ส่วนการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะเป็นอย่างไรนั้น พรุ่งนี้ตามอ่านกันต่อใน ภาษาหมอ.

takecareDD@gmail.com


ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

พรปีใหม่ 2553 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


“โลก จะมีสันติภาพเพราะเมตตายิ่ง ปีใหม่แล้ว ทุกคนขอให้เริ่มแก้ที่ตัวเองก่อน แก้ที่ใจวุ่นวาย เร่าร้อนด้วยอำนาจจิตของกิเลส ที่เคยโลภมากก็ให้ลดลงเสียบ้าง ที่เคยโกรธแรง ก็ขอให้โกรธเบาลง ที่เคยหลงจัดก็ขอให้พยายามใช้สติปัญญา ตนเองจะเป็นผู้สงบเย็นก่อน ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดความสงบเย็น กว้างขวางออกไปอย่างไม่ต้องสงสัยเลย โลกเย็น เพราะเมตตายิ่ง โลกร้อน เมตตาหย่อน นี้เป็นความจริงที่ควรยอมรับ และควรแก้ไข อันการแก้นั้นก็ต้องไม่ไปแก้ผู้อื่น ต้องแก้ที่ตัวเอง แก้ตัวเองให้ยิ่งด้วยเมตตา หรือให้มีเมตตายิ่งขึ้นนั่นเอง เมื่อมีเมตตาอย่างจริงใจแล้ว จะเป็นเหตุให้เกิดผลงานมากมาย เป็นคุณทั้งแก่ผู้รับ และเป็นคุณทั้งแก่ผู้ให้”

เปิดบ้าน ป้าจิ๊ อัจฉราพรรณ สงบ-ร่มรื่น ด้วยธรรมะ

ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 ธันวาคม 2552 11:12 น.
โดย กุลิสรา กัณหะวัฒนะ

เป็นที่รู้จักกันดี สำหรับนักแสดงสาวใหญ่มากความสามารถ อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ ผู้ยินดีเรียกตัวเองว่า ‘ป้าจิ๊’

นอกจากคร่ำหวอดในวงการแสดงมานานนับกว่าสิบปีแล้ว ระยะหลังมานี้ป้าจิ๊เป็นที่รู้จักในบทบาทครูสอนโยคะ พร้อมเผยแพร่ธรรมะทุกครั้งที่มีโอกาส

ยิ่งกว่านั้น เมื่อไม่นานมานี้ เธอก็เริ่มเปิดบ้านผ่านสื่อ ซึ่งทำให้หลายคนตะลึงว่า ป้าจิ๊แอบรวยมีบ้านไม้สักบนเนื้อที่ตั้ง 5 ไร่ แถมอยู่แถวชานเมือง..นครชัยศรี ทำเลทองราคาแพงเชียว

แอบซื้อที่ดินปลูกบ้านไม้สักมาเป็นสิบปีแล้ว

“แอบรวย ก็ยังดีกว่าแอบจน”

ป้าจิ๊ตอบด้วยอารมณ์ขันตามสไตล์ ก่อนย้อนเล่าถึงแรงดลใจซื้อที่ดินผืนนี้

“ซื้อมาสิบปีแล้ว ตั้งแต่หมู่บ้านเค้ามีโครงการ เห็นว่าราคาไม่แพง อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ พี่ๆ อักษรฯ วิศวะฯ ก็มาซื้อกัน”

เรียกว่า เพื่อนบ้านก็ล้วนเป็นพี่ๆ สมัยมหาวิทยาลัย มาซื้อที่ดินจัดสรรในหมู่บ้านสวนขวัญ ทว่าจริงๆ แล้ว หมู่บ้านนี้มีกฎให้ลูกบ้านสร้างบ้านด้วยปูนตามแบบ
“แต่เราไม่ชอบ ชอบบ้านไม้หลังเล็กๆ มากกว่า”

ป้าจิ๊จึงแหกกฎ ให้เพื่อนที่เป็นสถาปนิกรุ่นใหญ่ช่วยออกแบบ ซึ่งปกติสถาปนิกระดับอาจารย์ท่านนี้รับงานแต่ละครั้ง ค่าออกแบบแพงมาก

“บอกเขาว่าอยากได้บ้านไม้หลังเล็กๆ มีสวนรอบ มีลมพัดผ่าน เขาเลยจัดการออกแบบให้โดยไม่คิดเงิน และเราก็ได้เรือนไม้สักเพื่อเป็นสตูดิโอ ห้องน้ำห้องนอนห้องกินข้าวอยู่นี่ เวลาป้าไปคนเดียว กลางคืนเข้าไปอยู่ในห้องนอน ก็ไม่เดินไปไหนแล้ว เพราะมันมืดมาก

ตอนหลังมีเพื่อนมา เลยคิดว่ากระจายดีกว่า ปลูกใหม่เลยเป็นเรือนหมู่ไม้แยกออกไป เพราะบางทีเพื่อนต่างคนต่างมา คงต่างต้องการความเป็นส่วนตัว เราก็ใช้ประโยชน์ได้ด้วย อย่างเวลาปฏิบัติธรรม คนพิเศษมาก็จะได้พักเรือนหลังเล็ก”

มองไปแล้ว บ้านป้าจิ๊เหมือนรีสอร์ตเลยค่ะ นอกจากเรือนหลักซึ่งเป็นลักษณะห้องสตูดิโอขนาดใหญ่ ห้องนอนห้องน้ำห้องกินข้าวพร้อมสรรพในตัวเสร็จ ด้านหลังก็มีอีกเรือนสตูดิโอขนาดเล็กลงมาหน่อย แต่อุปกรณ์เครื่องอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่นับเรือนหมู่ไม้ขนาดใหญ่ถัดไปด้านข้าง คล้ายบ้านไทยโบราณที่มีลานตรงกลาง ล้อมรอบด้วยเรือนไม้ห้องเล็กห้องน้อย ซึ่งแต่ละห้องล้วนตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ของเก่า

“ตอนซื้อก็ไม่ได้คิดอะไร แต่พอเอามาวาง โห มันลงตัวพอดีเลย” ป้าจิ๊เล่าถึงของตกแต่งเครื่องใช้โบราณที่ค่อยๆ ช้อปเข้ามา

ณ เรือนหมู่ไม้นี้แหล่ะที่กลายเป็นลานอเนกประสงค์สำหรับผู้เยี่ยมเยือนได้พักผ่อนนั่งเล่นนั่งกินข้าว ตลอดจนทอดน่องเดินเล่นลงไปยังสระบัวขนาดใหญ่ ที่มีศาลาไทยสวยสงบตั้งอยู่ตรงข้าม

ไม่หวงบ้านไม่ห่วงต้นไม้แล้ว พร้อมเปิดบ้านสนับสนุนกิจกรรมธรรมะ

“เมื่อก่อนป้าจะหวงมาก ไม่อยากให้ใครเข้ามา เดี๋ยวมาเหยียบต้นม้งต้นไม้พัง เดี๋ยวนี้ไม่แล้ว” เพราะป้าจิ๊ได้ข้อคิดมาจาก พระธวัชชัย ธมมทีโป พระอาจารย์ใหญ่ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งป้าจิ๊นับถือมาก

“พระอาจารย์บอกว่า ต้นไม้มันพัง หรือหญ้าถูกเหยียบ มันฟุบไป แต่จิตใจของคนเฟื่องฟู มันยิ่งกว่าคุ้มนะป้าจิ๊ เห็นมั้ยคำของพระดีมั้ย ต้นไม้มันหักเดี๋ยวมันก็แตกใหม่ ถ้าเราเอาใจไปผูก เราก็จะห่วงโน่นห่วงนี่ และห่วงตัวเราเอง ไม่อยากให้ใครเข้ามาใกล้ตัวเรา แต่ตอนนี้สบาย เฉยๆ แล้วทุกครั้งที่มีคนเข้าไปในบ้าน เหมือนลมพัดผ่าน ผ่านมาแล้ววูบเดียวก็ผ่านไป สบายๆ”

ป้าจิ๊เริ่มปฏิบัติธรรมตั้งแต่อายุ 20 กว่าๆ ชนิดว่ามีเวลาว่างเมื่อไรมักไปเข้าคอร์สอบรมปฏิบัติธรรมตลอด

“ปฏิบัติธรรมแล้วรู้สึกดี แต่เรื่องบ้านนี้ตอนแรกไม่ได้คิดเลยนะว่า จะเอามาทำแบบนี้ อยากมีบ้านไว้อยู่เงียบๆ แต่พอสร้างเสร็จกลับมีไอเดียขึ้นมา เรียนพระอาจารย์ว่า ตัวเราอยู่แค่ตัวคนเดียว เราน่าจะเอาบ้านมาทำให้เกิดประโยชน์ พระอาจารย์ท่านก็บอกว่า ดี ทำให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

เลยเปิดให้เป็นที่ปฏิบัติธรรมแต่เฉพาะเพื่อน เฉพาะกรุ๊ปของคนที่เรารู้จัก หรือคนที่ติดต่อมา ไม่ใช่เปิดไว้ให้ใครนึกจะมาก็มา จริงๆ มันมีความเป็นบ้าน ก็ดีได้มาแบ่งปันความสุขความสงบกัน”

ตั้งแต่ปีที่แล้ว มีคนมาติดต่อขอใช้สถานที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งป้าจิ๊เป็นคนสกรีน รวมทั้งอยู่ต้อนรับด้วยตนเอง

“มาธรรมะอย่างเดียวเท่านั้น ไม่เอาเรื่องบันเทิง มีคนมาขอถ่ายละคร ป้าก็ไม่ให้ หนูเห็นมั้ยเวลาคนมาปฏิบัติธรรม มากันเป็นร้อยแต่ไม่ยุ่งยากเลย มีมุมน้ำชา กาแฟ มุมของว่าง ห้องน้ำก็มี 6 ห้อง ต่างคนต่างเป็นระเบียบ เป็นไปตามระบบกันเอง”

ด้วยความสวยขลังบวกความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านและสวนแห่งนี้ ทำให้ผู้ที่ย่างเท้าเข้ามาล้วนเกรงขาม เกิดความรู้สึกเคารพสถานที่ ไม่กล้าส่งเสียงดัง ทั้งๆ ที่เจ้าภาพจัดงานหรือแม้แต่เจ้าของบ้านไม่ได้เขียนป้ายห้าม หรือกำชับออกกฎอะไรล่วงหน้าเลย

“ทุกวันนี้จ้างคนสวน 2 คนคอยดูแล” ป้าจิ๊หมายถึง สวนต้นไม้อันถูกออกแบบได้อย่างลงตัว พร้อมสระบัวขนาดใหญ่อีก 2 สระ

“มีคนถามเยอะเหมือนกันว่าทำนี่ทั้งหมดเท่าไร ป้าบอกไม่รู้สิไม่เคยรวมเงินเลย ไม่ใช่ไม่อยากตอบ แต่ไม่รู้จริงๆ เพราะทั้งหมดใช้เวลานานมาก”

หลังจากซื้อที่ดิน ไหนจะถมเกลี่ยแต่งที่ดินทำ landscape ขุดสระ ออกแบบทำสวน ปลูกต้นไม้ สร้างบ้านไม้สัก สร้างเรือนไม้เดี่ยว สร้างเรือนไม้หมู่ มิพักต้องเอ่ยถึงทะยอยซื้อโต๊ะเตียงเก้าอี้แอนติกอีก ป้าจิ๊ค่อยๆ สร้างด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง โชคดีเธอเป็นคนไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่สุรุ่ยสุร่าย ไม่มีภาระสามีลูก ยกเว้นเพียงแม่และบ่าวร่วม 10 คน ที่ป้าจิ๊ทำมรดกแบ่งทรัพย์สินเงินทองให้ทุกคนแล้ว ในฐานะอยู่ดูแลกันมานานจนเปรียบเสมือนญาติพี่น้องกันไปแล้ว

ใช้ชีวิตไม่ประมาทตั้งแต่สาว จึงมีทุกดั่งวันนี้

“ป้าจัดสรรเป็นไง และป้าถนอมตัวตั้งแต่อายุน้อยคือ ไม่ประมาท ไม่เที่ยว ไม่กิน ไม่เล่น ไม่สูบ มันก็เคยนะไปเที่ยวกลางคืน แต่กลับมาแล้วไม่มีความสุข สิ่งต่างๆ ที่ลากเราเข้าไปในสังคม มันจะทำให้จิตของเราฟุ้งกระจาย แล้วจิตก็ตก มันไม่เกิดประโยชน์ สู้กลับบ้านไปนั่งเล่นกับแม่ไม่ได้ มีความสุขกว่า ป้าอยู่นิ่งๆ ก็มีความสุขแล้ว”

ฟังแล้ว ช่างเป็นภาพตัดฉับกับงานแสดงในวงการมายาเหลือเกิน

“มันแค่อาชีพหนึ่ง ป้าไม่ยอมให้อาชีพมาครอบงำตัวเอง อยู่วงการมายาก็จะไม่เอามายามาครอบงำชีวิต

การปฏิบัติธรรมต่างหากเป็นทุกลมหายใจของชีวิต ช่วยให้เราทำงานอย่างมีสติ วงการบันเทิงเป็นเรื่องสนุกสนาน พร้อมตีกิเลสของเราให้ฟุ้ง แต่ป้าคงฝึกมานาน ป้าไม่สนใจเรื่องข้าวของ ป้าไม่สนใจแบรนด์เนม”

อีกอาชีพหนึ่งคือ สอนโยคะ ป้าจิ๊แฮปปี้กับงานนี้มากถึงขนาดรับหมายสอนทุกวัน

“เป็นครูสอนโยคะ ทุกวันไม่มีอด ทุกวันต้องได้ส่วยจากนักเรียน แต่ป้าไม่สะสมนะ ตอนนี้เราอยู่ในช่วงเวลาเคลียร์ทุกอย่างออกจากชีวิต เมื่อวันก่อนมีคนเอากระเช้ามาให้ มีเชอรี่ สตอเบอร์รี่ ป้าก็แกะและแบ่งให้คนอื่นหมดเลย เหลือให้ตัวเองแค่สตอเบอร์รี่ 5 ลูก เพราะต้องให้แม่กับเด็กที่บ้านอีก 4 คน แค่นี้พอ มันเป็นการฝึกตัดกิเลส นักเรียนบางคนชอบให้ขนม ชอบให้อะไรเราแบบเยอะๆ ป้าก็แบ่งให้ตัวเองเพียงพอกินนิดหน่อย แล้วแจกคนอื่นต่อ

เสื้อผ้า 5-6 เดือนต้องเคลียร์เลย เรียกมูลนิธิฯมารับไปเลย ไม่อยากสะสม ทุกวันนี้ใส่ชุดโยคะทั้งวันอยู่แล้ว เพราะงั้นมีเสื้อผ้านิดหน่อยก็พอ ใช้เงินแค่เลี้ยงครอบครัว”

และให้สังคม ดังกิจกรรมมอบทุนการศึกษา ซึ่งเปิดบ้านรองรับนักเรียน 450 คนเมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา

“ก็มานั่งฟังธรรมในบ้าน ให้ธรรมะกล่อมเกลาจิตใจ เด็กๆ ก็ได้วิ่งเล่นทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นสนาม หรือบนเรือน มาแล้วพวกเด็กๆ ก็มีความสุขกลับไป”

หลายคนอาจอยากเป็นเจ้าของเรือนหมู่ไม้ท่ามกลางธรรมชาติอันงดงามเหมือนป้าจิ๊ ทว่าเธอไม่ยึดติดค่ะ เธอประกาศชัดมอบให้มูลนิธิฯ เพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคมมากกว่าเป็นเพียงสมบัติเชยชมส่วนตัว

“มันอยู่ที่ว่าเราจะจัดสรรชีวิตอย่างไร เรามีต้นทุนที่ดีแล้ว วันรุ่งขึ้นจากการมีชีวิตคือ ผลกำไรทั้งหมด แต่ทุกคนแสวงหาความขาดทุนให้ตัวเองตลอด มัวไปเก็บเกี่ยวความทุกข์ ตรงไหนมีทุกข์วิ่งเข้าหาทันที ความจริงความทุกข์มันมีแต่เราแค่มองมันผ่านไป เราทำตัวให้เป็นประโยชน์ มีคุณค่า เราก็จะมีความสุข เพราะกิจกรรมทั้งหมดมันห่อหุ้มเราอยู่ ถ้าเผื่อเราพูดถึงบุญกุศล มันก็ห้อมล้อมตัวเรา แล้วเราจะมีทุกข์ได้ไง”

ท้ายสุด ป้าจิ๊ฝากข้อคิดเพิ่มเติมแก่ท่านผู้อ่านว่า

“การขาดทุนของมนุษย์อีกอย่างคือ ไม่อยู่กับปัจจุบัน ป้าอยู่กับปัจจุบัน และทำปัจจุบันของป้าให้ดี ถ้าเราอยู่กับปัจจุบันเราจะไม่ขาดทุนเลย ใส่ข้อมูลดีๆ ให้กับชีวิต เหมือนกับใส่โปรแกรม เราใส่โปรแกรมไหนเราก็จะเป็นอย่างนั้น เราใส่โปรแกรมบวก เป็นไปไม่ได้ที่เราจะมีความทุกข์ เพราะเราใส่แต่เรื่องบวก เราอยู่ตรงไหน กระแสดีๆ ก็จะออกไปจากตัวเรา ผู้คนที่อยู่รอบตัวเรามีความสุข เราก็จะได้รับความสุขกลับมา”

ความสุขของป้าจิ๊ไม่ใช่การเป็นเจ้าของบ้านไม้สักบนเนื้อที่กว้างขวางใหญ่โต แต่อยู่ที่ว่า บ้านหลังนี้สามารถเป็นสถานที่พัฒนาจิตใจให้ผู้คนที่แวะเวียนเข้ามาได้แบ่งปันความสุขสงบ และนำธรรมะกลับไปใช้ในการดำเนินชีวิตต่างหากค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

รู้จักกับโรคหลอดเลือดสมอง


โรคหลอดเลือดสมอง เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงสมอง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน ภาวะสมองขาดเลือด หรือ Ischemic stroke อันเนื่องมาจากหลอดเลือดอุดตันนั้นเป็นสาเหตุใหญ่ของโรคหลอดเลือดสมอง โดยร้อยละ 80 มีสาเหตุมาจากการอุดตันของลิ่มเลือด อันที่จริง การสร้างลิ่มเลือดนั้นเป็นกลไกที่สำคัญในการห้ามเลือด และซ่อมแซมหลอดเลือดที่เสียหาย แต่ลิ่มเลือดที่ก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดหรือที่หนึ่งที่ใดอย่างผิดที่ผิดทาง นั้น สร้างความเสียหายอย่างมากเมื่อลิ่มเลือดนั้นไปกีดขวางไม่ให้เลือดไหลเวียน ผ่านหลอดเลือดได้อย่างสะดวก

ภาวะสมองขาดเลือดจากการอุดตันของลิ่มเลือด เกิดขึ้นได้ 2 กรณี

กรณี แรก คือเกิดลิ่มเลือดขึ้นในบริเวณอื่น ๆ และไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง ส่วนอีกกรณีหนึ่ง คือมีลิ่มเลือดก่อตัวอยู่ในหลอดเลือดสมอง เวลาผ่านไป ลิ่มเลือดจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมองในที่สุด นอกจากลิ่มเลือดแล้ว หลอดเลือดยังอาจตีบแคบได้เนื่องจากการสะสมตัวของไขมันในหลอดเลือดจนส่งผลให้ หลอดเลือดตีบลง มีความยืดหยุ่นน้อยลง และลดประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลงไป

หลอดเลือดสมองปริแตก หรือฉีกขาด ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉันพลัน ทั้งยังก่อให้เกิดเลือดออกในสมอง ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองอย่างร้ายแรง โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากหลอดเลือดสมองแตกนั้น คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นทั้งหมด

สาเหตุที่นำไปสู่การปริแตกของหลอดเลือด เป็นไปได้ 2 กรณี คือ

การ ที่หลอดเลือดมีความเปราะบาง ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ประกอบกับผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง ส่งผลให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพอง และแตกออก ส่วนอีกกรณีหนึ่ง ได้แก่การที่หลอดเลือดนั้นสูญเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอด เลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง

อาการของโรค

เมื่อ เลือดที่จะไปเลี้ยงสมองมีปริมาณลดลง หรือถูกจำกัด สมองส่วนนั้นจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติซึ่งจะมีอาการแสดงต่าง ๆ แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรง และตำแหน่งของสมองที่ขาดเลือด

อาการที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมองมีดังนี้ คือ

* ชาบริเวณแขน ขา ใบหน้า หรือบริเวณข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
* สับสน มีปัญหาทางการสื่อสาร พูดไม่เข้าใจ
* เห็นภาพซ้อน ตามัว (เพียงข้างเดียว)
* เวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ
* วิงเวียน ทรงตัวไม่อยู่ บางรายอาจเป็นลมหมดสติ

หาก คุณ หรือคนใกล้ชิดมีอาการดังที่กล่าวข้างต้น ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และรีบจัดการส่งตัวผู้ป่วยให้ถึงมือแพทย์โดยทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองนั้นเป็นอาการร้ายแรงซึ่งเป็นอันตรายถึง ชีวิต หรืออาจไม่ถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลให้ผู้ป่วยกลายเป็นผู้พิการ ป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และต้องใช้เวลาฟื้นฟูสุขภาพต่อไปอีกนาน

ปัจจัยเสี่ยง1

ปัจจัย ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองมีหลายประการประกอบกัน และส่วนมากมาจากสุขภาพโดยรวมและรูปแบบการดำเนินชีวิต ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง มีดังนี้

ความดันโลหิตสูง จัดว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นประมาณ 4 ถึง 6 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่มีความดันปกติ (120/80 มิลลิเมตรปรอท)

โรคเบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาเรื่องอื่น ๆ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ ซึ่งเมื่อปัจจัยทั้งหมดนี้รวมกัน ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองย่อมเพิ่มขึ้นไปด้วย

ไขมันในเลือดสูง คนส่วนมากทราบกันดีว่า ภาวะไขมันในเลือดสูงนั้นเป็นความเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจ หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องก็คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเกิดจากภาวะไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด กีดขวางการลำเลียงเลือด ลักษณะเช่นนี้ เป็นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเช่นเดียวกัน

การสูบบุหรี่และดื่มสุรา การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอีกประการหนึ่ง หากไม่คิดรวมปัจจัยเสี่ยงประการอื่น ๆ การสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองขึ้นถึงร้อยละ 3.5 และความเสี่ยงดังกล่าวนี้จะลดลงทันทีเมื่อเลิกสูบบุหรี่

สำหรับ การดื่มสุราซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ก็เป็นความเสี่ยงประการหนึ่งของหลอดเลือดสมองอยู่แล้ว การดื่มสุราในปริมาณมาก ๆ นั้นส่งผลให้เลือด “อ่อนตัว” เลือดออกง่าย แต่หยุดยาก เมื่อเกิดการปริแตกของหลอดเลือดในสมอง ประกอบกับความดันโลหิตสูง และภาวะเลือดออกง่ายจากการดื่มสุรา ความเสียหายต่อเนื้อเยื่อสมองย่อมต้องมากขึ้น2

นอก จากปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ การไม่ออกกำลังกาย ความอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ประวัติครอบครัว และปัจจัยเรื่องอายุ

โรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันได้

ปัจจัย เสี่ยงต่อโรคหลาย ๆ ประการ อาทิ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในหลอดเลือด การดื่มสุรา การสูบบุหรี่หรือการออกกำลังกายล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ด้วยการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งสิ้น งดสูบบุหรี่ ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมน้ำหนัก ปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ย่อมจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคลงไปได้มาก

ข้อมูล:
1 US National Institute of Neurological Disorders and Stroke
2 Medical University of South Carolina

มีอาการ อย่ารอช้า

อาการ ของโรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที แต่ส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรง ผู้ป่วย หรือคนใกล้ชิดจำเป็นต้องตระหนักถึงอาการ และพาผู้ป่วยพบแพทย์ให้ได้อย่างทันท่วงที เมื่อพบเห็นผู้ป่วย หรือสงสัยว่ามีอาการของโรค ให้ผู้ป่วยหรือญาติสังเกตอาการดังต่อไปนี้

ยิ้ม และสังเกตว่าปากเบี้ยว หรือมุมปากตกหรือไม่

ยกแขนขึ้นทั้งสองข้าง ปล่อยค้างประมาณ 10 วินาที ดูว่ามีข้างใดข้างหนึ่งตก หรือยกไม่ขึ้นหรือไม่

ชวนพูด สังเกตว่าพูดไม่ชัด และมีปัญหาในการสื่อสารหรือไม่

อย่าเสียเวลา หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น

Source: http://www.bumrungrad.com/BetterHealth/BrainHealthy/Stroke/Stroke1t.asp

ภาวะสมองเสื่อม

ภาวะ สมองเสื่อม หรือ Dementia เป็นคำที่แพทย์ใช้อธิบายกลุ่มอาการของโรคทางสมองหลายโรค โดยเฉพาะโรคอัลไซเมอร์ซึ่งถือเป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบมากที่สุดคือร้อยละ 50 - 703 ส่วนภาวะสมองเสื่อมชนิดอื่น ๆ ที่พบรองลงมา ได้แก่

* ภาวะสมองเสื่อมจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบ
* ภาวะสมองเสื่อมจากการพัฒนาของโปรตีนที่ผิดปกติภายในเซลล์สมอง (Lewy Body Dementia)
* ภาวะสมองเสื่อมแบบ Frontotemporal ซึ่งเป็นความปกติที่เกิดขึ้นด้านหน้าและด้านข้างของสมอง
* ภาวะ สมองเสื่อมแบบผสมซึ่งเกิดจากสาเหตุมากกว่าหนึ่งสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากโรคอัลไซเมอร์ร่วมกับภาวะสมองเสื่อมจากความผิดปกติของหลอด เลือดสมอง

นอกจากนี้ แล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่นำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคพาร์กินสัน โรค Creutzfeldt-Jakob การขาดสารอาหารอย่างรุนแรง การได้รับสารพิษ สมองขาดออกซิเจน มีเนื้องอกในสมอง สมองติดเชื้อ สมองกระทบกระเทือน สมองฝ่อ และการติดสุราเรื้อรัง เป็นต้น

ภาวะ สมองเสื่อมอาจพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ แม้จะเป็นภาวะที่ไม่ได้มาพร้อมกับความชราเสมอไป ทั้งนี้อาการทั่วไปของผู้ป่วยมักเริ่มจากการไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เช่น พูดไม่เป็นประโยค ไม่สามารถรับประทานอาหารหรือแต่งตัวได้เอง วางสิ่งของผิดที่ วางแผนล่วงหน้าไม่ได้ จำเวลาและสถานที่ไม่ได้ จดจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้ เมื่ออาการมากขึ้นจะเกิดพฤติกรรมแปรปรวน หวาดระแวง รวมถึงเห็นภาพหลอน

นพ. ศิริชัย นิรมานสกุล ผู้เชี่ยวชาญโรคทางระบบประสาท กล่าวถึงข้อบ่งชี้ของภาวะสมองเสื่อมไว้ว่า “ผู้ป่วยจะต้องมีอาการบกพร่องทางสมองสองอย่างขึ้นไป เช่น สูญเสียความทรงจำร่วมกับสูญเสียความสามารถในการใช้ภาษา ดังนั้นผู้ป่วยที่สูญเสียความทรงจำเพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่ม ที่มีภาวะสมองเสื่อมก็ได้”

แม้ ปัจจุบันยังไม่มียารักษาภาวะสมองเสื่อมหรือซ่อมแซมสมองที่เสียหาย แต่การทราบสาเหตุที่ชัดเจนของโรคทำให้แพทย์สามารถให้ยารักษาตามอาการและชะลอ อาการของโรคไม่ให้แย่ลงอย่างรวดเร็วและที่ละเลยไม่ได้คือ ผู้ป่วยต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยและปลอดภัย

โรคอัลไซเมอร์

26.6 ล้านคน4 คือจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์หรือโรคความจำเสื่อมทั่วโลก จากการสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี 2006 ขณะที่ในประเทศไทยตัวเลขผู้ป่วยรายงานโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเมื่อต้น ปี 2009 อยู่ที่กว่า 1 ล้านคนและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ว่ากันว่า เราทุกคนเกิดมาพร้อมกับโอกาสที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ราวร้อยละ 10 - 155 ซึ่งโอกาสนี้จะเพิ่มมากขึ้นพร้อม ๆ กับวัยที่มากขึ้นโดยเฉพาะเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป และความจริงที่น่าเศร้าก็คือ อัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมซึ่งยากจะป้องกัน ปัจจุบันยังไม่อาจรักษาให้หายได้ และเป็นอันตรายถึงชีวิต


“โรค อัลไซเมอร์เกิดจากการที่เซลล์สมองถูกทำลายโดยไม่มีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นทด แทน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความบกพร่องทางสมองในส่วนของสติปัญญา เช่น ความคิด ความจำ และการตัดสินใจ ในขณะที่สมองส่วนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวยังใช้การได้ดี” นพ. ศิริชัย กล่าว

สำหรับอาการของอัลไซเมอร์นั้นอาจแบ่ง ตามระยะของโรคได้คร่าว ๆ เป็น 3 ระยะคือ ระยะแรกเริ่ม ซึ่งผู้ป่วยจะเริ่มสูญเสียความทรงจำระยะสั้น ไม่สามารถจำอะไรใหม่ ๆ ได้ และจะเริ่มจำเหตุการณ์ในอดีตไม่ได้ ในที่สุดก็จะจำไม่ได้ว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้าคืออะไร

ส่วน ระยะกลาง ผู้ป่วยจะเริ่มเห็นภาพหลอน หูแว่ว มีพฤติกรรมก้าวร้าว ถ้าถูกปล่อยให้อยู่คนเดียว ก็อาจเดินออกจากบ้านแล้วหาทางกลับบ้านไม่ได้เลย และในระยะสุดท้าย สมองจะถูกทำลายจนไม่สามารถควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายและเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งอาจกินเวลา 3 - 20 ปีนับตั้งแต่เริ่มมีอาการ

ปัจจุบันยังไม่มี วิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์โดยตรง แต่เราสามารถรักษาอาการของโรคและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ด้วยการให้ยาบางชนิดที่ช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง และฟื้นฟูการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง อาจใช้ร่วมกับยานอนหลับ ยาลดอาการซึมเศร้า การทำจิตบำบัด ทำสมาธิ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

โรคพาร์กินสัน

พาร์ กินสันเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมองที่พบได้บ่อยรองจากโรคอัลไซเมอร์ จากสถิติแล้ว ประชากรโลกทุก ๆ 1,000 คนจะมีผู้ป่วยโรคพาร์กินสันประมาณ 1 - 2 คน6 โดยพบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เพศชายมากกว่าหญิง และส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรปและอเมริกาเหนือ

โรค พาร์กินสันเป็นผลมาจากการตายของเซลล์สมองซึ่งทำหน้าที่ผลิตสารเคมีที่เรียก ว่า โดปามีน (Dopamine) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เมื่อระดับของโดปามีนลดลง การควบคุมกล้ามเนื้อก็ยากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการสั่นบริเวณมือ แขน ขา ขากรรไกร เคลื่อนไหวช้า ขยับแขนขา แสดงท่าทางและเดินลำบาก

นอก จากนี้ผู้ป่วยยังมีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล สูญเสียความทรงจำ นอนไม่หลับ พูดช้า เคี้ยวหรือกลืนยาก ท้องผูก ควบคุมปัสสาวะไม่อยู่ มีอาการชา ปวดกล้ามเนื้อ และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

“แม้ พาร์กินสันจะเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถป้องกันหรือรักษาให้หายขาดได้ แต่การที่เราทราบสาเหตุของโรค ทำให้มีทางเลือกในการรักษามากกว่าโรคทางสมองและระบบประสาทอื่น ๆ โดยเฉพาะการให้ยาเพิ่มปริมาณโดปามีน และเสริมโดปามีนร่วมกับยารักษาอาการร่วม เช่น ซึมเศร้า นอกจากนี้การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่เหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและควบคุมการเคลื่อนไหว ได้ดีขึ้น” นพ. ศิริชัย อธิบาย

อีก ทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคพาร์กินสัน ได้แก่ การรักษาด้วยการผ่าตัดแบบกระตุ้นด้วยไฟฟ้า หรือ Deep Brain Stimulation (DBS) ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่ที่ยังไม่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยทุกราย แพทย์จะเป็นผู้แนะนำแนวทางในการรักษาเฉพาะบุคคลต่อไป

โรคลมชัก

โรคทางสมองและระบบประสาทที่พบมากอีกโรคหนึ่งคือ โรคลมชัก ซึ่งมีผู้ป่วยทั่วโลกมากถึง 50 ล้านคน7 ขณะที่ในประเทศไทยพบราวร้อยละ 1 ของจำนวนประชากรทั้งหมดหรือประมาณ 6 - 7 แสนคน8 โดยพบได้ทั้งเพศหญิงและชายทุกช่วงอายุ

โรค ลมชักเกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ พันธุกรรม สมองพิการแต่กำเนิด พยาธิในสมอง เส้นเลือดสมองผิดปกติ สมองได้รับความกระทบกระเทือน มีเนื้องอกสมอง และการได้รับสารพิษสะสมอย่างสารตะกั่ว ทั้งนี้ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรคลมชักยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้

“เมื่อ ระบบไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมองที่ผิดปกติไปรบกวนการทำงานของสมองส่วนอื่น ๆ ก็ส่งผลให้เกิดการชักขึ้นได้ แต่การชักเพียงครั้งเดียวยังไม่ถือว่าเป็นโรคลมชัก ต้องมากกว่าสองครั้งขึ้นไป และถ้าจำเป็นต้องวินิจฉัยเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ด้วยการสแกนสมองและตรวจ คลื่นไฟฟ้าสมอง” นพ. ศิริชัย อธิบาย

ใน กรณีที่กระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติเกิดขึ้นทุกส่วนของสมอง เราเรียกว่า การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว ผู้ป่วยจะหมดสติ ล้มลง ตาเหลือก ส่งเสียงดัง กัดฟัน และหยุดหายใจชั่วคราว แล้วจึงค่อยชักกระตุกซึ่งกินเวลาเพียงไม่กี่นาที เมื่อหยุดชักจะเกิดอาการเพลีย บาดเจ็บกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ

แต่ หากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นเฉพาะเพียงส่วนหนึ่งของสมอง อาการชักจะเกิดที่ใบหน้า แขนหรือขา ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการชักกระตุกให้เห็น แต่จะดูเหมือนคนเหม่อลอยหรือหมดสติชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหายชักแล้วจะจำเหตุการณ์ไม่ได้ ทั้งนี้การชักบางส่วนอาจนำไปสู่การชักทั้งตัวได้ หากความผิดปกตินั้นกระจายไปทั่วสมอง

การช่วยเหลือผู้ที่เป็นโรคลมชัก

ข้อ แนะนำในกรณีที่พบผู้ป่วยชักคือ ไม่ควรสอดช้อนหรือของแข็งเข้าไปในปากของผู้ป่วย แต่ให้ใช้ผ้านุ่มแทนเพื่อเลี่ยงการบาดเจ็บ และควรให้ผู้ป่วยอยู่ในที่หายใจได้สะดวก โดยปกติอาการชักกินเวลา 3 - 5 นาที แต่ถ้าการชักทั้งตัวเกิดขึ้นนานกว่า 20 นาที หรือ ชักติดต่อกันโดยผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวเต็มที่ ถือว่าอันตรายและควรนำส่งโรงพยาบาลทันที

ถึง แม้ว่าโรคลมชักจะไม่ทำให้สมองเสียหาย แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ได้ การรักษาทำได้หลายวิธี และได้้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมีโอกาสหายได้ด้วยการใช้ยา ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่่ตอบสนองต่อยา แพทย์อาจพิจารณาให้เข้ารับการผ่าตัดโดยพิจารณาถึงความถี่และความรุนแรงของ การชัก รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อสมองและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

ข้อมูล:
1 www.ninds.nih.gov/disorders/brain_basics/know_your_brain.htm
2 pni.go.th/pnigoth/?page_id=527
3 www.alz.org/alzheimers_disease_what_is_alzheimers.asp#
4 en.wikipedia.org/wiki/Alzheimer's_disease#cite_note-Brookmeyer2007-2
5 www.intelihealth.com/IH/ihtIH/WS/32193/35421.html และ
https://www.connecttoresearch.org/publications/4
6 www.connecttoresearch.org/publications/10
7 en.wikipedia.org/wiki/Epilepsy#Seizure_types
8 www.thaiepilepsy.org/

ฝึกสมองให้แข็งแรง คุณก็ทำได้

* หมั่นออกกำลังสมองด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เช่น เรียนดนตรี เล่นเกมลับสมอง
* ออกกำลังกายเพื่อคลายเครียด และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือด
* รับประทานอาหารบำรุงสมอง โดยเฉพาะอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 วิตามินเอ ซี อี เซเลเนียม และผลิตภัณฑ์จากใบแปะก๊วย
* หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ข้องแวะยาเสพติด
* หมั่นตรวจความดันโลหิต เบาหวาน อัตราการเต้นของหัวใจ และคอเลสเตอรอลอย่างสม่ำเสมอ
* นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
* ปกป้องสมองด้วยการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อนั่งมอเตอร์ไซค์
* และไปพบแพทย์ทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนศีรษะ

Source: http://www.bumrungrad.com/BetterHealth/BrainHealthy/BrainDisorders/BrainDisorders1t.asp