วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

มายาแห่งหลอดด้าย....

โดยท่าน ว . วชิรเมธี


สองสัปดาห์ก่อน ผู้เขียนจาริกปฏิบัติศาสนกิจในฐานะพระธรรมทูต ที่ มหานครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา วันหนึ่งหลังจบการเสวนาธรรม สตรีสูงอายุคนหนึ่งขอโอกาสเข้ามานั่งคุยกับผู้เขียน ระหว่างการสนทนา ผู้เขียนสังเกตเห็นว่า น้ำตาเธอคลอหน่วย
เมื่อสอบถามถึงสาเหตุ เธอ จึงตอบว่า ที่น้ำตาคลอหน่วย เพราะรู้สึกดีใจที่ได้มาฟังธรรม แต่พร้อมกันนั้นก็เสียใจจนสะเทือนใจ ที่สะเทือนใจก็เพราะเธอรู้สึกว่า ตนเองได้พบกับ ธรรมะเมื่ออายุมากแล้ว จึงรู้สึกเสียดายวันเวลาที่ผ่านมา เธอเล่าว่า

"ชีวิตคนเรา ก็ เหมือนกับเส้นด้ายที่ถูกดึงออกมาจากหลอดด้ายทีละนิดๆ ขณะที่ดึงด้ายออกมาจากหลอดด้ายนั้น บางทีเราก็รู้สึกกระหยิ่มว่า ยังมีด้ายเหลืออยู่อีกมากมาย จึงชะล่าใจที่จะดึงด้ายออกมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย แต่พบ ว่าแท้จริงแล้ว มีด้ายอยู่เพียงนิดเดียว เย็บผ้าได้เพียงนิดหน่อยก็หมด หากแต่ที่เราเห็นว่า ยังคงมีด้ายเหลืออยู่เยอะแยะนั่นเป็นเพราะว่า

แกนด้ายมันใหญ่ต่างหาก...แกนด้ายมันหลอกตาให้ เราพลอยชะล่าใจ... "

พลันที่เธอเล่าจบ ผู้เขียนก็รู้สึกสว่างโพลงขึ้นมาในใจ

ผู้หญิงคนนี้ เธอไม่ได้มาฟังเทศน์เสียแล้ว แต่เธอมาเทศน์ต่างหาก

เธอกำลังเทศน์เรื่อง "ความสำคัญของเวลา" และ " คุณค่าของชีวิต"
เคยได้ยินคำพูดในทำนองนี้บ่อยๆ ว่า เรามีเวลา ๒๔ ชั่วโมงต่อหนึ่งวันเท่ากัน ทว่า
เราได้ประโยชน์จากเวลาไม่เคยเท่ากัน

สำหรับบางคนเวลา ๒๔ ชั่วโมงช่างแสนสั้น แต่สำหรับบางคน ๒๔ ชั่วโมง ช่าง
เป็นเวลายาวนานเหลือแสน

ผู้หญิงคนนี้เธอบอกว่า เธอเสียดายที่มีเวลาเหลืออีกไม่มาก อยากจะปฏิบัติธรรม
ให้ถึงที่สุดก็เกรงว่าเวลาจะมีไม่พอ

ผู้เขียนจึงบอกว่า การ ปฏิบัติธรรมนั้นไม่สำคัญที่เวลา แต่สำคัญที่ "ปัญญา" สำหรับคนมีปัญญากล้าแข็ง อย่าว่าเป็นวันเลย บางที นาทีเดียวก็บรรลุธรรมได้ สำหรับคนเขลา ต่อให้ภาวนาทั้งชีวิต บางทีก็ยังไม่เห็นผล คนที่อยู่ในวัยสนธยา จึงไม่ควรน้อยใจว่า เรามีเวลาไม่พอ แต่ควรจะบอกตัวเองว่า เรายัง " พอมีเวลา" ต่างหาก

แต่คนที่คิดว่าเรายัง "พอมีเวลา" ก็ต้องระวังด้วยเหมือนกัน เพราะบางทีการคิดด้วย ท่าทีที่เป็นบวกอย่างนี้ ก็ทำให้ประมาท และเป็นเหตุให้พลาดโอกาสที่จะเร่งรัดทำสิ่งดีๆ

ดังนั้น นอกจากจะคิดว่ายังพอมีเวลาแล้ว ก็ควรจะคิดเพิ่มอีกอย่างหนึ่งว่า " วันนี้เป็น วันสุดท้ายของชีวิต" ด้วย เพราะหากเราคิดว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต เราจะเริ่มคิดถึงสิ่งที่ต้องทำแข่งกับเวลา และนั่นจะทำให้ เวลา กลายเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุด ของชีวิตได้ในทุกๆ วัน

เราเคยได้ยินพระท่านสอนอยู่ บ่อยๆ ว่า การฆ่าสัตว์เป็นบาป แต่ผู้เขียนอยากบอกว่า การฆ่าเวลาต่างหากที่เป็นบาปมหันต์ยิ่งกว่า เพราะเมื่อคุณฆ่าสัตว์ หากสำนึกได้ คุณ ก็อาจจะไปหาสัตว์มาปล่อยเอาบุญ แต่หากคุณฆ่าเวลาด้วยวิธีใดก็ตาม ถึงแม้คุณจะ สำนึกผิด กลับมาเห็นคุณค่าของเวลา ทว่าก็ไม่สามารถย้อนเวลาที่ผ่านไปแล้วให้ หวนคืนกลับมาได้อีก เราทุกคนต่างก็มีเวลาที่ไม่อาจรีไซเคิล ไม่ว่าคุณจะมีเงิน มหาศาลสักกี่ล้านล้านดอลล่าร์ก็ตามที สำหรับเวลานั้น ผ่านแล้ว ผ่านเลยนิรันดร์

ครั้งหนึ่งลีโอ ตอลสตอย เคยเขียนปริศนาธรรมไว้ว่า
" ใคร คือ คนสำคัญที่สุด
งานใด คือ งานที่สำคัญที่สุด
เวลาใด คือ เวลาที่ดีที่สุด"

ตอลสตอยตั้งคำถามนี้ผ่านเรื่องสั้นเรื่องหนึ่ง และในที่สุดก็เฉลยว่า

" คนสำคัญที่สุด ก็คือ คนที่อยู่เบื้องหน้าเรา
งานสำคัญที่สุด ก็คือ งานที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี ้
เวลาที่ดีที่สุด ก็คือ เวลาปัจจุบันขณะ"

ทำไมคนที่อยู่เบื้องหน้าเราจึงสำคัญที่สุด คำตอบก็คือ อาจเป็นไปได้ว่า ในชั่วชีวิต อันแสนสั้นนี้ เรากับเขาอาจมีโอกาสพบกันได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้นเราจึงควรทำให้การพบกันทุกครั้ง เป็นเหมือนการเฉลิมฉลองอันแสนวิเศษที่ต่างฝ่ายต่างควร สร้างความทรงจำแสนงามไว้ให้แก่กันและกันตลอดไป

เราต้องไม่ลืมว่า มนุษย์นั้น รู้เกลียดยาวนานกว่ารู้รัก หากการพบกันครั้งแรกนำมาซึ่งความรัก และหากเป็นการพบกันเพียงครั้งเดียวของ ชีวิตในอนันตจักรวาล นั่นก็นับว่า เป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่สุดแล้วสำหรับการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างคนสองคน

ทำไมงานที่เรากำลังทำอยู่ขณะนี้ จึงเป็นงานสำคัญที่สุด คำตอบก็คือ เพราะทันทีที่คุณ ปล่อยให้งานหลุดจากมือคุณไป งานก็จะกลายเป็นของสาธารณ์ หากคุณทำงานดี มัน ก็คือ อนุสาวรีย์แห่งชีวิต และหากคุณทำงานไม่ดี มันก็คือ ความอัปรีย์แห่งชีวิต

ตอนแรกคุณเป็นผู้สร้างงาน แต่เมื่อปล่อยงานหลุดจากมือไปแล้ว

งานมันจะเป็นผู้ย้อนกลับมาสร้างคุณ

ทำไมเวลาที่ดีที่สุด จึงควรเป็นปัจจุบันขณะ คำตอบก็คือ เพราะเวลาทุกวินาทีจะไหล ผ่านชีวิตเราเพียงครั้งเดียว ไม่ว่าคุณจะหวงแหนเวลาขนาดไหน มีเงินมากเพียงไร ก็ไม่มีใครสามารถรื้อฟื้นเวลาที่ล่วงไปแล้วให้คืนกลับมาได้

ทุกครั้งที่เวลาไหลผ่านเราไป หากเราไม่ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ชีวิตของคุณ ก็พร่องไปแล้วจากปวงประโยชน์มากมายที่คุณควรได้จากห้วงเวลา

เวลาไม่มีตัวตน แต่หากเรามีปัญญา ก็สามารถสร้างคุณค่าที่เป็นรูปธรรมจากเวลาได้อเนกอนันต์

คน...แม้มีตัวตนเห็นกันอยู่ชัดๆ แต่หากปฏิบัติไม่ถูกต่อเวลา ถึงมีตัวตนเป็นคนอยู่แท้ๆ แต่ชีวิตก็อาจว่างเปล่ายิ่งกว่าเวลา

ทุกวันนี้ เราทุกคนกำลังสาวด้ายแห่งเวลาในชีวิตออกมาใช้กันอยู่ทุกขณะจิต เคยคิด กันบ้างหรือไม่ว่า เส้นดายแห่งเวลาในชีวิตของเรา เหลือกันอยู่สักกี่มากน้อย เราถนัดแต่สาวด้ายออกมาใช้ หรือว่าเราใช้เส้นดายแห่งเวลาอย่างมีคุณค่าที่สุดแล้ว?

บทสัมภาณ์ ยายยิ้ม จากคนค้นคน


พิธีกร : ข้าวสารอาหารแห้งเอามาจากไหน
ยายยิ้ม : ลูกหลานเขาเอามาให้ เขาเอามาให้ก็ต้องกิน
เขาจะได้บุญและก็ต้องกินอย่างประหยัดๆ ไม่ฟุ่้มเฟือย


พิธีกร : ฝนตกเปียกไหม
ยายยิ้ม : ก็หลบๆเอา ไม่ลำบาก อย่าคิดว่ามันลำบาก


พิธีกร : เสื้อผ้า ขาดแล้วยังใส่อยู่
ยายยิ้ม : ลูกหลานเขาเอามาให้ ใส่ไว้เขาจะได้บุญ


พิธีกร : ลูกหลานอยากให้ไปอยู่ด้วยกัน
ยายยิ้ม : ไม่ใช่ว่าจะไม่พึ่ง แต่ให้หมดค่าก่อนค่อยพึ่ง ป่วยไม่สบายไม่มีแรงค่อยพึ่งเขา


พิธีกร : ทำฝายไปให้ใคร
ยายยิ้ม : ให้ในหลวงพระราชินี ท่านเป็นถึงเจ้าแผ่นดินยังทำงาน เราก็ต้องทำให้ท่านบ้าง.. ส่วนสิ่งที่ทำในหลวงไม่เห็นผีสางเทวดาก็เห็น


พิธีกร : ได้ประโยชน์อะไรจากฝาย
ยายยิ้ม : ในหลวงบอกมีฝายมีน้ำ มีป่า มีปลาเล็กเป็นอาหารนกอีกทีรวมถึงได้ใช้ยามหน้าแล้ง


พิธีกร : กลัวล้มไหมเวลาเดินไปไหน
ยายยิ้ม : กลัวแต่ก็ต้องทำ ทำแล้วมีความสุข


พิธีกร : เหนื่อยไหมที่ทำมา
ยายยิ้ม : เหนื่อย แต่ทำแล้วมีความสุข


พิธีกร : เดินไปวัดลำบาก เหนื่อยไหม
ยายยิ้ม : เหนื่อยก็พัก แล้วเดินต่อ ทางไปสวรรค์มันรก ทางไปนรกมันเรียบ เห็นพระก็หายเหนื่อย


พิธีกร : สรุปว่าทุกอย่างอยู่ที่ใจ
ยายยิ้ม : คนอื่นว่าลำบากแต่ถ้าเราคิดว่ามันเป็นสวรรค์มันก็ไม่ลำบาก


พิธีกร : ยายมาทำบุญทุกวันพระไหม
ชาวบ้าน : ยายมาประจำแหละ ยายแกชอบทำบุญ ได้เบี้ยเดือน 500 แกยังทำบุญหมดเลย


พระ (กางมุ้งให้ยายนอนในศาลาวัด) : ไม่บาปหรอกยาย ช่วยๆกัน ดูแลกัน

ยาย (นั่งยิ้มด้วยความจำนน)

ยาย เอาเงินที่เก็บๆรวมถึงเงินที่ชาวบ้านให้ไว้มาทำบุญ

ยาย อวยพรให้และภาวนาให้คนที่ทำบุญด้วย


พิธีกร : ยายรู้จักเขาเหรอ
ยายยิ้ม : (ยิ้ม) ไม่รู้จักหรอก เห็นบอกว่าจะบวชก็เลยทำบุญ

ให้ยายทำบุญนะ (สงสัยคงจะเป็นเงินที่ทางรายการให้)

พิธีกร : ทำเถอะยาย ไม่ว่าอะไรหรอก


พิธีกร : ยายมีของแค่นี้เหรอ (หยิบกระเป๋าใบเล็กที่บรรจุเสื้อผ้า หยูกยาที่จำเป็น บัตรประชาชน)
ยายยิ้ม : แค่นี้แหละเตรียมไว้ เวลาเจ็บป่วยขึ้นมา เอาไปใบเดียว คนอื่นจะได้ไม่ลำบากหา


พิธีกร : จะไม่เป็นการแช่งตัวเองหรือ
ยายยิ้ม : ยิ่งเจ็บ ยิ่งต้องพึ่งตัวเอง ยิ่งต้องเตรียมตัว


พิธีกร : เวลายายไปตัดไม้ไผ่ ทำฝายไม่เกินกำลังเหรอ เอาแรงมาจากไหน
ยายยิ้ม : หัวเราะเบาๆแล้วตอบว่า มันเกินกำลังอยู่แล้วล่ะ แต่ต้องมีความพยายามยายบอกวันนี้หมดแรง นอนพัก พรุ่งนี้แรงก็มาใหม่


พิธีกร : ยายยังขาดอะไรอีกในชีวิต
ยายยิ้ม : ยายยิ้มสมกับชื่อ แล้วตอบอย่างภาคภูมิใจว่า ขาดความทุกข์

ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา

อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ถือ ได้ว่าเป็นปราชญ์คนสำคัญยิ่งคนหนึ่งในวงการของพระพุทธศาสนาในยุครัตน โกสินทร์เท่าที่ชาวพุทธได้รู้จักมา และถือได้ว่าอาจารย์สุชีพเป็นแบบอย่างชาวพุทธที่ดีเยี่ยม เป็นผู้ที่ทำอุปการะคุณอันยิ่งใหญ่ต่อวงการของพระพุทธศาสนามากมายเหลือสุดจะ คณานับ ชีวิตของท่านเป็นอยู่เพื่อพระพุทธศาสนาโดยแท้ นับได้ว่าเป็นปูชนียบุคคลทางพระพุทธศาสนา อาจารย์สุชีพได้สรุปลักษณะเด่นๆ ของพระพุทธศาสนาไว้มี ๔๕ ข้อ เท่ากับจำนวนพรรษาที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญจะขอนำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ คือ

๑. แม้จะตัดความเชื่อในเรื่องฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ออก ก็ไม่ทำให้พระพุทธศาสนากระทบกระเทือนอะไรแม้แต่น้อย เพราะพระพุทธศาสนามิได้มีรากฐานอยู่บนฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ หากแต่อยู่ที่เหตุผลและคุณงามความดีที่พิจารณาเห็นได้จริงๆ

๒. พระพุทธศาสนาเป็นตัวอย่างลัทธิประชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุดของโลก มีหลักการและวิธีการอันทันสมัยอยู่จนทุกวันนี้

๓. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแรกที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยสอนให้เลิกระบบทาส ไม่เอามนุษย์มาเป็นสินค้าสำหรับซื้อขาย ห้ามมิให้ภิกษุมีทาสไว้รับใช้ กับทั้งสอนให้เลิกทาสภายใน คือไม่เป็นทาสของความโลภ ความโกรธ ความหลง

๔. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแรกที่สอนให้มนุษย์เลิกดูหมิ่นเหยียดหยามกัน เพราะเรื่องถือชั้นวรรณะ เพราะเหตุแห่งชาติและวงศ์สกุล โดยตั้งจุดนัดพบกันไว้ที่ศีลธรรม ใครจะเกิดในสกุลสูงต่ำยากดีมีจนอย่างไรไม่เป็นประมาณ ถ้าตั้งอยู่ในศีลธรรมแล้ว ก็ชื่อว่าเป็นคนดีที่ควรยกย่องสรรเสริญ ถ้าตรงกันข้ามคือล่วงละเมิดศีลธรรมแล้ว แม้จะเกิดในสกุลสูงก็นับได้ว่าเป็นคนพาลอันควรตำหนิ

๕. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแรกที่สอนปฏิวัติเรื่องการทำบุญ โดยงดเว้นวิธีฆ่าสัตว์หรือฆ่ามนุษย์บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หากสอนให้ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์แทนการเบียดเบียน และสอนให้หาทางชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาดว่าเป็นบุญ

๖. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนลัดตัดตรงเข้าหาความจริง ให้กล้าสู้หน้ากับความจริง เช่นในเรื่องความเกิดแก่เจ็บตาย ให้หาประโยชน์จากความจริงนั้นให้ได้ รวมทั้งสอนอย่างตรงไปตรงมาในเรื่องฤกษ์ยาม น้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น และการสอนให้เป็นเทวดาได้ในชีวิตนี้ โดยไม่ต้องรอให้ตายเสียก่อน ด้วยการแสดงธรรมที่ประพฤติปฏิบัติตามแล้วจะเป็นเทวดาในปัจจุบันชาติ

๗. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้แก้ความเสื่อมทางศีลธรรม โดยไม่มองข้ามปัญหาด้านเศรษฐกิจ สอนให้แก้ความชั่วด้วยความดี และสอนให้แก้ที่ตัวเราเองก่อนโดยไม่คอยเกี่ยงให้คนทั้งโลกดีหมดแล้ว เราจึงจะดีเป็นคนสุดท้าย แม้ในการสอนให้มีเมตตาจิตก็หัดให้แผ่เมตตาในตนเองก่อนเพื่อจะได้เป็นพยานว่า เรารักสุขเกลียดทุกข์ฉันใด คนอื่นก็มีความรักสุขเกลียดทุกข์ฉันนั้น

๘. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้ถือธรรม คือความถูกต้องตามเหตุผลเป็นประมาณ ที่เรียกว่าธรรมาธิปไตย ไม่สอนให้ถือตนเองเป็นใหญ่ หรือสอนให้ถือคนอื่นเป็นใหญ่ หลักคำสอนเรื่องผู้เห็นธรรมชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติธรรมชื่อว่าอยู่ใกล้พระพุทธเจ้า คำสอนเรื่องอามิสบูชาและปฏิบัติบูชา และการตั้งพระธรรมวินัยไว้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ของพระพุทธเจ้าก็เป็นการ สอนแบบธรรมาธิปไตยนี้

๙. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนเน้นหนักในเรื่องของสติปัญญาในการดำเนินชีวิต ให้รู้จักกำจัดความทุกข์ความเดือดร้อนด้วยการพิจารณาให้เห็นต้นเหตุของความ ทุกข์ แล้วแก้ไขให้ถูกทาง ไม่ให้เชื่อถืออย่างงมงายไร้เหตุผล

๑๐. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้พึ่งตนเอง ในการประกอบคุณงามความดี โดยการยกระดับแห่งชีวิตของตนให้สูงขึ้น ไม่สอนให้คิดแต่จะเอาดีด้วยการอ้อนวอนบวงสรวง คำสอนข้อนี้เป็นเหตุให้เกิดหลัก เรื่องทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ที่เรียกว่ากฎแห่งกรรม อันทำให้ชาวต่างประเทศหันมานิยมนับถือมากขึ้น

๑๑. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเดียวในโลกที่กล้าปฏิเสธหลักตรรกศาสตร์ ซึ่งชาวโลกถือว่าเป็นศาสตร์แห่งศาสตร์ทั้งหลาย โดยได้เสนอหลักการอย่างอื่นที่สูงกว่า แน่นอนกว่า พร้อมทั้งให้เหตุผลอย่างชัดแจ้ง

๑๒. พระพุทธศาสนามีหลักเกณฑ์และวิธีการในการสั่งสอน ตลอดจนตัวคำสอนอันเป็นวิทยาศาสตร์มาก่อนที่วิชาวิทยาศาสตร์ของโลกจะเกิดเป็น เนื้อเป็นตัวขึ้น

๑๓. พระพุทธศาสนาสอนให้พยายามพึ่งตนเอง ไม่ให้มัวคิดแต่พึ่งผู้อื่น

๑๔. พระพุทธศาสนาสอนให้ทำความดีเพราะเห็นแก่ความดี ไม่ใช่ทำความดีด้วยความโลภหรืออยากได้สิ่งตอบแทน หรือทำด้วยความหลงคือไม่รู้ความจริง บางครั้งนึกว่าดีแต่กลายเป็นชั่ว

๑๕. พระพุทธศาสนาสอนให้มีความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้านยิ่งสำหรับคฤหัสถ์ การตั้งเนื้อตั้งตัวได้ดี ต้องมีความพอใจและความขยันหมั่นเพียรเป็นหลัก

๑๖. พระพุทธศาสนาสอนให้มีเมตตากรุณาต่อผู้อื่น ให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

๑๗. พระพุทธศาสนาสอนว่า การอยู่ในอำนาจผู้อื่นเป็นทุกข์ จึงสอนให้มีอิสรภาพทั้งภายนอกและภายใน อิสรภาพภายในคือไม่เป็นทาสของกิเลส ถ้ายังละกิเลสไม่ได้ ก็อย่าถึงกับปล่อยให้กิเลสบังคับมากเกินไป

๑๘. พระพุทธศาสนาสอนให้เอาชนะความชั่วด้วยความดี ให้ระงับเวรด้วยการไม่จองเวร และในขณะเดียวกันให้พยายามทำตนอย่าให้มีเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น ให้รู้จักผูกไมตรี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน

๑๙. พระพุทธศาสนาสอนให้ประกอบเหตุ คือลงมือทำเพื่อให้เกิดผลที่มุ่งหมาย ไม่ให้คิดได้ดีอย่างลอยๆ โดยคอยพึ่งโชคชะตาหรืออำนาจลึกลับใดๆ

๒๐. พระพุทธศาสนาสอนให้ลงมือปฏิบัติ เพื่อจะให้รู้แจ้งผลดีด้วยตนเอง ไม่ต้องเดาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตราบใดยังเดาอยู่ ตราบนั้นยังไม่ชื่อว่ารู้ความจริง

๒๑. พระพุทธศาสนาสอนให้มีความอดทน ต่อสู้กับความยากลำบากและอุปสรรคทั้งหลาย ไม่เป็นคนอ่อนแอพอพบอุปสรรคก็วางมือทิ้ง ถือว่าความอดทนจะนำประโยชน์และความสุขมาให้

๒๒. พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้เชื่ออะไรอย่างงมงายไร้เหตุผล ให้ใช้ปัญญากำกับอยู่เสมอ นอกจากนั้น ยังสอนให้รู้จักพิสูจน์ความจริงด้วยการทดลอง การปฏิบัติและการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน

๒๓. พระพุทธศาสนาสอนกว้างกว่าเทศบาลและรัฐบาล คือเทศบาลปกครองท้องถิ่นรัฐบาลปกครองประเทศโดยสอนให้มีโลกบาลคือธรรมอัน ปกครองโลก ได้แก่ หิริ ความละอายแก่ใจ และโอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาปทุจริต

๒๔. พระพุทธศาสนาสอนให้มีสติปัญญาคู่กัน คือให้มีเฉลียวคู่กับฉลาด ไม่ใช่เฉลียวหรือฉลาดเพียงอย่างเดียว จึงสอนให้มีสติสัมปชัญญะคู่กัน และถือว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก

๒๕. พระพุทธศาสนาสอนให้บุคคลมีความเจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ เช่น สอนให้เคารพในการศึกษา ให้มีการสดับตรับฟังมาก ให้คบหาผู้รู้หรือคนดี และสนใจฟังคำแนะนำของท่าน โดยเฉพาะได้สอนว่าไม่ควรสรรเสริญการยึดอยู่ในคุณความดี สรรเสริญแต่ความเจริญก้าวหน้า

๒๖. พระพุทธศาสนาสอนให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ เพื่อจะได้อยู่เป็นผาสุกในสังคม

๒๗. พระพุทธศาสนาสอนมิให้ปลูกศัตรูหรือมองเห็นใครต่อใครเป็นศัตรู โดยเฉพาะไม่สอนให้เกลียดชังคนนับถือศาสนาอื่น จึงนับว่าเป็นศาสนาที่มีใจกว้างขวาง

๒๘. พระพุทธศาสนาสอนมิให้วิธีอ้อนวอนบวงสรวงเพื่อให้สำเร็จผล แต่สอนให้ลงมือทำ เพื่อให้เกิดผลที่มุ่งหมายนั้นโดยถูกทาง

๒๙. พระพุทธศาสนาสอนให้มองโลก โดยรู้เท่าทันความจริงที่ว่า มีความไม่เที่ยงแท้ถาวร ทนอยู่ไม่ได้และไม่ใช่ตัวตนที่พึงยึดถือจะได้มีความปลอดโปร่งใจ ไม่ยึดมั่นจนเกินไปซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ได้โดยง่าย

๓๐. พระพุทธศาสนาสอนให้ถือธรรมคือความถูกต้องเป็นใหญ่ ไม่ให้ถือตนเป็นใหญ่หรือถือโลกเป็นใหญ่ พูดง่ายๆ คือไม่ถือบุคคลเป็นสำคัญ แต่ถือธรรมคือความถูกต้องเป็นสำคัญ

๓๑. พระพุทธศาสนาสอนปรมัตถ์ คือประโยชน์อย่างยิ่ง คือให้รู้จักความจริงที่เป็นแก่น ไม่หลงติดอยู่ในความสมมติต่างๆ เช่น ลาภ ยศ เป็นต้น แต่ในการเกี่ยวข้องทางสังคมก็สอนให้รู้จักรับรองสมมติทางกายและทางวาจาตาม ควร เช่น เมื่อเข้าประชุมชนก็ให้ทำตนให้เข้ากับประชุมชนนั้นๆ ให้ใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามสมมติบัญญัติ ไม่ใช่ถือว่าเมื่อไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาแล้ว ก็เลยเข้ากันไม่ได้ การที่พระพุทธศาสนายั่งยืนมาได้ ก็เพราะถึงคราวรับรองสมมติบัญญัติก็รับรองตามสมควร ถึงคราวสอนใจให้รู้เท่าสมมติบัญญัติ ก็สอนใจมิให้ติดให้หลงจนเป็นเหตุมัวเมางมงาย

๓๒. พระพุทธศาสนาสอนธรรมตั้งแต่ชั้นต่ำจนถึงชั้นสูง แต่ละประเภทเหมาะแก่จริต อัธยาศัยและความสามารถของแต่ละคน เหมือนให้อาหารแก่เด็กอ่อนแก่เด็กโต ตามความเหมาะสมฉะนั้น

๓๓. พระพุทธศาสนาสอนว่า ปัญญาเป็นเครื่องส่องทางแห่งชีวิตที่นับเป็นแสงสว่างในโลก และได้สอนต่อไปว่า ปัญญานั้นทำให้เกิดได้ ไม่ใช่ปัญญาเกิดตามบุญตามกรรม การทำให้เกิดปัญญาคือการคิด การศึกษาสดับตรับฟัง และลงมือปฏิบัติอบรมให้เกิดปัญญา

๓๔. พระพุทธศาสนาสอนเน้นหนักไปในเรื่องความกตัญญูรู้คุณผู้อื่น และกตเวทีตอบแทนคุณท่าน และสรรเสริญว่า ใครมีคุณข้อนี้ชื่อว่าเป็นคนดี และประพฤติสิ่งเป็นสวัสดิมงคล

๓๕. พระพุทธศาสนาสอนให้ดับทุกข์ โดยให้รู้จักว่าอะไรเป็นทุกข์ อะไรเป็นต้นเหตุและการดับความทุกข์ ได้แก่ ดับเหตุของทุกข์ รวมทั้งให้รู้จักข้อปฏิบัติที่จะให้ถึงความดับของทุกข์ด้วย จึงชื่อว่าสอนเรื่องดับทุกข์ได้อย่างมีเหตุผล ซึ่งควรจะได้ศึกษาและปฏิบัติตาม

๓๖. พระพุทธศาสนามิได้สอนย่ำยีหรือซ้ำเติมคนที่ทำอะไรผิดไปแล้ว ควรจะช่วยกันให้กำลังใจในการกลับตัวของเขา ไม่ควรดูหมิ่นเหยียดหยาม พระพุทธเจ้าเองก็เคยเล่าถึงเรื่องความผิดของพระองค์เองในสมัยเมื่อยังเวียน ว่ายตายเกิดอยู่ อันแสดงว่าตราบใดยังมีกิเลส ตราบนั้นก็อาจทำชั่วทำผิดได้ แต่ข้อสำคัญถ้ารู้ว่าอะไรผิด อะไรชอบแล้ว ต้องพยายามกลับตัวให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

๓๗. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้เห็นอกเห็นใจคนอื่น ผู้ที่ดูหมิ่นเหยียดหยามคนอื่น จะเพราะชาติตระกูล เพราะทรัพย์หรือเพราะเหตุอื่นใดก็ตาม ไม่เชื่อว่าปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา

๓๘. พระพุทธศาสนาสอนว่า การคบเพื่อนที่ดีย่อมจะชวนกันไปในทางที่ดี พระอานนท์เสนอว่าเป็นกึ่งพรหมจรรย์ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นตัวพรหมจรรย์เลยทีเดียว แสดงว่ายกย่องกัลยาณมิตรมาก

๓๙. พระพุทธศาสนาสอนให้รักษา กาย วาจา ให้เรียบร้อยด้วยศีล ให้รักษาจิตให้สงบไม่ฟุ้งซ่านด้วยสมาธิ และให้รักษาทิฏฐิคือความเห็นมิให้ผิด ให้ไปตรงทางด้วยปัญญา ฉะนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา จึงเป็นข้อปฏิบัติเด่นที่สุดทางพระพุทธศาสนา

๔๐. พระพุทธศาสนาสอนว่า ถ้าไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไรดี เพราะข้อปฏิบัติมีมากเหลือเกิน ก็สอนให้ปฏิบัติเพียงอย่างเดียว คือให้รักษาคุ้มครองจิตให้เป็นไปถูกทาง เสร็จแล้วจะเป็นอันคุ้มครองกาย วาจา และอื่นๆ ในตัวด้วย

๔๑. พระพุทธศาสนาสอนทางสายกลาง ระหว่างการทรมานตัวเองให้เดือดร้อนกับการปล่อยตัวให้เหลิงเกินไป และสอนสายกลางระหว่างที่เห็นว่าเที่ยงกับระหว่างที่เห็นว่าขาดสูญ การสอนทางสายกลางนี้ ย่อมเป็นประโยชน์ในที่ทุกสถาน

๔๒. พระพุทธศาสนาสอนให้รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นบ้าง ไม่เป็นคนดื้อว่ายากสอนยาก คนที่ฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น ย่อมมีโอกาสแก้ไขความผิดพลาดบกพร่องของตนเองอยู่เสมอ

๔๓. พระพุทธศาสนาสอนให้รู้จักเสียสละเป็นชั้นๆ ให้สละสุขอันเล็กน้อยเพื่อสุขอันสมบูรณ์ ให้สละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ ให้สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต และให้สละชีวิตเพื่อรักษาธรรม

๔๔. พระพุทธศาสนาสอนว่า เมื่อมีศีลย่อมเป็นอุปการะให้เกิดสมาธิได้เร็ว เมื่อมีสมาธิก็ช่วยให้เกิดปัญญาได้สะดวกขึ้น

๔๕. พระพุทธศาสนาสอนรวบยอดให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท คือสอนไม่ให้ลืมตน ทะนงตนหรือขาดความระมัดระวัง ท่านถือความประมาทเป็นทางแห่งความตาย จึงควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาททั่วกัน เป็นต้น(๑)


.................................................................................

(๑) คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา, สุชีพ บุญญานุภาพ, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย พระนคร

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

Cancer

Cancer

Cancer is a disease characterized by the uncontrolled growth and spread of abnormal cells. Around the world, over 10 million cancer cases occur annually. Half of all men and one-third of all women in the United States will develop some form of cancer during their lifetime. It is one of the most feared diseases, primarily because half of those diagnosed with cancer in the United States will die from it. Cancer is a leading cause of death around the world, causing over 6 million deaths a year. The exact causes of most types of cancer are still not known, and there is not yet a cure for cancer. However, it is now known that the risk of developing many types of cancer can be reduced by adopting certain lifestyle changes, such as quitting smoking and eating a better diet.

Prevalence

Cancer is, in general, more common in industrialized nations, but there has been a growth in cancer rates in developing countries, particularly as these nations adopt the diet and lifestyle habits of industrialized countries. Over one million people in the United States get cancer each year. Anyone can get cancer at any age; however, about 80 percent of all cancers occur in people over the age of fifty-five.

Cancer can affect any site in the body. About one hundred human cancers are recognized. The four most common cancers in the United States are: lung, colon/rectum, breast, and prostate. Together, these cancers account for over 50 percent of total cancer cases in the United States each year.

There is a marked variation among countries in incidence of different cancers. Most of the variation in cancer risk among populations, and among individuals, is due to environmental factors, such as cigarette smoking and certain dietary patterns, that can affect one's risk of developing cancer. For example, individuals living in Australia have the highest worldwide lifetime risk of skin cancer, at over 20 percent, due to the high level of exposure to the sun of people in Australia. People in India have twenty-five times the average risk of developing oral cancer sometime during their lives due to the popularity of chewing tobacco in that country. In fact, India has the world's highest incidence of oral cancer, with 75,000 to 80,000 new cases a year. The population of Japan has the highest rates of stomach cancer in the world due to the high consumption of raw fish by the Japanese.

Types of Cancer

Cancers are classified according to the types of cells in which they develop. Most human cancers are carcinomas, which arise from the epithelial cells that form the superficial layer of the skin and some internal organs. Leukemias affect the blood and blood-forming organs such as bone marrow, the lymphatic system, and the spleen. Lymphomas affect the immune system. Sarcoma is a general term for any cancer arising from muscle cells or connective tissues.
Growth and Spread of Cancer

Cancer develops when cells in a particular part of the body begin to grow out of control. Normal body cells grow, divide, and die in an orderly way. Cancer cells, however, continue to grow and divide without dying. Instead, they outlive normal cells and continue to form new abnormal cancer cells. As most cancer cells continue to grow, they lump together and form an extra mass of tissue. This mass is called a malignant tumor.

As a malignant tumor grows, it damages nearby tissue. Some cancers, like leukemia, do not form tumors. Instead, these cancer cells involve the blood and blood-forming organs and circulate through other tissues, where they grow.

Cancer can begin in one part of the body and spread to others. The spread of a tumor to a new site is called metastasis. This process occurs as cancer cells break away from a tumor and travel through the bloodstream or the lymph system to other areas of the body. Once in a new location, cancer cells continue to grow out of control and form a new malignant tumor.

Causes of Cancer

The exact cause of cancer is not known. Most cancers result from permanent damage to genes or from mutations, which occur either due to internal factors, such as hormones, immune conditions, metabolism, and the digestion of nutrients within cells, or by exposure to environmental or external factors. A chemical or other environmental agent that produces cancer is called a carcinogen.

Overall, environmental factors, defined broadly to include tobacco use, diet, infectious diseases, chemicals, and radiation, are believed to cause between 75 and 80 percent of all cancer cases in the United States. Tobacco use, including cigarettes, cigars, chewing tobacco, and snuff, can cause cancers of the lung, mouth, throat, larynx, bladder, kidney, esophagus, and pancreas. Smoking alone causes one-third of all cancer deaths in the United States. Heavy consumption of alcohol has also been shown to increase the risk of developing cancer of the mouth, pharynx, larynx, esophagus, liver, and breast.

Overweight and obesity are associated with increased risk of cancers of the breast, colon, endometrium, esophagus, kidney, and gallbladder. The following chemicals have been found to cause cancer: coal tars and their derivatives, such as benzene; some hydrocarbons; aniline, a substance used to make dyes; and asbestos. Radiation from a variety of sources, including the ultraviolet light from the sun, is known to lead to skin cancer.

Several infectious agents have also been implicated in cancer. Evidence suggests that chronic viral infections are associated with up to one-fifth of all cancers. These include hepatitis B virus (HBV), which can lead to cancer of the liver; the Epstein-Barr virus, a type of herpes virus that causes infectious mononucleosis and has been associated with Hodgkin's disease, non-Hodgkin's lymphomas, and nasopharyngeal cancer; the human immunodeficiency virus (HIV), which is associated with an increased risk of developing several cancers, especially Kaposi's sarcoma and non-Hodgkin's lymphoma; and human papilloma viruses (HPV), which have been proven to cause cervical cancer and have also been associated with cancers of the vagina, vulva, penis, and colon. The bacterium Helicobacter pylori has been linked to stomach cancer.

About 5 to 10 percent of cancers are hereditary, in that a faulty gene or damaged DNA that has been inherited predisposes a person to be at a very high risk of developing a particular cancer. Two genes, BRCA1 and BRCA2, have been found to cause some breast cancers. Other genes have been discovered that are associated with some cancers that run in families, such as cancers of the colon, rectum, kidney, ovary, esophagus, lymph nodes, skin melanoma, and pancreas.

Types of Cancer

Cancers are classified according to the types of cells in which they develop. Most human cancers are carcinomas, which arise from the epithelial cells that form the superficial layer of the skin and some internal organs. Leukemias affect the blood and blood-forming organs such as bone marrow, the lymphatic system, and the spleen. Lymphomas affect the immune system. Sarcoma is a general term for any cancer arising from muscle cells or connective tissues.
Growth and Spread of Cancer

Cancer develops when cells in a particular part of the body begin to grow out of control. Normal body cells grow, divide, and die in an orderly way. Cancer cells, however, continue to grow and divide without dying. Instead, they outlive normal cells and continue to form new abnormal cancer cells. As most cancer cells continue to grow, they lump together and form an extra mass of tissue. This mass is called a malignant tumor.

As a malignant tumor grows, it damages nearby tissue. Some cancers, like leukemia, do not form tumors. Instead, these cancer cells involve the blood and blood-forming organs and circulate through other tissues, where they grow.

Cancer can begin in one part of the body and spread to others. The spread of a tumor to a new site is called metastasis. This process occurs as cancer cells break away from a tumor and travel through the bloodstream or the lymph system to other areas of the body. Once in a new location, cancer cells continue to grow out of control and form a new malignant tumor.

Prevention

All cancers caused by cigarette smoking and heavy use of alcohol could be prevented completely. Approximately 30 percent of all cancers worldwide are due to tobacco use. Many of the skin cancers could be prevented by protection from sunlight. Certain cancers that are related to infectious exposures, such as HBV, HPV, HIV, and Helicobacter could be prevented through behavioral changes, vaccines, or antibiotics. Research shows that about 30 to 40 percent of all cancers worldwide are due to dietary factors and lack of physical activity, including obesity, and could therefore have been prevented. By making changes in regard to diet, exercise, healthy weight maintenance, and tobacco use, the incidence of cancer around the world could be reduced by 60 to 70 percent.
The Relationship between Diet, Physical Activity, and Cancer

While the exact mechanisms by which diet is related to cancer have not been completely understood, research has shown that food plays a role in cancer prevention. For example, populations whose diet includes at least five servings of fruits and vegetables a day have lower rates of some of the most common cancers. Fruits and vegetables contain many antioxidants and phytochemicals, such as vitamins A, C, and E, and beta-carotene, which have been shown to prevent cancer. It is not completely clear, however, whether it is individual phytochemicals, or a combination of them, or the fiber in fruits and vegetables that result in reduced risk of cancer.

Studies have shown the risk of prostate cancer drops for men who eat tomato products, possibly because of the phytochemical lycopene. In addition, it has been shown that colon cancer declines among those who drink green tea, which contains antioxidants and phytochemicals, and who regularly eat soy products and foods rich in selenium, an antioxidant.

Those who eat a diet low in fat, especially animal fat, also have lower cancer rates, but again it is not clear whether it is the calories, the amount and distribution of body fat, or the likelihood that a low-fat diet is high in fiber, fruits, and vegetables that is protective against cancer. High-fiber diets are thought to reduce the risk of colon cancer because the fiber helps move food through the lower digestive tract, possibly reducing the contact of any carcinogens with the bowel lining.

Scientific evidence indicates that physical activity may reduce the risk of certain cancers. This effect may be due to the fact that physical activity is associated with the maintenance of a healthy body weight. Other mechanisms by which physical activity may help to prevent certain cancers may involve both direct and indirect effects. For colon cancer, physical activity accelerates the movement of food through the intestine, thereby reducing the length of time that the bowel lining is exposed to potential carcinogens. For breast cancer, vigorous physical activity may decrease the exposure of breast tissue to circulating estrogen, a hormone that has been implicated in breast cancer. Physical activity may also affect cancers of the colon, breast, and other sites by improving energy metabolism and reducing circulating concentrations of insulin and related growth factors.

Because of these factors, recommendations of the American Cancer Society to reduce the risk of cancer include: consumption of a mostly plant-based diet, including five or more servings of fruits and vegetables each day; consumption of whole grains in preference to processed or refined grains and sugar; limited consumption of high-fat foods, particularly from animal sources; physical activity; and limited consumption of alcohol.

Nutrition for People with Cancer

People with cancer often have increased nutritional needs. As such, it is important for them to consume a variety of foods that provide the nutrients needed to maintain health while fighting cancer. These nutrients include: protein, carbohydrates, fat, water, vitamins, and minerals. Nutrition suggestions for people with cancer often emphasize eating high-calorie, high-protein foods. Protein helps to ensure growth, repair body tissue, and maintain a healthy immune system. Therefore, people with cancer often need more protein than usual.

Great progress has been made in the fight against cancer, and cancer detection and treatments have improved significantly. However, there is a disparity in cancer death rates between developed and developing countries. Between 80 and 90 percent of cancer patients in developing countries have late-stage and often incurable cancer at the time of diagnosis.

A growing body of evidence shows that simple changes in diet and lifestyle can help prevent many cancers. Further research into the exact mechanisms by which certain diets may help prevent cancer is ongoing.

SEE ALSO ANTIOXIDANTS; FUNCTIONAL FOODS; PHYTOCHEMICALS.

Gita C. Gidwani
Bibliography

American Institute for Cancer Research (1997). Food, Nutrition, and the Prevention of Cancer: A Global Perspective. Washington, DC: Author.

Cooper, Geoffrey M. (1992). Elements of Human Cancer. Boston: Jones and Bartlett.

Tortora, Gerald J., and Grabowski, Sandra Reynolds (2003). Principles of Anatomy and Physiology, 10th edition. New York: Wiley.
Internet Resources

American Cancer Society. "Cancer Facts and Figures, 2002." Available from

National Cancer Institute (2000). "Cancer Facts: Questions and Answers About Cancer." Available from

Source:http://health.yahoo.net/galecontent/cancer-8

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

มองโลกอย่างไร ได้ชีวิตอย่างนั้น

พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี)

ในโลกนี้มีวิธีคิดอยู่หลายแบบ วิธีคิดแต่ละแบบก็มีจุดดี จุดด้อย แตกต่างกันไป วิธีคิดที่คนส่วนใหญ่รู้จักก็มีอยู่ 3 แบบ ได้แก่ 1. วิธีคิดแบบมองโลกในแง่ดี 2. วิธีคิดแบบมองโลกในแง่ร้าย 3. วิธีคิดแบบมองโลกตามความเป็นจริง

วิธีคิดแบบมองโลกในแง่ดี ก็คือ การรู้จักมองหาคุณค่า หรือแง่ดี แง่งาม ท่ามกลางสภาวะที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เมื่อตกอยู่ท่ามกลางวิกฤติ ก็ให้รู้จักมองหาโอกาส หรือเมื่อต้องทำงานหนัก ก็ให้มองว่า งานหนักจะมาพร้อมกับความเชี่ยวชาญ หรือเมื่อต้องพบกับอุปสรรคมากมายในชีวิตก็ให้มองว่า นั่นคือการทดสอบจากพระเจ้า เมื่อสอบผ่านก็จะได้รับรางวัลก้อนใหญ่ หรือเมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์ก็ให้คิดเสียว่า นั่นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของคำแนะนำ หรือเมื่อต้องพบกับความผิดหวัง ก็ให้คิดเสียว่า เป็นวิธีที่ธรรมชาติกำลังมอบภูมิต้านทานในการดำรงชีวิต

การมองโลกในแง่ดี มีข้อดีก็คือ ทำให้เรารู้จักหาประโยชน์จากสิ่งที่ไร้ประโยชน์ หาสุขจากทุกข์ หาข้อดีท่ามกลางข้อเสีย การมองเช่นนี้ จะส่งผลให้มีกำลังใจในการสู้ชีวิตเหมือนที่มหาตมะ คานธี ถูกจับโยนลงจากรถไฟในแอฟริกาใต้ ในเวลาต่อมาท่านเล่าว่า เหตุการณ์เลวร้ายคราวนั้น ทำให้ท่าน “รู้จักคิด” จนท่านกล่าวว่า “ประสบการณ์ที่สร้างสรรค์ที่สุด มักเกิดจากบทเรียนที่เจ็บปวดที่สุด” การรู้จักมองโลกในแง่ดี จึงทำให้มีแรงบันดาลใจในการเผชิญหน้ากับความยุ่งยากของชีวิตได้เป็นอย่างดี

ท่านพุทธทาสภิกขุ เขียนกวีเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

“เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา
จงเลือกเอาส่วนที่ดีเขามีอยู่
เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู
ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย

จะหาคนมีดีโดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยวค้นหาสหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย
ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง”

วิธีคิดแบบมองโลกในแง่ร้าย ก็คือ การมองเห็นแต่จุดด้อยของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมักเกิดขึ้นจากความกังวลจนเกินเหตุ แต่วิธีคิดแบบนี้มีจุดแข็งก็คือ ทำให้เกิดการเฝ้าระวังในสิ่งที่กำลังคิดหรือทำอยู่ แต่จุดอ่อนก็คือ หากวิตกมากเกินไปก็ทำให้ไม่มีโอกาสได้ชื่นชมสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ในคน หรือสิ่งต่าง ๆ ในแง่จิตใจก็ทำให้จิตใจหดหู่ ท้อแท้หรือจิตตก ไม่มีกำลังใจในการลุกขึ้นมาทำอะไร หรือบางกรณีทำให้เป็นคนที่ยอมจำนนต่อปัญหา ยอมแพ้ต่ออุปสรรคทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ใช้ความเพียรพยายามอย่างถึงที่สุด

วิธีคิดแบบมองโลกตามความเป็นจริง ก็คือ การมองเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมา ไม่สุดโต่งไปด้านดี หรือด้านร้ายตามความรู้สึกที่ตนคิดเอาเอง แต่เป็นการมองลงไปตรง ๆ ยังตัวปัญหาที่อยู่ตรงหน้าด้วยปัญญาที่เป็นกลาง แล้วใช้ปัญญาที่เป็นกลางนั้น แสวงหาวิธีแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งวิธีคิดเช่นนี้มีอยู่ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ หรือปัญญาชนที่รักการใช้เหตุผลอย่างบริสุทธิ์ใจ ผลของวิธีการ มองโลกตามความเป็นจริงก็คือ สามารถแก้ปัญหาชีวิตได้จริงอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่อยู่กับความหวังมากเกินไปเหมือนการมองโลกในแง่ดี ไม่วิตกมากเกินไปจนไม่กล้าทำอะไรเหมือนการมองโลกในแง่ลบ แต่เป็นการอยู่กับความจริงที่เป็นจริงด้วยปัญญาแท้ ๆ และแก้ปัญหาชีวิตไปบนพื้นฐานข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา

วิธีคิดแบบมองโลกตามความเป็นจริง เป็นวิธีคิดหลักอย่างหนึ่งของพุทธศาสนา ซึ่งเรามักจะได้ยินผ่านวลีที่ว่า “จงมองโลกอย่างที่มันเป็น ไม่ใช่อย่างที่เราอยากให้เป็น” ในวิธีคิดสามแบบนี้ วิธีคิดแบบที่สามนับว่ามีประโยชน์มากที่สุด เพราะเป็นวิธีคิดที่มุ่งแก้ปัญหาโดยไม่ก่อ ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง พูดอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นวิธีดับทุกข์ ไม่ใช่แค่กลบทุกข์

ถ้าความทุกข์ที่เกิดกับชีวิตเป็นของจริง วิธีที่จะดับทุกข์ ก็ต้องเป็นวิธีคิดแบบมองโลกตามความเป็นจริง ทุกข์จึงจะ ถูกดับหรือถูกกำจัดอย่างถอนรากถอนโคน เคยถามตัวเองบ้างไหมว่า เรากำลังใช้วิธีไหนในการดับทุกข์?.

Source: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=113582

อารมณ์พาไป 'ทางทุกข์'


มนุษย์คือสัตว์สังคมต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ ต่างคนต่างความคิดต่างจิตใจ บุคลิกท่าทาง การพูดจา นิสัยใจคอพฤติกรรมการกินอยู่ของมนุษย์ปรากฏในสังคม อาจสร้างความพึงใจไม่พึงอารมณ์ให้กับบางคน ถึงขั้นไม่ชอบหน้าค่าตา จนนำไปสู่ความเกลียดชัง ลับหลังนินทา ทางธรรมอธิบายความรู้สึกนี้ไว้อย่างมีเหตุมีผล

พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญโญ ผู้ก่อตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ร่มอารามสถานคลอง 10 ปทุมธานี อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า คนเรานี้มีร่างกายกับจิตใจ ร่างกายมันเกิดอารมณ์ไม่ได้หรอกเพราะร่างกายมันไม่มีส่วนที่จะไปคิดไปมีความ รู้สึก อารมณ์มันจะเกิดกับจิตใจ อารมณ์เกิดขึ้นได้อย่างไร ในประสาทสัมผัสของเราก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อตาเห็นสิ่งไหน ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นทางตาก็เป็นรูปหูได้ยิน เสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายในสิ่งที่มีวัตถุต้องกายทั้งใจคิดถึงเรื่องราวต่าง ๆ นั้นแหละเป็นอารมณ์

อารมณ์จะมีอยู่ในจิตใจ มนุษย์จะแยกกับอารมณ์ได้ไหม มันไม่ได้เพราะจิตใจมันเสวยอารมณ์ เห็นสิ่งไหนมันก็จะมีความรู้สึกต่อสิ่งนั้น กินอะไรไปมันก็มีความรู้สึกต่อสิ่งนั้น ความรู้สึกมันก็มีอยู่ 3 อย่าง ถ้ามันยินดีพอใจ มันชอบมันก็เป็นสุข ถ้ามันไม่ยินดี ไม่พอใจไม่ชอบ มันก็เป็นทุกข์ ถ้ามันเป็นกลาง ๆ มันก็ไม่สุขไม่ทุกข์ มันแยกกันไม่ได้

อารมณ์จะมีความรู้สึกมันเกิดขึ้นด้วยจิต มีทั้งที่เป็นคุณและเป็นโทษ อย่างเราเห็นสิ่งไหนเกิดความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธา หรือชอบในสิ่งที่ดี คือเป็นคุณอยากจะเอามาเป็นแบบอย่าง เอามาเป็นแรงบันดาลใจจะได้เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นตัวจูงใจ ถ้าฝ่ายดีมันก็เป็นกุศล แต่ถ้าเป็นความรู้สึกที่มันชักนำไปในทางกิเลสตัณหา มันก็จะเป็นฝ่ายอกุศล แต่ถ้ารู้สึกเห็นสิ่งไหน มันก็เป็นความรู้สึก กลาง ๆ กับสิ่งนั้น มันก็ไม่ดีไม่ชั่ว มันก็ไม่เป็นไร

อารมณ์ เกิดขึ้นได้เร็วมาก บางทีเราเห็นสิ่งใด บางอย่างเหมือนมันมีโปรแกรมเอาไว้ในจิตแล้ว เสียงคนนี้พูด ฉันไม่ชอบเลย เพราะมันมีพื้นฐานโปรแกรมว่าฉันไม่ชอบคน ๆ นี้ แต่ถ้าอีกคนหนึ่งพูดฉันฟังเขาได้ พูดอย่างเดียวเท่านั้นแหละเพราะความรู้สึกที่เราไม่ชอบเป็นพื้นฐาน มันก็อยู่ในจิต มันก็สร้างโปรแกรมของจิต หรือว่ารสชาติอาหารชนิดนี้ กินเข้าไปแล้วมันไม่ชอบ มีโปรแกรมเอาไว้แล้วถ้ารสตัวนี้กินแล้วชอบมากเลย

คนเราส่วนใหญ่ที่มันหลงอารมณ์เพราะมันรู้อารมณ์ความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่มันได้สัมผัส อยู่ในธรรมชาติความเป็นจริงของสิ่งนั้น ๆ เช่น ถ้าชอบใครสักคนถ้าความชอบของเราสะสมมาก ๆ มันก็กลายเป็นหลงเขาแล้ว หลงอยากให้เขาเป็นไปตามที่เราต้องการ เขาชอบเรา ก็หลงว่าเขาต้องดีกับเรา ซื่อสัตย์กับเรา เขาจะต้องดีกับเราตลอดไป หรือรักเราเพิ่มขึ้น มันไม่เข้าใจความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆตามธรรมชาติ เพราะสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลาย ไม่ว่าคน ทรัพย์ สิ่งของ ธรรมชาติของมันเปลี่ยนแปลงอยู่ จะให้มันเหมือนเดิมเป็นไปได้อย่างไร

ในทางกลับกันแต่ถ้าสิ่งไหนเราชอบเราพอใจ เราอยากให้มันเหมือนเดิม ถ้ามันไม่เหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนไปตามที่เราต้องการ เราก็ไปยึดมั่นก็จะทำให้เกิดความทุกข์ใจ จะต้องเหมือนเดิม เรียกว่า “หลงแล้ว” “หลงในอารมณ์ที่ยึดเอาไว้” เพราะไม่เข้าใจในความเป็นจริง ก็ยังทุกข์อยู่ เพราะไม่ยอมรับความเป็นจริง อยากจะให้กลับมาเหมือนเดิมคร่ำครวญหวนหา มันผ่านไปแล้วเป็นเดือน เป็นปี ก็ยังอยากจะให้เหมือนเดิม มันไปยึดอยู่ หรือคนที่เรารักคนที่เราพอใจตายจากไปแล้ว ก็ยังไม่ยอมรับความเป็นจริง ว่าธรรมชาติได้พลัดพรากจากเราแล้ว ไม่หวนกลับมาแล้ว ก็จะไปนึกถึงเรื่องราวเก่า ๆ ก็อยากให้เขากลับมา

“ชีวิตของแต่ละคนมีคุณค่ามาก แต่ละวัน แต่ละเดือน มีเรื่องราวต่าง ๆ มากมายที่เกิดกับชีวิตเรา แต่อารมณ์มันจมอยู่กับความเศร้าหมองที่เราไปยึดอยู่กับสิ่งนั้น นี่มันเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา ศักยภาพ เพื่อจะดูแลตัวเอง รักษาตัวเอง จะเสียเวลาไปเลย เพราะมัวไปจมปลักอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เพราะเขาหลงอยู่” พระอาจารย์ถอดรหัสอารมณ์

พระอาจารย์ชาญชัยบอกว่า เพื่อจะขจัดอารมณ์ที่จมอยู่กับความปรารถนา ต้อง “ฝึกที่ใจ” ปกติเราเรียนสติปัญญาเรียนทางโลก มันช่วยปัญหาเรื่องใจไม่ได้เลยนะ เพราะปัญญาทางโลกมันจะช่วยการทำมาหาเลี้ยงชีพ ช่วยให้เรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ การบริหารจัดการต่าง ๆ มันเรียนรู้เพื่อจะทำมาหาเลี้ยงชีพ เรียนรู้เพื่อเข้าสังคม แต่ความรู้อีกอันหนึ่งที่เราจะเรียนรู้อย่างยิ่งเลย คือ “ความรู้ทางธรรม” ความรู้ทางธรรมมันไม่ใช่เรื่องใหญ่โต คือเข้าใจ “ความเป็นจริง” ของสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ สิ่งทั้งหลายในโลกนี้มันก็ไม่มีอะไรมากเลย มีแค่สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งที่มีชีวิตพระพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า รูปงาม หรือ ขันธ์ 5 รูป ก็คือ ร่างกาย งาม ก็คือ จิตใจ สิ่งที่ไม่มีชีวิตมันมีแต่รูป ถ้าพูดถึงทางชีววิทยาก็เหมือนเรียนรู้สิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต แล้วความเป็นจริงธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้นะมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงในสภาวะเดิมได้ตลอดไป มันถูกบีบคั้น กดดัน แล้วมันไม่สามารถบังคับ อย่างที่เราปรารถนาได้

ความเปลี่ยนแปลงของมันคือความ อนิจจัง ความไม่สามารถคงทนอยู่ในสภาวะเดิมได้เพราะมันถูกปรุงแต่งขึ้นมาไม่สมบูรณ์ไป ในตัว ก็คือ ทุกข์ขัง ความไม่สามารถบังคับให้เราต้องการ คือ อนัตตา มันต้องเรียนรู้จัก อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา พูดอย่างนี้มันก็เข้าใจได้ แต่มันไม่ยอมรับ ของคนอื่นเปลี่ยนแปลงไปในทางอนิจจัง ก็ช่างมัน เฉย แต่พอของเรา เปลี่ยนไปในทางที่ไม่เป็นประโยชน์ใจยอมรับไม่ได้ เพราะใจมันไม่ยอมรับความเป็นจริง แม้เกิดขึ้นแล้วก็ไม่ยอมรับความเป็นจริง เพราะเราไปยึดว่าของ ๆ เรามันต้องพิเศษหน่อย เหนือกว่าของคนอื่น เป็นอย่างที่เราต้องการ เพราะมันเป็นของ ๆ เรา แต่ที่จริงมันไม่ใช่ ของ ๆ เราจริง ๆ หรอก มันเป็นสิ่งที่ชาวโลกสมมุติ

เช่น โยมมีกระเป๋าใบนี้ เพราะโยมเอาเงินไปซื้อมา ชาวโลกก็สมมุติว่าเป็นของโยม มีสิทธิ ในการครอบครอง นี่มันเป็นสมมุติของชาวโลกเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่ของ ๆ โยมจริง ๆ เพราะมันเป็นสมบัติของโลก เพราะมันเอาจากวัตถุดิบของโลกมาสร้างขึ้นมา เพื่อให้เราได้ใช้ พึ่งพาอาศัย ในห้วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เราไปบังคับจิตใจไม่ได้ จะเปื้อนก็ไม่ได้ เรามีหน้าที่ดูแลรักษาให้มันใหม่ ไม่ชำรุด ทรุดโทรม เพื่อเราจะได้ใช้งานได้นาน ๆ แต่ที่สุดแล้ว กระเป๋าก็ต้องผุพังไปตามกาลเวลา 20 ปี 50 ปี มันก็ใช้ไม่ได้แล้ว ถึงเราจะวางไว้เฉย ๆ มันก็ผุพังเพราะเนื้อหนังมังสามันก็ผุพังไป ตายไป สุดท้ายมันก็อยู่ในโลกเหมือนเดิม.

Source: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=113582

ของขวัญอันยั่งยืน

โดยพระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี)

ใครต่อใครก็คงปรารถนาจะมี “ชีวิตที่ดี” แต่ อะไรคือความหมายของการมีชีวิตที่ดี บางทีก็เป็นเรื่องที่ยากจะนิยาม

ในพุทธศาสนา เรามีวิธีนิยามชีวิตที่ดีอยู่อย่างหนึ่ง นั่นก็คือ การกำหนด “เป้าหมายที่ดี” ให้กับชีวิต เมื่อชีวิตบรรลุถึงเป้าหมายที่ดีนั้นได้แล้ว ก็เท่ากับว่า คน ๆ หนึ่ง ได้บรรลุถึง “ชีวิตที่ดี” แล้ว

อะไรคือเป้าหมายของชีวิตที่ดีเพื่อที่จะมีชีวิตที่ดีตามแนวพุทธ

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ชีวิตที่ดีต้องมีเป้าหมาย อย่างน้อย ๓ ระดับด้วยกัน
(๑) เป้าหมายของชีวิตที่ดีในปัจจุบัน (ระดับที่เห็นได้ด้วยตา)
(๒) เป้าหมายของชีวิตที่ดีในอนาคต (ระดับเลยตาเห็น)
(๓) เป้าหมายของชีวิตที่ดีในขั้นสูงสุด (ระดับการมีชีวิตสมบูรณ์)

เป้าหมายของชีวิตที่ดีในปัจจุบัน

องค์ประกอบของการมีชีวิตที่ดีในปัจจุบัน หมายถึง การมีชีวิตที่ดีในระดับที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเป็นเรื่องภายนอกทั่ว ๆ ไปในระดับชีวิตประจำวัน และการมีตัวตนอยู่ในสังคม มี ๔ มาตรฐาน คือ

๑) มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ไร้โรค อายุยืน
๒) มีงานมีเงิน มีอาชีพสุจริต พึ่งตนได้ในทางเศรษฐกิจ
๓) มีสถานภาพดี เป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม
๔) มีครอบครัวผาสุก ทำวงศ์ตระกูลให้เป็นที่นับถือ


เป้าหมายของชีวิตที่ดีในอนาคต

องค์ประกอบของการมีชีวิตที่ดีในอนาคต หมายถึง การมีชีวิตที่ดีในระดับที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หากแต่เป็นเรื่องความเจริญงอกงามภายในของจิตใจ ต้องใช้ปัญญาพิจารณาจึงจะรู้ว่ามีความเจริญพัฒนามากน้อยเพียงไร มี ๕ มาตรฐาน คือ
๑) มีความอบอุ่นซาบซึ้งใจ ไม่อ้างว้างเลื่อนลอย มีหลักยึดเหนี่ยวใจให้เข้มแข็งด้วยศรัทธา
๒) มีความภูมิใจในชีวิตสะอาด ที่ได้ประพฤติแต่การอันดีงามด้วยความสุจริต
๓) มีความอิ่มใจในชีวิตมีคุณค่า ที่ได้ทำประโยชน์ตลอดมาด้วยน้ำใจอันเสียสละ
๔) มีความแกล้วกล้ามั่นใจ ที่จะแก้ไขปัญหา นำชีวิตและภารกิจไปได้ด้วยปัญญา
๕) มีความโล่งจิตมั่นใจ มีทุนประกันภพใหม่ ด้วยได้ทำไว้แต่กรรมที่ดี


เป้าหมายของชีวิตที่ดีในขั้นสูงสุด

องค์ประกอบของ การมีชีวิตที่ดีในขั้นสูงสุด หมายถึง การมีชีวิตที่ดีในระดับที่สามารถอยู่ในโลกได้ อย่างมีความสุขทั้งทางกายและทางใจ มีภูมิคุ้มกันในการเผชิญชีวิตทั้งในยามปกติและในยามวิกฤติได้อย่างสงบและ เป็นฝ่ายได้กำไร อยู่เสมอ กระทั่งขั้นสูงสุด คือ การมีชีวิตที่เป็น อิสระจากความทุกข์ทั้งปวงสามารถดำเนินชีวิต ด้วยปัญญาบริสุทธิ์ มีชีวิตที่สงบสุขอย่างแท้จริง มี ๔ มาตรฐาน คือ

๑) ถึงถูกโลกธรรมกระทบ ถึงจะพบความผันผวนปรวนแปร ก็ไม่หวั่นไหว มีใจเกษมศานต์มั่นคง
๒) ไม่ถูกความยึดติดถือมั่นบีบคั้นจิต ให้ผิดหวังโศกเศร้า มีจิตโล่งโปร่งเบาเป็นอิสระ
๓) สดชื่น เบิกบานใจ ไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง ผ่องใส ไร้ทุกข์ มีความสุขที่แท้
๔) รู้เท่าทันและทำการตรงเหตุปัจจัย ชีวิตหมดจดสดใสเป็นอยู่ด้วยปัญญา

เป้าหมายของชีวิตที่ดีดังกล่าวมานี้ คือ ดัชนีชี้วัดการมีชีวิตที่ดีของปัจเจกบุคคล ใครปรารถนาจะมีชีวิตที่ดีงามล้ำเลิศ ก็ควรพัฒนาชีวิตตามแนวทางข้างต้นนี้ให้สมบูรณ์ไปทีละขั้น อย่างน้อยที่สุด แม้ยังไม่สามารถพัฒนาไปจนถึงขั้นสูงสุด ก็ควรยกระดับชีวิตให้มีชีวิตที่ดีงามระดับพื้นฐาน ๔ ประการเบื้องต้นให้สมบูรณ์เสียก่อน จากนั้น จึงค่อย ๆ พัฒนาต่อไปตามลำดับจนกว่าจะถึงขั้นสูงสุดที่สามารถอยู่ในโลกแต่ไม่ถูกโลก “กัด” ได้อย่างรื่นรมย์

ชีวิตที่ดีนั้น เป็น “ของขวัญ” ที่ไม่มีใครสามารถหยิบยื่นให้เราได้ มีก็แต่ตัวเราเท่านั้นจะที่ต้องหยิบยื่นให้แก่ตัวเองด้วยตัวเองและเพื่อตัว เอง.

-----------------------------

สิ่งสำคัญไม่อาจเห็นด้วยตา

ตามรูปศัพท์ “ปาฏิหาริย์” แปลได้ว่า “ความหมายพิเศษ” ในพุทธธรรมท่านกล่าวถึงปาฏิหาริย์ ไว้ 3 ประเภทด้วยกัน คือ

1. อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือการแสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหน หายตัว เนรมิตคนเดียวเป็นหลายคน เดินผ่านฝาผนังหรือกำแพงได้ ฯลฯ
2. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือการรู้ใจคนหรือการทายใจคนออกว่าคิดอะไร มีความต้องการอย่างไรเป็นต้น
3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือการสอนคนให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรม นำผู้ฟังให้ ละความชั่ว ทำความดี มีชีวิตที่ประเสริฐได้จริงในชีวิตนี้

ปาฏิหาริย์อย่างหนึ่งและอย่างที่สอนนั้น พระพุทธเจ้าทรงรับรอง ว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริง แต่ไม่มีผลข้างเคียงก็คือ ถ้านำไปใช้ในทางที่ดีซึ่งจะเป็นผลดี แต่ถ้าหากมีเจตนาร้ายนำไปใช้ในทางหลอกลวงคนก็จะก่อผลเสียอย่างมหาศาล เช่นกรณีพระเทวทัตแสดงปาฏิหาริย์ แห่งแคว้นมคธหลงศรัทธายกให้เป็นพระอาจารย์ จากนั้นพระเทวทัตจึงยุให้พระเจ้าอชาตศัตรูทำปิตุฆาต คือ ปลงพระชนม์พระบิดา ผลที่ตามมาไม่เพียงแต่ พระบิดาเท่านั้นที่สิ้นพระชนม์ พระมารดาก็ตรอมพระทัยสิ้นตามไปด้วยอีกองค์ ต่อมาเท้าเธอเองก็ถูกพระนัดดาปฏิวัติยึดอำนาจ และจากนั้นราชวงศ์นี้ ก็ทำปิตุฆาต (ลูกฆ่าพ่อ) ต่อกันมากกว่า 5 ชั่วคน จนในที่สุดอำมาตย์และประชาชนทนไม่ได้ ลุกขึ้นมาล้มล้างราชวงศ์ แล้วสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นมาแทน

ส่วนพระเทวทัตเมื่อ “เริงในฤทธิ์” มากขึ้น ๆ ก็ถึงกลับตั้งตัวตนเองขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง แต่แล้วเมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทรงรู้ความจริง ก็ทรง ถอนการอุปถัมภ์ จากนั้นพระเทวทัตจึงล้มป่วย และมรณภาพอย่างสังเวช เพราะถูกแผ่นดินสูบ (ความหมายในการตีความคือ ถูกประชาทัณฑ์จนมรณภาพอย่างน่าสมเพชท่ามกลางฝูงชนที่คั่งแค้น)

ทั้ง อิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์นั้น จะเก่งแค่ไหน ก็ยังตกอยู่ในอำนาจ ของกิเลส เก่งแสนเก่ง ก็ไม่เก่งไปกว่ากิเลสที่ครอบงำอยู่ดี

ส่วนปาฏิหาริย์ประการที่สามนั้น พระพุทธเจ้าทรงยกย่องมากกว่าปาฏิหาริย์ที่แท้ เพราะทำให้คนพ้นทุกข์ได้

ปาฏิหาริย์ชนิดที่สาม ทุกคนสามารถพัฒนาให้เกิดแก่ตนเองในชีวิตนี้ เพียงแค่พาตนเองสู่ธรรมที่เรียกว่าการ “เจริญ สติ”

ในโลกนี้จะมีปาฏิหาริย์ใดยิ่งไปกว่าการที่คนธรรมดา ๆ สามารถก้าวขึ้นมาเป็นคนที่พ้นทุกข์ได้เป็นไม่มีอีกแล้ว เพราะฉะนั้น ที่สุดแห่งปาฏิหาริย์คือ การมีชีวิตพิชิตความทุกข์ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

ปัญหาของการศึกษาพุทธประวัติไม่ใช่ว่ามีปาฏิหาริย์มากหรือน้อยเกินไปหรอก ปัญหาอยู่ที่ว่า เรามีปัญญามากพอที่จะ “ถอดรหัส” ปาฏิหาริย์เหล่านั้นหรือไม่ต่างหาก.

เรียบเรียงจากหนังสือ "โมงยามแห่งความสุข" ว.วชิรเมธี สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ กรุงเทพมหานคร

Source: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=116211

ดุลยภาพของชีวิต ในมุมมองของพระพุทธศาสนา


พระมหาทวี มหาปัญโญ (ละลง) ผอ.โครงการหลักสูตรพุทธ ศาสตรดุษฏีบัณฑิต (พธ.ด.)

เพราะสุขและทุกข์เป็นธรรมชาติของชีวิต ดังนั้นจึงจำเป็นที่มนุษย์จะต้องศึกษาพัฒนาทั้งสุขและทุกข์เพื่อให้มี ดุลยภาพในการดำเนินชีวิต ให้ชีวิตดำเนินไปในแนวทางที่สอดคล้องกับธรรมชาติ แต่ในยุคที่โลกเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก มีวัตถุพรั่งพร้อม มนุษย์มีความเข้าใจผิดว่าวัตถุคือสิ่งที่จะตอบสนองความต้องการทั้งหมดของ ชีวิต ยิ่งมีวัตถุมาปรนเปรอมากเท่าใดก็ย่อมจะมีความสุขมากเท่านั้น มนุษย์จึงพยายามพัฒนาทางด้านวัตถุเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย แต่ในทางจิตใจหาได้พัฒนาไม่ ดังนั้นมนุษย์จึงเสีย ดุลยภาพของชีวิตไป ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของวัตถุ ทำให้มนุษย์มีใจเสาะ เปราะบาง อ่อนแอ ทุกข์ได้ง่าย สุขได้ยาก

ตามหลักพระพุทธศาสนานั้นมนุษย์เป็นผลผลิตจากธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เมื่อมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ จึงต้องตกอยู่ ภายใต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ เมื่อสุขและทุกข์เป็นธรรมชาติของชีวิตจึงนับว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่จะ ต้องรู้เท่าทันและพัฒนาให้ชีวิตเกิดดุลยภาพอันจะทำให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติ ได้ อย่างเป็นปกติ ดังนั้นทั้งสุขและทุกข์เป็นคุณสมบัติชนิดหนึ่งที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติให้ถูก ต้องกล่าวคือ สุขคือสิ่งที่มนุษย์จะต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในชีวิตส่วนทุกข์คือสิ่งที่ มนุษย์จะต้องกำหนดรู้และปฏิบัติให้ถูกต้อง หน้าที่ต่อทุกข์ของมนุษย์ได้แก่การรู้เท่าทัน ส่วนสุขนั้นมีหน้าที่พัฒนาให้เกิดขึ้น ซึ่งสาระสำคัญของหน้าที่ทั้งต่อสุขและทุกข์นั้นสามารถกล่าวโดยสรุปตามหลัก การของพระพุทธศาสนาได้ ๒ ประการ ดังนี้

๑. การรู้เท่าทันทุกข์ พระพุทธศาสนามองว่าชีวิตและสรรพสิ่งล้วนตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติทั้ง ๓ ประการคือ ๑) การเปลี่ยนแปลง (อนิจจัง) ๒) การตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (ทุกขัง) ๓) การไม่มีตัวตนที่แท้จริงเพราะปรากฏรูปร่างขึ้นมาได้ด้วย เหตุปัจจัย (อนัตตา) ทั้ง ๓ ประการนี้พระพุทธศาสนาเรียกว่ากฎธรรมชาติ ซึ่งสรรพสิ่งทั้งโลกและชีวิตจะต้องตกอยู่ภายใต้กฎทั้ง ๓ ประการนี้ อาการทั้งสองเบื้องต้นคือการเปลี่ยนแปลง (อนิจจัง) และการตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (ทุกขัง) แสดงอาการปรากฏให้เห็นได้ง่ายโดยรูปของการเปลี่ยนแปลง เช่นการเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง เป็นต้น ส่วนประการสุดท้ายคือการไม่มีตัวตนที่แท้จริง (อนัตตา) เป็นสภาพที่จะต้องใช้ปัญญาในการสืบหาความจริงตามเหตุปัจจัย

ทุกข์คือกฎของธรรมชาติชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมชาติ เมื่อทั้งโลก และชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติจึง ต้องตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นไปตามกฎธรรมชาติ คือเป็นไปตามเหตุ ปัจจัย จากกฎธรรมชาติคือสิ่งทั้งปวงมีการเปลี่ยนแปลงนี้จึงมีผลต่อมนุษย์ทั้งโดยตรง และโดยอ้อม โดยตรงคือชีวิตร่างกายมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตาม กฎธรรมชาติโดยที่มนุษย์ไม่ต้องการให้เปลี่ยนแปลง โดยอ้อมคือการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาตินั้นทำให้มีผลต่อจิตใจมนุษย์โดยก่อให้ เกิดทุกข์เพราะการเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามที่มนุษย์ปรารถนาจะให้เป็น เมื่อว่าโดยหลักการของพระพุทธศาสนาที่มองว่าสรรพสิ่งที่รวมตัวกันด้วยเหตุ ปัจจัยล้วนตกอยู่ภายใต้อาการคือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปซึ่งเป็นอาการของการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงมีหลักการว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องรู้ด้วยปัญญา การเปลี่ยนแปลงตามกฎธรรมชาติไม่ควรมีอิทธิพลเหนือจิตใจของมนุษย์ และไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์จะเอาชีวิตเราเข้าไปเป็นทุกข์อันเนื่องมาจากการ เปลี่ยนแปลง มนุษย์ต้องรู้เท่าทันทุกข์ที่มีตามธรรมชาติที่โยงมาหาชีวิต กล่าวโดยสรุปคือทุกข์มีไว้เพื่อรู้เท่าทัน (ทุกขัง ปริญเญญยัง) ไม่ใช่มีไว้เพื่อเป็นทุกข์

๒. การพัฒนาสุข พระพุทธศาสนามองว่าความสุขเป็นสิ่งพัฒนาได้ เพราะความสุขเมื่อเกิดขึ้นอย่างถูกต้องแล้วจะเป็นคุณสมบัติในใจของมนุษย์ โดยพระพุทธศาสนาให้เหตุผลว่าเมื่อมนุษย์เป็นสัตว์ที่สามารถพัฒนาได้ความสุข ซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของชีวิตจึงเป็นสิ่งพัฒนาได้เช่นกัน เมื่อเราพัฒนาความ สุขให้ประณีตขึ้น สูงขึ้นก็จะทำให้ชีวิตดีขึ้นคือทำให้ชีวิตของเรามีคุณธรรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และความสุขที่เราพัฒนาขึ้นนอกจากจะเกื้อกูลต่อตนเองแล้วยังทำให้เกื้อกูลต่อ ผู้อื่นหรือสังคมด้วย เพราะปกติถ้าการแสวงหาความสุขเพียงเพื่อตนเองโดยไม่มีการพัฒนาความสุขให้สูง ขึ้นจะทำให้มีการเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อให้ตนเองได้รับความสุข แต่หากมีการพัฒนาความสุขให้สูงขึ้น ความสุขที่ได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้นตามลำดับนั้นจะทำให้สังคมมีสันติมากขึ้น

ระดับของความสุขตามนัยของพระพุทธศาสนานั้นมีขอบเขตที่กว้างขวาง แต่ในที่นี้สามารถสรุปได้ ๕ ระดับ คือ ความสุขขั้นที่ ๑ ได้แก่ความสุขที่เกิดจากวัตถุ (สามิสสุข) ความสุขชนิดเป็นความสุขที่เกิดจากการเสพวัตถุทางตา หู จมูก ลิ้น กายของมนุษย์ ความสุขชนิดนี้เป็นความสุขที่อิงอาศัยวัตถุภายนอก มนุษย์ต้องแสวงหาวัตถุภายนอกเพื่อเสพความสุขชนิดนี้ ข้อเสียของความสุขชนิดนี้คือเมื่อจำต้องอาศัยวัตถุภายนอกมนุษย์จึงจำต้อง แสวงหาให้ได้มากที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองจึงมีการเบียดเบียน กันเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุอันจะตอบสนองความต้องการของตนเอง หากมนุษย์ยึดติดกับความสุขชนิดนี้โดยไม่พัฒนาให้ถึงความสุขขั้นสูงขึ้นก็ก่อ ให้เกิดการเบียดเบียนกันเพราะต่างก็ต้องแสวงหาวัตถุให้ได้มากที่สุดตามความ ต้องการ สำหรับการเสพความสุขชนิดนี้พระพุทธศาสนาได้ให้หลักการคือศีล ๕ เพื่อไม่ให้มีการเบียดเบียนกันหรือเพื่อให้มีการเบียดเบียนกันน้อยที่สุดคือ (๑) ให้เสพความสุขโดยไม่ให้เบียดเบียนผู้อื่น (๒) ไม่ให้ละเมิดสิทธิทรัพย์สมบัติของผู้อื่น (๓) ไม่ให้ละเมิดคู่ครองของผู้อื่น (๔) ไม่ให้ทำลายผลประโยชน์ ผู้อื่นด้วยถ้อยคำ (๕) ไม่ให้สร้างความไม่ปลอดภัยผู้อื่นด้วยการเสพสิ่งเสพติด และความสุขชนิด ดี มีข้อบกพร่องคือด้านตนเองมีความบกพร่องเพราะต้องแสดงว่าอยู่เป็นประจำเพื่อ ให้ได้ความสุข ด้านสังคมก็มีการเบียดเบียนกันเพราะต่างก็แสวงหากัน

ความสุขขั้นที่ ๒ ได้แก่ความสุขที่เกิดจากการให้ ความสุขชนิดนี้เป็นความสุขร่วมกันเพราะผู้ให้ก็เป็นสุขผู้รับก็เป็นสุข เป็นความสุขที่ไม่เบียดเบียนกัน เปลี่ยนจากการเอาหรือการได้เป็นการให้ ดังปรากฏคำสอนเรื่องทานเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญสำหรับคฤหัสถ์ ความสุขขั้นที่ ๓ ได้แก่ความสุขที่ใช้ชีวิตให้ถูกต้องตามธรรมชาติไม่ให้หลงในโลกสมมุติ ความสุขขั้นที่ ๔ ได้แก่ความสุขที่เกิดจากการปรุงแต่งในจิตใจ เป็นความสุขที่ไม่ต้องอิงอาศัยวัตถุภายนอกแต่ทำให้เกิดมีได้ด้วยการปรุงแต่ ให้เกิดมีขึ้นในจิตใจโดยวิธีการ ๕ อย่างคือ (๑) ความเบิกบานใจ (ปราโมทย์) (๒) ความอิ่มใจ (ปีติ) (๓) ความสงบใจ (ปัสสัทธิ) (๔) ความสุขใจ (สุข) และ (๕) ความมีจิตตั้งมั่น (สมาธิ) ความสุขขั้นที่ ๕ ได้แก่ความสุขเหนือการปรุงแต่งที่เกิดจากปัญญาที่รู้เท่าทันความเป็นจริงของ กฎธรรมชาติ พระพุทธศาสนายืนยันถึงระดับของความสุขทั้ง ๕ ระดับเหล่านี้และเห็นว่าความสุขทั้ง ๕ ระดับนี้เป็นธรรมชาติที่มนุษย์สามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ตามลำดับ

กล่าวโดยสรุปคือเมื่อเราผ่านโลกผ่านชีวิตมาได้ระดับหนึ่ง เราก็คงเข้าใจคำว่า ชีวิตมีขึ้นมีลงได้อย่างชัดเจน นั่นก็หมายความว่าไม่มีใครโชคร้ายไปตลอดและไม่มีใครโชคดีไปตลอด ชีวิตมีสุขและมีทุกข์ปนกันไปแต่ ประเด็นที่สำคัญที่เราจะต้องไม่ลืมก็คือทำอย่างไรเราจะใช้ชีวิตให้มีดุลยภาพ ระหว่างสุขและทุกข์ โดยรู้ให้เท่าทันทุกข์และพัฒนาสุขอย่างมีหลักการ โดยในยาม ที่มีสุขเราก็ไม่หลงระเริงลืมตนจนกลายเป็นการสร้างทุกข์ให้คนอื่นหรือยึดติด เพียงความสุขในระดับต้น ๆ ไม่พัฒนาความสุขให้สูงขึ้น และทำอย่างไรในยามที่เรามีทุกข์ก็ไม่ใช่จมดิ่งอยู่กับทุกข์อย่างไม่รู้วัน รู้คืนแต่รู้จักสร้างปัญญาให้รู้เท่าทันทุกข์.

Source: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=116211

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

ศิลปะการลงจากหลังม้า

โดย... พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี)

ในคอร์สภาวนาที่ผู้เขียนจัดขึ้นต่างกรรมต่างวาระ เช่น ภาวนาสำหรับคนรุ่นใหม่ ภาวนาสำหรับนักธุรกิจ ภาวนาสำหรับครอบครัว ภาวนาสำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ หรือภาวนาสำหรับพระภิกษุสามเณร และภาวนาสำหรับชาวต่างชาติ ที่ศูนย์วิปัสสนาไร่เชิญตะวัน ที่จังหวัดเชียงรายนั้น ผู้เขียนลองสังเกตดูผู้เข้าร่วมภาวนามาหลายปี ได้พบความจริงอย่างหนึ่งว่า หลายคนที่เข้าร่วมภาวนา เริ่มนึกถึงการภาวนาก็ต่อเมื่อเริ่มค้นพบว่ามีปัญหาสุขภาพบางอย่าง หรือเริ่มรู้สึกว่า ชีวิตกำลังเสียสมดุล แต่ก็มีไม่น้อยเหมือนกันที่แม้ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยแต่ก็อยากเรียนรู้ว่าพุทธ ศาสนาสอนอะไร และจะนำไปใช้ในชีวิตได้อย่างไร ก็สมัครเข้ามาเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

แต่สำหรับผู้ที่สนใจมาร่วมงาน ภาวนาเพราะเริ่มรู้สึกตัวว่า มีปัญหาสุขภาพนั้น หลายคนเมื่อจบคอร์สแล้ว ก็ค้นพบคำตอบ และสามารถเปลี่ยนชีวิตตัวเองไปในอีกรูปแบบหนึ่ง กล่าวคือ จากเดิมที่เคยใช้ชีวิตเหมือนตัวเองเป็นเครื่องจักรในโรงงานที่ทำงานแบบไม่มี วันหยุด ก็เริ่มรู้จักคำว่า “ทางสายกลาง” เริ่มรู้ว่า ชีวิตที่ดี ไม่ใช่ชีวิตที่มีเงินเยอะที่สุด หากแต่คือ ชีวิตที่มีสมดุลงาน สมดุลชีวิตต่างหาก ใครก็ตามที่จัดสมดุลงานสมดุลชีวิตได้ จนเกิดสภาวะ “งานก็สัมฤทธิ์ ชีวิตก็รื่นรมย์” นับว่าเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ แต่ใครก็ตามที่งานสัมฤทธิ์ ทว่าชีวิตขมขื่น (งานรุ่ง ชีวิตและสุขภาพร่วงโรย) ก็ยังถือว่า อยู่ห่างไกลความสำเร็จมากมายนัก

คนจำนวนมากในยุคนี้ นิยมการทำงานหนักจนดูประหนึ่งว่า กำลังตั้งป้อมเป็นศัตรูกับตัวเอง หรือกำลังสาปแช่งตัวเองทางอ้อมด้วยการเสพติดการทำงานอย่างไม่ลืมหูลืมตา เช่น บางคนอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งคืนทั้งวัน จนสายตาและประสาทตาเสีย ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติ บางคนเสพติดการทำงานหนักจนเอาที่ทำงานเป็นบ้านหลังที่หนึ่ง ส่วนบ้านจริง ๆ นั้น ปล่อยให้โทรมไม่มีชีวิตชีวา วัน ๆ แทบไม่ได้กินข้าวร่วมวงกับลูกและภรรยา บางคนบ้าเงินจนไม่ยอมจัดสรรวันหยุดให้กายและใจได้พักผ่อน เมื่อทำงานจนมีเงินมาก ๆ แล้ว จึงได้ไปนอนใช้เงินอยู่ในห้องไอซียูด้วยความเศร้าใจ

นี่คือ ตัวอย่างของชีวิตที่เสียดุลยภาพ

ในปรัชญาเซน มีนิทานอยู่เรื่องหนึ่งที่ครูบาอาจารย์ของผู้เขียนเคยเล่าให้ฟังตั้งแต่ ครั้งเมื่อสนใจศึกษาเรื่องเซนจนเป็นเหตุให้ได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ญี่ปุ่น

เรื่องมีอยู่ว่า...

ชายคนหนึ่งเมื่อเรียนจบแล้ว ได้รับของขวัญชิ้นหนึ่งจากพ่อเป็นม้าหนุ่ม ม้าตัวนี้ฝีเท้าดีมาก ท่วงทีงามสง่า แข็งแรง เขาดีใจมากกับรางวัลแห่งชีวิตชิ้นนี้ ทันทีที่ได้ม้าจากพ่อ จึงกระโดดขึ้นควบขี่ทันทีอย่างมีความสุข

แต่พลันที่เขากระโดดขึ้นขี่ ม้าตัวนี้ก็ออกวิ่งอย่างรวดเร็วไม่ยอมหยุด บัณฑิตหนุ่มขึ้นขี่อยู่บนหลังม้าตั้งแต่ยังหนุ่มแน่น ผมสีดำสนิท และขี่อยู่อย่างนั้นไปตลอด ม้าพาเขาวิ่งจากบ้านสู่บ้าน จากเมืองสู่เมือง จากประเทศสู่ประเทศ จากวันสู่คืน จากเดือนสู่ปี จากวัยหนุ่มแน่น ผ่านวัยกลางคน จนกระทั่งผมสีดำของเขากลายเป็นผมสีดอกเลาขาวโพลนเต็มหัว แต่ถึงกระนั้น เขาก็ยังไม่ได้ลงจากหลังม้า ร่างกายของเขา ทรุดโทรม อมโรค เหี่ยวย่น หน้าตาของเขามีแต่ริ้วรอยของวันเวลา ดวงตาของเขาแห้งโหยขาดชีวิตชีวา เหมือนซากศพที่ยังมีลมหายใจ

วันหนึ่ง ขณะควบขี่อยู่บนหลังม้าผ่านไปทางย่านชุมชนแห่งหนึ่ง ผู้คนหลายร้อยคนเห็นเขาควบม้ามาแต่ไกล ต่างพากันมุงดู เมื่อเขาควบม้าเข้ามาใกล้ๆ ด้วยความเร็วสูง ชาวบ้านจึงตะโกนถามด้วยความสนใจใคร่รู้ว่า เขากำลังจะควบม้าไปไหน ชายชราอดีตบัณฑิตหนุ่มตะโกนตอบสวนออกไปว่า

“ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าผมกำลังจะไปไหน เพราะนับแต่ขึ้นขี่อยู่บนหลังม้า ผมก็ยังไม่เคยลงเลยแม้แต่ครั้งเดียว ถ้าคุณอยากรู้ว่าผมกำลังจะไปไหน ก็ลองถามม้าของผมดูสิ”

แล้วม้าจะตอบแทนเขาได้ไหม?

ใช่หรือไม่ว่า เราแต่ละคนที่กำลังทำงานงก ๆ แทบล้มประดาตาย จนไม่หยุดพักผ่อน ไม่มีเวลาให้ตัวเอง ให้ครอบครัว ให้ธรรมชาติ ให้สังคม หรือให้หมอ (ยามรู้สึกว่าไม่สบาย หรือผิดนัดกับหมอบ่อย ๆ) ให้วัด (ให้การฟื้นฟูจิตวิญญาณ) หรือให้การเดินทางท่องเที่ยว ก็ไม่ต่างอะไรกับบัณฑิตหนุ่มคนนั้นที่นับแต่ขึ้นขี่อยู่บนหลังม้าแล้ว ก็ไม่รู้จักศิลปะที่จะลงจากหลังม้าเพื่อเอาเวลาไปเรียนรู้ชีวิตในมิติด้าน อื่น ๆ บ้าง

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ควบขี่อยู่บนหลังม้ามาแสนนาน จนชีวิตเริ่มเสียสมดุล ปีใหม่นี้ ก็ควรจะเริ่มทบทวนวิถีชีวิตแบบเดิมได้แล้ว จากนั้น ควรบอกตัวเองให้มองหาวิธีลงจากหลังม้าเป็น พัก ๆ ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นที่มีคุณค่าไม่น้อยไปกว่าการควบขี่อยู่บนหลัง ม้า

หรือหากคนใกล้ตัวของคุณ เป็นนักขี่ม้ามายาวนานจนเสพติดชีวิตบนหลังม้า หากมีเวลา คุณก็ควรตัดบทความนี้ให้เขาอ่าน แล้วถามเขาว่า

“เมื่อไหร่คุณจะลงมาจากหลังม้าเสียที”

ศิลปะการลงจากหลังม้าเป็นพัก ๆ หรือลงแบบลาขาด ไม่ใช่ศิลปะขั้นสูง ใคร ๆ ก็ทำได้ถ้ามีสติ แต่ถ้าปราศจากสติเสีย แล้ว แม้มีใครไปตะโกนบอกให้ลงจากหลังม้า บางทีเขาอาจด่าตอบ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็จงปล่อยเขาให้ควบม้าต่อไปจนแก่ตายบนหลังม้าเถิด

Source: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=114928

พระราชญาณกวี...'ชีวิตเหมือนคอมพิวเตอร์ กิเลส คือ ไวรัส ก่อกวน'


หน้าที่หลักของพระสงฆ์ในพุทธศาสนา คือเผยแผ่พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธองค์เพื่อให้ศาสนิกชนมีความเข้าใจ ปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ แต่ที่เห็นโดยทั่วไปบางสำนักปักหลักมั่นอยู่ที่วัด ผู้จะศึกษาหาความรู้ต้องตั้งใจน้อมกายเข้าไปเอง แต่ก็มีหลายสำนักพยายามหาหนทางใหม่เพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย

พระราชญาณกวี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นรูปหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการเผยแผ่ ทำงานตามรอยพระยุคลบาทบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) ดำเนินงานกองทุนปลูกรากแก้วศาสนทายาทวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ให้ทุนการศึกษาต่อเนื่องแด่พระภิกษุ สามเณรทั้งในและต่างประเทศและเขียนหนังสือ “อุดมการณ์นักเผยแผ่”เป็นคู่มือของสงฆ์รุ่นใหม่ที่ตั้งใจใฝ่การสอนธรรมให้ กว้างไกล ให้มุมมองการเผยแผ่พระศาสนาว่ามีด้วยกัน 2 แนวทาง เปรียบกับสินค้าบางอย่าง ต้อง เอาไปเร่ขาย บางอย่างขายในห้างฯ ให้คนมาซื้อ บางทีก็ต้องออกให้บริการถึงพื้นที่ ไซต์งาน หมู่บ้าน ธรรมะก็เหมือนสินค้าชนิดหนึ่ง แต่เป็นสินค้าทางใจ บางทีต้องเข้าถึงจุดที่เขามีความจำเป็นจริงๆ พระธรรมทูตในถิ่นทุรกันดาร หรือในต่างประเทศ ก็ถือว่าเราเอาสินค้าไปส่ง พอถึงที่เขาก็เลือกซื้อ เลือกใช้ สอนเรื่องศีล สวดมนต์ ใส่บาตร ใครหยิบตรงไหนก็หยิบไป บางคนก็เอาแค่ใส่บาตรก่อน บางคนเอารักษาศีล บางคนเริ่มเข้ามาสมาธิ บางคนพิจารณาอนิจจา ทุกขัง อนัตตาได้ ปล่อยวางได้ สองวิธีนี้ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสสอนอยู่ คือ 1. ปักหลักอยู่กับที่ให้คนมาหา มาเลือกมาดู มาพิจารณา 2. ออกไปหา ซึ่งส่วนใหญ่ พระพุทธเจ้าทรงเน้นการออกไปหาเป็นหลัก

ในฐานะของพระผู้เผยแผ่ ซึ่งมีโอกาสพบปะชาวบ้านเป็นประจำ พระราชญาณกวีมองปัญหาที่เกิดเทียบเคียงระหว่างประเทศไทยกับอังกฤษในฐานะที่ เคยศึกษาในประเทศนั้น พบว่าโรคเร่งรีบที่ไม่สามารถหยุดได้กำลังเกิดอยู่ในบ้านเรา แต่ที่ประเทศอังกฤษ วันเสาร์ อาทิตย์จะหยุด รถจอดนิ่ง ไม่ไปหาใคร พักผ่อนอยู่กับบ้าน ทำงานสัปดาห์ละห้าวัน หยุดสองวัน วันหนึ่งทำงานแปดชั่วโมง จัดเวลาเป็นสามช่วงคือทำงาน พักผ่อน และนอน คุณภาพของคนในชาติจึงเพียงพอ ส่วนเมืองไทย คนไทยมีอุปกรณ์สารพัดอย่าง เช่น อีเมล มือถือ กล้อง มีมากก็เครียดมาก ไม่มีเวลาหุงข้าว ต้องซื้อกินข้างถนน คนกรุงเทพฯจึงมีความเครียดสูง แผ่ลามถึงชนบทเพราะเราหลงเทคโนโลยีจนสมรรถนะด้อยลง เช่น คิดเลขไม่เป็น จำเบอร์โทรศัพท์ของตนเองไม่ได้ สมองที่เคยจำก็ไม่ได้ เมื่อมอง ถึงการอบรม เลี้ยงดู พบว่าที่ต่างประเทศจะไม่ให้มีโทรทัศน์ ในห้องนอนของเด็ก นักเรียนชั้นประถมฯ ต้องนอนสองทุ่ม มัธยมฯ ให้นอนสามทุ่ม อุดมศึกษาไม่เกินสี่ทุ่ม โทรทัศน์ก็อยู่ในห้องสำหรับโทรทัศน์หรือห้องอาหาร ของเราไม่มีสัดส่วน การฝึกอบรมคนในชาติ เรื่องระเบียบวินัยน่าเป็นห่วงเพราะ เสรีภาพทางสื่อ และการใช้ชีวิตสูงมาก ที่เห็นทารกวัดไผ่เงิน 2,002 ศพนั้น แค่เป็นข่าว ที่ไม่เป็นข่าว ไม่รู้ขนาดไหน การที่เด็กทำแท้ง เพราะขาดระบบวัคซีนใจ การจะพัฒนาประเทศโดยวิธีนี้จะแข่งประเทศอื่นคงไม่ได้ คุณภาพเด็กเราสู้เขาไม่ได้ ทั้งที่คนไทยยุคก่อนเก่งในการพัฒนาตนเอง แต่ปัจจุบันน่า ห่วงมาก

จากสภาพปัญหาดังกล่าว คนไทยจะดูแลครอบครัว ลูกหลานอย่างไร พระราชญาณกวี ให้แนวทางว่าโรคเร่งรีบ ต้องการเงิน ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ แม้ชีวิตก็ผ่อนใช้ จึงไม่มีเวลาเลี้ยงลูก ก็ใช้เงินจ้างชาวพม่า อันนี้เป็นเพราะไม่เข้าใจว่า พ่อแม่ ต้องเลี้ยงดูแลเอง การอบรม บ่ม เพาะ ปลูกฝัง จริตนิสัย ใจคอ มารยาท ชาติตระกูล เกิดจากแม่เท่านั้น ไม่ได้เกิดจากคนอื่น การปล่อยให้คนอื่นเลี้ยง พอโตหน่อยเข้าโรงเรียนนานาชาติ แล้วต้องมาติวภาษาไทย ซึ่งเป็นรากเหง้าของเราแท้ ๆ แต่ไปเรียนภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ต่อจากพม่า รากจึงไม่มี เหมือนเป็นไม้ทาบกิ่ง เราอ้างว่าเป็นสากล ลองคิดดูว่า แผ่นดินนี้เป็นของสากล กฎหมายก็อ้างอิงสากล จะไม่มีอะไรเป็นของเราแท้จริง การจะเป็นสากลได้ ตู้เซฟต้องดี คนจะเปิดพิพิธภัณฑ์ ของทุกชิ้นต้องล็อกให้แน่นหนา ไม่งั้นของหาย หากเราปล่อยอย่างนี้วัฒนธรรมดี ๆ จะสูญหายในพริบตา

ถ้าอยากเป็นสากลด้วยวิธีนี้ ต่อไปเด็กญี่ปุ่นที่โตเมืองไทยก็เป็นนายกรัฐมนตรีได้

ฟังถึงตอนนี้ จึงได้นมัสการเรียนถามว่า จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดในสังคม ทางพระพุทธศาสนาจะแก้ไขได้อย่างไรคำตอบมีว่า พระพุทธศาสนาจะช่วยคนได้ 2 ส่วน คือคนโง่ต้องเป็นคนฉลาด คนฉลาดก็ต้องมีความสุข ถ้าคนชั่วเราช่วยให้เป็นคนดีไม่ได้ ก็แสดงว่าพระศาสนายังออกผลไม่ได้เต็มที่ ส่วนที่สอง คนที่ไม่ชั่ว เป็นคนดี แต่อยากมีความสุขที่ละเอียด พระพุทธศาสนาก็ช่วยได้ อาตมาจึงตั้งไว้เป็น 2 ประเด็น คือ 1. ระบบสังคมสงเคราะห์ ดูแล เกื้อกูล อุปถัมภ์บำรุง คนอ่อนแอกว่าให้เข้มแข็ง คนที่หนาวให้อุ่น คนหิวให้อิ่ม 2. มีศูนย์ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 เราต้องการให้คนมาฟอร์แมต (จัดเรียงข้อมูล) จิต ดีลีต (ลบ) กรรมของตัวเอง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ไม่ดี มานั่งดูว่าเราเสียใจกับคำพูด การกระทำของเราเรื่องอะไรบ้าง ดีลีตออกไป เป็นโรงงานฟอร์แมตจิตจริงๆ เรียกธรรมสถาน

ถามว่าทำไมเราจึงคิดเช่นนี้ เพราะเราเชื่อมั่นว่า คนที่มาปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ ไม่ใช่เพราะทำผิดทำชั่ว แล้วอยากเป็นคนดี อีกส่วนหนึ่ง เขาต้องการหาสุขที่ละเอียดเนื่องจากมีบ้าน มีรถ มีเงิน แล้วหาความสุขไม่เจอ ต้องการหาสุขที่ละเอียด ก็มาหาความสุขของใจ ความ สงบ ความร่มเย็น ถามว่าจะรู้เรื่องได้อย่างไร ... ก็ต้องมาปฏิบัติ เข้ากรรมฐาน มีหลักสูตร 7 คืน 8 วัน, 4 คืน 5 วัน, 2 คืน 3 วัน มีที่พักให้เรียบร้อย อาหารฟรีหมด จัดอบรม เป็นช่วง ๆ สมัครเข้ามาได้ครั้งละไม่เกิน 100 คนจะประกาศล่วงหน้า

“มีหลายคนถามว่าการปฏิบัติธรรมมีความสำคัญอย่างไร อาตมภาพก็ยึดหลักขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่องหลักไตรสิกขาว่า ชีวิตเหมือนคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เก็บข้อมูล ปกป้องข้อมูล และดีลีตข้อมูล แล้วลงโปรแกรมใหม่ถ้ามันเสีย ชีวิตก็เหมือนกัน ร่างกายเหมือนฮาร์ดแวร์ จิตเหมือน ซอฟต์แวร์ มีขบวนการ ฟังก์ชั่นมากมาย หลัก ๆ มี 3 ระบบ คือ ระบบเก็บข้อมูล ผ่านสมาธิ จัดโฟลเดอร์ (กล่อง) ของอารมณ์ จัดไฟล์อารมณ์ไม่ให้มันปะปนกัน เดี๋ยวนอน ไม่หลับ กลุ้มใจ 2.ระบบโปรเทกซ์ (ปกป้อง) ข้อมูล ได้แก่ แอนตี้ไวรัส ภาษาพระเรียกว่า ศีล เรียกไวรัสว่ากิเลส 3 ระบบฟอร์แมตข้อมูล เรียกว่าปัญญา ซึ่งเป็นระบบที่ดีมาก ถ้าเราฟอร์แมตตรงนี้ได้ จิตของเราก็จะก้าวไปข้างหน้าได้ แต่ถ้าฟอร์แมตไม่ได้ ข้อมูลนั้นก็แฮงก์แล้วก็จะเสีย คนในปัจจุบัน โรคเร่งรีบทำให้แฮงก์บ่อย ๆ จิตจะแห้งผาก เพราะอาหารกายเยอะแต่อาหารใจไม่มี วัคซีนทางใจไม่พอ คนทำผิดศีลจึงเยอะมาก เพราะไม่เข้าใจกฎแห่งกรรม มัวแต่สนใจกฎหมาย จนจิตเข้าไม่ถึงกฎแห่งกรรม เรื่องชีวิตที่แท้จริง มัวแต่บำรุงกาย ลืมบำรุงใจ มัวแต่ทำอะไรที่ฉาบฉวย หยาบ ดูแลแต่ฮาร์ดแวร์ ไม่ดูแลซอฟต์แวร์ อัตราหย่าร้างสูงมาก คนทะเลาะกันก็สูงมาก เสรีภาพทางคำพูดสูงมาก ปลุกปั่นกันมาก ทีวีช่องหายนะก็เยอะมาก สามารถใช้สื่อปลุกปั่นกันได้ ใช้วาจาแทนระเบิดได้ อันตรายมาก ก็เลยมาคิดว่าทำอย่างไรให้คนมีสัมมาวาจา สัมมาสมาธิ สัมมาอาชีพ เดี๋ยวนี้คนมักคิดว่าถ้ากฎหมายไม่ระบุไว้ กฎหมายเข้าไม่ถึงทำได้หมด เมื่อก่อนคนกลัวบาป แม้กฎหมายจะไม่เขียนถึงก็กลัว หนุ่มสาวจะจับมือถือแขนก็ไม่ได้ ทุกวันนี้เป็นปกติ ต่อไปอาจจะกอดจูบกันกลางถนนอย่างฝรั่งก็เป็นไปได้”

เราถามว่า จำเป็นไหมที่ต้องเข้าวัดเพื่อศึกษาหลักพระศาสนา ในขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลา ท่านตอบว่า ไม่จำเป็น ถ้ายังไม่พร้อมหรือความพร้อมไม่มี เนื่องจากว่า การเข้าวัด เพื่อวัดดูว่าสุขภาพจิตของเราเป็นยังไง อารมณ์ของเราเป็นยังไง นั่งในห้องพระที่บ้านนั่นแหละ ดูมันทุกวัน วันหนึ่งสวดมนต์ 30 นาทีก็วัดใจแล้ว วัดวิริยะ วัดขันติได้แล้วว่าอดทนได้ไหม ทำทุกที่ให้เป็นวัดก็ได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ สิ่งแวดล้อมช่วยไม่ได้ ก็ต้องหาสิ่งแวดล้อมใหม่ เช่น ไปวัดป่า ไปวัดสวยๆ อาจจะได้อารมณ์อีกแบบหนึ่งก็ได้

วัดมีความจำเป็นต้องไปนะโยม เพราะยังไงเสียหมดลมก็ต้องไปวัด.


อุเปกขินทรีย์

Source: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=114928