วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

ไม่ขับถ่ายตอนเช้าจะเกิดอะไรขึ้น?

การขับถ่ายมีผลต่อสุขภาพร่างกายของเรา ทราบไหมว่า ถ้าปล่อยเวลาล่วงเลยมาจนถึง 7-9 โมงเช้า ซึ่งเป็นเวลาทำงานของกระเพาะอาหาร แล้วยังไม่ได้ขับถ่าย แถมอาหารเช้าก็ไม่ได้กิน จะเกิดอะไรขึ้น

เมื่อถึงเวลาที่กระเพาะอาหารทำงาน เพื่อนำอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย แล้วไม่มีอาหารที่ควรทานตอนเช้าเข้าไปย่อย อุจจาระจากลำไส้ใหญ่ที่ไม่ขับถ่ายออก จะถูกบีบตัวขึ้นมาจากลำไส้ใหญ่ มาที่กระเพาะอาหาร ในอุจจาระเก่าพวกนี้จะมีแก๊สที่เสียแล้ว แก๊สพิษเหล่านี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เลือดไม่สะอาด เมื่อเลือดเหล่านี้ไหลไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย ร่างกายก็จะได้รับพิษจากแก๊สพิษเหล่านี้ไปด้วย

ผลกระทบที่มีต่อร่างกายก็คือ ก่อนเที่ยงถึงบ่ายจะง่วงนอน เนื่องจากหัวใจได้รับเลือดที่ไม่สะอาดไปหล่อเลี้ยง จึงอ่อนล้าและไม่สดชื่น และจะมีกลิ่นตัวและกลิ่นปาก เพราะปอดจะขับสิ่งสกปรกที่ได้รับออกทางผิวหนังและลมหายใจ

หรือถ้าไม่ ยอมขับถ่ายในตอนเช้าให้เป็นกิจวัตรนานๆ เข้า เป็นระยะเวลาหลายปี เลือดที่ไม่สะอาดไหลผ่านไปเลี้ยงสมอง แถมยังไม่ทานอาหารเช้าในช่วงเวลานั้นอีก สมองก็จะไม่ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เมื่อแก่ตัวความจำจะเสื่อมเร็ว

รู้อย่างนี้แล้ว ควรฝึกการขับถ่ายในตอนเช้าให้เป็นลักษณนิสัย และเห็นความสำคัญของอาหารเช้า เพื่อสุขภาพของตัวคุณเอง.

Source: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=134903&categoryID=424

ธรรมะ อินเทรนด์ : มรณานุสติ : สบตากับความตาย (1)

เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 13 เมษายน 2554

ในขณะที่ความตายเป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับผู้ที่จะต้องเผชิญ และเป็นเรื่องน่าเศร้าสำหรับญาติวงศ์ซึ่งยังอยู่ กระทั่งเป็นเหตุให้คนส่วนใหญ่ประหวั่นพรั่นพรึงไม่อยากพูดถึง ไม่อยากพานพบ และไม่ปรารถนาจะให้มาถึงตนเร็วเกินไป แต่พระพุทธศาสนากลับมีท่าทีตรงกันข้าม พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราชาวพุทธฝึก “สบตากับความตาย” เอาไว้เสมอ เพราะมีแต่การเรียนรู้ที่จะสบตากับความตายเท่านั้น ที่เราจะสามารถอยู่เหนือความตายได้

ในพระไตรปิฎกมีพระพุทธวัจนะจำนวนมากที่แนะนำให้ชาวพุทธฝึกสบตากับความตาย ลองพิจารณาข้อความดังต่อไปนี้ก็จะพบว่า ศิลปะการสบตากับความตายนั้น มีว่าอย่างไร (สำนวนแปลโดยพระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต)

“อายุของมนุษย์ทั้งหลายน้อย สัตบุรุษพึงดูหมิ่นอายุที่น้อยนั้น, พึงประพฤติเหมือนถูกไฟไหม้ศีรษะ, การที่มัจจุราชจะไม่มาหานั้น เป็นอันไม่มี. วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตก็หดสั้นเข้า, อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมหมดสิ้นไป เหมือนดังน้ำค้างในธารน้ำน้อย”

“ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีใครรู้ ทั้งยาก ทั้งน้อย และคนละคนด้วยทุกข์ ความเพียรพยายามที่จะช่วยให้สัตว์ที่เกิดมาแล้วไม่ต้องตายนั้น ไม่มีเลย, แม้อยู่ได้ถึงชรา ก็ต้องตาย, เพราะสัตว์ทั้งหลายมีธรรมดาอย่างนี้เอง”

“ผลไม้สุกแล้ว ก็มีผลิตตลอดเวลา จากการที่จะต้องร่วงหล่นไป ฉันใด, สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็มีผลิตตลอดเวลาจากการที่จะต้องตาย ฉันนั้น ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำแล้วทั้งหมด ล้วนมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด, ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็มีความตายเป็นที่สุด ฉันนั้น ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนเขลา ทั้งคนฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจของมฤตยู มีมฤตยูที่ไปเป็นเบื้องหน้าด้วยกันทั้งหมด”

“เมื่อคนเขาเหล่านั้น ถูกมฤตยูครอบเงาแล้ว ต้องไปปรโลก, บิดาจะป้องกันบุตรไว้ก็ไม่ได้ ญาติทั้งหลายจะป้องกันเหล่าญาติไว้ก็ไม่ได้. ดูเถิด ทั้งที่หมู่ญาติกำลังมองดูพร่ำรำพันอยู่ด้วยประการต่าง ๆ ผู้จะต้องตาย ก็ถูกพาไปแต่ลำพังคนเดียว เหมือนโคที่เขาเอาไปฆ่า”

“โลกถูกความแก่และความตายบดขยี้อย่างนี้เอง, ปราชญ์ทั้งหลายรู้เท่าทันกระบวนความเป็นไปของโลกแล้วจึงไม่เศร้าโศก”

“ท่านไม่รู้ทาง ไม่ว่าของผู้มา หรือของผู้ไป, เมื่อมองไม่เห็นปลายสุดทั้งสองด้าน จะคร่ำครวญไปก็ไร้ประโยชน์. ถ้าคนหลงไหลคร่ำครวญเบียดเบียนตนเองแล้วจะทำประโยชน์อะไรให้เกิดขึ้นมาได้ บ้างแล้วไซร้, ท่านผู้มีจิตวิญญาณก็คงทำอย่างนั้นบ้าง”

“การร้องไห้หรือโศกเศร้า จะช่วยให้จิตใจสงบสบาย ก็หาไม่, มีแต่จะเกิดทุกข์ทับทวี ทั้งร่างกายก็พลอยจะทรุดโทรม จะเบียดเบียนตัวเองของตัวเอง จนกลายเป็นคนซูบผอมหมดผิวพรรณ. ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะอาศัยการร้องไห้คร่ำครวญนั้นเป็นเครื่องช่วยตัวเขา ก็ไม่ได้, การคร่ำครวญร่ำไห้จึงไร้ประโยชน์. คนที่สลัดความโศกเศร้าไม่ได้มัวทอดถอนใจถึงคนที่ตายไปแล้ว ตกอยู่ในอำนาจความโศกเศร้า ก็มีแต่จะทุกข์หนักยิ่งขึ้น”

“ดูสิ ถึงคนอื่น ๆ ก็กำลังเตรียมจะเดินทางกันไปตามกรรม. ที่นี่ ประดาสัตว์เผชิญกับอำนาจของพญามัจจุราชเข้าแล้ว ต่างก็กำลังดิ้นรนกันอยู่ทั้งนั้น”.

Source: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=132476&categoryID=671

ธรรมะอินเทรนด์:มรณานุสติ:สบตากับความตาย(2)

เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 20 เมษายน 2554

“คนทั้งหลายคิดหมายไว้อย่างใด ต่อมากาลก็กลับกลายไปเป็นอย่างอื่น.ความพลัดพรากจากกันก็เป็นอย่างนี้แหละ. ดูเถิดกระบวนความเป็นไปของโลก แม้จะมีคนอยู่ได้ถึงร้อยปีหรือเกินกว่านั้น เขาก็ต้องพลัดพรากจากหมู่ญาติ ต้องทิ้งชีวิตไว้ในโลกนี้อยู่ดี.

“เพราะฉะนั้น สาธุชนสดับคำสอนของท่านผู้ไกลกิเลสแล้ว พึงระงับความคร่ำครวญรำพันเสีย. เห็นคนล่วงลับจากไปก็ทำใจได้ว่าผู้ล่วงลับไปแล้ว เราจะขอให้เป็นอยู่อีกย่อมไม่ได้. ธีรชน คนฉลาด มีปัญญาเป็นบัณฑิต พึงระงับความโศกเศร้าที่เกิดขึ้นแล้วได้โดยฉับพลัน เหมือนเอาน้ำดับไฟที่ลุกลาม และเหมือนลมพัดปุยนุ่น”

“ผู้ใฝ่สุขแก่ตัว พึงระงับความคร่ำครวญรำพัน ความโหยหาและโทมนัสเสีย, พึงถอนลูกศรที่เสียบตัวทิ้งไป. ผู้ที่ถอนลูกศรได้แล้วเป็นอิสระ ก็จะประสบความสงบใจ. จะผ่านพ้นความโศกเศร้าไปได้หมด กลายเป็นผู้ไร้โศกเย็นใจ”

“มนุษย์นี้ ตั้งแต่เริ่มเกิดอยู่ในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน เมื่อเริ่มชีวิตขึ้นมาแล้ว ก็มีแต่จะบ่ายหน้าไป ไม่หวนหลังกลับคืน. คนทั้งหลายถึงจะพรั่งพร้อมด้วยกำลังพล จะต่อสู้ให้ไม่แก่ไม่ตาย ก็ไม่ได้, ปวงสัตว์ล้วนถูกชาติและชราย่ำยี, เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะบำเพ็ญธรรม. ราชา
ผู้เป็นรัฏฐาธิบดีอาจเอาชนะกองทัพ ซึ่งมีพลทั้งสี่เหล่า (ช้าง ม้า รถ ราบ) ที่น่าสะพรึงกลัวได้ แต่ไม่สามารถเอาชนะ พญามัจจุราช... ราชาบางพวกแวดล้อมด้วยพลช้างและพลม้า พลรถ และพลราบ แล้วหลุดพ้นเงื้อมมือข้าศึกไปได้ แต่ไม่อาจตีหักให้พ้นพญามัจจุราช...ราชาทั้งหลายผู้แกล้วกล้า สามารถหักค่ายทำลายข้าศึกมากมาย ได้ด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และพลราบ แต่ไม่อาจย่ำยีพญามัจจุราช ฯลฯ มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมบวงสรวงทำให้ยักษ์ ปิศาจ หรือเปรตทั้งหลาย แม้ที่เกรี้ยวกราด
แล้วยอมสงบพิโรธได้ แต่จะทำให้พญามัจจุราชยินยอมหาได้ไม่ ฯลฯ ผู้ต้องหา ทำผิดฐานประทุษร้ายต่อองค์ราชา หรือต่อราชสมบัติ ก็ดี ผู้ร้ายที่เบียดเบียนประชาชน ก็ดี ยังมีทางขอให้พระราชาทรงผ่อนปรนพระราชทานอภัยโทษได้ แต่จะทำให้พญามัจจุราชผ่อนผันยอมตามหาได้ไม่... จะเป็นกษัตริย์ก็ตาม พราหมณ์ ก็ตาม จะร่ำรวย มีกำลังอิทธิพล หรือมีเดชศักดาแค่ไหน พญามัจจุราชก็ไม่เห็นแก่ใครเลย เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะบำเพ็ญธรรม ฯลฯ ธรรมนั่นแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม, ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้, นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว. ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ. ธรรมกับอธรรม สองอย่างนี้ จะมีผลเสมอกันก็หาไม่, อธรรมย่อมนำไปสู่นรก, ธรรมย่อมให้ถึงสุคติ”

“เปรียบเหมือนว่า ภูเขาใหญ่ศิลาล้วนสูงจดท้องฟ้า กลิ้งเข้ามารอบด้าน ทั้งสี่ทิศ บดขยี้สัตว์ทั้งหลายเสีย ฉันใด ความแก่และความตายก็ครอบงำสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น, ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์และศูทร ตลอดจนจัณฑาลและคนเก็บกวาดขยะ ชราและมรณะย่อมย่ำยีทั้งหมด ไม่ละเว้นใครเลย. ณ ที่นั้น ไม่มี ยุทธภูมิสำหรับพลช้าง สำหรับพลรถ หรือสำหรับพลราบ. จะใช้เวทมนตร์ต่อสู้หรือเอาทรัพย์สินจ้าง ก็ไม่อาจเอาชนะได้. เพราะฉะนั้น คนฉลาด (บัณฑิต) เมื่อมองเห็นประโยชน์ (ที่แท้) แก่ตน พึงปลูกฝังศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์. ผู้ใดประพฤติธรรมด้วยกาย วาจา ใจ ผู้นั้นย่อมเป็นที่สรรเสริญในโลกนี้, จากไปแล้ว ก็บันเทิงในสวรรค์”

“ชาวโลกถูกมัจจุราชคอยประหัตประหาร ถูกชราปิดล้อมไว้ ถูกลูกศรแห่งตัณหาทิ่มแทง พล่านไปด้วยความปรารถนาตลอดทุกเวลา. ชาวโลกถูกมัจจุราชห้ำหั่น ถูกชราล้อมไว้ ไม่มีอะไรต้านทานได้ จึงเดือดร้อนอยู่ร่ำไป ราวกะเป็นคนร้ายที่ถูกลงโทษ. ความตายความเจ็บไข้และความแก่ เป็นเหมือนไฟ ๓ กองที่คอยไล่ตาม, กำลังที่จะรับมือได้ก็ไม่มี แรงเร็วที่จะวิ่งหนีก็ไม่พอ (เพราะฉะนั้น) เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า จะน้อยหรือมากก็ให้ได้อะไรบ้าง เพราะวันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไปจากประโยชน์ที่จะทำ. จะเดินอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งหรือนอนอยู่ก็ตาม วาระสุดท้ายก็ใกล้เข้ามา ๆ, ท่านจึงไม่ควรประมาทเวลา.”

ว.วชิรเมธี
สถาบันวิมุตตยาลัย

Source: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=133684&categoryID=671

ดำเนินชีวิตอย่างเข้าใจสมมติบัญญัติ...เพื่อชีวิตที่เป็นสุข

เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 27 เมษายน 2554

ในปัจจุบันสภาพการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง และความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ทางสังคมทำให้มนุษย์ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งทางบวกและทางลบ ทางบวกก่อให้เกิดความสะดวกสบายและประหยัดเวลา ในทางลบทำให้มนุษย์มีรูปแบบวิถีชีวิตเอียงไปทางวัตถุ ทำให้ระบบครอบครัว ชุมชม สังคมและวัฒนธรรมอ่อนแอลง ขาดพลังความเข้มแข็งทางจิตใจ ต้องดิ้นรน แข่งขันและต่อสู้กันมากโดยหวังจะได้รับความพึงพอใจหรือเข้าถึงความสุขซึ่งใน ทางตรงกันข้ามกลับทำให้มนุษย์ต้องพบกับความทุกข์และมีปัญหาด้านสุขภาพจิตมาก ขึ้น

เหล่านี้เป็นเพราะมนุษย์ลืมไปว่าความเจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีทางด้านสังคมเป็นการตอบสนองชีวิตเพียงด้านเดียวคือด้านสังคมในขณะ ที่มนุษย์ละเลยชีวิตอีกด้านหนึ่งคือด้านธรรมชาติ ดังนั้นการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขจะต้องเป็นการดำเนินชีวิตที่ตอบสนอง ชีวิตทั้งสองด้านคือด้านสังคมและธรรมชาติอย่างสมดุล

พระพุทธศาสนามองว่ามนุษย์มีชีวิตสองด้านคือด้านหนึ่งเป็นด้านธรรมชาติอีก ด้านหนึ่งเป็นด้านสังคม ในด้านธรรมชาติชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ต้องเป็นไปตามกฎธรรมชาติ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น ส่วนในด้านที่เป็นสังคมมนุษย์จะต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในสังคม เป็นส่วนประกอบของสังคม ถ้ามองในแง่นี้มนุษย์จะเป็นตัวเชื่อมกลางระหว่างธรรมชาติกับสังคม

พระพุทธศาสนายังเน้นย้ำอีกว่าถ้าหากว่ามนุษย์จะดำรงชีวิตให้มีความสุขจำเป็น ที่จะต้องดำรงชีวิตให้สอดคล้องหรือไม่ให้แปลกแยกจากธรรมชาติ ต้องเข้าถึงทั้งความจริงทั้งสองระดับ คือ ๑) ความจริงทางสังคม (สมมติบัญญัติ) ซึ่งเป็นความจริงที่ทางสังคมตกลงร่วมกันหรือยอมรับร่วมกันซึ่งพระพุทธศาสนา เรียกว่า “สมมติสัจ” ๒) ความจริงตามสภาวะ (สภาวะสัจ) คือความจริงตามสภาวะหรือตามธรรมชาติ ซึ่งความจริงชนิดนี้เป็นกฎธรรมชาติ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น เป็นความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติเหนือการสมมติของมนุษย์

เบื้องหลังความจริงทางสังคม (สมมติบัญญัติ) มีความจริงทางธรรมชาติ (สภาวะสัจ) รองรับ สมมติบัญญัติเป็นตัวประสานความจริงเข้ากับสังคมหรือเป็นสิ่งที่นำเข้าสู่ ความจริงในระดับสภาวะ เป็นเสมือนเปลือกที่ห่อหุ้มความจริงในระดับสภาวะ สมมติบัญญัติเป็นที่มาของอารยธรรมของมนุษย์ ชีวิตและสังคมจะเป็นไปได้ด้วยดีต้องมีสมมติบัญญัติคือสมมติที่ออกมาในรูปของ บัญญัติเป็นฐาน ซึ่งสมมติที่ออกมาในรูปของบัญญัติ เช่นการบัญญัติชื่อคนแล้วยอมรับร่วมกันในสังคม การบัญญัติกฎกติกา (กฎหมาย) แล้วยอมรับร่วมกันในสังคม การให้มูลค่าของเงินทองแล้วตกลงร่วมกันในสังคม เป็นต้น

สมมติบัญญัติจึงเป็นเทคโนโลยีทางสังคมเพื่อให้มนุษย์เข้าถึงความจริงตาม ธรรมชาติ แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์จะต้องใช้สมมติบัญญัติเพื่อเอาประโยชน์จากความจริง ธรรมชาติ ไม่ติดอยู่เพียงแค่สมมติบัญญัติเพราะชีวิตมนุษย์มีสองด้านดังที่กล่าวแล้ว

ตัวอย่างที่ชัดเจนในการใช้สมมติบัญญัติทางสังคมเพื่อเข้าถึงความจริงทาง ธรรมชาติ เช่นการกระทำที่มีผลสองสถานะ คือสถานะหนึ่งได้แก่การกระทำเพื่อผลในระดับบัญญัติทางสังคม (สมมติบัญญัติ) เช่น ทำงานเพื่อเงินเดือน แต่มีอีกสถานะหนึ่งที่รองรับผลในระดับบัญญัติทางสังคมคือผลในระดับสภาวะ ได้แก่ ทำงานเพื่อผลสำเร็จของงานไม่ใช่เพียงแค่เงินเดือน เป็นต้น ซึ่งถ้าหากว่าเมื่อใดก็ตามมนุษย์ไม่ใช้สมมติบัญญัติเพื่อเข้าถึงธรรมชาติคือ ทำงานเพียงเพื่อเงินเดือนโดยไม่คำนึงถึงผลที่แท้จริงของงานที่อยู่เบื้อง หลังเงินเดือนเมื่อนั้นมนุษย์ก็จะเกิดการแปลกแยกจากธรรมชาติ ก็จะเกิดวิปริตขึ้นทั้งในจิตใจ ชีวิตและสังคม ดังนั้นสมมติบัญญัติจึงเป็นตัวประสานเพื่อให้มนุษย์เอาประโยชน์จากธรรมชาติ

การปฏิบัติต่อสมมติบัญญัติที่ถูกต้องคือมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยตัวสำคัญใน กระบวนการของธรรมชาติเพราะเป็นตัวอยู่กลางระหว่างธรรมชาติและสังคมไม่ควร เห็นสมมติว่าเป็นเรื่องเหลวไหลแต่ขณะเดียวกันก็ไม่ควรหลงใหลในสมมติ ต้องใช้ปัญญาให้เข้าใจตามหลักทางพระพุทธศาสนาที่มองว่าสมมติบัญญัติก็คือ ความจริงแต่เป็นความจริงในระดับหนึ่งซึ่งยังมีความจริงที่เหนือขึ้นไปอีก ได้แก่ความจริงในระดับสภาวะที่เป็นแก่นแท้ที่เป็นเป้าหมายสำคัญของชีวิต ต้องใช้ปัญญาที่เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในกฎธรรมชาติ และเจตนามีคุณสมบัติทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วเป็นเครื่องมือในการเข้าใจ ธรรมชาติและสังคม

มนุษย์ที่เข้าใจธรรมชาติตรงนี้จึงสามารถดำรงตนให้สอดคล้องกับธรรมชาติเพื่อ ชีวิตที่เป็นสุข สามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสนองเจตนาและปัญญาในการเข้าไปร่วมกระบวน การธรรมชาติให้เกิดผลที่ตนเองต้องการและสามารถดำรงอยู่โดยไม่ให้แปลกแยกทั้ง สองด้านคือธรรมชาติสังคม

กล่าวโดยสรุปในฐานะที่มนุษย์เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของธรรมชาติ มนุษย์กับธรรมชาติมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นตั้งแต่มนุษย์ปรากฏขึ้นมา บนพื้นโลก ธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ที่ไม่อาจแยกตัวออกจากกันได้ แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์เองก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมเช่นกัน ดังนั้นเพื่อความงอกงามแห่งจิตใจหมายถึงการที่จิตใจของบุคคลประกอบด้วย คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งมีความฉลาดในการกระทำที่เกื้อกูลแก่ชีวิตและจิตใจให้งดงามเพื่อให้ จิตเป็นอิสระจากทุกข์

มนุษย์จึงจำเป็นที่จะต้องเอาปัญญาและเจตนาที่ดีไปเป็นปัจจัยร่วมในกระบวนการ ของกฎธรรมชาติเพื่อให้เกิดผลดีแก่ชีวิตและสังคมพร้อมทั้งใช้เทคโนโลยีทาง สังคมและเทคโนโลยีทางด้านจิตใจเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตอย่างมีความ สุขตามหลักพระพุทธศาสนา ต้องรู้และเข้าใจความจริงทางธรรมชาติและความจริงทางสังคมอย่างถูกต้องและ จริงจังด้วยปัญญาโดยยึดหลักพระพุทธศาสนาที่สอนให้มนุษย์ดำเนินชีวิตให้ถูก ต้อง และมีดุลยภาพระหว่างสังคมและธรรมชาติเพื่อเข้าถึงความสุขที่แท้จริง.

ผศ.ดร.พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง)

Source: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=135051

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง ?


การฝังเข็มไม่เพียงแต่ จะช่วยทำให้หลอดเลือดบริเวณที่ปักเข็มขยายตัวเท่านั้น แต่หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายก็จะมีการขยายตัวอย่างเหมาะสมอีกด้วย ทำให้เนื้อเยื่อทั่งร่างกายได้รับสารอาหารและขจัดของเสียที่คั่งค้างได้ดี กว่า

การฝังเข็มยังสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นเพื่อปรับการทำ งานของอวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากจุดฝังเข็มได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น

เมื่อปักเข็มกระตุ้นจุด "เน่ยกวาน" บนเส้นลมปราณเยื่อหัวหัวใจที่อยู่บริเวณข้อมือ สามารถปรับการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ สามารถทำให้หลอดเลือดหัวใจขยายตัวได้

เมื่อปักเข็มกระตุ้นจุด "จู๋ซานหลี่" ของเส้นลมปราณกระเพาะอาการที่อยู่บริเวณหน้าแข็ง สามารถกระตุ้นทำให้กระเพาะอาการที่หดเกร็ง มีการคลายตัวและบีบตัวเป็นจังหวะดีขึ้น สามารถปรับการหลั่งของกรดในผู้ป่วยที่มีภาวะกรดกระเพาะอาการมากเกินไป ให้ลดน้อยลงสู่สภาพปกติได้

เมื่อใช้การรมยากระตุ้นจุด "จื้อยิน" ที่บริเวณนิ้วก้อยของเท้า พบว่า สามารถกระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกของสตรีที่ตั้งครรภ์ ให้หดตัวเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ทำให้ทารกในครรภ์มีการหมุนเคลื่อนตัว จึงสามารถใช้วิธีการนี้มารักษาภาวะทารกในครรภ์อยู่ผิดท่าได้

ตัวอย่าง เหล่านี้ เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ สำหรับการแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะไม่สามารถอธิบายกลไกการเกิดปรากฏการณ์เหล่านี้ได้จากความรู้ทางการ แพทย์ที่มีอยู่แต่เดิม อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ระบบประสาทและการค้นคว้าในด้านการฝังเข็มพบว่า

การ กระตุ้นเส้นประสาทส่วนปลาย (peripheral nerve) ด้วยการฝังเข็ม สามารถก่อให้เกิดสัญญาณประสาทเข้าสู่ก้านสมองและสมอง และมีทางเดินประสาท (pathway) เชื่อมโยงไปยังศูนย์เซลประสาท (neuron center) ซึ่งส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณก้านสมองและฮัยโปธาลามัส แล้วมีสัญญาณประสาทส่งกลับไปควบคุมการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ โดยผ่านระบบประสาทอัตโนมัติที่ไปยังอวัยวะนั้น ๆ

การฝัง เข็มยังสามารถกระตุ้นสมอง ให้มีการหลั่งสารสื่อสัญญาณประสาท (neurotransmitters) ออกมาหลายชนิด ที่สำคัญคือ เอนดอร์ฟิน (ndorphins) สารตัวนี้มีฤทธิ์ระงับปวดที่แรงมาก ประมาณว่ามันแรงมากกว่ายามอร์ฟีนถึง 1,000 เท่า การฝังเข็มจึงมีฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวดให้แก่ร่างกายได้อีกด้วย

นอก จากนี้ การฝังเข็มยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่งสารฮอร์โมนที่สำคัญออกมา ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ACTH และฮอร์โมนคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีฤทธิ์กว้างขวางมาก เช่น การลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ กระตุ้นการปลดปล่อยพลังงานภายในร่างกาย เป็นต้น

ฤทธิ์ในการปรับควบคุมการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ ด้วยการฝังเข็มนั้น มีลักาณะพิเศษที่เรียกว่า "ทวิภาพ" (Biphasic effect)

หมาย ความว่า การฝังเข็ม ณ จุดเดียวกันสามารถปรากฏผลออกมาได้ 2 แบบ คือ อาจ "กระตุ้น" ให้อวัยวะทำงานเพิ่มขึ้น หรืออาจ "ยับยั้ง" ให้อวัยวะทำงานลดลงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพวะของอวัวะหรือร่างกายของ ผู้ป่วยในขณะนั้นด้วย

กล่าวคือ ถ้าอวัยวะหรือระบบนั้น ๆ อยู่ในสภาวะที่ทำงานน้อยเกินไป (hypofunction) การฝังเข็มจะออกฤทธิ์ "กระตุ้น" ให้มันทำงานเพิ่มขึ้นมาสู่ระดับปกติ (normofunction)

ใน ทางตรงกันข้าม ถ้าวอวัยวะหรือระบบนั้น ๆ อยู่ในสภาวะที่ทำงานมากเกินไป (hyperfunction) การฝังเข็มกลับจะออกฤทธิ์ "ยับยั้ง" ทำให้มันทำงานลดน้อยลงไปสู่ระดับปกติ

ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจมีอัตราการเต้นเร็วกว่าปกติ เช่น เร็วเกินกว่า 100 ครั้งต่อนาที การฝังเข็มสามารถจะยับยั้งให้มันเต้นช้าลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที ตรงกันข้าม ถ้าหัวใจเต้นช้า เช่น น้อยกว่า 40 ครั้งต่อนาที เมื่อฝังเข็มก็จะสามารถกระตุ้นให้มันเต้นเร็วขึ้นมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ

อย่าง ไรก็ตาม ถ้าผู้ป่วยคนนั้นมีอัตราการเต้นหัวใจอยู่สภาพวะปกติอยู่แล้ว การฝังเข็มกระตุ้นมักจะไม่มีผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเปลี่ยนผิดปกติไป ได้

นั่นหมายความว่า ถ้าปักเข็มในคนที่อยู่สภาวะปกติ มักจะไม่มีผลอะไรปรากฎออกมาอย่างชัดเจน เพราะว่าฤทธิ์ของการฝังเข็มในการปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะหรือระบบต่าง ๆ จะเห็นได้ชัดเจนก็ต่อเมื่ออวัยวะหรือระบบนั้นมีความผิดปกติเสียสมดุลในการทำ งานไปแล้ว

สมมุติว่า คน ๆ นั้นมีอัตราการเต้นหัวใจอยู่ในเกณฑ์ปกติประมาณ 70 ครั้งต่อนาที เมื่อฝังเข็มไปแล้ว จะไม่สามารถกระตุ้นทำให้หัวใจเต้นผิดปกติเร็วขึ้นเป็น 100 ครั้งต่อนาทีหรือช้าลงไปเป็น 30 ครั้งต่อนาทีได้เลย

ต่างไปจากการใช้ "ยา" ยาจะมีฤทธิ์เพียงอย่างหนึ่งอย่างเดียว เท่านั้นคือ "กระตุ้น" หรือไม่ก็ "ยับยั้ง"

ใน กรณีที่หัวใจเต้นช้า เราอาจฉีดยาอะโทรปิ่น (atropine) เพื่อกระตุ้นเร่งหัวใจให้เต้นเร็วขึ้นได้ ถ้าหัวใจเต้นเร็วอยู่แล้วหากเรายังฉีดยาอะโทรปิ่นให้แก่ผู้ป่วยเข้าไปอีก หัวใจก็จะยิ่งเต้นเร็วขึ้น จนอาจเกิดอันตรายให้แก่ผู้ป่วยได้ในที่สุด

แต่ ถ้าฝังเข็ม ผลที่ปรากฏออกมาจะมี 2 แบบ เท่านั้นคือ หัวใจเต้นช้าลงมาสู่ปกติ หรือไม่ก็ยังคงเต้นเร็วอยู่เท่าเดิม การฝังเข็มจะไม่ทำให้หัวใจที่เต้นเร็วอยู่แล้ว ยิ่งเต้นเร็วขึ้นไปอีกอย่างเด็ดขาด

การฝังเข็มจึงไม่มีอันตรายจากการใช้เกินขนาด (overdose) หรือการเกิดพิษ (intoxication) เหมือนเช่นกับการใช้ยา

ใน ด้านระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็เช่นกัน การฝังเข็มมีฤทธิ์กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าปกติมีการทำงานเพิ่ม ขึ้น เช่น กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวกินสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคในร่างกายได้ดีขึ้น กระตุ้นให้มีการหลั่งสารแอนตี้บอดี้ (antibody) กระตุ้นการสร้างสารเคมีที่ควบคุมกลไกภูมิคุ้มกันให้เพิ่มมากขึ้น การฝังเข็มจึงสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของคนเราให้เข็มเข็งขึ้นได้

ตรง กันข้าม ในผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไป เช่น ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ การฝังเข็มจะช่วยยับยั้งปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นมากเกินไปให้ลดน้อยลง ได้

ฤทธิ์ในการควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของการฝังเข็มนี้ ส่วนหนึ่งมาจากบทบาทของเอนดอร์ฟีนที่ถูกกระตุ้นให้หลั่งออกมาด้วย การฝังเข็มนั่นเอง

ตามทฤษฎีวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ นั้น การฝังเข็มเป็นวิธีการกระตุ้นระบบประสาทอย่างหนึ่ง ที่สามารถปรับการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายที่เสียสมดุลผิดปกติไปให้กลับสู่สภาพปกติโดยผ่านทางระบบประสาท ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า "Neuromodulation"

จากการค้นคว้าเกี่ยวกับกลไกการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานี้ นักวิยาศาสตร์และแพทย์พบว่า

เมื่อ ปักเข็มลงไปยังจุดหนึ่ง ๆ แล้วทำการกระตุ้นเข็ม จะเป็นการกระตุ้นตัวรับสัญญาณประสาท (receptor) ของปลายประสาทหลายชนิดที่กระจายอยู่ในแต่ละชั้นของเนื้อเยื่อ นับตั้งแต่ผิวนหนัง, เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง, เยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ (fascia) , กล้ามเนื้อ, เส้นประสาท, หลอดเลือด เป็นต้น ทำให้เกิดสัญญาณประสาทวิ่งผ่านเข้ามาในไขสันหลัง

สัญญาณ ประสาทส่วนหนึ่ง จะย้อนออกไปจากไขสันหลังเกิดเป็นวงจรสะท้อนกลับ (reflex) ไปทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่ออวัยวะบริเวณใกล้เคียงที่ถูกเข็มปัก เช่น มีการขยายตัวของหลอดเลือด มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง เป็นต้น

สัญญาณประสาทอีกบางส่วน จะเคลื่อนที่ขึ้นไปตามไขสันหลังเข้าสู่สมองไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมต่าง ๆ ในสมอง มีการหลั่ง "สารสื่อสัญญาณประสาท" (neurotransmitter) ต่าง ๆ ออกมาจากเซลล์ประสาทหลายชนิดพร้อมกับมีสัญญาณประสาทส่งย้อนลงมาจากสมองอีก ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system)

สัญญาณประสาทที่ส่งออกมาพร้อมกับสารสื่อสัญญาณประสาทที่หลั่งออกมานั้น จะก่อให้เกิดผลต่าง ๆ ตามมาหลายอย่าง อาทิเช่น

- ยับยั้งความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับอันตราย

- ปรับการทำงานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ที่เสียสมดุลไปให้กลับสู่สภาพสมดุลตามปกติ

- ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนหลายอย่างให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อปรับให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานอย่างสมดุลเป็นปกติ

- กระตุ้นปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้อยู่ในสภาพให้อยู่ในสภาพปกติ เพื่อ ขจัดสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรค ยับยั้งปฏิกิริยาภูมิแพ้ไวเกิน ยับยั้งปฏิกิริยาการอักเสบ เป็นต้น โดยผ่านฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เป็นสำคัญ

ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ หรือสเตียรอยด์ (steroids) นั้น เป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นร่างกายได้กว้างขวางมาก ยาเพรดนิโซโลนที่ใช้กันในทางการแพทย์ซึ่งถือเป็น " ยาสารพัดนึก" ที่ใช้รักษาโรคต่าง ๆ ได้มากมาย ก็เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันนี้ทั้งสิ้น

ด้วยเหตุที่ การฝังเข็มสามารถกระตุ้นร่างกายให้มีการหลั่งฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ได้ ประกอบกับการฝังเข็มก็สามารถกระตุ้นระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ทุกระบบ จึงไม่แปลกใจเลยที่ฤทธิ์การรักษาโรคด้วยการฝังเข็มจึงมีอยู่กว้างขวางมากมาย เช่นกัน


กลไกการรักษาโรคของการฝังเข็ม

การ ผังเข็มจะกระตุ้นให้เกิดสัญญาณประสาท ส่งเข้าไปยังไขสันหลังแล้วออกวกออกมา ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งเกิดการคลายตัว และหลอดเลือดที่หดตัวเกิดการขยายตัว สัญญาณประสาทบางส่วนจะถูกส่งขึ้นไปยังสมองกระตุ้นให้มีการหลั่งสารสื่อ สัญญาณประสาท เช่น เอนดอร์ฟินและฮอร์โมนต่าง ๆ แล้วส่งสัญญาณประสาทกลับลงมาตามไขสันหลังและเส้นประสาท เพื่อช่วยปรับการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สมดุลเป็นปกติ

จะ เห็นว่า กลไกในการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มนั้น มิใช่เป็นกลไกที่ง่าย ๆ แต่ค่อนข้างสลับซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับทุกระบบของร่างกาย

โดย สรุปแล้ว จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ การฝังเข็มสามารถรักษาโรคโดยอาศัยกลไกสำคัญ ดังต่อไปนี้

1. ปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพสมดุลปกติ
2. ยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
3. ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
4. ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว
5. กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งบริเวณเฉพาะที่และทั่วร่างกาย

อย่างไรก็ตาม การฝังเข็มมิใช่ "เข็มวิเศษ" ที่สามารถรักษาโรคได้ทุกโรค มันมีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน

ถ้า เป็นโรคที่มีพยาธิสภาพของอวัยวะเสียหายรุนแรง เป็นเรื้อรังมานาน ผู้สูงอายุวัยชราที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเสื่อมสภาพมาก ไม่ว่าจะฝังเข็มกระตุ้นอย่างไร ร่างกายก็อาจจะไม่ตอบสนอง การรักษาก็อาจจะไม่ได้ผลดีตามที่คาดคิดเอาไว้ก็ได้ ซึ่งตัวอย่างผู้ป่วยทำนองนี้ก็มีให้เห็นอยู่เสมอ

50 ปีทีผ่านมานี้ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ทำให้เราได้เข้าใจกลไกการรักษาโรคด้วย การฝังเข็มเป็นอย่างมากทีเดียว แต่เราก็ยังไม่ได้เข้าใจมันทั้งหมด

สิ่ง ที่เรายังไม่เข้าใจหรือยังค้นหาคำตอบไม่ได้ ยังมีอีกมากเช่นกัน นั่นเป็นสิ่งที่รอให้เราไปค้นคว้าแสดงหาคำตอบ และเราก็จะเข้าใจกฎเกณฑ์วิทยาศาสตร์ของเวชกรรมวังเข็มมากยิ่งขึ้นไปอีกอย่าง แน่นอน

Source: http://www.thaiacupuncture.net/public/index.php?option=com_content&task=view&id=19&Itemid=42

การฝังเข็มรักษาโรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้คืออะไร
ในอากาศที่ล้อมรอบตัวเรานั้นนอกจากจะมีก๊าซออกซิเจนที่ใช้สำหรับหายใจเพื่อการดำรงชีวิตแล้ว ยังมีสารแปลกปลอมอื่นๆเจือปนอยู่มากมายอาทิเช่น ฝุ่นละออง,เชื้อโรค,สารเคมี หรือมูลตัวไรที่อาศัยอยู่ตามเครื่องนอนหมอนฟูก โดยปกติแล้ว เมื่อคนเราหายใจเอาสารแปลกปลอมเหล่านี้เข้าไป ร่างกายสามารถจะมีปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันกำจัดมันออกไปจากร่างกายได้โดยไม่มีอาการผิดปกติอะไรปรากฏออกมา
ส่วนผู้ป่วยโรคภูมิแพ้นั้น จะมีปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารแปลกปลอมเหล่านี้รุนแรงกว่าในคนปกติ ทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆเช่น จามง่าย , คัดจมูก , น้ำมูกใส , มีเสมหะไหลลงคอ เหมือนกับเป็นหวัดเรื้อรัง
ในรายที่อาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการดังกล่าวเป็นครั้งคราวเมื่อสูดเอาสารบางอย่างเท่านั้นเข้าไป แต่ในรายที่เป็นรุนแรงมักจะมีอาการบ่อยแทบทุกวัน สารที่แพ้ก็มักจะมีหลายอย่างเช่น ฝุ่นละออง , มูลตัวไร , น้ำหอม ,ควันรถ เป็นต้น ผู้ป่วยมักต้องรับประทานยาแก้แพ้เป็นประจำแทบทุกวัน
นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ยังอาจมีอาการอื่นๆอีกด้วยเช่น หอบหืด ,ผื่นแพ้ผิวหนัง,แพ้อาหาร,แพ้ยา เป็นต้น

สาเหตุของโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้มีสาเหตุส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ประมาณ 16-28% ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการตั้งแต่อายุน้อยๆ ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่เสียสมดุลย์ไป นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุมาจากระบบประสาทอัตโนมัติพาราซิมพาเตติกของผู้ป่วยมีการทำงานมากเกินไปอีกด้วย เมื่อมีสารแปลกปลอมมากระตุ้นก็จะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงเกินไปแสดงออกมา

การรักษาโรคภูมิแพ้
ตามการแพทย์แผนปัจจุบันในขณะนี้ นอกจากให้ผู้ป่วยพยายามหลีกเลี่ยงสารที่ทราบว่าแพ้แล้ว การรักษาที่สำคัญได้แก่การให้ยาเพื่อลดอาการเนื่องจากภูมิแพ้ เช่นยาลดน้ำมูก , ยาลดการหลั่งสารฮีสตามีน นอกจากนี้ยังมีการนำสารที่แพ้มาทำเป็นยาฉีดเพื่อลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ซึ่งต้องฉีดต่อเนื่องเป็นเวลานานประมาณ 2-3 ปี

การรักษาด้วยการฝังเข็ม
การฝังเข็มนั้นสามารถใช้รักษาโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน ซึ่งมีผลการศึกษาทดลองรักษามากมาย ในต่างประเทศตลอดจนในประเทศไทย องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ก็ได้ประกาศรับรองผลการรักษาโรคนี้ด้วยการฝังเข็มมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522
แพทย์จะใช้เข็มเล็กๆปักจุดบริเวณรอบจมูกและแขนขา แล้วทำการกระตุ้นประมาณ 20 นาที โดยทั่วไปจะทำการรักษาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ติดต่อกันประมาณ 10 ครั้ง ส่วนใหญ่แล้วเมื่อฝังเข็มไปประมาณ 5 ครั้งจะเห็นผลการรักษาได้อย่างชัดเจน โดยที่ผู้ป่วยจะจาม , คัดจมูกน้อยลง บางคนสามารถลดปริมาณยาที่รับประทานลงไปได้กระทั่งไม่ได้รับประทานยาเลยก็มี
การฝังเข็มรักษาโรคภูมิแพ้นั้น ไม่เพียงแต่สามารถบรรเทาอาการคัดจมูก ,จาม , ไอได้เท่านั้น ที่สำคัญกว่าก็คือ การฝังเข็มสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงขึ้นสู่สภาพสมดุลตามปกติ ไม่มากหรือน้อยเกินไป ดังนั้นเมื่อหยุดฝังเข็มแล้วผู้ป่วยก็จะมีอาการภูมิแพ้เกิดซ้ำขึ้นมาน้อยมากหรือกระทั่งหายไปได้เลย ต่างจากการใช้ยา ซึ่งเมื่อหยุดยาแล้ว อาการทุกอย่างก็จะปรากฏออกมาอีกเหมือนเดิม
การรักษาโรคภูมิแพ้โดยการฝังเข็มนี้ ได้ผลในการรักษาประมาณ 90 % ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย เช่นระยะวัยรุ่นจะเห็นผลการรักษาดีมาก ตรงกันข้ามในผู้ป่วยที่มีอายุมากจะได้ผลน้อยกว่า ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้สูงอายุถูกสารภูมิแพ้กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ผิดปกติมาเป็นเวลานานเรื้อรังกว่า และทำให้สภาพเยื่อบุจมูกเสื่อมไปมากกว่านั่นเอง

ตัวอย่างผู้ป่วย

1) คุณ ธ. นักศึกษา อายุ 19 ปี มีอาการโรคภูมิแพ้มาตั้งแต่เด็ก คัดจมูกจามบ่อยในเวลากลางคืนและรุ่งเช้าต้องรับประทานยาแก้แพ้และยาลดน้ำมูกเป็นประจำทุกวันนานประมาณ 10 กว่าปี ได้มาฝังเข็มรักษา หลังจากทำครั้งแรก อาการทุเลาลง
อย่างชัดเจน เมื่อทำครบ 7 ครั้ง อาการต่างๆหายเป็นปกติ

2) คุณ ย. ข้าราชการ อายุ 42 ปี มีอาการคัดจมูก จาม เป็นประจำทุกเช้า โดยเฉพาะเวลาโดน ฝุ่นละออง หรือถูกอากาศเย็น ต้องรับประทายยาแก้แพ้ และยาลดน้ำมูกในตอนก่อนนอนทุกคืน ติดต่อกันมานาน 20 ปี ได้รับการฝังเข็มรักษาโรคภูมิแพ้ติดต่อกันรวม 50 ครั้ง อาการต่างๆทุเลาหายไปหมด สามารถหยุดรับประทานยา โดยไม่มีอาการกำเริบเลยได้เกือบ 1 ปี หลังจากหยุดการรักษาแล้ว

3)คุณ บ. นักเรียน อายุ 14 ปี เป็นโรคภูมิแพ้ มานาน 4 ปีได้มารักษาด้วยการฝังเข็ม5ครั้ง อาการต่างๆทุเลาหายไปหมด สามารถหยุดรับประทานยาแก้แพ้และยาลดน้ำมูกได้หมดเช่นกัน

Source:http://www.yanhee.co.th/yhh/th/altn/thaiacupuncture/allergy.htm

พัฒนาการของการฝังเข็มในประเทศจีน


เวชกรรมฝังเข็มเป็นศาสตร์การรักษาโรคที่มีกำเนิดมาจากประเทศจีน จากหลักฐานทางโบราณ คดีียุคหินใหม่ มีการขุดค้นพบเข็มรูปร่างต่างๆที่ฝนทำมาจากเศษหิน กิ่งไม้, เศษกระดูก ,กระเบื้องดินเผา, โลหะสำริด,ทองแดง,เหล็ก,ทองคำและเงิน เป็นต้น สำหรับใช้ปักแทง กดนวด ร่างกาย และกรีดหนอง แสดงให้เห็นว่า บรรพบุรุษของชาวจีนในยุคโบราณ รู้จักใช้เข็ม รักษาโรค มาเป็นเวลายาวนาน อย่างน้อยก็ 4,000 ปีมาแล้ว


บรรดานักโบราณคดีและแพทย์จีน ได้เสนอข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการกำเนิดของการฝังเข็มเอาไว้ดังนี้ว่า…

มนุษย์เราคงได้เรียนรู้และสังเกตพบว่า เมื่อมีความเจ็บปวด จากโรค ณ บริเวณหนึ่งๆ หากทำการกดนวดหรือแทงกระตุ้น “จุด” บางแห่งของร่างกายแล้ว จะสามารถบรรเทา ความเจ็บปวดหรืออาการ ไม่สบายต่างๆได้ผลดีกว่าจุดอื่นๆ เมื่อผ่านการสั่งสม ประสบการณ์ ถ่ายทอดต่อๆกันมาหลายชั่วอายุคน มนุษย์จึงเกิดจินตภาพของ “จุดกระตุ้นที่สามารถรักษาโรค” ขึ้นมาได้ในที่สุด

การฝังเข็มถือเป็นวิธีการรักษาโรคที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวจีน นอกเหนือไปจากการรักษา ด้วยยาสมุนไพรและการนวด ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินเช่น หมดสติ เป็นลม ชักกระตุก และอาการเจ็บปวด ต่างๆ การฝังเข็มจะให้ผลการรักษาได้รวดเร็วกว่าการใช้ยาสมุนไพรเป็น อย่างมาก ดังนั้น ในแต่ละยุคสมัยหรือในแต่ละราชวงศ์ของจีน วิชาฝังเข็มมักจะได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการค้นคว้าทฤษฎีและวิธีการใหม่ๆอยู่เสมอ

ในสมัยสงครามระหว่างแคว้นเมื่อประมาณ 2,000 กว่าปีก่อนนั้น บรรพบุรุษชาวจีนได้ร่วมกัน นิพนธ์ คัมภีร์อายุรเวทของกษัตริย์หวงตี้ (หวงตี้เน่ยจิง) อันเป็นตำราแพทย์ที่เป็นรากฐานทฤษฎีการแพทย์จีนและวิชาฝังเข็มเอาไว้แล้วอย่างสมบูรณ์ ซึ่งบรรพบุรุษชาวจีนก็ได้ใช้ความรู้เหล่านี้ มาต่อสู้กับโรคภัย ไข้เจ็บที่เบียดเบียนประชาชน และพัฒนาวิชาฝังเข็มให้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ดังเช่น

ในยุคสงครามระหว่างแคว้นเปี่ยนเช่ แพทย์ผู้มีชื่อเสียงและมีฝีมือสูงส่งได้นิพนธ์ คัมภีร์ หนานจิง หรือคัมภีร์ “ว่าด้วยปัญหา” อันเป็นการพัฒนา ความรู้ในคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิงให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

ยุคสมัยสามก๊ก ฮูโต๋ ซึ่งเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้พัฒนาคิด สร้างวิธีการฝังเข็มแบบฮูโต๋ขึ้น ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ผลที่ดี มากวิธีหนึ่งและยังเป็นที่นิยมใช้มากระทั่งในปัจจุบัน ฮูโต๋ยังได้เขียนตำรา วิชาแพทย์เอาไว้อีกมากมาย เสียดายว่าส่วนใหญ่ได้สูญหายไปเสียแล้ว

ตอนปลายสมัยสามก๊ก หวงฝู่มี่ ได้ค้นคว้าตำราแพทย์ที่มีอยู่กระจัดกระจายในขณะนั้น แล้วทำการรวบรวมให้เป็นระบบ เรียบเรียงเป็น “ตำราฝังเข็มเล่ม 1 และ 2” ทำให้วิชาฝังเข็มได้รับการถ่ายทอดต่อเนื่องมายัง ชนรุ่นหลัง ถือเป็นคุณูปการที่สำคัญมากของหวงฝู่มี่

ยุคสมัยราชวงศ์หนานเฉา แพทย์จีนได้มีการวาดรูปภาพกายวิภาค ร่างกายมนุษย์ มาแสดงเส้นทางเดินของลมปราณและตำแหน่งจุดฝังเข็ม ทำให้การเรียนวิชาฝังเข็มมีความสะดวกและเข้าใจได้ง่ายขึ้น ช่วยให้ วิชาฝังเข็มได้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง
ในสมัยราชวงศ์ถัง การแพทย์จีนได้เจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก การฝังเข็มถือว่าเป็นวิธีการรักษาโรคที่สำคัญ มีการจัดตั้งแผนกฝังเข็มใน ราชสำนักขึ้นมาโดยเฉพาะ นอกจากจะมีการบริการรักษาโรคแล้ว แผนกนี้ยังมีหน้าที่ในการสอนและ ฝึกอบรมวิชาฝังเข็มอีกด้วย

สมัยราชวงศ์เป่ยซ่ง หวังเหวยอี้ ได้รวบรวมตำราฝังเข็มที่มีอยู่กระจัดกระจายและมีเนื้อหา ที่ไม่ถูกต้อง ให้เป็นระบบ มีการสร้างหุ่นทองแดงรูปร่างเท่าคนจริง เป็นหุ่นจำลองสำหรับให้นักเรียนฝึกหัดฝังเข็ม ซึ่งช่วยกระตุ้นให้วิชาฝังเข็มได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว

วิชาฝังเข็มได้พัฒนารุ่งเรืองมาจนถึงขีดสูงสุดในสมัยราชวงศ์หมิง ในยุคนี้มีการเรียบเรียงตำราฝังเข็มที่สำคัญออกมาหลายเล่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ตำราเจินจิวต้าเฉิง (Compendium of Acupuncture and Moxibustion) ของ หยางจี้โจว นอกจากนี้ ยังมีการคิดวิธีกระตุ้นเข็มแบบต่างๆเพิ่มเติมจากเดิม เป็นจำนวนมากถึง 20 กว่าวิธี มีการรวบรวมจุดฝังเข็มนอกเส้นลมปราณ ให้เป็นระบบและมีการพัฒนาการรมยาด้วยสมุนไพร เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่า นี่คือ ยุคทองของวิชาฝังเข็มของจีน

ตอนปลายของราชวงศ์หมิง จักรพรรดิทรงอ่อนแอไร้ความสามารถในการปกครอง ทำให้บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสาย เป็นเหตุให้มีการก่อกบฎเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงจึงไปขอความช่วยเหลือจากชนเผ่าแมนจู ให้ยกกองทัพมาช่วยปราบกบฎ ฝ่ายแมนจูเห็นเป็นโอกาส จึงเข้ามายึดนครหลวงปักกิ่ง แล้วสถาปนาราชวงศ์ชิงขึ้นปกครองประเทศจีนในเวลาต่อมา

ชาวแมนจูนับถือคำสอนของลัทธิขงจื้อที่ถือว่า การเปลือยกายหรือเปิดเผยส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกาย ถือเป็นเรื่องที่น่าอับอาย ร่างกายของคนเราเป็นสิ่งล้ำค่าที่บิดามารดาสร้างหรือมอบมาให้ การยินยอมให้ของมีคมหรือวัตถุแปลกปลอมล่วงล้ำทำร้ายต่อร่างกาย ถือเป็นบาปต่อบุพการี ทำให้ผู้คนไม่นิยมมารักษาด้วยวิธีฝังเข็ม เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่น่าละอายที่ต้องเปิดเผยร่างกายให้แพทย์ทำการปักเข็ม

กระทั่งถึงปีค.ศ.1822 ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวงแห่งราชวงศ์ชิง ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศยกเลิกแผนกฝังเข็มรมยา ห้ามทำการรักษาโรคด้วยวิธีนี้ในราชสำนักตลอดไป การฝังเข็มจึงได้แต่เสื่อมความนิยมลงเป็นลำดับ

นับตั้งแต่ปีค.ศ.1840 ภายหลังจากที่จีนพ่ายแพ้สงครามฝิ่นให้แก่อังกฤษ บรรดามหาอำนาจต่างชาติได้เข้ามาแผ่ขยายอิทธิพลในประเทศจีน โดยได้นำเอาวิทยาการทางการแพทย์มาเผยแพร่ด้วย และเป็นที่ยอมรับในหมู่ชาวจีนได้ในเวลาอันรวดเร็ว ยิ่งทำให้การแพทย์แผนโบราณจีนเสื่อมความนิยมลงไปอีก

ภายหลังการสถาปนาระบอบสาธารณรัฐในปีค.ศ.1911 มาจนกระทั่งในสมัยที่พรรคก๊กมินตั๋งขึ้นปกครองประเทศจีน ประเทศจีนก็เปลี่ยนมายึดถือการแพทย์แผนตะวันตกเป็นระบบการแพทย์หลักของประเทศอย่างเต็มตัว การแพทย์แผนโบราณรวมทั้งการฝังเข็มจึงได้รับการดูถูกเหยียดหยามมากยิ่งขึ้น เสื่อมความนิยมลงไปเรื่อยๆ คงเหลือเป็น วิธีการรักษาโรคเล็กๆน้อยๆ ให้แก่ประชาชนผู้ยากจนในชนบทเท่านั้นเอง

ในปีค.ศ.1927 พรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นอย่างรุนแรง พรรคก๊กมินตั๋งยกกำลังเข้าปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีเหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำ จำต้องหลบหนีไปตั้งฐานที่มั่นในชนบท เพื่อสู้รบกับพรรคก๊กมินตั๋ง

ท่ามกลางความยากลำบากและขาดแคลนวัตถุรวมทั้งเวชภัณฑ์ในเขตชนบท เหมาเจ๋อตงและพรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงเห็นความสำคัญของการแพทย์แผนโบราณของจีนเป็นอย่างมาก สนับสนุนให้มีการใช้ยาสมุนไพรและการฝังเข็มรักษาโรค วิชาฝังเข็มจึงสามารถดำรงอยู่ได้และมีการพัฒนา ในเวลาต่อมา

ปีค.ศ.1949 เมื่อได้รับชัยชนะในสงครามปลดปล่อยและสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงถือนโยบายสนับสนุนการแพทย์แผนโบราณจีนอยู่ต่อไป และเรียกร้องให้ประสานเข้ากับการแพทย์แผนตะวันตกอีกด้วย

ในเดือนกรกฎาคมปีค.ศ.1951 จีนก็ได้ก่อตั้งสถาบันวิจัยการฝังเข็มรมยาขึ้น เป็นการเริ่มต้นพัฒนาวิชาฝังเข็มอย่างจริงจัง จีนได้ส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์และการแพทย์สมัยใหม่ที่เกี่ยวกับวิชาฝังเข็มเป็นอย่างมาก การวิจัยค้นคว้าได้ทำกันอย่างลึกซึ้งทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ ครอบคลุมไปทุกแขนงของวิทยาศาสตร์การแพทย์

ผลงานการค้นคว้าวิจัยที่สำคัญทางด้านเวชกรรมฝังเข็มในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา นับจากการปฏิวัติสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนได้แก่

1. การสำรวจ “ปรากฏการณ์เส้นลมปราณ” ในประชากรกลุ่ม ต่างๆทั่วทั้งประเทศจีน โดยมีประชากรเข้าร่วมการสำรวจเป็นจำนวน มากถึง 200,000 คน ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า “ปรากฏการณ์เส้น ลมปราณ” นั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในภาววิสัยและเป็นคุณสมบัติทาง สรีรวิทยาอย่างหนึ่งของร่างกายมนุษย์เรา

2. การค้นคว้าเกี่ยวกับจุดลมปราณทั้งในแง่กายวิภาคและ สรีรวิทยา ทำให้เราเข้าใจโครงสร้างทางกายวิภาคและเข้าใจถึงคุณ-สมบัติต่างๆของจุดลมปราณว่า มันเป็นตำแหน่งบนผิวหนังของ ร่างกายที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำและการนำไฟฟ้าสูง เมื่อกระตุ้นแล้ว สามารถปรับการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆในร่างกายได้

3.การนำเอาการฝังเข็มมาใช้ระงับความเจ็บปวดในการผ่าตัด แทนการใช้ยาชาหรือยาสลบได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งเป็นการบุกเบิก พัฒนาวิชาวิสัญญีวิทยาที่มีอยู่เดิม และเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่ความ เข้าใจถึงกลไกในการระงับความเจ็บปวดและการรักษาโรคด้วย การฝังเข็มในเวลาต่อมา

4. การคิดค้นวิธีการฝังเข็มรูปแบบใหม่ๆที่นอกเหนือไปจากวิธีการแบบโบราณเช่น การฝังเข็มศีรษะ เข็มหู เข็มตา เข็มใบหน้า เข็มเท้ารวมทั้งการประดิษฐ์อุปกรณ์ใหม่ๆเช่น เข็มแม่เหล็ก เข็มไฟฟ้า เครื่องรมยาสมุนไพรไฟฟ้า เป็นต้น

5. การศึกษาวิจัยนำเอาการฝังเข็มมาใช้รักษาโรคต่างๆ ซึ่งใน ปัจจุบัน มีรายงานการศึกษาครอบคลุมทุกแผนก ไม่ว่าจะเป็นด้าน อายุรกรรม ศัลยกรรม กุมารเวช สูตินารีเวช วิสัญญีวิทยา จักษุวิทยา ออร์โธปิดิกส์ และหูคอจมูก เป็นต้น

ผลงานดังกล่าวนี้นับเป็นคุณูปการที่ชาวจีนได้สร้างให้แก่มวลมนุษยชาติ ทำให้วิชาฝังเข็มให้ก้าวไปสู่ความเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และสามารถประสานเข้ากับการแพทย์แผนปัจจุบัน จนเป็นที่ยอมรับและแพร่หลายไปทั่วโลก

การเผยแพร่เวชกรรมฝังเข็มในทั่วทุกมุมโลก

ในยุคแรกวิชาฝังเข็มใช้ปฏิบัติกันในวงจำกัด อยู่แต่ในดินแดนของจีนเท่านั้น ครั้นต่อมาเมื่อจีนได้มีการติดต่อค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศอื่นๆ จึงได้มีการเผยแพร่ ศาสตร์แขนงนี้ออกไป

ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 วิชาฝังเข็มได้เริ่มเผยแพร่ไปยังประเทศ เพื่อนบ้านใกล้เคียงของจีนก่อนอันได้แก่ เกาหลีและญี่ปุ่น จากนั้นจึงแพร่หลายไปยังคาบสมุทรอินเดียและบรรดาประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังตัวอย่างเช่น

ในสมัยราชวงศ์ถังของจีน ได้มีการส่งแพทย์จีนไปเกาหลีและญี่ปุ่น เพื่อสอนวิชาการแพทย์แผนโบราณรวมทั้งวิชาฝังเข็ม ตลอดจนมีการจัดระบบสาธารณสุขและระบบองค์กรทางการแพทย์ที่เลียนแบบราชสำนักของจีน ทำให้วิชาฝังเข็มได้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์แผนโบราณของเกาหลีและญี่ปุ่นไปด้วย

ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 มี่หยูน จากมลฑลกานซูของจีนได้นำเอา วิธีการฝังเข็มตามแบบหมอฮูโต๋ไปเผยแพร่ในภาคเหนือของประเทศอินเดีย

ในคริสต์ศตวรรษที่14 มีแพทย์ฝังเข็มคนหนึ่งของจีนชื่อ โจวยิน เดินทางไปรักษาโรคให้แก่บรรดาเชื้อพระวงศ์ของประเทศเวียดนาม สร้างความดีความชอบเป็นอย่างมาก จนกระทั่งได้รับปูนบำเหน็จตำแหน่ง จากกษัตริย์เวียดนามเป็นการตอบแทน

ในคริสต์ศตวรรษที่10 การแพทย์ของจีนก็ได้แพร่หลายไปยัง ประเทศต่างๆทางแถบคาบสมุทรอาหรับตามการขยายตัวของเส้นทาง สายไหม ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมและการค้าสำคัญที่เชื่อมระหว่างซีกโลก ตะวันออกและซีกโลกตะวันตก

วิชาฝังเข็มเพิ่งเป็นที่รู้จักของชาวตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 นี้เอง อันเป็นยุคแห่งการล่าอาณานิคมที่ชาติมหา อำนาจตะวันตกได้เดินทางมายังโลกตะวันออก โดยบรรดาหมอสอนศาสนาและแพทย์ชาวยุโรปที่มารับจ้างทำงานในตะวันออกไกล ได้มีโอกาสเห็นวิธีการฝังเข็มรักษาโรคของหมอจีนและญี่ปุ่น เมื่อกลับไปประเทศตนเองก็นำเรื่องราวเหล่านี้ไปเผยแพร่ แพทย์บางคนยังได้ทดลองฝังเข็มรักษาผู้ป่วย และตีพิมพ์ผลการศึกษาในวารสารทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นอีกด้วย ทำให้การฝังเข็มเป็นที่รู้จักในหลายๆประเทศของยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ และอิตาลี เป็นต้น

ในระหว่างปี ค.ศ.1816 – 1825 ลุยส์ แบร์ลิโอซ์ (Louise Berlioz) และ ซาร์ลองดิแอร์(Sarlandiere) แพทย์ชาวฝรั่งเศส ได้นำเอาการฝังเข็ม มาใช้รักษาผู้ป่วยในหลายๆโรค เขาทั้งสองพบว่า การฝังเข็มสามารถใช้รักษาได้ผลดีในกลุ่มโรคที่มีอาการเจ็บปวดเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อกระดูกและ โรคปวดศีรษะไมเกรน

ซาร์ลองดิแอร์ยังได้ประยุกต์ต่อกระแสไฟฟ้าเข้ากับเข็ม เพื่อทดลอง รักษาให้กับผู้ป่วยอีกด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นกำเนิดของ “การฝังเข็มกระตุ้นด้วย ไฟฟ้า” (Electroacupuncture) ครั้งแรกของโลก

ในเวลาต่อมา ข่าวสารการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มในยุโรป ก็ค่อยๆแพร่ไปยังทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งได้สร้างความสนใจให้แก่วงการแพทย์ใน สหรัฐอเมริกาและแคนาดาเช่นเดียวกัน

เซอร์วิลเลียม ออสเลอร์ (Sir William Osler) ศาสตราจารย์ผู้มีชื่อเสียงแห่งโรงเรียนแพทย์จอห์นฮอบกินส์ ที่ได้รับการยกย่องเป็น ปรมาจารย์ทางการแพทย์แผนตะวันตกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ยังเคยแนะนำให้ใช้การฝังเข็มรักษาอาการปวดเอวให้แก่ผู้ป่วยมาแล้วเช่นกัน

วิธีการฝังเข็มที่บรรดาแพทย์ในยุโรปและอเมริกาปฏิบัติกันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17–19 นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการรักษาโรคที่มีอาการเกี่ยวกับความเจ็บปวดเกือบทั้งนั้น และที่ได้ผลดีก็มักจะเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ

ความจริงแล้ว วิธีการฝังเข็มของแพทย์ในยุโรปและอเมริกาสมัยนั้นจะแตกต่างไปจากที่แพทย์จีนทำเป็นอย่างมาก เพราะว่าในการฝังเข็มตามวิธีการแพทย์แผนโบราณของจีน จะต้องมีการวินิจฉัยโรคโดยใช้ทฤษฎีการแพทยืจีนเพื่อกำหนดจุดฝังเข็มและแผนการรักษา และยังต้องมีการกระตุ้นเข็มด้วยวิธีการต่างๆอีกหลายแบบตามสภาพโรค ของผู้ป่วยแต่ละราย จึงทำให้ผลการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มที่แพทย์ทางตะวันตกในยุคนั้นได้ทำไป ไม่ประสบผลเท่าที่ควร ประกอบกับในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 – 20 นั้นการแพทย์แผนปัจจุบันกำลังเจริญรุ่งเรือง

ดังนั้น ความนิยมในการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มทั้งในจีนและประเทศซีกโลกตะวันตกจึงค่อยๆลดน้อยลง คงเหลือปฏิบัติในวงจำกัดอยู่แต่ในเขตชนบทของประเทศจีนเท่านั้นเอง

ในทศวรรษปี 1930 วิชาฝังเข็มกลับมาได้รับความสนใจจากชาวตะวันตกในทวีปยุโรปอีกครั้งจากการเผยแพร่ของ จอร์จ ซูลี เดอ โมรองท์ (George Soulie de Morant)

ซูลี เดอ โมรองท์ เป็นนักอักษรศาสตร์ด้านภาษาจีน เขาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่กงศุลฝรั่งเศสประจำประเทศจีนในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในระหว่างที่อยู่ในประเทศจีนนั้น เขาได้สนใจศึกษาวิชาฝังเข็มไปด้วย

ภายหลังเมื่อเดินทางกลับฝรั่งเศสในปีค.ศ.1928 ซูลี เดอ โมรองท์ ก็ได้นำเอาวิชาฝังเข็มไปเผยแพร่ กระตุ้นให้แพทย์บางส่วนในทวีปยุโรป หันมาสนใจค้นคว้าเรื่องการฝังเข็มอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม กระแสความสนใจของชาวตะวันตกต่อวิชาฝังเข็ม ในช่วงทศวรรษปี 1930 นี้ ก็ยังคงเป็นความสนใจในวงแคบๆอยู่นั่นเอง

หลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปีค.ศ.1949 รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ได้มีสัมพันธไมตรีกับสหภาพโซเวียตและประเทศกลุ่มสังคมนิยมแถบยุโรปตะวันออกอย่างใกล้ชิด ทำให้วิชาฝังเข็มที่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ และแพร่หลายไปยังสหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศทางยุโรปตะวันออก

ส่วนในทางยุโรปตะวันตก ทวีปอเมริกาและส่วนอื่นๆของโลกนั้น วิชาฝังเข็มยังคงถูกถือว่า เป็นศาสตร์แผนโบราณที่เป็นการรักษานอกระบบ ซึ่งปฏิบัติกันแต่ในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลและวงการแพทย์บางส่วน ในวงแคบๆ เท่านั้นเอง

ต่อมาในต้นทศวรรษปี 1970 เมื่อจีนเริ่มดำเนินนโยบายเปิดประเทศ จีนก็ได้เปิดเผยความก้าวหน้าของวิชาฝังเข็มให้ชาวโลกได้รับรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ความสำเร็จเกี่ยวกับการระงับความเจ็บปวดในการผ่าตัดด้วยการฝังเข็มแทนการใช้ยาสลบหรือยาชา

เมื่อประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันแห่งสหรัฐอเมริกาเดินทางไป เยือนจีนในเดือนกุมภาพันธ์ปีค.ศ.1972 ข่าวสารเกี่ยวกับการฝังเข็มรักษาโรคของประเทศจีนก็ได้แพร่กระจายออกไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว บรรดาประเทศต่างๆจากทุกภาคพื้นทวีปทั่วโลก ต่างก็สนใจและส่งคณะ ผู้แทนมาเยี่ยมชม กระทั่งมาศึกษาและฝึกฝนวิชาฝังเข็มจากประเทศจีน แล้วนำกลับไปเผยแพร่ในประเทศของตน ปัจจุบันนี้การฝังเข็มรักษาโรค ได้เผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกถึง 120 กว่าประเทศแล้ว รวมทั้ง ประเทศไทยเราด้วย

ในปีค.ศ.1975 องค์การอนามัยโลกได้ขอความร่วมมือจากจีน จัดตั้งศูนย์อบรมวิชาฝังเข็มให้แก่บุคลากรด้านสาธารณสุขจากประเทศต่างๆทั่วโลก ที่กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ และนครนานกิง รวม 3 แห่ง และยังได้ดำเนินการมาโดยตลอดแม้กระทั่งในปัจจุบันนี้

ในปีค.ศ.1979 องค์การอนามัยโลกได้จัดตั้งคณะกรรมการศึกษาข้อบ่งชี้ในการฝังเข็ม พบว่า การฝังเข็มสามารถใช้รักษาได้ผลในหลายๆโรค โดยได้ประกาศรายชื่อโรคและอาการผิดปกติต่างๆที่แนะนำให้ใช้การฝังเข็มรักษาได้เป็นจำนวนถึง 43 โรค

ในปีค.ศ.1996 องค์การอนามัยโลกได้จัดการประชุมที่ เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี เพื่อทบทวนข้อบ่งชี้ของการฝังเข็มในการรักษาโรคต่างๆอีกครั้ง และได้ประกาศรายชื่อโรคและอาการต่างๆที่ สามารถฝังเข็มรักษาได้ เพิ่มมากขึ้นจากเดิมมาเป็น 64 โรค

เพื่อให้บรรลุคำขวัญที่ว่า “สุขภาพดีถ้วนหน้าปี 2000” ตามคำประกาศอัลมา–อัลต้าในปีค.ศ.1991 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ เวชกรรมฝังเข็มเป็น 1 ใน 3 กิจกรรมสำคัญเกี่ยวกับการแพทย์พื้นบ้าน (Traditional medicine ) ที่องค์การอนามัยโลกให้ความสนใจเป็นพิเศษและได้สรุปรายงานกิจกรรมการฝังเข็มเอาไว้ดังนี้

วิธีการรักษาโรคแบบพื้นบ้านส่วนใหญ่แล้วมักจะจำกัดอยู่ ในขอบเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หนึ่งๆ แต่อย่างไรก็ตาม การฝังเข็ม กลับได้รับการนำเอาไปปฏิบัติทั่วโลก เนื่องจากมันปฏิบัติง่าย มีผล ข้างเคียงน้อยและประหยัด

ในเดือนพฤศจิกายน ปีค.ศ.1987 โดยการสนับสนุนขององค์การอนามัยโลก บุคลากรและองค์กรต่างๆทางด้านการฝังเข็มทั่วโลกได้ร่วมกัน ก่อตั้ง สมาพันธ์การฝังเข็มรมยาแห่งโลก ( World Federation of Acupuncture–Moxibustion Societies หรือ WFAS ) ขึ้น โดยมีที่ทำการของสมาพันธ์ อยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

ในสหรัฐอเมริกานั้น ถึงแม้ว่าชาวอเมริกันจะรู้สึกตื่นเต้นและทึ่งต่อการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มเป็นอย่างมาก แต่การฝังเข็มก็มิใช่จะได้รับการยอมรับอย่างง่ายๆ ในตอนแรกวงการแพทย์อเมริกันมองว่า การฝังเข็ม ยังเป็นแค่ “การทดลอง” ที่ต้องศึกษาวิจัยให้ชัดเจนเสียก่อน

อย่างไรก็ตาม เมื่อชาวอเมริกันได้ไปทดลองฝังเข็ม พวกเขาก็พบว่ามันสามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพของพวกเขาได้จริงๆ ขณะที่แพทย์แผนตะวันตกไม่สามารถ แก้ไขปัญหาให้แก่พวกเขาได้ การฝังเข็มจึงค่อยๆได้รับความนิยมจาก ชาวอเมริกันมากขึ้นเรื่อยๆ

ด้วยเหตุนี้เอง ในปีค.ศ.1996 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาหรือ FDA ( Food and Drug Administration ) จึงได้ประกาศรับรองให้ถือว่า เข็มที่ใช้ในการฝังเข็มนั้นจัดเป็น “อุปกรณ์ทางการแพทย์” ไม่ใช่ “อุปกรณ์ทดลอง” อีกต่อไป สามารถนำเอามาใช้ได้ทั่วไปโดยแพทย์ทางเวชกรรมฝังเข็ม และถือเป็นการรักษาทางการแพทย์ที่เบิกค่าทดแทนจากบริษัท ประกันชีวิตและสุขภาพได้

เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีค.ศ.1997 สถาบันสุขภาพแห่งชาติของ สหรัฐอเมริกา หรือ NIH ( National Institutes of Health ) ได้จัดประชุมครั้งพิเศษ โดยมีผู้เชี่ยวชาญในการแพทย์สาขาต่างๆจำนวน 25 คน เสนอ รายงานต่อผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 1,200 คนเป็นเวลา 2 วันครึ่ง ซึ่งที่ประชุมได้สรุปรายงานการประชุมและยอมรับว่า " การฝังเข็มมีประโยชน์สามารถใช้รักษาโรคบางอย่างได้ผลจริง เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคอัมพาต โรคปวดกล้ามเนื้อ โรคปลอกเอ็นข้อมืออักเสบ ปวดหลัง ปวดศีรษะและ การติดยาเสพติด เป็นต้น"

จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันนี้ วิชาฝังเข็มมิใช่เป็นศาสตร์โบราณอีกต่อไปแล้ว หากเป็นวิทยาศาสตร์การแพทย์แขนงหนึ่งที่ได้เผยแพร่จนเป็นที่ยอมรับไปทั่วทุกมุมโลก ซึ่งทั้งนี้ก็เพราะว่า มันมีศักยภาพในการรักษาโรคที่แน่นอนนั่นเอง



พัฒนาการเวชกรรมฝังเข็มในประเทศไทย

ถึงแม้ไทยและจีนจะมีความสัมพันธ์ติดต่อกันมานาน หากนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยก็เป็นเวลา 700 กว่าปีแล้ว แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ เมื่อนับย้อนหลังจาก พ.ศ.2515 ขึ้นไปแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีการเผยแพร่วิชาฝังเข็มในประเทศไทยที่ “กว้างขวางและจริงจัง” มาก่อนเลย

จาก “ ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ” และจดหมายเหตุของลาลูแบร์มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น ได้มีการแพทย์แผนโบราณจีนเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยแล้วอย่างแน่นอน แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจว่า ไม่ปรากฏบันทึกที่กล่าวถึงการฝังเข็มรักษาโรคเลย

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมจีนเข้ามาในประเทศไทยอย่างมาก กระทั่งในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ไม่มีหลักฐานกล่าวถึงการฝังเข็มเช่นกัน

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเกิดจาก

ประการแรก การแพทย์แผนไทยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียเป็น สำคัญมากกว่าที่จะมีรากฐานมาจากการแพทย์แผนจีน ดังนั้น แนวคิดทฤษฎี การวิเคราะห์และรักษาโรคจึงอิงไปตามอินเดีย โดยเฉพาะตามหลักของ ศาสนาพุทธ วิธีการรักษาโรคจึงประกอบด้วย การใช้ยาสมุนไพรและการ นวดดัดร่างกาย เป็นสำคัญ ต่างไปจากเกาหลีและญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการเผย แพร่วิชาการแพทย์มาจากจีนโดยตรง การแพทย์ของเกาหลีและญี่ปุ่นจึงมี การฝังเข็มประกอบร่วมด้วยให้เห็นอย่างชัดเจน

ประการที่ 2 ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางเป็นต้นมานั้น ตรงกับสมัยราชวงศ์ชิงของจีน อันเป็นยุคที่การฝังเข็มเริ่มเสื่อมความนิยม ลงมาแล้วโดยตลอด จนกระทั่งถูกยกเลิกไปในสมัยจักรพรรดิเต้ากวงเมื่อ ปีค.ศ.1822 ( ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่2 ) ดังนั้นโอกาสที่จะมีการนำเอา วิชาฝังเข็มมาเผยแพร่อย่างกว้างขวางนั้น จึงย่อมมีความเป็นไปได้น้อยลง

อย่างไรก็ตาม การนำเอาวิธีการฝังเข็มเข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะมีมานานอย่างน้อยที่สุดก็ไม่ต่ำกว่า 50 ปีก่อน เพราะ ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็พอเห็นมีแพทย์จีนแผนโบราณย่านเยาวราช ทำการฝังเข็มรักษาโรคให้แก่ผู้ป่วยอยู่ประปรายบ้างแล้ว

การฝังเข็มที่เผยแพร่สู่ประเทศไทยในยุคแรกนั้น จึงเป็นไปในลักษณะส่วนตัว โดยแพทย์แผนโบราณจีนที่อพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ได้นำเอาเข็มติดตัวมาด้วย การฝังเข็มรักษาโรคจึงเป็นที่รู้จักกันแต่ในวงแคบๆเฉพาะหมู่ชาวจีนโพ้นทะเล และยังมีกลิ่นไอของการแพทย์แผนโบราณอย่างเต็มตัว ซึ่งคงมีคนไทยน้อยรายที่จะ ยินยอมเข้าไปรักษาด้วย

ในระหว่างปีพ.ศ.2508-2522 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือพคท.ได้ทำสงครามต่อสู้กับรัฐบาล พลพรรคของพคท.ได้นำเอาวิชาฝังเข็มมาใช้รักษาโรคต่างๆ ให้แก่ทหารและประชาชนที่อยู่ในเขตสู้รบและบริเวณใกล้เคียง ทำให้การฝังเข็มเป็นที่รู้จักของประชาชนไทยบางส่วนที่อยู่ในชนบทห่างไกล แต่ก็เป็นการเผยแพร่ที่จำกัดในวงแคบๆอยู่เช่นกัน

เมื่อจีนดำเนินนโยบายเปิดประเทศในช่วงทศวรรษปี 1970 และ เมื่อประธานาธิบดีนิกสันแห่งสหรัฐอเมริกาได้เดินทางไปเยือนประเทศจีน เพื่อเปิดสัมพันธไมตรีทางการทูตในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2515 ข่าวสาร เกี่ยวกับประเทศจีนก็ได้เผยแพร่ออกไปทั่วโลก เป็นกระแสที่ประเทศไทยเองก็ได้รับเข้ามาโดยปริยาย เรื่องราวเกี่ยวกับการฝังเข็มจึงเริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนไทยอย่างกว้างขวางในระดับทั่วประเทศเป็นครั้งแรก

หลังจากนั้น มีคณะตัวแทนต่างๆจากประเทศไทยทะยอยกัน เดินทางไปเยือนประเทศจีนเป็นระยะๆ อาทิเช่น คณะนักกีฬาปิงปองไทย แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นต้น เมื่อคณะตัวแทนเหล่านี้ได้เดินทาง กลับมา ก็นำเอาเรื่องราวเกี่ยวกับการฝังเข็มมาเผยแพร่ให้สาธารณชนได้ รับทราบกันมากยิ่งขึ้น

ศาตราจารย์นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา อาจารย์แพทย์อาวุโสแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เขียนบทความเล่าใน “จุฬาลงกรณ์เวชสาร” ฉบับเดือนเมษายน พ.ศ.2516 เรื่อง “การรักษาโรคด้วยวิธีฝังเข็ม” หลังจาก ที่ได้ไปเยือนประเทศจีนเอาไว้ว่า

“ ไม่น่าเชื่อเลยว่า เข็มที่ปักที่ขาจะทำให้คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บจน ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ที่คอได้ หรือเข็มที่ปักที่ขานั้นทำให้อาการปวด ท้องหายไปหรือทำให้ตับทำงานดีขึ้น ”

ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบุกเบิกวิชาฝังเข็มในประเทศไทยในระยะนี้ได้แก่ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงคุณหญิง สลาด ทัพวงศ์ ซึ่งท่านได้เดินทางไปเรียนวิชาฝังเข็มจากประเทศจีน แล้วกลับมาตั้งแผนกฝังเข็มและระงับความเจ็บปวดขึ้นที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อพ.ศ.2517 โดยมี รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงลัดดาวัลย์ สุวรรณกิตติ เป็นหัวหน้าแผนก นับเป็นการนำเอาวิชาฝังเข็มเข้ามาสู่ระบบการแพทย์แผนปัจจุบันเป็น ครั้งแรกของประเทศไทย

ภายหลังที่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างไทยและจีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 ในสมัยหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมตลอดจนความร่วมมือในด้านต่างๆระหว่างประเทศทั้งสองก็มากขึ้นเป็นลำดับ

ต่อมาจึงได้มีแพทย์ไทยโดยเฉพาะวิสัญญีแพทย์ เดินทางไปฝึกอบรมวิชาฝังเข็มจากประเทศจีน และได้กลับมาเปิดบริการรักษาโรคให้แก่ ผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างๆหลายแห่ง รวมทั้งมีการรักษาตามคลินิกหมอจีนที่มีอยู่ ประปรายในย่านชุมชนชาวจีน การฝังเข็มจึงค่อยๆแพร่หลายออกไปในหมู่ ประชาชนชาวไทย

กระทรวงสาธารณสุขของไทยก็เล็งเห็นประโยชน์ของวิชาฝังเข็มที่จะเอามาใช้รักษาโรคให้แก่ผู้ป่วย โดยได้มีการจัดอบรมให้แก่บุคลากร ทางสาธารณสุขอยู่เป็นระยะๆเช่น การจัดอบรมวิชาฝังเข็มโดยกรมการแพทย์ เมื่อปี พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2535

ตั้งแต่พ.ศ.2540 เป็นต้นมา การฝังเข็มได้รับความนิยมเอามาใช้เป็นวิธีการลดน้ำหนักจนกลายเป็นธุรกิจด้านเสริมความงามอย่างหนึ่ง ก่อให้เกิดปัญหาการให้บริการที่ไม่ได้มาตรฐานและยังเก็บค่ารักษาบริการที่สูงเกิน กระทรวงสาธารณสุขโดยความร่วมมือจากรัฐบาลจีน โดยมีนายแพทย์ชวลิตสันติกิจรุ่งเรือง และศาสตราจารย์เฉิงจื่อเฉิง เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง ได้จัดอบรมแพทย์ฝังเข็มขึ้น ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเองก็ได้ประกาศปรัชญาในการ ฝึกอบรมแพทย์วิชาฝังเข็มเอาไว้ว่า

“ เพื่อพัฒนาแพทย์ให้สามารถใช้และพัฒนาวิชาฝังเข็มมา เป็นการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย สะดวกและประหยัด สำหรับประชาชนชาวไทยและร่วมเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพัฒนา คุณภาพชีวิตประชาชนไทยสู่เป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้า ”

พัฒนาการของวิชาฝังเข็มในประเทศไทยขณะนี้ยังถือว่าช้ามาก เมื่อเทียบกับประเทศทางตะวันตก ทั้งๆที่มีบุคลากรไปศึกษาจากจีนในช่วง ระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน เรายังขาดแคลนบุคลากรด้านเวชกรรมฝังเข็ม ที่มีคุณวุฒิ งานการวิจัยวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเวชกรรมฝังเข็มยังมีน้อยและ ยังไม่เป็นที่ยอมรับของวงการแพทย์แผนปัจจุบันเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังมี ปัญหาในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตลอดจนความขัดแย้งระหว่างองค์กรต่างๆ และปัญหาประชาชนผู้บริโภคไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มีมาตรฐาน เป็นต้น

เพื่อเป็นหลักประกันให้ประชาชนได้รับการรักษาด้วยการฝังเข็มที่ถูกต้องตามมาตรฐานหลักวิชาทางการแพทย์ ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยเราจึงได้มีกฎหมายกำหนดให้ ผู้ที่จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมฝังเข็มได้นั้น จะต้องเป็นแพทย์ที่ได้ผ่านการขึ้นทะเบียนรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขของไทยเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันนี้มีจำนวนประมาณ 800 กว่าคนในทั่วทั้งประเทศ โดยได้มีการก่อตั้งเป็นสมาคมแพทย์ฝังเข็มและสมุนไพรแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการรับรองเข้าเป็นสมาชิกของสมาพันธ์การฝังเข็มรมยาแห่งโลกด้วย และได้มีการดำเนินกิจกรรมทั้งทางบริการและวิชาการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ทำให้การฝังเข็มได้เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายต่อประชาชนและวงการแพทย์ไทยเราอย่างกว้างขวาง อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

ซึ่งคาดได้ว่า แนวโน้มในอนาคตข้างหน้านั้น การฝังเข็มในประเทศไทยคงจะพัฒนาและแพร่หลายออกไปมากขึ้นกว่านี้อย่างแน่นอน

Source:http://www.yanhee.co.th/yhh/th/altn/thaiacupuncture/history.htm