วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554
การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง ?
การฝังเข็มไม่เพียงแต่ จะช่วยทำให้หลอดเลือดบริเวณที่ปักเข็มขยายตัวเท่านั้น แต่หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายก็จะมีการขยายตัวอย่างเหมาะสมอีกด้วย ทำให้เนื้อเยื่อทั่งร่างกายได้รับสารอาหารและขจัดของเสียที่คั่งค้างได้ดี กว่า
การฝังเข็มยังสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นเพื่อปรับการทำ งานของอวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากจุดฝังเข็มได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น
เมื่อปักเข็มกระตุ้นจุด "เน่ยกวาน" บนเส้นลมปราณเยื่อหัวหัวใจที่อยู่บริเวณข้อมือ สามารถปรับการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ สามารถทำให้หลอดเลือดหัวใจขยายตัวได้
เมื่อปักเข็มกระตุ้นจุด "จู๋ซานหลี่" ของเส้นลมปราณกระเพาะอาการที่อยู่บริเวณหน้าแข็ง สามารถกระตุ้นทำให้กระเพาะอาการที่หดเกร็ง มีการคลายตัวและบีบตัวเป็นจังหวะดีขึ้น สามารถปรับการหลั่งของกรดในผู้ป่วยที่มีภาวะกรดกระเพาะอาการมากเกินไป ให้ลดน้อยลงสู่สภาพปกติได้
เมื่อใช้การรมยากระตุ้นจุด "จื้อยิน" ที่บริเวณนิ้วก้อยของเท้า พบว่า สามารถกระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกของสตรีที่ตั้งครรภ์ ให้หดตัวเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ทำให้ทารกในครรภ์มีการหมุนเคลื่อนตัว จึงสามารถใช้วิธีการนี้มารักษาภาวะทารกในครรภ์อยู่ผิดท่าได้
ตัวอย่าง เหล่านี้ เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ สำหรับการแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะไม่สามารถอธิบายกลไกการเกิดปรากฏการณ์เหล่านี้ได้จากความรู้ทางการ แพทย์ที่มีอยู่แต่เดิม อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ระบบประสาทและการค้นคว้าในด้านการฝังเข็มพบว่า
การ กระตุ้นเส้นประสาทส่วนปลาย (peripheral nerve) ด้วยการฝังเข็ม สามารถก่อให้เกิดสัญญาณประสาทเข้าสู่ก้านสมองและสมอง และมีทางเดินประสาท (pathway) เชื่อมโยงไปยังศูนย์เซลประสาท (neuron center) ซึ่งส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณก้านสมองและฮัยโปธาลามัส แล้วมีสัญญาณประสาทส่งกลับไปควบคุมการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ โดยผ่านระบบประสาทอัตโนมัติที่ไปยังอวัยวะนั้น ๆ
การฝัง เข็มยังสามารถกระตุ้นสมอง ให้มีการหลั่งสารสื่อสัญญาณประสาท (neurotransmitters) ออกมาหลายชนิด ที่สำคัญคือ เอนดอร์ฟิน (ndorphins) สารตัวนี้มีฤทธิ์ระงับปวดที่แรงมาก ประมาณว่ามันแรงมากกว่ายามอร์ฟีนถึง 1,000 เท่า การฝังเข็มจึงมีฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวดให้แก่ร่างกายได้อีกด้วย
นอก จากนี้ การฝังเข็มยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่งสารฮอร์โมนที่สำคัญออกมา ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ACTH และฮอร์โมนคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีฤทธิ์กว้างขวางมาก เช่น การลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ กระตุ้นการปลดปล่อยพลังงานภายในร่างกาย เป็นต้น
ฤทธิ์ในการปรับควบคุมการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ ด้วยการฝังเข็มนั้น มีลักาณะพิเศษที่เรียกว่า "ทวิภาพ" (Biphasic effect)
หมาย ความว่า การฝังเข็ม ณ จุดเดียวกันสามารถปรากฏผลออกมาได้ 2 แบบ คือ อาจ "กระตุ้น" ให้อวัยวะทำงานเพิ่มขึ้น หรืออาจ "ยับยั้ง" ให้อวัยวะทำงานลดลงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพวะของอวัวะหรือร่างกายของ ผู้ป่วยในขณะนั้นด้วย
กล่าวคือ ถ้าอวัยวะหรือระบบนั้น ๆ อยู่ในสภาวะที่ทำงานน้อยเกินไป (hypofunction) การฝังเข็มจะออกฤทธิ์ "กระตุ้น" ให้มันทำงานเพิ่มขึ้นมาสู่ระดับปกติ (normofunction)
ใน ทางตรงกันข้าม ถ้าวอวัยวะหรือระบบนั้น ๆ อยู่ในสภาวะที่ทำงานมากเกินไป (hyperfunction) การฝังเข็มกลับจะออกฤทธิ์ "ยับยั้ง" ทำให้มันทำงานลดน้อยลงไปสู่ระดับปกติ
ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจมีอัตราการเต้นเร็วกว่าปกติ เช่น เร็วเกินกว่า 100 ครั้งต่อนาที การฝังเข็มสามารถจะยับยั้งให้มันเต้นช้าลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที ตรงกันข้าม ถ้าหัวใจเต้นช้า เช่น น้อยกว่า 40 ครั้งต่อนาที เมื่อฝังเข็มก็จะสามารถกระตุ้นให้มันเต้นเร็วขึ้นมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อย่าง ไรก็ตาม ถ้าผู้ป่วยคนนั้นมีอัตราการเต้นหัวใจอยู่สภาพวะปกติอยู่แล้ว การฝังเข็มกระตุ้นมักจะไม่มีผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเปลี่ยนผิดปกติไป ได้
นั่นหมายความว่า ถ้าปักเข็มในคนที่อยู่สภาวะปกติ มักจะไม่มีผลอะไรปรากฎออกมาอย่างชัดเจน เพราะว่าฤทธิ์ของการฝังเข็มในการปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะหรือระบบต่าง ๆ จะเห็นได้ชัดเจนก็ต่อเมื่ออวัยวะหรือระบบนั้นมีความผิดปกติเสียสมดุลในการทำ งานไปแล้ว
สมมุติว่า คน ๆ นั้นมีอัตราการเต้นหัวใจอยู่ในเกณฑ์ปกติประมาณ 70 ครั้งต่อนาที เมื่อฝังเข็มไปแล้ว จะไม่สามารถกระตุ้นทำให้หัวใจเต้นผิดปกติเร็วขึ้นเป็น 100 ครั้งต่อนาทีหรือช้าลงไปเป็น 30 ครั้งต่อนาทีได้เลย
ต่างไปจากการใช้ "ยา" ยาจะมีฤทธิ์เพียงอย่างหนึ่งอย่างเดียว เท่านั้นคือ "กระตุ้น" หรือไม่ก็ "ยับยั้ง"
ใน กรณีที่หัวใจเต้นช้า เราอาจฉีดยาอะโทรปิ่น (atropine) เพื่อกระตุ้นเร่งหัวใจให้เต้นเร็วขึ้นได้ ถ้าหัวใจเต้นเร็วอยู่แล้วหากเรายังฉีดยาอะโทรปิ่นให้แก่ผู้ป่วยเข้าไปอีก หัวใจก็จะยิ่งเต้นเร็วขึ้น จนอาจเกิดอันตรายให้แก่ผู้ป่วยได้ในที่สุด
แต่ ถ้าฝังเข็ม ผลที่ปรากฏออกมาจะมี 2 แบบ เท่านั้นคือ หัวใจเต้นช้าลงมาสู่ปกติ หรือไม่ก็ยังคงเต้นเร็วอยู่เท่าเดิม การฝังเข็มจะไม่ทำให้หัวใจที่เต้นเร็วอยู่แล้ว ยิ่งเต้นเร็วขึ้นไปอีกอย่างเด็ดขาด
การฝังเข็มจึงไม่มีอันตรายจากการใช้เกินขนาด (overdose) หรือการเกิดพิษ (intoxication) เหมือนเช่นกับการใช้ยา
ใน ด้านระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็เช่นกัน การฝังเข็มมีฤทธิ์กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าปกติมีการทำงานเพิ่ม ขึ้น เช่น กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวกินสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคในร่างกายได้ดีขึ้น กระตุ้นให้มีการหลั่งสารแอนตี้บอดี้ (antibody) กระตุ้นการสร้างสารเคมีที่ควบคุมกลไกภูมิคุ้มกันให้เพิ่มมากขึ้น การฝังเข็มจึงสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของคนเราให้เข็มเข็งขึ้นได้
ตรง กันข้าม ในผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไป เช่น ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ การฝังเข็มจะช่วยยับยั้งปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นมากเกินไปให้ลดน้อยลง ได้
ฤทธิ์ในการควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของการฝังเข็มนี้ ส่วนหนึ่งมาจากบทบาทของเอนดอร์ฟีนที่ถูกกระตุ้นให้หลั่งออกมาด้วย การฝังเข็มนั่นเอง
ตามทฤษฎีวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ นั้น การฝังเข็มเป็นวิธีการกระตุ้นระบบประสาทอย่างหนึ่ง ที่สามารถปรับการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายที่เสียสมดุลผิดปกติไปให้กลับสู่สภาพปกติโดยผ่านทางระบบประสาท ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า "Neuromodulation"
จากการค้นคว้าเกี่ยวกับกลไกการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานี้ นักวิยาศาสตร์และแพทย์พบว่า
เมื่อ ปักเข็มลงไปยังจุดหนึ่ง ๆ แล้วทำการกระตุ้นเข็ม จะเป็นการกระตุ้นตัวรับสัญญาณประสาท (receptor) ของปลายประสาทหลายชนิดที่กระจายอยู่ในแต่ละชั้นของเนื้อเยื่อ นับตั้งแต่ผิวนหนัง, เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง, เยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ (fascia) , กล้ามเนื้อ, เส้นประสาท, หลอดเลือด เป็นต้น ทำให้เกิดสัญญาณประสาทวิ่งผ่านเข้ามาในไขสันหลัง
สัญญาณ ประสาทส่วนหนึ่ง จะย้อนออกไปจากไขสันหลังเกิดเป็นวงจรสะท้อนกลับ (reflex) ไปทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่ออวัยวะบริเวณใกล้เคียงที่ถูกเข็มปัก เช่น มีการขยายตัวของหลอดเลือด มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง เป็นต้น
สัญญาณประสาทอีกบางส่วน จะเคลื่อนที่ขึ้นไปตามไขสันหลังเข้าสู่สมองไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมต่าง ๆ ในสมอง มีการหลั่ง "สารสื่อสัญญาณประสาท" (neurotransmitter) ต่าง ๆ ออกมาจากเซลล์ประสาทหลายชนิดพร้อมกับมีสัญญาณประสาทส่งย้อนลงมาจากสมองอีก ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system)
สัญญาณประสาทที่ส่งออกมาพร้อมกับสารสื่อสัญญาณประสาทที่หลั่งออกมานั้น จะก่อให้เกิดผลต่าง ๆ ตามมาหลายอย่าง อาทิเช่น
- ยับยั้งความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับอันตราย
- ปรับการทำงานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ที่เสียสมดุลไปให้กลับสู่สภาพสมดุลตามปกติ
- ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนหลายอย่างให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อปรับให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานอย่างสมดุลเป็นปกติ
- กระตุ้นปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้อยู่ในสภาพให้อยู่ในสภาพปกติ เพื่อ ขจัดสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรค ยับยั้งปฏิกิริยาภูมิแพ้ไวเกิน ยับยั้งปฏิกิริยาการอักเสบ เป็นต้น โดยผ่านฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เป็นสำคัญ
ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ หรือสเตียรอยด์ (steroids) นั้น เป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นร่างกายได้กว้างขวางมาก ยาเพรดนิโซโลนที่ใช้กันในทางการแพทย์ซึ่งถือเป็น " ยาสารพัดนึก" ที่ใช้รักษาโรคต่าง ๆ ได้มากมาย ก็เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันนี้ทั้งสิ้น
ด้วยเหตุที่ การฝังเข็มสามารถกระตุ้นร่างกายให้มีการหลั่งฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ได้ ประกอบกับการฝังเข็มก็สามารถกระตุ้นระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ทุกระบบ จึงไม่แปลกใจเลยที่ฤทธิ์การรักษาโรคด้วยการฝังเข็มจึงมีอยู่กว้างขวางมากมาย เช่นกัน
กลไกการรักษาโรคของการฝังเข็ม
การ ผังเข็มจะกระตุ้นให้เกิดสัญญาณประสาท ส่งเข้าไปยังไขสันหลังแล้วออกวกออกมา ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งเกิดการคลายตัว และหลอดเลือดที่หดตัวเกิดการขยายตัว สัญญาณประสาทบางส่วนจะถูกส่งขึ้นไปยังสมองกระตุ้นให้มีการหลั่งสารสื่อ สัญญาณประสาท เช่น เอนดอร์ฟินและฮอร์โมนต่าง ๆ แล้วส่งสัญญาณประสาทกลับลงมาตามไขสันหลังและเส้นประสาท เพื่อช่วยปรับการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สมดุลเป็นปกติ
จะ เห็นว่า กลไกในการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มนั้น มิใช่เป็นกลไกที่ง่าย ๆ แต่ค่อนข้างสลับซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับทุกระบบของร่างกาย
โดย สรุปแล้ว จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ การฝังเข็มสามารถรักษาโรคโดยอาศัยกลไกสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพสมดุลปกติ
2. ยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
3. ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
4. ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว
5. กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งบริเวณเฉพาะที่และทั่วร่างกาย
อย่างไรก็ตาม การฝังเข็มมิใช่ "เข็มวิเศษ" ที่สามารถรักษาโรคได้ทุกโรค มันมีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน
ถ้า เป็นโรคที่มีพยาธิสภาพของอวัยวะเสียหายรุนแรง เป็นเรื้อรังมานาน ผู้สูงอายุวัยชราที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเสื่อมสภาพมาก ไม่ว่าจะฝังเข็มกระตุ้นอย่างไร ร่างกายก็อาจจะไม่ตอบสนอง การรักษาก็อาจจะไม่ได้ผลดีตามที่คาดคิดเอาไว้ก็ได้ ซึ่งตัวอย่างผู้ป่วยทำนองนี้ก็มีให้เห็นอยู่เสมอ
50 ปีทีผ่านมานี้ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ทำให้เราได้เข้าใจกลไกการรักษาโรคด้วย การฝังเข็มเป็นอย่างมากทีเดียว แต่เราก็ยังไม่ได้เข้าใจมันทั้งหมด
สิ่ง ที่เรายังไม่เข้าใจหรือยังค้นหาคำตอบไม่ได้ ยังมีอีกมากเช่นกัน นั่นเป็นสิ่งที่รอให้เราไปค้นคว้าแสดงหาคำตอบ และเราก็จะเข้าใจกฎเกณฑ์วิทยาศาสตร์ของเวชกรรมวังเข็มมากยิ่งขึ้นไปอีกอย่าง แน่นอน
Source: http://www.thaiacupuncture.net/public/index.php?option=com_content&task=view&id=19&Itemid=42
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น